บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2023

ทำไมยุโรปจำต้องมีระบบป้องกันภัยทางอากาศของตนเอง

รูปภาพ
ภายใต้แนวคิดชาติยุโรปจำต้องติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศของตนแฝงด้วยผลประโยชน์ของประเทศหลัก ยังถูกครอบงำด้วยอิทธิพลสหรัฐไม่มากก็น้อย มิถุนายน 2023 ประธานาธิบดีเอมมานูแอล มาครง (Emmanuel Macron) กล่าวว่าชาติยุโรปจำต้องติดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศของตน เลี่ยงการพึ่งพาสหรัฐ ต้องรู้ว่าถูกคุกคามด้วยอะไร จากนั้นชาวยุโรปจะผลิตสิ่งนั้นและรู้ว่าจะต้องซื้ออะไร ดีกว่าให้ซื้อสิ่งที่มีอยู่ตอนนี้ แนวคิดยุโรปพึ่งตัวเอง : พฤศจิกายน 2018 ประธานาธิบดีมาครงกล่าวว่า ยุโรปต้องมีกองทัพที่เป็นของยุโรปจริงๆ เพื่อปกป้องภัยจากรัสเซีย จีนและแม้กระทั่งสหรัฐ ผู้นำฝรั่งเศสเสนอให้จัดตั้งกองทัพยุโรปลดพึ่งพาความมั่นคงทางทหารจากสหรัฐเป็น “กองทัพยุโรปจริงๆ” ประธานาธิบดีมาครงกล่าวชัดถ้อยชัดคำว่า “ยุโรปจำต้องปกป้องตัวเองได้ดีด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกา” เราต้องรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองและประกันความมั่นคงด้วยตัวเอง ปกป้องอธิปไตยยุโรป ด้วยเหตุนี้จำต้องทบทวนโครงสร้างความมั่นคงและระบบป้องกันประเทศของยุโรปจากอาวุธทุกรูปแบบ สหรัฐอเมริกาเป็นพันธมิตรในประวัติศาสตร์ (historic ally) และยังคงเป็นอยู่ในปัจจุบัน .....

อิสราเอลผู้โดดเดี่ยวที่ยังพออบอุ่น

รูปภาพ
ในยามนี้หากเทียบกับอิหร่าน-อาหรับอาจตีความว่าอิสราเอลถูกโดดเดี่ยวมากขึ้นเมื่อเทียบกับอิหร่าน ยากที่ซาอุฯ จะคืนความสัมพันธ์กับอิสราเอลตราบเท่าที่ลัทธิไซออนิสต์ยังเป็นที่นิยม                ในอดีตอิสราเอลกับซาอุฯ คือ 2 ตัวแสดงหลักประจำภูมิภาคตะวันออกกลาง เปรียบเสมือนนายอำเภอประจำภูมิภาคโดยมีสหรัฐเป็นแกนกลาง เกิดความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน              ทั้งซาอุดีอาระเบียกับอิสราเอลต่างเป็นพันธมิตรสหรัฐเนิ่นนาน 8 ทศวรรษ นับจากค.ศ.1945 เป็นต้นมารัฐบาลสหรัฐยึดมั่นข้อตกลงปกป้องราชวงศ์ซาอุฯ ภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแลกกับการที่สหรัฐได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์น้ำมันซาอุฯ             ความสัมพันธ์กับอิสราเอลยิ่งล้ำลึก เริ่มตั้งแต่สถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่เมื่อค.ศ. 1948 การเผชิญสงครามกับรัฐอาหรับ อียิปต์ หลายครั้งล้วนมีรัฐบาลสหรัฐเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ รัฐบาลสหรัฐมีส่วนสำคัญทำให้นานาชาติยอมรับอิสราเอล สามารถกินดินแดนของปาเลสไตน์ท่ามกลางเสียงประณาม เมื่อไม่นานนี้ยอมรับเยรูซาเล็มเป...

Global Security Initiative เพื่อความมั่นคงเอเชีย-แปซิฟิก

รูปภาพ
 เสถียรภาพและการอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืนขึ้นกับมีความมั่นคงและบริบทเอื้อการพัฒนาซึ่งไม่ได้มาง่ายๆ ต้องเริ่มจากเลือกอยู่ฝ่ายส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมของประเทศต่างๆ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง  (Xi Jinping) กล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อมกราคม 2017 มีสาระสำคัญว่าแต่ไหนแต่ไรมนุษย์ต้องการสันติภาพกับการพัฒนา หลัก Five Principles of Peaceful Coexistence เป็นหลักพื้นฐานของกฎบัตรสหประชาชาติที่มีอายุกว่า 70 ปี และเป็นหลักการที่ได้จากที่ประชุม Bandung Conference เมื่อกว่า 60 ปีก่อน หลักการนี้เป็นรากฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ชาติ สอดคล้องกับหลักยึดจีนดังนี้  ข้อแรก ต้องการสันติภาพโลก อยู่ร่วมกันฉันมิตร จีนมีประสบการณ์ขมขื่นเมื่อต่างชาติรุกราน ดังเช่นสงครามฝิ่นเมื่อปี 1840 (1840 Opium War) ด้วยเหตุนี้จีนจะไม่ทำเช่นนี้กับชาติอื่น และเชื่อเสมอว่าสันติภาพกับเสถียรภาพคือหนทางสู่การพัฒนาและการกินดีอยู่ดี ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกล่าวว่าการที่จีนพัฒนาจากประเทศยากจนอ่อนแอเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ไม่ใช่ด้วยการรุกรานทางทหารหรือล่าอาณานิคม แต่ด้วยการที่ป...

สหรัฐยากจะสร้างสงครามในตะวันออกกลางอีก

รูปภาพ
การปรับสัมพันธ์อิหร่าน-ขั้วซาอุฯ ทำให้สถานการณ์ตะวันออกกลางเปลี่ยนครั้งใหญ่ ยากที่สหรัฐจะทำสงครามและดึงอาหรับรบอิหร่าน             ต้นเดือนเมษายน 2023 อิหร่าน-ขั้วซาอุฯ ทั้ง 2 ประเทศแถลงร่วมกันว่าจะเปิดสถานทูตระหว่างกัน จะมีความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับเศรษฐกิจอีกครั้ง เรื่องนี้น่าสนใจมาก เป็นการตัดสินใจที่ห้าวหาญสวนหลักคิดเดิมที่ยึดมาหลายทศวรรษ หลังจากนั้นอีกหลายประเทศทยอยฟื้นความสัมพันธ์ปกติกับอิหร่าน             เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ควรทบทวนความบาดหมางในอดีต ย้อนหลัง กุมภาพันธ์ 2018 นายอเดล อัล-จูเบียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้ว่าอิหร่านสนับสนุนผู้ก่อการร้ายหลายกลุ่ม ทั้งให้แห่งพักพิงแก่อัลกออิดะห์ ทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากการปฏิวัติของอยาตุลเลาะห์ โคไมนี ( Ayatollah Khomeini)             ในปี 1979 อยาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ นำการปฏิวัติอิสลามสู่ประเทศอิหร่าน โค่นล้มระบอบอำนาจเก่า...

รอบวันสถานการณ์โลก มิถุนายน 2023

รูปภาพ
  ... ร่วมพูดคุยติดตามข่าวสารสำคัญได้ที่ ห้องไลน์ “ สถานการณ์โลก ” https://line.me/ti/g2/gJydU7mfnBww2eG9biRFbdMp5b8yPWp7q1U2nA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default ศุกร์ 30 มิถุนายน ระบบโลกที่แยกส่วน (The Hill) แนวคิดอธิบายว่าระบบโลกที่กำลังเปลี่ยนในยามนี้ แม้มีการแข่งขันช่วงชิงหรือกระทั่งทำสงคราม แต่อิทธิพลจากมหาอำนาจกระจุกตัวในบางภูมิภาคเท่านั้น สื่อจะสนใจจุดที่ร้อนแรงขัดแย้งเป็นหลัก ประเทศชายขอบอีกมากที่ไม่ตกเป็นเป้าช่วงชิง จึงไม่ค่อยรับผลหรือไม่เป็นที่สนใจนัก  บางเทศที่มีพลังอำนาจอย่างอินเดีย อาเซียน สามารถแข็งขืนหรือร่วมมือกับทั้ง 2 ขั้ว เป็นอีกภาพที่ชี้ว่าระบบโลกใหม่ที่กำลังพัฒนาไม่ใช่ระบบที่ชัดเจนทุกประเทศอยู่ใต้ระบบใหม่เหมือนกันหมด ในยามนี้ความพยายามที่จะชี้ว่าเป็นระบบโลกแบบใดอาจไม่ค่อยได้ประโยชน์ ไม่สามารถเป็นตัวแทนได้ทั้งหมด เศรษฐกิจสหรัฐไตรมาส 1 โตถึง 2% ต่อปี เป็นตัวเลขปรับใหม่ (AP) โตเร็วสุดในรอบ 2 ปี เดิมคาดว่าโต 1.3% ยอดค้าปลีกเดือนก่อนสูงขึ้น อัตราว่างงาน 3.7% ต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ พฤหัส 29 มิถุนายน Peter Szijjarto รั...