บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2022

นโยบายต่างประเทศสหรัฐต่อจีนโดยแอนโทนี บลิงเคน

รูปภาพ
สหรัฐไม่แสวงหาความขัดแย้งหรือสงครามเย็นใหม่ ( new Cold War) รัฐบาลสหรัฐจะสัมพันธ์กับจีนอย่างสร้างสรรค์ในทุกเรื่องที่ทำได้ โดยที่สหรัฐจะไม่ทิ้งหลักการของตน         เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2022 แอนโทนี บลิงเคน ( Antony Blinken) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐบรรยายนโยบายต่อจีน มีสาระสำคัญดังนี้ บริบทประเทศ :         2 ปีมานี้สหรัฐต้องสู้กับโรคระบาดโควิด-19 เตรียมรับมือโรคระบาดอื่นๆ ในอนาคต ฟื้นฟูเศรษฐกิจ แก้ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน วิกฤตหนี้สิน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรับเปลี่ยนนโยบายพลังงานที่สะอาดมั่นคงขึ้นในราคาซื้อได้ จำต้องแก้ปัญหาร่วมกัน ด้วยการส่งเสริมเทคโนโลยี ส่งเสริมการค้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกรรมกร ขึ้นค่าแรง สร้างโอกาส ยึดมั่นสิทธิมนุษยชน ประเทศมั่นคงปลอดภัย         ในการนี้จำต้องสร้างและปฏิรูประเบียบโลกที่ตั้งอยู่บนกติกา เฉกเช่นกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ละประเทศสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง มีอธิปไตย แก้ไขข้อพิพาทด้วยสันติวิธี เป็นหลักการที่โลก...

สวีเดนเลือกข้าง ขอเข้าร่วมนาโต

รูปภาพ
การเลือกข้างก่อให้เกิดคำถามว่าคือการเปลี่ยนปรปักษ์ให้กลายเป็นศัตรูจริงๆ ใช่หรือไม่ ทำอย่างไรรัสเซียจึงจะวางใจแม้สวีเดนเลือกข้าง           หลังสวีเดนสูญเสียฟินแลนด์แก่จักรวรรดิรัสเซียในสงครามช่วง ค.ศ.1808 – 1809 นับจากนั้นเป็นต้นมาเปลี่ยนจากประเทศที่ขยายดินแดนด้วยการทำสงครามสู่ประเทศที่หลีกเลี่ยงสงคราม ยึดนโยบายเป็นกลางหรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ถึงกระนั้นทุกวันนี้ชาวสวีเดนจำนวนหนึ่งยังมองรัสเซียเป็นภัยคุกคาม บรรดาพรรคการเมืองโน้มเอียงเห็นด้วยกับความสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติก (นาโตคือตัวแทนความสัมพันธ์นี้) ล่าสุดรัฐบาลสวีเดนยื่นเรื่องขอเข้าร่วมนาโตแล้ว เปลี่ยนนโยบายที่ยึดถือมากว่า 2 ศตวรรษ มุมมองของสวีเดน :         ประการแรก สัมพันธ์ที่เลวร้ายลง         รัสเซียบุกไครเมียเมื่อกุมภาพันธ์ 2014 เป็นเหตุการณ์สำคัญทำให้สวีเดนมองรัสเซียในแง่ลบเพิ่มขึ้นชัดเจน Peter Hultqvist รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสมัยนั้นกล่าวว่าเรื่องนี้ผลักดันให้สวีเดนต้องเพิ่มงบป้องกันประเทศ นักการเมืองหลายพรรคเห็นพ้องว่...

ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้ (MNNA)

รูปภาพ
ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโตไม่ใช่สนธิสัญญาป้องกันประเทศร่วม เป็นประเทศที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐมีความร่วมมือด้านความมั่นคงหลายอย่าง         สหรัฐทำสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรทางทหารกับหลายประเทศ หลายฉบับ ต่างมีข้อตกลงเฉพาะมักขึ้นกับบริบทของยุคสมัย เช่น เกาหลีใต้เป็นพันธมิตรสหรัฐภายใต้สนธิสัญญา Mutual Defense Treaty 1953 ตั้งแต่สมัยสงครามเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐมีสนธิสัญญา Security Treaty Between Australia, New Zealand, and the United States of America (ANZUS) 1951 ปัจจุบันลดเหลือสนธิสัญญาระหว่างออสเตรเลียกับสหรัฐเท่านั้น ชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้เป็นสนธิสัญญาด้านความมั่นคงอีกฉบับ บางประเทศผูกพันกับสหรัฐทั้ง 2 สนธิสัญญา          ก่อนจะเข้าใจชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโตควรเข้าใจนาโตก่อน องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เกิดขึ้นเพื่อต้านภัยคุกคามจากรัสเซียหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ในตอนนั้นกองทัพรัสเซียเข้ายึดหลายประเทศในแถบยุโรปตะวันออก ยึดอุดมการณ์เศรษฐกิจการเมืองแบบสังคมนิยม ชาติยุโรปตะวันตกอยู่ในสภาพอ่อนแอจากการทำลายล้า...

แผนติดตั้งขีปนาวุธพิสัยกลางในอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐ

รูปภาพ
สหรัฐหวังติดตั้งขีปนาวุธพิสัยกลางในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้และไทย เป้าหมายหลักคือต่อต้านจีน อเมริกาครองความเป็นเจ้าในอินโด-แปซิฟิก         สิงหาคม 2019 รัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์กับรัสเซียต่างถอนตัวจากสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (INF) ทันทีที่ถอนตัวมาร์ก เอสเปอร์ (Mark Esper) รัฐมนตรีกลาโหมกล่าวว่าสหรัฐอาจเริ่มทดสอบอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางที่ติดตั้งภาคพื้นดินอีกครั้ง หวังจะติดตั้งที่ใดที่หนึ่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เป็นเรื่องน่าคิดว่า INF เป็นสนธิสัญญาที่จะไม่ติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางในยุโรป แต่เมื่อสหรัฐยกเลิกข้อตกลงกลับเอ่ยถึงการติดตั้งขีปนาวุธนี้ที่เอเชียทันที อ้างเหตุผลจีนมีขีปนาวุธดังกล่าว (เช่น DF-26 ) และไม่ได้ลงนามใน INF         รายงาน Ground-Based Intermediate-Range Missiles in the Indo-Pacific ของ RAND เป็นรายงานล่าสุด (2022) ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ ช่วยให้เข้าใจความคืบหน้าและวิเคราะห์โอกาสความเป็นไปได้ มีสาระสำคัญพร้อมการวิเคราะห์ดังนี้ สหรัฐหวังติดขีปนาวุธใน 5 ประเทศ :   ...