จากสถาปนาประเทศซีเรียสู่พรรคบาธ
เรื่องราวของซีเรียเต็มด้วยการแข่งขันช่วงชิงทั้งภายในกับอำนาจนอกประเทศ ความขัดแย้งภายในหลายมิติ เป็นอีกบทเรียนแก่นานาประเทศ
ประเทศซีเรียถือกำเนิดหลังสิ้นสงครามโลกครั้งแรก
เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire)
สถาปนาเป็นรัฐชาติ เป็นส่วนหนึ่งของกระแสรัฐอาหรับในระยะนั้น สร้างประเทศด้วยหลักทางโลกมากกว่าศาสนา
บางคนมองว่าซีเรียเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศอาหรับ
ในมุมมองของมุสลิม
พื้นที่ซีเรียปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกกว่า “ชาม”
ประกอบด้วยดินแดนซีเรีย จอร์แดน เลบานอน ปาเลสไตน์
กลายมาเป็นซีเรียปัจจุบันจากข้อตกลงไซคส์ - พิโกต์ (Sykes - Picot
Agreement) สังคมซีเรียในสมัยนั้นที่ดินเกือบครึ่งอยู่ในเมืองของครอบครัวชนชั้นสูงราว
3 พันครอบครัว ชาวบ้านบางส่วนมีที่ดินเล็กๆ ของตนเองแต่ส่วนใหญ่หรือราว 2 ใน 3
ไม่มีที่ดิน จึงดำรงชีพด้วยการรับจ้างทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ประชาชนร้อยละ 80
ยากจน
เจ้าของที่ดินจะมองว่าชาวบ้านเป็นเพียงที่มาของรายได้และอำนาจ
พวกเขาจะแสวงหากำไรสูงสุด ฝ่ายชาวบ้านตอบสนองด้วยการทำงานไปวันๆ
ผลผลิตการเกษตรจึงต่ำมาก
ในช่วงนี้เกิดการรัฐประหารแย่งชิงอำนาจหลายรอบ
ล้วนปกครองแบบเผด็จการ
จะเห็นว่าในสมัยออตโตมันกับสมัยใต้อาณัติฝรั่งเศส
พวกชนชั้นปกครองในซีเรียเป็นเพียงพ่อค้า เจ้าของที่ดิน มีอำนาจในขอบเขตของตน
แต่เมื่อเป็นเอกราช ประกาศเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ มีระบบรัฐสภา
ชนชั้นปกครองขยับฐานะจากการมีอำนาจจำกัดกลายเป็นผู้มีอำนาจบริหารประเทศ
ส่วนประชาชนมีฐานะไม่ต่างจากเดิม
ส่วนใหญ่ยังเป็นคนไร้ที่ดินทำกิน อยู่อย่างยากจน ต้องพึ่งพาชนชั้นปกครอง
ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ
ชนชั้นปกครองไม่หวังให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ไม่คิดแบ่งอำนาจให้ การพัฒนาประเทศหมายถึงการพัฒนาสินทรัพย์ อำนาจของพวกเขา
คำว่า
“เอกราช” จึงมีค่าเพียงแค่อำนาจการปกครองสูงสุด “เปลี่ยนมือ” จากต่างชาติมาสู่
“ชนชั้นปกครอง” ในประเทศเท่านั้น
ภัยคุกคามชนชั้นปกครอง:
ในสมัยนั้นความเจริญก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมเริ่มเข้ามาแต่ชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของที่ดินพยายามรักษาอำนาจของตน
ไม่ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีการศึกษา
ไม่ต้องการเปิดประเทศด้วยเกรงว่าจะสูญเสียความชอบธรรมในการเป็นเจ้าของที่
พร้อมกับที่ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ
จัดตั้งการศึกษาของตนเอง
เพื่อพ้นจากวัฎจักรชีวิตแบบเดิมจากสังคมที่พวกซุนนีเป็นชนชั้นปกครอง
ปี 1954
มีการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ผลการเลือกตั้งได้พรรคต่างๆ
เข้ามาร่วมบริหารประเทศ เกิดกลุ่มพรรคร่วมที่ว่า National Front ประกอบด้วยพรรคของชนชั้นปกครอง (ใกล้ชิดตะวันตก ทุนนิยม)
พรรคบาธและพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคเหล่านี้ต่างได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี
การปกครองที่ดูเป็นประชาธิปไตย มีการถ่วงดุลกันและกัน
แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลมีปัญหาไม่เข้ากันภายใน
พรรคบาธอยู่ในฐานะกึ่งกลางทางการเมือง
พยายามใช้โอกาสมีบทบาทในรัฐบาลสร้างฐานอำนาจให้ตนเองเพิ่มเติม
พรรคบาธ (Baath Party) หรือพรรคอาหรับสังคมนิยมบาธแห่งซีเรียเห็นว่า เดิมอาหรับมีเพียงหนึ่งเดียว
แต่ถูกแบ่งแยกโดยลัทธิจักรวรรดินิยมเพื่อให้อาหรับอ่อนแอ
พันธกิจของพรรคคือการรวมประเทศอาหรับให้เป็นหนึ่ง และเป็นผู้นำรวมอาหรับ
พรรคถือว่าศาสนาอิสลามเป็นรากแห่งวัฒนธรรมของอาหรับที่ควรนับถือ
แต่ต้องการสร้างโลกอาหรับตามแนวทางฝ่ายโลก
รวมทุกคนที่พูดภาษาอาหรับโดยไม่จำกัดศาสนา
พรรคบาธจึงครองอำนาจปกครองประเทศด้วยการรัฐประหาร
จัดตั้งรัฐบาลที่มีกองทัพเป็นฐานอำนาจ ปกครองโดยชนชั้นปกครองที่มักอยู่ในกลุ่ม Alawi
แนวทางของพรรคบาธไม่ให้ความสำคัญกับศาสนา
นักการศาสนาต่างๆ จึงต่อต้าน ในปี 1967 เกิดการประท้วงใหญ่ อย่างไรก็ตามรัฐบาลในตอนนั้นยังสามารถควบคุมได้สถานการณ์ไว้ได้
-----------------------
1. Hinnebusch, Raymond. (2001). Syria: Revolution From
Above. New York: Routledge.