บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2022

ความฝันลมๆ แล้งๆ ของเซเลนสกี

รูปภาพ
ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียขยับเข้าเป้าหมายที่ต้องการ น่าติดตามว่าเมื่อไหร่ประธานาธิบดีเซเลนสกีจะตื่นจากความฝัน ทำไมไม่ตื่นจากความฝันลมๆ แล้งๆ เสียที  เมื่อสงครามยูเครนใกล้ครบเดือนกองทัพรัสเซียค่อยๆ รุกคืบกินพื้นที่ ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี (Volodymyr Zelenskiy) เดินสายปราศรัยออนไลน์ร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐและพวก จุดยืนของรัฐบาลเซเลนสกีคือทำสงครามต่อไป เรียกร้องขอให้นาโตตั้งเขตห้ามบิน (no-fly zone) คว่ำบาตรรัสเซียมากกว่านี้ และโยนความเสียหายไม่ว่าจะชีวิตคน บ้านเมืองที่พังทลาย ชาวยูเครนที่อพยพออกนอกประเทศไปแล้วกว่า 3.5 ล้านคนแก่รัฐบาลรัสเซีย ความฝันเรื่องเขตห้ามบิน : หลายครั้งที่ประธานาธิบดีเซเลนสกีกล่าวว่าเขตห้ามบินจะช่วยรักษาชีวิตคนยูเครนได้หลายพันคน คำขอของตนจึงเป็นประโยชน์และไม่มากเกินไป ถ้านาโตตั้งเขตห้ามบินจริงย่อมหมายความว่าเครื่องบินรบนาโตจะสู้กับเครื่องบินรัสเซีย ถ้ารัสเซียมีเครื่องบินรบ 500 ลำ นาโตต้องใช้หลายร้อยลำเช่นกัน คิดลงรายละเอียดมากขึ้น การครองน่านฟ้าจะต้องทำลายระบบต่อต้านอากาศยานของรัสเซียในยูเครน ต้องทำลายสนามบินที่รัสเซียใช้ซึ่งหมายถึ...

เมื่อสงครามยูเครนกำลังลามมาที่อิหร่าน

รูปภาพ
ด้วยความที่รัฐบาลสหรัฐต้องการเข้าควบคุมการซื้อขายน้ำมันก๊าซธรรมชาติของชาติพันธมิตรกับพวก จึงหวังใช้อิหร่านเป็นเครื่องมือ ดึงอิหร่านเข้าสู่สงครามเย็นใหม่          บทความนี้นำเสนอแนวคิดลากอิหร่านเข้าสงครามเย็นใหม่ เท้าความตั้งแต่ข้อตกลงนิวเคลียร์ ตัวแปรรัสเซีย ประวัติความเป็นมาของ JCOPA :         ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) เป็นข้อตกลงพหุภาคี อิหร่านกับ P5+1 ( หรือ E3+3) ได้แก่ สหรัฐสมัยโอบามา รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมัน เป้าหมายคือนำโครงการนิวเคลียร์อิหร่านเข้าสู่การตรวจสอบของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ( International Atomic Energy Agency: IAEA) หน่วยงานสังกัดสหประชาชาติ ให้มั่นใจว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านใช้ในทางสันติเท่านั้น         ปี 2018 รัฐบาลทรัมป์ฉีกข้อตกลง JCOPA เพียงฝ่ายเดียวทั้งๆ ที่อิหร่านไม่ได้ละเมิดข้อตกลง IAEA กับประเทศคู่สัญญาอื่นๆ ยืนยันเรื่องนี้ เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลสหรัฐกระทำตามอำเภอใจ เป้าหมายคือต้องการคว่ำบาตรอิหร่าน...

หลักนิยมชิงลงมือก่อนในบริบทยูเครน

รูปภาพ
รัสเซียบุกยูเครนละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อโต้แย้งคือการบุกเข้าไปเป็นการป้องกันตัวเอง เป็นแนวทางเดียวกับที่รัฐบาลหลายประเทศใช้         มิถุนายน 2002 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ( George W. Bush ) เอ่ยถึงหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” (preemption) ว่ายุทธศาสตร์ป้องปรามและปิดล้อมที่ใช้ในยุคสงครามเย็นไม่เหมาะสมอีกแล้วหลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 “ถ้าเรารอให้ภัยคุกคามก่อตัวจนเต็มที่ เรารอนานเกินไป เราต้องสู้กับศัตรู ทำลายแผนและเผชิญหน้าภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดก่อนที่ภัยคุกคามจะปะทุออกมา”          สรุปได้ว่าหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” (preemption) ของสหรัฐหมายถึง สหรัฐมีความตั้งใจโจมตีข้าศึกที่แสดงท่าทีคุกคามก่อนที่พวกเขาลงมือจริง จะไม่รอให้ถูกโจมตีก่อนจึงโต้กลับ ด้วยความคิด ที่ว่า ตนมีสิทธิ์และความชอบธรรมที่จะชิงโจมตีประเทศใดๆ ที่เห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่อตนเอง ถ้าเป็นภัยคุกคามที่จวนจะถึงตัวแล้ว ( imminent threat ) การชิงลงมือก่อนเป็นการป้องกันตนเองรูปแบบหนึ่ง         และตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “ยิ่งปล่อย...

ชีวิตการเมืองที่ไม่ตลกของเซเลนสกี

รูปภาพ
คำถามที่ไม่ตลกคือทำไมเซเลนสกีปล่อยให้เกิดสงครามและทำไมไม่รีบหยุดสงคราม คำว่า “ขอวางตัวเป็นกลาง” ไม่เป็นสมาชิกนาโตพูดยากมากเลยหรือ         นายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ( Volodymyr Zelenskiy) ตัดสินใจลงเลือกตั้งเพียงไม่กี่เดือนก่อนวันเลือกตั้ง หาเสียงเน้นเรื่องต่อต้านทุจริตทางการเมือง ต่อต้านกลุ่มการเมืองที่ครองอำนาจ ให้ประชาชนมีอำนาจการเมืองการปกครอง มีความยุติธรรม มั่นคงปลอดภัย ยุติความขัดแย้งกับยูเครนตะวันออก คะแนนนิยมของเขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชนะประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโกคนก่อนที่เป็นนายทุนพันล้านด้วยคะแนนถล่มทลาย          เซเลนสกีไม่เคยทำงานการเมืองมาก่อน ไม่มีประสบการณ์การเมืองเลย บทบาทที่คนยูเครนรู้จักคือเป็นดาวตลก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาชนะเลือกตั้งเพราะคนยูเครนเบื่อหน่ายการเมืองแบบเดิมในสายตาประชาชนการเมืองยูเครนสกปรก นักการเมืองกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้อง เป็นบุคคลน่ารังเกียจในสายประชาชน คนยูเครนจึงมองหาตัวเลือกใหม่อย่างเซเลนสกีที่ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่คนของกลุ่มการเมืองแบบเก่า กล่าวได้ว่า ชนะเลือกตั้งเพราะประชาชนเบื่อห...