บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2024

ทรัมป์อาจถูกลอบสังหารอีก

รูปภาพ
น่าติดตามว่าหากชนะเลือกตั้ง ทรัมป์จะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐที่ถูกลอบสังหารอีกคนหรือไม่ เพราะเหตุใด ควรอธิบายอย่างไร              Paul Craig Roberts อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังชี้ว่าถ้าฟังจากเสียงปืนคนยิงมีมากกว่า 1 คน ทรัมป์รอดมาได้เพราะจังหวะเอียงศีรษะ เหตุผลที่ Crooks ผู้ลอบสังหารสามารถอยู่ที่จุดยิงยังสับสน เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลไม่ตรงกัน ยังไม่สามารถให้เหตุผลที่แน่ชัดว่าทำไมอยู่ที่จุดยิงซึ่งใกล้ตัวทรัมป์             Roberts อ้างคำพูดของ John Brennan อดีตผู้อำนวยการ CIA ที่เคยพูดว่าทรัมป์ “คนทรยศอเมริกา” (‘ traitor to America’ ) เป็นความคิดของกลุ่มผู้กุมอำนาจประเทศที่เห็นว่าจำต้องกำจัดคนทรยศ             Ray McGovern จาก Veteran Intelligence Professionals for Sanity คิดว่าถ้าตั้งใจลงมือแล้วน่าจะหาทางลงมืออีกจนสำเร็จ นอกจากวิธีนี้ไม่มีวิธีอื่นที่จะขัดขวางทรัมป์ หลังพยายามเล่นงานด้วยกฎหมายแต่ไม่สำเร็จ     ...

กระสุนนัดเดียวเปลี่ยนโลก

รูปภาพ
บรรยากาศหาเสียงตอนนี้ไม่ต้องคิดถึงเรื่องอื่นใดอีก ทรัมป์ควรชนะเลือกตั้ง กระสุนนัดเดียวชี้ขาดผลเลือกตั้ง ชี้นำโลกอนาคตควรทำตามนโยบายทรัมป์ 13 กรกฎาคม 2024 ขณะอดีตประธานาธิบดีโดลันด์ ทรัมป์กำลังหาเสียง มีเสียงปืนดังหลายนัดเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ร่วมงานเสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ส่วนทรัมป์โดนยิงเฉียดหูขวามีเลือดออก มือปืนถูกวิสามัญทันทีในที่เกิดเหตุ ในเวลาต่อมาระบุว่าคือนาย Thomas Matthew Crooks อายุ 20 ปี ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าถ้ายิงแม่นกว่านี้แค่ครึ่งนิ้วทรัมป์จบชีวิตแล้ว  นักวิเคราะห์หลายคนคิดว่าหากทรัมป์เสียชีวิตผลตามมาอาจถึงขั้นประเทศหายนะ ทรัมป์พูดเสมอว่าหากตนแพ้เลือกตั้งประเทศจะวุ่นวายจลาจล มุมมองนี้ตีความว่าหากเสียชีวิตจะจุดชนวนให้พวกที่สนับสนุนทรัมป์อย่างเข้มข้นก่อเหตุวุ่นวาย อาจถึงขั้นจลาจล  รีพับลิกันพร้อมใจเลือกตั้ง: มีผู้วิเคราะห์ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวหลากหลาย ประเด็นหนึ่งที่ชัดเจนคือลดทอนเสียงวิพากษ์ทรัมป์ ทรัมป์ถูกฟ้องหลายคดีและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล คดีที่พิพากษาสิ้นสุดว่าทรัมป์ผิดก็มี หลายคนวิพากษ์ความเหมาะสมของทรัมป์จากคดีความของท่าน ไม่เฉพาะจาก...

รัฐบาลปรองดองแห่งชาติดูแลปาเลสไตน์ทั้งหมด

รูปภาพ

จีนมาแล้วช่วยฮามาสกับฟาตาห์ร่วมกันบริหารกาซา

รูปภาพ

ค่าเงินเมียนมาอ่อนตัวต่อเนื่อง

รูปภาพ

เลือกตั้งสหรัฐ 2024 ประชามติเลือกประชาธิปไตย

รูปภาพ
ไบเดนชี้ว่าตนเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ส่วนทรัมป์อยู่ฝ่ายตรงข้าม ถ้าต้องการปกป้องประชาธิปไตยขอให้เลือกพรรคเดโมแครท             David Remnick จากสื่อ New Yorker ตีความว่าเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2024 คือประชามติว่าต้องการประชาธิปไตย (“ a referendum on democracy itself” ) หรือต้องการทรัมป์ที่คนอเมริกันรู้ดีว่าท่านมีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน ใครๆ ก็รู้ว่าบุคลิกทรัมป์คืออำนาจนิยม ( authoritarian personality )             ผลจาก 8-9 ปีที่ผ่านมาคนอเมริกันรับรู้กันทั่วว่าทรัมป์เป็นคนอย่างไร ฝีมือลีลาการบริหารประเทศคดีความของท่านและอีกหลายพฤติกรรม ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนอเมริกันไม่รู้จักทรัมป์ ในหมู่พรรคเดโมแครทตีตราว่าทรัมป์บ่อนทำลายค่านิยมประชาธิปไตย ถ้าเลือกทรัมป์คือเลือกคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามประชาธิปไตย ความเป็นประชาธิปไตยที่อเมริกาภาคภูมิใจถูกลดทอนลงไปอีก             ผลวิจัยเมื่อมิถุนายน 2023 ของ Associated Press-NORC Center ...

ทรัมป์โดนใบสั่งจากองค์กรลับหรือไม่

รูปภาพ

นาโตเปิดฉากชี้จีนคือภัยคุกคาม

รูปภาพ

นาโตร่วมมือกับมิตรประเทศอินโด แปซิฟิก

รูปภาพ

เนทันยาฮูยืนยันรบต่อจนบรรลุเป้าหมาย

รูปภาพ

เลือกตั้งฝรั่งเศสพลิกฝ่ายซ้ายได้คะแนนสูงสุด #สถานการณ์โลก

รูปภาพ

ทำไมสมาชิกอาเซียนสนใจเข้า BRICS

รูปภาพ
ประเทศไทย มาเลเซียและเวียดนามพยายามสัมพันธ์ดีกับมหาอำนาจทั้งหลาย ไม่อิงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนเกินตัว มอง BRICS เป็นโอกาสใหม่             ปี 2024 ชาติสมาชิกอาเซียนหลายประเทศแสงความจำนงของเข้าร่วมกลุ่มบริคส์ ( BRICS) เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม หัวใจหลักที่สมาชิกอาเซียนสนใจเข้า BRICS น่าจะเพราะต้องการความช่วยเหลือทางการเงิน โอกาสร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลดทอนอิทธิพลของพวกรัฐบาลสหรัฐหรือขยายความร่วมมือมหาอำนาจจีน-รัสเซีย             เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า BRICS ตั้งเป้าสร้างระบบโลกพหุภาคี ระบอบที่เป็นธรรม ศูนย์เศรษฐกิจใหม่ ศูนย์การตัดสินใจใหม่ที่ยึดผลประโยชน์ของทุกชาติ เคารพอธิปไตยของชาติอื่น ลดการใช้ดอลลาร์ เลี่ยงความเสี่ยงจากค่าเงินดังกล่าว หรือหลีกหนีอิทธิพลสหรัฐ BRICS คือขั้วต่อต้านฝ่ายสหรัฐ ?:             นักวิเคราะห์บางคนตีความว่าคือสร้างขั้วใหม่ที่ตรงข้ามกับฝ่ายสหรัฐ ขั้วนี้มีจีน-รัสเซียเป็นแกนนำ และตีความต่อว่าใครที่...

ระบบโลกที่บิดเบี้ยว (2) สงครามยูเครน

รูปภาพ
เงื่อนไขสงบศึกของปูติน การใช้ทรัพย์รัสเซียที่ยึดได้เป็นหลักฐานชี้ว่าต่างฝ่ายต่างยืนยันรบต่อบ่งชี้ระเบียบโลกที่บิดเบี้ยว ต้องสู้กันต่อไป             สงครามยูเครนมองได้หลายกรอบตั้งแต่ศึกระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ระหว่างฝ่ายเสรีประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม การแข่งขันจัดระเบียบโลก เหล่านี้ชี้ว่าระเบียบโลกที่เป็นอยู่ไม่สมบูรณ์ สงครามยูเครนชัดเจนรุนแรง สงครามอุดมการณ์ทางการเมือง ?:             ถ้ายึดกรอบอุดมการณ์สามารถตีความได้ 2 แบบ คือสงครามระหว่างฝ่ายเสรีประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม กับไม่ใช่อุดมการณ์ทางการเมือง           ประการแรก เสรีประชาธิปไตยกับอำนาจนิยม             มีนาคม 2022 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แสดงสุนทรพจน์ State of the Union ความตอนหนึ่งกล่าวว่าหน้าที่ของคนอเมริกันคือปลดปล่อยให้คนมีเสรีภาพจากทรราชย์ (tyranny) รัสเซียกำลังสะเทือนโลกเสรี สหรัฐจะยืนเคียงข้างยูเครน ตลอดประว...

ระเบียบโลกที่บิดเบี้ยว (1)

รูปภาพ
สัจนิยมมีข้อดีหลายอย่างแต่เปิดช่องให้รัฐบาลบางประเทศตีความว่าสามารถรุกรานประเทศอื่นๆ เป็นเรื่องปกติของโลก บางประเทศพยายามทำให้ดูดีอ้างว่าเป็นการป้องกันตนเอง             บางคนอาจสงสัยทำไมสหประชาชาติไม่ลงโทษรัสเซียที่บุกยูเครน ไม่ลงโทษอิสราเอลที่ค่อยๆ ยึดดินแดนปาเลสไตน์ ทั้งสองกรณีละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ ละเมิดข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง ข้อตกลงระหว่างประเทศ คำถามนี้อธิบายได้หลายแบบ หนึ่งในนั้นเพราะระบบโลกที่มีอยู่ไม่สมบูรณ์ กลไกจึงพลอยบิดเบี้ยวไม่เป็นไปตามที่บางคนคิดหวัง (ทั้งนี้กลไกทำหน้าที่ตามเงื่อนไขที่สร้างขึ้นตั้งแต่ต้น) ในที่นี้จะมุ่งพูดถึงสหประชาชาติโดยเฉพาะคณะมนตรีความมั่นคงผู้มีบทบาทสำคัญสุด             สหประชาชาติ ( United Nations) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1945 เริ่มต้นด้วยสมาชิก 51 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 193 ประเทศ ( 2024 ) ประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมคือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน ( Republic of South Sudan) เมื่อปี 2011 ประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อปี 1946 (พ.ศ.2489) ด้วยชื่อ Siam ...