ถ้าสงครามยูเครนยุติ เยอรมนีจะซื้อพลังงานจากรัสเซียอีกหรือไม่
ความตั้งใจของรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกคือให้สงครามยูเครนเป็นเหตุผลความชอบธรรมที่จะคว่ำบาตรรัสเซีย ประกาศตั้งแต่แรกว่ากองทัพนาโตจะไม่ปะทะกับกองทัพรัสเซียโดยตรง
วิเคราะห์
:
1) Michael Kretschmer พูดประเด็นอันเป็นหัวใจของสงครามยูเครน
ย้อนหลังสมัยรัฐบาลทรัมป์ ณ ตอนนั้นทรัมป์ย้ำไม่ให้เยอรมนีใช้ Nord
Stream 2 อ้างว่ายิ่งทำให้รัสเซียมีอิทธิพลต่อระบบพลังงานเยอรมนีและยุโรป
ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลแมร์เคิลตอบว่าเยอรมนีซื้อใช้พลังงานจากหลายประเทศเป็นไปตามหลักความมั่นคงด้านพลังงาน
และการที่รัสเซียหวังขายพลังงานแก่เยอรมนีจะเป็นเหตุที่รัสเซียไม่สร้างสถานการณ์รุนแรง
2) สงครามยูเครนจุดเริ่มของปัญหา
เมื่อรัฐบาลเซเลนสกียืนยันขอเป็นสมาชิกนาโต
ละเมิดเส้นต้องห้ามรัสเซีย (red line) กองทัพรัสเซียจึงบุกเข้ายูเครนเมื่อ
24 กุมภา เรื่องแรกๆ ที่รัฐบาลโอลาฟ โชลซ์ (Olaf Scholz) นายกฯ เยอรมันคนใหม่ทำคือระงับกระบวนการเริ่มใช้ท่อส่งก๊าซ Nord
Stream 2 (ตอนนั้นสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่เปิดใช้)
3) ฉากสงครามไฮบริดยูเครน
สงครามยูเครนไม่ใช่การรบทางทหารระหว่างยูเครน-รัสเซียเท่านั้น ต้องมองภาพหลายมิติและภาพกว้างให้ครบ
เริ่มด้วยการมองว่าเกิดสงครามทางทหารจำกัดขอบเขตภายในแผ่นดินยูเครน
เป็นการปะทะทางทหารระหว่างกองทัพยูเครนกับรัสเซีย (แน่ละอาจมีทหารรับจ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง)
ทันทีกองทัพรัสเซียบุกเข้ายูเครน
รัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกเปิดฉากทำลายระบบเศรษฐกิจรัสเซียทันที มาตรการหลักคือยึดทรัพย์สินรัสเซียจำนวนมากศาลที่อยู่ต่างแดน
ห้ามธุรกรรมการเงินกับธนาคารรัสเซีย (ทำให้ซื้อขายสินค้าไม่ได้ตามปกติ) และห้ามซื้อพลังงานรัสเซีย
โดยออกเป็นมาตรการคว่ำบาตรหลายระลอกเพิ่มความเข้มข้นตามลำดับ
ความตั้งใจของรัฐบาลสหรัฐฯ
กับพวกคือให้สงครามยูเครนเป็นเหตุผลความชอบธรรมที่จะคว่ำบาตรรัสเซีย ประกาศตั้งแต่แรกว่ากองทัพนาโตจะไม่ปะทะกับกองทัพรัสเซียโดยตรง
แต่ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ ข้อมูลข่าวสาร ความช่วยเหลือต่างๆ คิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์แก่ยูเครน
ทำให้การศึกยืดเยื้อ ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ยูเครนยังรบต่อได้เพราะชาติตะวันตกยังให้การสนับสนุนรัฐบาลเซเลนสกี
ความเข้าใจสำคัญคือรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกทำสงครามเศรษฐกิจกับรัสเซีย หรือใช้คำว่าปิดล้อมเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น ข้อนี้คือความต้องการของรัฐบาลสหรัฐฯ
หวังให้เศรษฐกิจรัสเซียอ่อนแอ ความนิยมประธานาธิบดีปูตินตกต่ำ
4) ยุโรปต้องนำเข้าก๊าซสหรัฐฯ
ที่แพงกว่าเท่าตัว
ไม่กี่ปีมานี้สหรัฐฯ
มีก๊าซธรรมชาติจำนวนมากจาก shale gas จนต้องหาทางส่งออก (LNG
เป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งของ shale gas) แต่ที่ผ่านมายุโรปไม่ซื้อของอเมริกาเนื่องจากต้องขนส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
ต้องลงทุนก่อสร้างท่าเรือรับก๊าซ รวมความแล้วต้นทุนก๊าซอเมริกาแพงกว่ามาก การคว่ำบาตรพลังงานรัสเซียกลายเป็นต้นเหตุที่ยุโรปต้องนำเข้าก๊าซอเมริกา
เมื่อราคาพลังงานยุโรปแพงขึ้นเป็นเท่าตัว
ผลที่ตามมาคือเกิดเงินเฟ้อ กระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบ ผลในระยะยาวคือขีดความสามารถในการแข่งขันของยุโรปลดลง
ส่วนสหรัฐฯ ได้ประโยชน์จากการได้ขายก๊าซ ซึ่งทางยุโรปเรียกร้องให้สหรัฐฯ
ลดราคาแต่สหรัฐฯ ยืนยันขายราคาตลาดโลก
5) ถ้าสงครามยุติ รัฐบาลสหรัฐฯ
จะเลิกคว่ำบาตรรัสเซีย?
ประเด็นน่าคิดคือ “ถ้าสงครามยุติ รัฐบาลสหรัฐฯ จะเลิกคว่ำบาตรรัสเซีย?” คำถามนี้ถ้าตอบตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ คำตอบคือ “ไม่” เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ
มองว่ารัสเซียเป็นประเทศเดียวที่มีอาวุธนิวเคลียร์เทียบเท่าตน (ต้องหาทางกำจัดให้ได้)
ชาติยุโรปตะวันตกพยายามตีตัวออกห่าง (หวังดำเนินนโยบายเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
ไม่อิงสหรัฐฯ ดังที่เป็นอยู่) ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ยอมให้ไม่ได้ ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
คือต้องมีพันธมิตรหรือหุ้นส่วนให้มากที่สุดทั่วโลก นาโตคือพันธมิตรที่โดดเด่นที่สุดของสหรัฐฯ
ถ้าสงครามยุติได้จริง
ก่อนจะยุติจะต้องเกิดเหตุบางอย่างเพื่อเป็นความชอบธรรมในการคว่ำบาตรรัสเซียต่อไป
เช่น ตีตราว่ารัสเซียเป็นประเทศก่อการร้าย เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯ วางไว้
--------------------------
อ้างอิง : Kretschmer: Russian gas should resume after Ukraine
war. (2022, October 21). DW. Retrieved from https://www.dw.com/en/german-state-leader-russian-gas-should-resume-after-ukraine-war-ends/a-63530579