บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2022

ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ 2022 (1)

รูปภาพ
นับจากนี้จะไม่แบ่งนโยบายต่างประเทศกับในประเทศอีกต่อไป หากจะให้สหรัฐมั่งคั่งต้องกำกับระเบียบระหว่างประเทศให้สหรัฐได้ประโยชน์สูงสุด              ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ( Joe Beiden ) เกริ่นนำว่า ณ ขณะนี้โลกกำลังแข่งขันจัดระเบียบโลก จะต้องรักษาให้สหรัฐเป็นผู้นำต่อไป ให้ชาติพันธมิตรและหุ้นส่วนเดินตามจังหวะก้าวไปพร้อมๆ กับสหรัฐ จีนเป็นความท้าทายที่รัฐบาลให้ความสำคัญมากที่สุดและมีผลต่อระบบโลก พวกเผด็จการ ( Autocrats ) กำลังบ่อนทำลายประชาธิปไตย นำเสนอรูปแบบการปกครองที่กดขี่คนในชาติและนอกประเทศ สหรัฐเป็นประเทศที่แข็งแกร่งเพราะภายในเข้มแข็ง มีกองทัพไร้เทียมทาน รัฐบาลรักษาสิ่งเหล่านี้ได้เพราะเรายึดระบอบประชาธิปไตย และจะทำหน้าที่รักษาประชาธิปไตยทั่วทุกมุมโลก บทความนำเสนอสาระสำคัญยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฉบับล่าสุด “ National Security Strategy October 2022” ดังนี้ การแข่งขันระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ :             ห้วงทศวรรษนี้ชาติมหาอำนาจกำลังแข่งขันกัน มีผลต่อระเบียบก...

ถ้าสงครามยูเครนยุติ เยอรมนีจะซื้อพลังงานจากรัสเซียอีกหรือไม่

รูปภาพ
ความตั้งใจของรัฐบาลสหรัฐฯ กับพวกคือให้สงครามยูเครนเป็นเหตุผลความชอบธรรมที่จะคว่ำบาตรรัสเซีย ประกาศตั้งแต่แรกว่ากองทัพนาโตจะไม่ปะทะกับกองทัพรัสเซียโดยตรง             Michael Kretschmer นายกฯ รัฐ Saxony ของเยอรมนีกล่าวว่าเยอรมนีต้องสามารถนำเข้าก๊าซรัสเซียอีกครั้งเมื่อสงครามยูเครนยุติ  และขอให้เปิดใช้ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 วิเคราะห์ :           1) Michael Kretschmer พูดประเด็นอันเป็นหัวใจของสงครามยูเครน             ย้อนหลังสมัยรัฐบาลทรัมป์ ณ ตอนนั้น ทรัมป์ย้ำไม่ให้เยอรมนีใช้ Nord Stream 2 อ้างว่ายิ่งทำให้รัสเซียมีอิทธิพลต่อระบบพลังงานเยอรมนีและยุโรป ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลแมร์เคิลตอบว่าเยอรมนีซื้อใช้พลังงานจากหลายประเทศเป็นไปตามหลักความมั่นคงด้านพลังงาน และการที่รัสเซียหวังขายพลังงานแก่เยอรมนีจะเป็นเหตุที่รัสเซียไม่สร้างสถานการณ์รุนแรง             2) สงครามยูเครนจุดเริ่มของปัญหา    ...

ทำไมยุโรปต้องทน ยอมให้เศรษฐกิจพังเพื่อต้านรัสเซีย

รูปภาพ
บัดนี้ไม่ใครปฏิเสธแล้วว่าสงครามยูเครนสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ที่ควรเข้าใจคือบางประเทศทนได้ดีกว่า บางประเทศเศรษฐกิจสังคมจะพังพินาศก่อน              อียูระส่ำ แตกคอว่าควรแก้ปัญหาพลังงานขาดแคลนอย่างไร (AP) 27 ชาติอียูยังตกลงกันไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องกดราคาพลังงานรัสเซีย มีแนวทางจะทำระบบซื้อร่วม วิเคราะห์ :           1.  ถ้าทำตามนโยบายสหรัฐฯ กดราคาน้ำมัน คนที่เสียประโยชน์คือยุโรป             รัฐบาลไบเดนเป็นคนต้นคิดนโยบายกดราคาพลังงานรัสเซีย ผลข้อแรกที่แน่นอนคือ ถ้ายุโรปกดราคารัสเซีย ยุโรปจะต้องนำเข้าในราคาแพงกว่าเดิม เพราะรัฐบาลปูตินประกาศชัดแล้วว่ายุโรปต้องซื้อพลังงานของตนในราคาตลาดโลกเท่านั้น ถ้าจะมากดราคาก็ไม่ต้องมาซื้อ ดังนั้นที่อียูพยายามจะหาทางออกด้วยการประนีประนอมต้องตามต่อว่า “ประนีประนอม” ได้อย่างไร             ณ ตอนนี้ยุโรปนำเข้า LNG จากอเมริกาในราคาแพงกว่าของรัสเซียเป็นตัวเท...

อุตสาหกรรม EV เดือดชี้วัดระเบียบการค้าโลกใหม่ของไบเดน

รูปภาพ
  รัฐบาลไบเดนกำลังทยอยยกเลิกการค้าเสรีแบบเดิม สู่ระบบการค้าใหม่ที่สหรัฐฯ ได้ประโยชน์สูงสุด เรื่องนี้วิเคราะห์ได้กว้างขวางเป็นระเบียบโลกใหม่ที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังสร้าง อุตสาหกรรม EV สะท้อนความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รัฐบาลไบเดนตั้งงบ 28,000 ล้านดอลลาร์อุดหนุนอุตสาหกรรมรถ EV อเมริกา (CNBC) อุดหนุนการผลิตแบตเตอรี่รถ EV และถ้านับรวมกฎหมายสนับสนุนฉบับอื่น Bipartisan Infrastructure Law, the CHIPS and Science Act และ Inflation Reduction Act รัฐบาลสหรัฐฯ ตั้งงบประมาณอุดหนุนกว่า 135,000 ล้านดอลลาร์แล้ว เฉพาะก้อน 28 , 000 ล้านดอลลาร์จะกระจายใน 20 บริษัทที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ :             1) รัฐบาลสหรัฐฯ มักโจมตีประเทศอื่นๆ ที่อุดหนุนภาคการเกษตร อุตสาหกรรม ฯลฯ เช่น โจมตีว่ารัฐบาลจีนอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ เห็นว่าการอุดหนุนเช่นนี้กระทบการค้าเสรี ไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐฯ ความจริงแล้วรัฐบาลอุดหนุนภาคเอกชนของตนเช่นกันและเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมานานแล้ว             2) การอุดหนุนนี้กีดกั...

เบื้องหลังทำไมซาอุฯ กล้าหักไบเดน ไม่ผลิตน้ำมันเพิ่ม

รูปภาพ
ข่าวล่าสุด ไบเดนประกาศจะปล่อยน้ำมันจากคลังสำรองอีก 15 ล้านบาร์เรลหลัง OPEC+ ไม่ยอมเพิ่มกำลังผลิตตามคำขอ (CNN) วิเคราะห์ :             1) เป็นที่คาดหมายล่วงหน้าว่าหากโอเปกไม่ทำตามที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการ ไบเดนก็ต้องใช้วิธีนี้             2) เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าการปล่อยน้ำมันสำรองดังกล่าวช่วยลดราคาได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น ไม่ได้แก้รากปัญหา ที่ประธานาธิบดีไบเดนทำเช่นนี้ก็เพื่อหวังผลการเลือกตั้งกลางเทอม (ต้นพฤศจิกายน) บ่อยครั้งที่มาถึงเลือกตั้งกลางเทอมผู้เป็นประธานาธิบดีมักออกนโยบาย “ลดแลกแจกแถม” ... นี่คือการซื้อเสียเชิงนโยบายหรือเปล่า ????             ไม่กี่วันก่อนรัฐบาลซาอุฯ ชี้ไบเดนต้องการคือให้โอเปกเลื่อนลดกำลังผลิตออกไป 1 เดือน แต่หากโอเปกเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตตามกลไกการตลาด อาจเลื่อนออกไปจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ             3) คำถามสำคัญ ทำไมรอบนี้ซาอุฯ ก...

ใครชนะ ... ระบบป้องกันภัยทางอากาศนาโตกับขีปนาวุธโดรนจากรัสเซีย

รูปภาพ
                 1)  ย้อนข้อมูลเก่า              กองทัพยูเครนวิกฤต เมื่อรัสเซียเปลี่ยนแผนมุ่งโจมตียูเครนด้วยขีปนาวุธ โดรนพิฆาต กลายเป็นประเด็นร้อนถึงรัฐบาลไบเดนที่ต้องเร่งรีบส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศแก่ยูเครนเพิ่มเติม              ต้องเข้าใจว่าก่อนว่าก่อนหน้าที่หลายประเทศส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศแก่ยูเครนจำนวนหนึ่งอยู่แล้ว เห็นได้ชัดว่าไม่เพียงพอ ไม่สามารถป้องกันการโจมตีทางอากาศจากรัสเซีย ทั้งยังมีคำถามว่าอาวุธที่ให้ไปแล้วเหลือกี่เปอร์เซ็นต์ที่ยังใช้การได้จริง              2)  สหรัฐฯ นาโตส่งขีปนาวุธพื้นสู่อากาศให้เพิ่ม  –  ช่วยได้จริงหรือ              ตอนนี้สื่อตะวันตกโหมข่าวรัฐบาลชาติตะวันตกเร่งวันเร่งคืนส่งขีปนาวุธพื้นสู่อากาศให้ยูเครน ความรู้ที่ต้องมีคือระบบป้...

แนวคิดญี่ปุ่นมีอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง

รูปภาพ
การมีอาวุธนิวเคลียร์ยังเป็นเครื่องมือป้องปรามสงครามใหญ่ได้ดี ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่คิดเช่นนี้ นี่ยังไม่รวมแนวคิดญี่ปุ่นอยากกลับมาเป็นชาติมหาอำนาจอีกครั้ง               ไม่ว่าเป้าหมายลึกๆ ของญี่ปุ่นคืออะไร ตลอดเวลาที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นมักจะอ้างว่าอยากมีอาวุธนิวเคลียร์เพื่อป้องปรามเกาหลีเหนือและเอ่ยถึงภัยจากจีนมากขึ้น ยึดเป้าหมายที่มีมาแต่เนิ่นนานคือคาบสมุทรเกาหลีปลอดนิวเคลียร์ ตีความตรงๆ ว่าทั้งเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ต้องไม่มีนิวเคลียร์             ทุกวันนี้ทางการเกาหลีเหนือประกาศว่าตนมีอาวุธนิวเคลียร์เพื่อป้องกันสหรัฐ รัฐบาลสหรัฐยอมรับเช่นนั้น ไม่กี่วันก่อนออกข่าวทดสอบระบบปล่อยนิวเคลียร์ขนาดเล็ก ( tactical nuclear ) หากวันใดที่เกาหลีใต้มีอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ยิ่งไม่มีเหตุผลที่เกาหลีเหนือจะปลดอาวุธของตน โอกาสที่คาบสมุทรจะปลอดนิวเคลียร์แทบจะกลายเป็นแค่ความฝัน แนวคิดญี่ปุ่นมีนิวเคลียร์ :             ถ้าเกาหลีใต้มี...