บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2022

6 เดือนสมรภูมิยูเครนสงครามดำเนินต่อไป

รูปภาพ
ยูเครนเป็นแค่เหยื่อเพื่อนำสู่การต่อสู้ระหว่างขั้วสหรัฐกับรัสเซีย ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐคือมุ่งทำลายเศรษฐกิจสังคมรัสเซีย ตอกย้ำการแบ่งขั้ว          กองทัพรัสเซียบุกเข้ายูเครนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ นาโตยืนยันไม่ให้ทหารของตนปะทะกับทหารรัสเซีย เป็นจุดยืนที่ประกาศตั้งแต่ก่อนสงครามว่าสมรภูมินี้จะเป็นการปะทะระหว่างกองทัพยูเครนกับรัสเซียเท่านั้น 6 เดือนให้หลังหลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ว่ารัสเซียค่อยๆ รุกคืบกินพื้นที่ทางภาคตะวันออกกับภาคใต้ ทั้งกองทัพรัสเซียกับยูเครนต่างสูญเสียไม่น้อย แต่ไม่อาจสรุปว่าสูญเสียเท่าใดเนื่องจากข้อมูลขัดแย้งกัน สงครามยืดเยื้อต่อไป :        ประการแรก การต่อสู้ระหว่างนาโตกับรัสเซีย         นาโตให้ความช่วยเหลือด้านการทหาร เศรษฐกิจและอื่นๆ อาวุธของยูเครนจึงถูกเติมเข้ามาเป็นระยะๆ ต้นเดือนสิงหาคมกระทรวงกลาโหมสหรัฐรายงานว่าให้ความช่วยเหลือกองทัพยูเครนมูลค่ารวม 10 , 000 ล้านดอลลาร์แล้ว รัฐบาลไบเดนยืนยันให้ความช่วยเหลือต่อไป ดังนั้น สงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องของยูเครนกับรัสเซียเท่านั้น ...

สงครามยูเครนกระชับสัมพันธ์รัสเซีย-เกาหลีเหนือ

รูปภาพ
ทั้งเกาหลีเหนือกับรัสเซียต่างสามารถอาศัยกันและกัน ใช้ไพ่ของอีกประเทศเป็นเครื่องมือต่อรองฝ่ายตรงข้าม ความสัมพันธ์นี้อาจดังไกลไปถึงสมรภูมิยูเครน อียู         เกาหลีเหนือเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับการประณามกองทัพรัสเซียบุกยูเครน ความสัมพันธ์ 2 ประเทศล้ำลึก อดีตโซเวียตรัสเซียมีส่วนสำคัญทำให้เกิดเกาหลีเหนือ คิม อิล - ซุง (Kim Il-sung)  ปู่ของผู้นำเกาหลีคนปัจจุบันเรียนรู้ลัทธิสังคมนิยมจากค่ายนี้ รัฐบาลโซเวียตสนับสนุนเป็นตัวแทนปกครองเกาหลีเหนือ (หลังแบ่งเป็นเหนือ-ใต้) แต่ภายหลังรัฐบาลเกาหลีเหนือหันไปใกล้ชิดจีนมากกว่า มองจากมุมเกาหลีเหนือ :         การสนับสนุนรัสเซียในสงครามยูเครนอย่างเต็มตัวมีความเสี่ยงและเป็นโอกาสสำคัญ อธิบายได้ดังนี้        ประการแรก ไม่มีอะไรจะเสียอีกแล้ว         สำหรับประเทศทั่วไปการประกาศอยู่ฝ่ายรัสเซียอย่างเปิดเผยย่อมมีผลเสีย หลายประเทศเลือกที่จะไม่แสดงตัวชัดเจน ให้ความร่วมมือกับทั้งรัสเซียกับฝ่ายสหรัฐ แต่เกาหลีเหนื...

เส้นประ 9 เส้น VS ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก

รูปภาพ
ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกคือยุทธศาสตร์ปัจจุบันที่รัฐบาลสหรัฐใช้ขวางเส้นประ 9 เส้นของจีน เป็นการเผชิญหน้าระหว่าง 2 มหาอำนาจโดยตรงและกำลังทวีความรุนแรง            การเยือนไต้หวันของแนนซี เพโลซี ( Nancy Pelosi) ประธานสภาผู้แทนราษฎรกับคณะเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานำสู่การซ้อมรบรอบไต้หวัน ประเด็นนโยบายจีนเดียว (one-China principle) เป็นที่สนใจอีกครั้ง         กระแสข่าวการระดมกำลังของสหรัฐ การซ้อมรบของกองเรือที่ 7 ประจำมหาสมุทรแปซิฟิก การประกาศซ้อมรบเพิ่มเติมของจีนกำลังย้ายกรอบจากเรื่องไต้หวันสู่ทะเลจีนใต้ การอ้างความเป็นเจ้าของผ่าน “ เส้นประ 9 เส้น ” ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐที่ขวางการอ้างความเป็นเจ้าของจากจีน เป็นการเผชิญหน้าระหว่าง 2 มหาอำนาจโดยตรง อะไรคือ “ เส้นประ 9 เส้น ” :         จุดเริ่มต้นของเส้นประ 9 เส้น ( nine-dash line ) เริ่มปรากฏบนแผนที่จีนครั้งแรกเมื่อค.ศ. 1922 ในสมัยนั้นเป็นเส้นทึบ ปี 1936 ปรากฏบนแผนที่ของประเทศสาธารณรัฐจีน ( Republic of China - ไต้หวัน) แสดงอาณ...

ซ้อมรบรอบไต้หวันยกระดับความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน

รูปภาพ
การ “ ปั่น ” คนไต้หวันให้เป็นศัตรูกับจีนนั้นมีจริง เป็นภัยคุกคามที่บั่นทอนความสงบสุขการอยู่ดีกินดีในยามนี้และในอนาคต สุดท้ายจึงอยู่ที่คนไต้หวันจะรู้ทันนักการเมืองหรือไม่           วันที่ 2 สิงหาคมแนนซี เพโลซี ( Nancy Pelosi) ประธานสภาผู้แทนราษฎรและคณะเยือนไต้หวัน เข้าพบประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ( Tsai Ing-wen) เพโลซีกล่าวรัฐบาลสหรัฐยึดมั่นข้อตกลงที่ทำกับไต้หวัน อันหมายถึงสนธิสัญญาความมั่นคง สหรัฐจะปกป้องไต้หวัน เป็นจุดยืนดั้งเดิมของรัฐบาลสหรัฐ ชื่นชมความเป็นประชาธิปไตยของไต้หวัน ผู้รักเสรีภาพ การตอบโต้จากจีน :         ทุกครั้งที่บุคคลระดับสูงของสหรัฐเยือนไต้หวันจะถูกรัฐบาลจีนตีความว่าเป็นการรับรองไต้หวันแม้รัฐบาลสหรัฐยืนยันยึดมั่นนโยบายจีนเดียว ( one-China principle) เพราะเมื่อไปถึงมักจะมีคำพูดว่าส่งเสริมประชาธิปไตยไต้หวันซึ่งขัดแย้งกับหลักจีนเดียว ในเมื่อมีจีนเดียวก็ต้องให้รัฐบาลจีนเป็นผู้ตัดสินว่าไต้หวันจะปกครองอย่างไร แบบ 1 ประเทศ 2 ระบบหรือไม่ ( one country, two systems) แต่ฝ่ายสหรัฐมักทำเป็นไม่เข้าใจเรื...