ฮานิเยห์ไม่จุดชนวนสงครามล้างโลก (1)
อิสราเอลสังหารผู้นำฮามาสหลายคนหลายระดับ เช่นเดียวกับที่ฮามาสสามารถสังหารผู้นำกองทัพอิสราเอลหรือลูกหลานผู้นำหลายคนเช่นกัน
กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม
(IRGC) ของอิหร่านชี้อิสมาอิล ฮานิเยห์
(Ismail Haniyeh) หัวหน้าฝ่ายการเมืองฮามาสเสียชีวิต ด้วยจรวดหรือขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยใกล้
ที่บ้านพักของเขาในกรุงเตหะราน (ขัดแย้งกับข้อมูลสื่อตะวันตกที่ชี้ว่าโดนวางระเบิด)
หลังเข้าร่วมพิธีสาบานตนรับตำแหน่งของประธานาธิบดีอิหร่านคนใหม่
ฮานีเยห์เคยโดนลอบสังหารมาก่อน
อิสราเอลหมายหัวมานานหลายปี แต่รอดมาได้หวุดหวิด มาสำเร็จในครั้งนี้
กระตุ้นให้สงครามบานปลาย:
ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม-ต้นเดือนสิงหาคม
2024 อิสราเอลสังหารผู้นำฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน
ผู้นำฮามาสในเตหะราน ยั่วยุให้สงครามบานปลาย สื่อตะวันตกหลายสำนึกประโคมทำนองข่าวนี้
ข่าวเช่นนี้ไม่ผิดเสียทีเดียว ที่ผ่านมาทั้งอิหร่านฮิซบอลเลาะห์และฮามาส
ต่างแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อเหตุการณ์เช่นนี้
บ่อยครั้งที่โจมตีตอบโต้แรงกว่าปกติ
แต่น่าคิดว่าการสังหารผู้นำหลายกลุ่มในเวลาเดียวกัน
การก่อเหตุในกรุงเตหะรานที่เท่ากับเป็นการรุกรานอิหร่าน
เหล่านี้เป็นแผนยั่วยุให้สงครามบานปลายหรือไม่
ทำไมต้องกระตุ้นให้สงครามบานปลาย:
1) รัฐบาลเนทันยาฮูหวังล้มการเจรจา
หากฝ่ายอิหร่าน (ฮิซบอลเลาะห์ ฮามาส ฮูตี) ตอบโต้
เท่ากับทำลายกระบวนการเจรจาสงบศึกที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้
อิสราเอลมีความชอบธรรมที่จะกวาดล้างฮามาสต่อไป กองทัพอิสราเอลคงอยู่ในกาซา ในเขตเวสต์แบงก์
ขวางแผนสันติภาพถาวร
2) ต้องการขยายพื้นที่สงคราม
พวกไซออนิสต์ประกาศอย่างเปิดเผยว่าต้องการขยายพื้นที่ประเทศ
คนอิสราเอล (ทั้งที่เป็นไซออนิสต์กับที่ไม่เป็น) ส่วนใหญ่ต้องการเช่นนั้นด้วย
เพราะประชากรเพิ่ม ต้องการดินแดนเพิ่ม การมีดินแดนเพิ่มหมายถึงมีทรัพยากรมากขึ้น
ส่งเสริมพลังอำนาจประเทศ
อิสราเอลจึงต้องหาเรื่องหาข้ออ้างขยายดินแดน
หนึ่งในวิธีหลักคือทำสงครามกินดินแดน
3)
ไม่คืนพื้นที่ยึดครอง
ย้อนหลังมกราคม
2014 Yuval Steinitz
รัฐมนตรีกระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอิสราเอล (International
Relations Minister)
แสดงจุดยืนว่าอิสราเอลจะไม่ยอมรับข้อเสนอสันติภาพใดๆ
ที่ถอยย้อนหลังไปสู่เส้นอาณาเขตก่อนปี 1967
และการถอนทหารอิสราเอลออกจากหุบเขาจอร์แดน
“จุดยืนของเราชัดเจนคือจะไม่ยอมรับเส้นเขตแดนก่อนปี 1967”
มีหลักฐานมากมายทั้งเก่าและใหม่ว่าอิสราเอลต้องการขยายอาณาเขต
จึงต้องทำสงครามและไม่คืนพื้นที่ยึดครอง
ท่าทีอิหร่าน:
ทันทีที่เกิดเหตรัฐบาลอิหร่านกล่าวโทษอิสราเอลคือผู้ลงมือสังหารอิสมาอิล
ฮานิเยห์ จากการโจมตีด้วยขีปนาวุธพิสัยใกล้ ที่บ้านพักของเขาในกรุงเตหะราน อยาตุลเลาะห์
ซัยยิด อาลี คาเมเนอี (Ayatollah Seyyed Ali Khamenei)
ผู้นำสูงสุดอิหร่านประกาศลงโทษอิสราเอลอย่างหนัก (‘tough punishment’) ระบอบไซออนิสต์คือผู้ลงมือในบ้านของเราเอง
“เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอาณาเขตของอิหร่าน จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องแก้แค้น (to
avenge) แทนท่าน”
ในกรอบที่กว้างขึ้น
Ali Bagheri รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอิหร่านกล่าวว่า
อิสราเอล “ต้องการขยายความตึงเครียด ขยายสงครามและความขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ”
ตรงกับที่นายกฯ เนทันยาฮูกล่าวก่อนหน้านี้ว่า “พร้อมที่จะรุกและรับ”
เพื่อป้องกันตนเอง
ท่าทีอิสราเอล:
นายกฯ
เนทันยาฮูไม่ยอมรับและไม่ปฏิเสธว่าอิสราเอลเป็นผู้ลงมือ
แต่ประกาศจะตอบโต้อย่างรุนแรง “ผู้รุกรานอิสราเอลจะต้องจ่ายราคาอย่างหนัก”
หากใครทำให้คนอิสราเอลเสียชีวิตแม้แต่คนเดียว อิสราเอลพร้อมรับมือ
ขอให้คนอิสราเอลเตรียมรับความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น
ที่น่าคิดคือเป็นแผนทำลายฮิซบอลเลาะห์หรือไม่
แต่ไหนแต่ไรรัฐบาลเนทันยาฮูมีแนวคิดกวาดล้างฮิซบอลเลาะห์
มิถุนายน 2024 8 เดือนหลังสงครามฮามาส
กองทัพอิสราเอลลดปฏิบัติการในกาซา เหลือเขต Rafah
ที่ยังไม่เข้ากวาดล้างอย่างจริงจัง แม้นายกฯ
เนทันยาฮูยืนยันนโยบายกวาดล้างฮามาสให้สิ้นซาก
การเจรจาหยุดยิงดำเนินต่อไปแต่ไม่เร่งรีบ
เช่นเดียวกับเรื่องแลกเปลี่ยนตัวประกันที่คาดว่ายังเหลือราว 200 คน
เป็นไปได้ว่าพวกฮามาสจะยังคงปะทะกับกองทัพอิสราเอลเป็นครั้งคราว
เป็นข้ออ้างให้อิสราเอลคงกองทัพของตนในกาซาอย่างไม่มีกำหนด
ตรงตามแผนควบคุมกาซาของเนทันยาฮู
การควบคุมบริหารกาซาโดยอิสราเอลจะดำเนินแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบ
จุดน่าติดตามใหม่คือทางเหนือของอิสราเอลที่ติดกับประเทศเลบานอน
มีกระแสข่าวว่าไม่ช้าไม่นานกองทัพอิสราเอลจะบุกทำสงครามกับฮิซบอลเลาะห์ แม้ฮิซบอลเลาะห์เข้มแข็งกว่าฮามาส
มีจรวดขีปนาวุธมหาศาล เตรียมกำลังถึงแสนนายพร้อมรับมืออิสราเอล
ฝ่ายอิสราเอลน่าจะสูญเสียหนักแต่คุ้มค้าถ้าคิดว่าสามารถยึดครองพื้นที่เลบานอนบางส่วน
เรื่องนี้ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่สำหรับอิสราเอลแล้วการมีดินแดนเพิ่มสำคัญยิ่งกว่าการรักษากฎบัตรสหประชาชาติ
นี่คือความจริงหนึ่ง ความเป็นไปของโลกปัจจุบัน
สงครามฮามาส-อิสราเอลได้ปราบปรามฮามาส ตัดแขนข้างหนึ่งของอิหร่าน
แต่ในเชิงขยายดินแดนได้น้อยมาก ตรงข้ามกับการรบกับฮิซบอลเลาะห์อาจได้ดินแดนเพิ่มหลายร้อยหลายพันตารางกิโลเมตร (ขนาดประเทศเลบานอน 10,452
ตารางกิโลเมตร) นี่คือเหตุผลที่อิสราเอลสนใจฮิซบอลเลาะห์
หน้าที่นี้เหมาะกับรัฐบาลเนทันยาฮูชุดปัจจุบันมากที่สุดเพราะประกอบด้วยพวก ส.ส.
ไซออนิสต์เข้มข้นมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนๆ
การสังหารผู้นำไม่ใช่เรื่องแปลก:
Saleh
al-Arouri ผู้ช่วยฮานิเยห์เสียชีวิตเมื่อมกราคม 2024 ในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอนจากการโจมตีของอิสราเอล
หนึ่งวันก่อนหน้าสังหารฮานิเยห์ Fuad Shukr ผู้บัญชาการฮิซบอลเลาะห์ถูกสังหารในกรุงเบรุต
อีกเหตุการณ์สำคัญและมีผลจนถึงทุกวันนี้คือการสังหารนายพลกอซิม สุไลมานี (Qassim Soleimani) ผู้บัญชาการกำลังคุดส์ (Quds
Force) ของอิหร่าน ด้วยโดรนสหรัฐเมื่อมกราคม 2020 รัฐบาลอิหร่านประกาศล้างแค้น
ทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของสงคราม
เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ทั่วไป การสูญเสียผู้นำ บุคคลสำคัญบั่นทอนฝ่ายตรงข้ามได้มาก
ทำลายขวัญกองทัพ
เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกวาดล้างฮามาสที่รัฐบาลเนทันยาฮูประกาศไว้ตั้งแต่ต้น
เป็นเรื่องแปลกถ้าคิดว่าการสังหารผู้นำฮามาสคนหนึ่งจะนำสู่สงครามล้างโลก
------------------------
บรรณานุกรม :
2. Ayatollah Khamenei vows ‘tough punishment’ of
Israel following assassination of Hamas leader. (2024, July 31). Tehran
Times. Retrieved from https://www.tehrantimes.com/news/501819/Ayatollah-Khamenei-vows-tough-punishment-of-Israel-following
3.
Gaza War Moves Close to Its Next Phase, but No Nearer to an End. (2024, June
24). Axios. Retrieved from
https://www.wsj.com/world/middle-east/israels-cutback-in-troops-in-gaza-wont-end-the-war-soon-70316580?mod=world_feat3_middle-east_pos1
4. Haniyeh
killed by ‘short-range’ projectile: Iran. (2024, August 3). Al Jazeera. Retrieved
from
https://www.aljazeera.com/news/liveblog/2024/8/3/israels-war-on-gaza-live-us-sends-ships-jets-to-region-as-tension-soars
5. Iran
says Israel seeks to ‘expand war’ amid de-escalation push. (2024, August 8). Al
Arabiya. Retrieved from https://english.alarabiya.net/News/middle-east/2024/08/08/acting-iran-fm-says-hamas-leader-s-killing-a-costly-strategic-mistake-by-israel
6.
Liberman says despite skepticism, supports comprehensive agreement with
Palestinians. (2014, January 5). The Jerusalem Post. Retrieved from
http://www.jpost.com/Diplomacy-and-Politics/Steinitz-Israel-disagrees-to-peace-deal-based-on-pre-1967-lines-337114
7.
Netanyahu does not want peace, Erdoğan tells
Biden. (2024, August 1). Daily Sabah. Retrieved from
https://www.dailysabah.com/politics/diplomacy/netanyahu-does-not-want-peace-erdogan-tells-biden
8.
Netanyahu pans ‘despicable’ UN vote, says Jews cannot be occupiers in their own
land. (2022, December 31). Times of Israel. Retrieved from
https://www.timesofisrael.com/netanyahu-pans-despicable-un-vote-says-jews-cannot-be-occupiers-in-their-own-land/
9. Strike
in Iran Kills Hamas’s Chief Negotiator. (2024, July 31). WSJ. Retrieved
from
https://www.wsj.com/world/middle-east/hamas-political-leader-ismail-haniyeh-killed-in-iran-5723ad8b?mod=world_lead_pos1
10.
Why Israel assassinated Ismail Haniyah in Tehran. (2024, July 31). Tehran
Times. Retrieved from
https://www.tehrantimes.com/news/501857/Why-Israel-assassinated-Ismail-Haniyah-in-Tehran
-----------------