คนอเมริกันส่วนใหญ่มองลบต่อระบอบประชาธิปไตย
ในขณะที่นักการเมืองทุกพรรคพูดสนับสนุนประชาธิปไตย ส่งเสริมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นแต่ผลลัพธ์ออกมาตรงข้าม
ผลวิจัยเมื่อมิถุนายน 2023 ของ Associated Press-NORC Center for Public Affairs Research เผย คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่ชื่นชมการปกครองระบอบประชาธิปไตยของตนกำลังไปได้ดีจริงๆ คิดว่าพวกพรรคการเมือง ศาลฎีกา ประธานาธิบดี รัฐบาลไม่ยึดมั่นประชาธิปไตยส่วนใหญ่จอมปลอมมากกว่า ไม่ตั้งใจทำเพื่อประชาชนจริง ส่วนใหญ่คิดว่า กฎหมายกับนโยบายรัฐบาลไม่เป็นไปตามที่ประชาชนต้องการ ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ นโยบายควบคุมปืน ประเด็นผู้อพยพเข้าเมืองจนถึงการทำแท้ง
คนอเมริกัน 53%
ฟันธงว่า สส. สว. (โดยรวม) ห่วยแตกไม่ยึดมั่นหลักประชาธิปไตย ข้อนี้มีเพียง 16% ที่คิดว่านักการเมืองยึดมั่นประชาธิปไตยจริง
เมื่อเจาะจงที่รัฐบาลไบเดน 6 ใน 10 ของพวกเดโมแครทเห็นว่ารัฐบาลสอบผ่านยึดมั่นประชาธิปไตย
แต่ 4 ใน 5 ของพวกรีพับลิกันให้รัฐบาลสอบตก
และทั้ง 2 พวกส่วนใหญ่ให้ สส. สว. (โดยรวม) สอบตก 8
ใน 10 ของพวกเดโมแครทฟันธงว่าพรรครีพับลิกันไม่ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยจริง
เช่นเดียวกับที่พวกรีพับลิกันฟันธงว่าพรรคเดโมแครทไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นกัน
การแตกแยกทางการเมืองการแบ่งขั้วของอเมริกานับวันจะร้ายแรง
ไม่ร่วมมือกันแก้ปัญหาชาติตั้งแต่เรื่อยใหญ่ๆ อย่างเงินเฟ้อ เศรษฐกิจส่อแววถดถอย
แทนที่นักการเมืองจะช่วยกันกลับซ้ำเติมสร้างความทุกข์ยากแก่ประชาชน
ด้านคนอเมริกันด้วยกันเองรู้สึกแปลกแยก
คนหนึ่งกับอีกคนเข้ากันไม่ได้จากความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่าง ทั้งๆ
ที่ยึดถือหลักประชาธิปไตยเหมือนกัน
ส่วนใหญ่สงสัยว่าพวกนักการเมืองกับรัฐบาลเข้าใจหรือไม่ว่าประชาชนต้องการอะไร
71%
คิดว่าเรื่องที่ประชาชนคาดหวังมีความสำคัญที่สุดเมื่อนักการเมืองจะออกกฎหมายหรือนโยบาย
มีเพียง 48% ที่คิดว่าได้รับการตอบสนองจริง ในขณะที่เกือบ 70%
เห็นว่ากฎหมายกับนโยบายต้องยึดรัฐธรรมนูญเป็นหลักสำคัญสุด แต่มีเพียงครึ่งเดียวที่คิดว่ากฎหมายกับนโยบายที่ออกยึดรัฐธรรมนูญจริง
ยิ่งเจาะลึกลงแต่ละนโยบายยิ่งพบว่ากฎหมายหรือนโยบายที่ออกไม่ตรงกับความต้องการของประชาชนจริงๆ
เช่น ประเด็นผู้อพยพเข้าเมือง การใช้จ่ายของรัฐบาล การทำแท้ง นโยบายควบคุมปืน
แม้กระทั่งนโยบายเศรษฐกิจ LGBTQ+ การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วิพากษ์องค์รวมและสรุป :
ประการแรก ประธานาธิบดีกับภาพลักษณ์ประชาธิปไตย
ประธานาธิบดีไบเดนตีตราว่าอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์
ทรัมป์เป็นพวกกึ่งเผด็จการ (semi-fascism) เป็นพวกสุดโต่ง
(extremist) รวมถึง สส. สว. บางคนด้วย
ในขณะเดียวกันนโยบายหลายข้อของรัฐบาลไบเดนถอยห่างจากหลักเสรีภาพ
ใช้ลัทธิปกป้อง (protectionism) ขวางการค้าเสรี ยึดความมั่นคงแห่งชาติเหนือลัทธิเสรีนิยมที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลสหรัฐเชิดชูไม่ต่างจากสมัยทรัมป์
ประการที่
2 พรรครีพับลิกันไม่ยึดมั่นหลักประชาธิปไตยจริง
อาจตีความต่อว่าไม่แปลกที่คนเหล่านี้สนับสนุนทรัมป์อย่างแข็งขัน
แม้ทรัมป์ถูกตีตราว่าไม่ยึดมั่นประชาธิปไตย การเหยียดผิวเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐไม่ใช่เรื่องทัศนคติส่วนบุคคลแต่เป็นโครงสร้างสังคมที่ยึดถือในคนกลุ่มก้อนใหญ่
ประการที่ 3 นักการเมืองผู้สร้างความแตกแยก
ผลวิจัยของ
Associated Press-NORC Center for Public Affairs Research ระบุว่าการแตกแยกทางการเมืองการแบ่งขั้วของอเมริกานับวันจะร้ายแรง
ไม่ร่วมมือกันแก้ปัญหาชาติ
แทนที่นักการเมืองจะช่วยกันกลับซ้ำเติมสร้างความทุกข์ยากแก่ประชาชน
แดรอน
อเซโมกลู (Daron Acemoglu) นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันแสดงความเห็นว่าปัญหาที่สะสมหมักหมมมานานทำให้คนอเมริกันจำนวนมากไม่เชื่อถือนักการเมือง
เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์ได้รับเลือก
รัฐบาลทรัมป์พยายามเอาใจคนอเมริกันกลุ่มนี้ด้วยการออกนโยบายต่อต้านคนผิวสี
ต่อต้านคนต่างด้าวอพยพเข้าเมือง
ใช้กลยุทธ์สร้างความแตกแยกเพื่อชักนำคนฝ่ายหนึ่งมาสนับสนุนตนอย่างแข็งขัน
แต่หลังบริหารประเทศไม่นานคนอเมริกันพบว่าทรัมป์บั่นทอนประชาธิปไตยอย่างมากเพราะมีแนวคิดต่อต้านเสรีนิยม
ไม่สนใจต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน มีแนวคิดปกครองประเทศแบบอำนาจนิยม
พยายามนำคนในครอบครัวมาบริหารประเทศ
เจมส์
แมตทิส (James Mattis) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกล่าวว่าทรัมป์คือประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่พยายามรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว
พยายามสร้างความแตกแยก รวมความแล้วตลอด 4 ปีของประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้นำประเทศเป็นผู้ปลุกกระแสความรุนแรง
เกลียดชังอีกฝ่าย โหมกระพือ White Supremacy
อเมริกาแบ่งแยกกว่าเดิม
ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่มีข้อดี
บางคนคิดว่าประชาธิปไตยที่ไหนๆ ก็เหมือนกัน
ความจริงแล้วคำว่าประชาธิปไตยมีความหมายหลายอย่าง
ในเชิงอุดมการณ์หมายถึงการปกครองที่ให้ความสำคัญกับประชาชน ประโยชน์ต้องตกแก่ประชาชนและเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืน
ส่วนจะเป็นรูปแบบใดนั้นแต่ละประเทศมีพัฒนาการของตนเอง
รูปแบบประชาธิปไตยสหรัฐจึงแตกต่างจากอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฯลฯ
การสรุปเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าประชาธิปไตยแบบอเมริกาไม่ดี
แต่หมายถึง “ความเหมาะสม” แต่ละประเทศมีบริบทแตกต่างกัน ทั้งวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทุกประเทศจะต้องเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
ดังที่นำเสนอแล้วว่ารูปแบบการปกครองประชาธิปไตยของสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น
มาเลเซีย ฯลฯ ล้วนแตกต่างกัน
ผลวิจัยของ Associated Press-NORC Center for Public Affairs Research
ตอกย้ำความไม่พอใจต่อระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกาจากคนอเมริกันเอง ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐพยายามชูธงการปกครองของตนและชี้ว่าตนเป็นผู้นำโลกเสรี
ส่งออกประชาธิปไตย
ประเด็นหนึ่งที่น่าคิดคือ
ในขณะที่นักการเมืองทุกพรรคพูดสนับสนุนประชาธิปไตย
ส่งเสริมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นแต่ผลลัพธ์ออกมาตรงข้าม
------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ประชาธิปไตยโลกถดถอยไม่หยุด อำนาจนิยมเข้มแข็ง
ประชาธิปไตยในแต่ละประเทศมีขึ้นมีลง โดยรวมแล้วเสรีภาพโลกถดถอยต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 ฝ่ายอำนาจนิยมเข้มแข็งขึ้น แต่ประเทศประชาธิปไตยที่เข้มแข็งขึ้นก็มีบรรณานุกรม :
1. Americans are widely pessimistic about democracy in the United States, an AP-NORC poll finds. (2023, July 14). AP. Retrieved from https://apnews.com/article/poll-democracy-partisanship-trump-biden-trust-221f2b4f6cf9805f766c9a8395b9539d
2. AP-NORC Center for Public Affairs Research. (2023, June 14). Most adults feel the interests of people like them are not well represented. Retrieved from https://apnorc.org/projects/most-adults-feel-the-interests-of-people-like-them-are-not-well-represented-2/