บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2022

ยูเครนเหยื่อการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ

รูปภาพ
ชาติมหาอำนาจมั่นคงมั่งคั่งขึ้นบนความสูญเสียของยูเครน เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายประเทศ เป็นอุทาหรณ์แก่ประเทศอื่นๆ ที่เหลือ         ในสมัยสงครามเย็นยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต เมื่อสิ้นสุดระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในปี 1991 หลายประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตแยกตัวออกเป็นรัฐอธิปไตย ยูเครนเป็นหนึ่งในประเทศนั้น ประเทศเหล่านี้รวมทั้งรัสเซียต่างรับการปกครองแบบประชาธิปไตย         ยูเครนเหมือนประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่หลายแห่ง การเมืองอ่อนแอ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจทางการเมือง อำนาจปกครองกระจุกตัวอยู่ในคนส่วนน้อยไม่กี่กลุ่ม คนเหล่านี้ไม่ได้คิดถึงผลประโยชน์ของประชาชน คนยูเครนเบื่อหน่ายนักการเมือง จุดเริ่มความสูญเสียของยูเครน :         วิกฤตยูเครนที่กำลังพูดถึงในขณะนี้สามารถย้อนรอยการเมืองในรัฐสภาเมื่อพฤศจิกายน 2013 วิคเตอร์ ยานูโควิช ( Viktor Yanukovych ) ประธานาธิบดียูเครนสมัยนั้นปฏิเสธที่จะลงนามข้อตกลงการค้าระหว่างยูเครนกับสหภาพยุโรปที่ชื่อว่า “ Ukraine-EU ass...

เรื่อง Nord Stream 2 ที่มากกว่าท่อส่งก๊าซ

รูปภาพ
Nord Stream 2 คืออีกครั้งที่เยอรมันพยายามเป็นอิสระและรัฐบาลสหรัฐขัดขวาง ยูเครนเป็นตัวละครล่าสุดที่ถูกดึงเข้ามาใช้ สถานการณ์ยิ่งยืดเยื้อเท่ากับโลกต้องซื้อใช้พลังงานแพงนานขึ้น         ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Gazprom ของรัสเซียกับบริษัทเยอรมันและอีกหลายประเทศ สร้างท่อส่งจากรัสเซียลอดทะเลบอลติกขึ้นฝั่งที่เมือง Greifswald เยอรมนี รวมระยะทาง 1,200 กิโลเมตร สามารถส่งก๊าซจากรัสเซียสู่เยอรมนีปีละ 55,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อรวมกับ Nord Stream ( อันเดิม) จะส่งก๊าซได้ถึง 110,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทำให้เยอรมนีกลายเป็นศูนย์พลังงานแห่งหนึ่งของยุโรปตะวันตก          ยุโรปเป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ( LNG ) รายใหญ่ที่สุดของโลก นิยมใช้ก๊าซธรรมชาติชนิดนี้ทั้งในครัวเรือน สถานประกอบ (ส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องทำความร้อน LNG คล้าย NGV แต่ NGV ใช้กับยานพาหนะและอยู่ในรูปก๊าซ) ใช้เป็นพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้า มักกระจายส่งถึงบ้านและที่ต่างๆ ด้วยระบบท่อ เหตุที่นิยมเนื่องจากราคาถูก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย (เป็นก๊าซมีเทนที่เบากว่...

สงครามการค้าสหรัฐ-จีนสมัยไบเดนกำลังก่อตัว

รูปภาพ
คาดว่ารัฐบาลไบเดนจะยึดนโยบายขึ้นภาษีสินค้าจีน รอบนี้จะหนักกว่าเดิมหากกดดันให้นานาชาติ ลงลึกถึงบริษัทเอกชนทั่วโลกร่วมกันกดดันจีน นี่คือการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกของรัฐบาลอเมริกัน         เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาไมรอน บริลเลียนท์ ( Myron Brilliant) จากหอการค้าสหรัฐเผย รัฐบาลไบเดนกำลังพิจารณาขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ด้วยเหตุผลจีนไม่ซื้อสินค้าสหรัฐมากพอตามสัญญาที่ทำไว้ และรอบนี้จะไม่ขึ้นภาษีสินค้าจีนเพียงลำพังแต่จะร่วมมือกับชาติพันธมิตรช่วยกันกดดันจีน ความร่วมมือนี้จะลงลึกถึงระดับบริษัทเอกชน ย้อนรอยสมัยทรัมป์ :         สมัยประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวเสมอว่าสินค้าจีนเป็นเหตุอเมริกันตกงาน หลายบริษัทปิดกิจการ จึงทำสงครามการค้าด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนหลายระลอก บางรายการขึ้นถึง 25 % ในที่สุดปี 2020 จีนกับสหรัฐบรรลุข้อตกลง Phase One จีนสัญญาว่าจะนำเข้าสินค้าอเมริกามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตร พลังงาน แต่จนบัดนี้จีนซื้อเพียง 60 % ของจำนวนที่ตกลงกันไว้ รัฐบาลไบเดนจึงชี้ว่าตนมีความชอบธรรมที่จะคงอัตราภาษีเท่าเดิม...

ราคาน้ำมันพ่นพิษ คาดทะลุ 100 ดอลลาร์ในเดือนเมษา

รูปภาพ

สหรัฐต้องการให้ยุโรปซื้อพลังงานจากตน

รูปภาพ
รัฐบาลสหรัฐเหมือนเซลส์แมนกำลังใช้พลังอำนาจทุกอย่างที่ตนมีเพื่อกดดันให้ยุโรปซื้อก๊าซธรรมชาติจากตนด้วยสารพัดเหตุผลทั้งด้านความมั่นคงกับเรื่องเงินๆ ทองๆ              ในสถานการณ์ยูเครนตึงเครียดรอบนี้ นาโตเห็นว่ากองทัพแสนนายของรัสเซียคุกคามยูเครนและอาจรุกรานยูเครนด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง จึงเตือนว่าหากทำเช่นนั้นนาโตจะคว่ำบาตรอย่างหนัก หนึ่งในมาตรการคือคว่ำบาตรท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ที่ต่อตรงจากรัสเซียถึงเยอรมัน อันที่จริงท่อส่งนี้ถือว่าสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่เปิดใช้งาน ติดขัดเมื่อยูเครนเกิดปัญหา การคว่ำบาตรท่อส่งก๊าซนี้จะเป็นส่วนของมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่รัฐบาลแมร์เคิลได้ตกลงกับรัฐบาลไบเดน              นอกจากนี้ยังพูดถึงการตัดรัสเซียออกจากระบบการชำระเงินโลก SWIFT ผลคือบริษัทเอกชนของอียูจะไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินกับบริษัทรัสเซีย การค้าระหว่างรัสเซียกับยุโรปจึงถูกตัดขาดจากกัน ผลกระทบจึงไม่ใช่แค่เรื่องก๊าซธรรมชาติเหลว ( LNG) ยังรวมถึงน้ำมัน แร่ต่างๆ ที่ยุโรปนำเข้าจำนวนมาก        ...

ยูเครนกระตุ้นสงครามเย็นใหม่ในยุโรป

รูปภาพ
ยูเครนเป็นพื้นที่กันชนระหว่าง 2 มหาอำนาจ ตอนนี้กำลังถูกใช้โหมกระแสสงครามเย็นใหม่ในยุโรป เป็นวิธีกระชับอำนาจที่รัฐบาลสหรัฐแทบทุกชุดทำเช่นนี้เรื่อยมา                สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับนาโตในขณะนี้เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นตามลำดับหลายเดือนแล้ว (หรือหลายปีแล้วขึ้นกับกำหนดจุดเริ่มต้น) การที่นาโตไม่ยอมรับข้อเรียกร้องรัสเซียเรื่องการรับสมาชิกนาโตทางฝั่งตะวันออก การกำหนดพื้นที่ปลอดภัย การเจรจาหลายรอบที่ไม่ได้ข้อสรุป ทั้งหมดนำสู่การเผชิญหน้าที่รุนแรงขึ้นและส่อแววยืดเยื้อ              ที่ผ่านมาแม้บางฝ่ายจะตีความว่ารัสเซียเตรียมกองทัพแสนนายพร้อมบุกยูเครนหากยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต ในอีกมุมหนึ่ง ฝ่ายสหรัฐเห็นว่าเรื่องนี้อาจเป็นเพียงข้ออ้างที่รัสเซียใช้เพื่อเตรียมกองทัพและเข้ารุกรานเหมือนกับที่รุกรานยูเครนและผนวกไครเมีย ( Crimea) เป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียเมื่อปี 2014 แต่ไหนแต่ไรรัสเซียมองว่ายูเครนเป็นส่วนหนึ่งของตนที่เรียกว่า “Malorossiya” หรือ “Little Russia” ด้วยเหตุนี้เองรัฐบาลไบเดนจึงพูดซ้ำหลายรอบขอให้รัส...