บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2022

2 ประเด็นสำคัญที่ไบเดนเผชิญในสมรภูมิยูเครน

รูปภาพ
การศึกในยูเครนไม่ใช่เรื่องที่อยากเลิกก็เลิกได้ทันที เพราะสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญยิ่งกว่าความเป็นไปของยูเครนที่มหาอำนาจไม่อาจสูญเสีย         สงครามยูเครนก้าวสู่เดือนที่ 5 นาโตยืนยันสนับสนุนยูเครนสู้กับรัสเซียต่อไป กองทัพรัสเซียมุ่งยึดพื้นที่ด้านตะวันออกตามยุทธศาสตร์สร้างเขตกันชนที่ประกาศตั้งแต่ต้น ผลคือแม้ยูเครนไม่สามารถทำลายกองทัพรัสเซียแต่สงครามยืดเยื้อตราบเท่าที่ 2 ฝ่ายยังไม่สงบศึก          ในมุมของสหรัฐผู้เป็นแกนนำนาโต คำถามคือสงครามนี้จะจบอย่างไร มี 2 ประเด็นใหญ่ที่ต้องคิดหนัก        ประการแรก ความเป็นเจ้าของสหรัฐ         แม้นาโตประกาศตั้งแต่ก่อนสงครามว่าการรบครั้งนี้ทหารนาโตจะไม่ปะทะกับทหารรัสเซีย เป็นการรบระหว่างยูเครนกับรัสเซียเท่านั้น แต่เมื่อสงครามผ่านไปนาโตเริ่มส่งอาวุธช่วยยูเครน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การรบยืดเยื้อ ในเวลาต่อมารัสเซียชี้ว่าเป็นสงครามเศรษฐกิจด้วย         สมรภูมิยูเครนมีส่วนคล้ายสงครามอัฟก...

เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน

รูปภาพ
เมื่อต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากการคว่ำบาตรน้ำมันก๊าซธรรมชาติรัสเซีย วิธีแก้คือระงับหรือชะลอคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียออกไปก่อน ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐกับเงินเฟ้อโลกจะลดลง เศรษฐกิจฟื้นตัวทันที          สัปดาห์ก่อนหลังประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ CPI 8.6% เป็นสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปี ประธานาธิบดีโจ ไบเดนชี้ไตรมาสนี้บรรษัทน้ำมัน Exxon Mobil ทำกำไรมหาศาล ทำไมไม่ผลิตน้ำมันให้มากกว่านี้ ด้านบริษัทชี้แจงว่ามีการสื่อสารกับรัฐบาลเป็นประจำอยู่แล้ว บริษัทกำลังเร่งขยายกำลังการผลิต ภาพรวมสถานการณ์โลก :         พฤษภาคม IMF เผยเศรษฐกิจโลกเข้าสู่การทดสอบครั้งใหญ่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน โรคระบาดโควิด-19 ค่าอาหารกับพลังงานที่สูงลิ่วกำลังเป็นภาระหนักของคนทั้งโลก การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้เงินเฟ้อจะลดการลงทุน พวกรายย่อยจะหาที่กู้ยากและต้นทุนสูง ทุกคนที่มีหนี้จะประสบปัญหาชำระหนี้ซึ่งหากไม่แก้ไขสุดท้ายสถาบันการเงินอยู่ไม่ได้เช่นกัน แนวทางคือต้องลดกำแพงกันและกันซึ่งจะช่วยให้ราคาสินค้าต่างๆ ลดต่ำลง ห่...

วิพากษ์กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF)

รูปภาพ
รัฐบาลไบเดนพูดถึงประโยชน์ของ IPEF แต่มีข้อสงสัยว่าชาติสมาชิกคู่เจรจาจะได้ประโยชน์ทางการค้าเศรษฐกิจแค่ไหน มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่         ปลายเดือนพฤษภาคมประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศจัดตั้งกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก ( Indo-Pacific Economic Framework หรือ IPEF) กล่าวว่า "อนาคตทางเศรษฐกิจของศตวรรษที่ 21 จะถูกเขียนโดยภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก" และ "เรากำลังเขียนกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่" ในเบื้องต้นประเทศที่เข้าร่วมได้แก่ สหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ อินเดีย และ 7 ชาติอาเซียนคือ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม รวมทั้งหมด 13 ประเทศ มีผู้วิพากษ์วิจารณ์หลากหลาย บทความนี้นำเสนอมุมมองที่น่าสนใจ ดังนี้         ประการแรก สามารถแก้ขาดดุลการค้าได้หรือไม่         สหรัฐยอมรับว่าการค้าเสรีดั้งเดิม การให้แต่ละประเทศผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นเหตุผลสำคัญทำให้สหรัฐขาดดุลต่อเนื่องมหาศาล คำถามคือการสร้างเครือข่ายการค้าการลงทุน IPEF จะแก้ปัญหานี้ได้หรือตราบใดที่ระบบการผลิตขอ...

เบื้องหน้าเบื้องหลังการสร้าง IPEF ของไบเดน

รูปภาพ
ฝ่ายสหรัฐคิดเสมอว่าทำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศสูงสุด รวมทั้งการต่อต้านจีน IPEF เป็นความพยายามรอบใหม่ ประกาศชัดขอสร้างกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกที่ตนเป็นผู้นำ           23 พฤษภาคมประธานาธิบดีโจ ไบเดนประกาศจัดตั้งกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก ( Indo-Pacific Economic Framework หรือ IPEF) เพื่อต้านอิทธิพลเศรษฐกิจจีนในภูมิภาคนี้ กล่าวว่า "อนาคตทางเศรษฐกิจของศตวรรษที่ 21 จะถูกเขียนโดยภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก" และ "เรากำลังเขียนกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่" ในเบื้องต้นประเทศที่เข้าร่วมได้แก่ สหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ อินเดีย และ 7 ชาติอาเซียนคือ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม รวมทั้งหมด 13 ประเทศ แนวคิดเบื้องหลัง :         บทความนี้นำเสนอแนวคิดเหตุผลการสร้างระเบียบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก พร้อมข้อวิพากษ์ ดังนี้        ประการแรก พึ่งพาสินค้านำเข้ามากเกินไป โดยเฉพาะจีน         สถาบันคลังสมอง Rethi...