สิ่งแอบแฝงที่มากับภาษีทรัมป์ 2.0 (1)
ลัทธิล่าอาณานิคมยุคใหม่ (neocolonialism) ชาติมหาอำนาจจะต่อต้านโลกหลายขั้ว ต่อต้านการแข่งขันเสรี และจะบีบให้ประเทศอื่นๆ ยอมรับข้อตกลงที่เอื้อประโยชน์แก่ตน
บทความนี้ยึดแนวคิดว่าการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าหลายสิบประเทศทั่วโลก
ไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหาขาดดุลการค้าหรือปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐเท่านั้น
มีวาระซ่อนเร้นที่สำคัญกว่านั้น
นักวิเคราะห์หลายคนพูดว่ารัฐบาลทรัมป์ใช้กำแพงภาษีเพื่อนำประเทศต่างๆ
เข้ามาเจรจาต่อรองในเรื่องอื่นๆ ที่อาจไม่ใช่เรื่องการค้าเศรษฐกิจ เช่น
ให้ซื้ออาวุธสหรัฐมากขึ้น ให้ถอยห่างจากจีนกับรัสเซีย ฯลฯ เป็นแนวทางเดียวกับไบเดน
ที่รวมการค้าระหว่างประเทศเข้ากับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศของสหรัฐจึงไม่ยึดถือกลไกตลาดเสรี
แต่สัมพันธ์โดยตรงกับการเมืองระหว่างประเทศ
วิธีสมัยไบเดน:
วิธีการของทรัมป์
2.0 ที่ใช้วิธีเจรจาทวิภาคี
ชวนให้คิดถึงวิธีของสมัยรัฐบาลไบเดนที่ใช้แนวทางนี้เช่นกัน
พฤษภาคม
2023 ประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศจัดตั้งกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific
Economic Framework หรือ IPEF) ในเบื้องต้นประเทศที่เข้าร่วมได้แก่
สหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ อินเดีย และ 7 ชาติอาเซียนคือ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
และเวียดนาม รวมทั้งหมด 13 ประเทศ
หลักสำคัญคือรัฐบาลสหรัฐกำลังวางกรอบระเบียบเศรษฐกิจภูมิภาคใหม่ ประกาศว่า
IPEF เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของตน
ลักษณะเด่นของ IPEF คือ สามารถเจรจาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งก่อน
ความร่วมมือจะเกิดขึ้นทันทีในส่วนที่ตกลงกันได้ ไม่ต้องรอประเทศอื่นๆ ชัดเจนว่าคือการเจรจากับแต่ละประเทศเป็นรายๆ
ส่วนใดทำได้ให้ทำก่อนเลย จึงมีลักษณะเจรจาไปเรื่อยๆ ทำข้อตกลงไปเรื่อยๆ แม้ยังพูดว่าเป็นการค้าเสรีแต่ไม่ใช่การค้าเสรีตามทฤษฎีการค้าเสรีดั้งเดิมที่โลกตะวันตกนำเสนอเรื่อยมา
ในอดีตรัฐบาลสหรัฐมักโจมตีจีนและประเทศต่างๆ
ที่ไม่ยึดมั่นการค้าเสรี บัดนี้รัฐบาลสหรัฐต่างหากที่ถอยห่างจากการค้าเสรี เน้นการค้าทวิภาคีที่ขึ้นกับผลการเจรจาในแต่ละครั้ง
ในกรอบกว้าง IPEF เชื่อมโยงกับด้านอื่นๆ
ของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก จึงไม่ใช่เรื่องการค้าการลงทุนเท่านั้นแต่จะสัมพันธ์กับนโยบายความมั่นคง
เรื่องที่รัฐบาลสหรัฐให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการต้านจีน
ในที่สุดจะกลายเป็นระบบเศรษฐกิจการเมืองภูมิภาคที่มีสหรัฐเป็นแกนนำนั่นเอง
จากการวิเคราะห์พบว่านโยบายกำแพงภาษีของทรัมป์
2.0 คือ IPEF ที่ขยายเป็นระดับโลก ไม่มีการค้าเสรีแล้วมีแต่การค้าทวิภาคี
เจรจาต่อรองเป็นรายๆ
มากกว่าเรื่องขาดดุลการค้า:
นักวิเคราะห์จีนชี้ว่าสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐต้องการไม่ใช่แค่ให้บริษัทนี้มาตั้งโรงงานผลิตในอเมริกา
เพื่อหลบภาษีนำเข้า เพิ่มการจ้างงานในอเมริกา ที่ต้องการจริงๆ คือให้บริษัทนี้เผยความลับเทคโนโลยี
ทรัมป์ 2.0 จึงกดดันรัฐบาลไต้หวันไปกดดันบริษัทดังกล่าวอีกทอด ล่าสุดรัฐบาลไล่
ชิงเต๋อ (Lai Ching-te) ประกาศให้บริษัทดังกล่าวให้ความร่วมมือกับสหรัฐและตั้งโรงงานที่สหรัฐเพิ่มเติม
น่าเห็นใจที่ไต้หวันพึ่งพาสหรัฐแทบทุกด้านโดยเฉพาะความมั่นคงทางทหาร
เมื่อกองทัพไร้ความสามารถต้องพึ่งพาอาศัยสหรัฐ จึงได้แต่ยอมเฉือนผลประโยชน์ที่ควรอยู่กับไต้หวันให้มหาอำนาจ
กดดันให้แคนาดาเป็นของสหรัฐ:
รัฐบาลสหรัฐครั้งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญปกป้องสมาชิกนาโต
บัดนี้กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงของสมาชิกนาโตเสียเอง ประกาศต้องการครอบครองกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก
ต้องการยึดครองประเทศอื่นตามแนวทางจักรวรรดินิยม แคนาดาต้องสิ้นชาติ
รัฐบาลแคนาดากำลังทำสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมมากที่สุด นั่นคือปกป้องอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ต่อต้านศัตรูผู้รุกราน
1. Facing Trump’s
threats, Canada shifts defense links away from US. (2025, March 21). Defense
News. Retrieved from
https://www.defensenews.com/global/the-americas/2025/03/20/facing-trumps-threats-canada-shifts-defense-links-away-from-us/
2. Trudeau
condemns ‘dumb’ Trump trade war as Canada strikes back with tariffs. (2025,
March 4). The Guardian. Retrieved from
https://www.theguardian.com/us-news/2025/mar/04/trudeau-trump-tariffs-dumb
3. Trump’s Broad
Canada-Mexico-China Tariffs, Explained. (2025, March 4). WSJ. Retrieved
from https://www.globaltimes.cn/page/202503/1329450.shtml
4. White
House. (2022, May 23). On-the-Record Press Call on the Launch of the
Indo-Pacific Economic Framework. Retrieved from
https://www.whitehouse.gov/briefing-room/press-briefings/2022/05/23/on-the-record-press-call-on-the-launch-of-the-indo-pacific-economic-framework/
-----------------