ไบเดนขยับแบ่งโลกด้วยประชาธิปไตย
ไบเดนชี้ว่าฝ่ายประชาธิปไตยกำลังถูกท้าทายจากพวกเผด็จการอำนาจนิยม เรียกร้องให้ฝ่ายประชาธิปไตยทั่วโลกร่วมมือกัน ตั้งงบประมาณอุดหนุนนักสู้เพื่อประชาธิปไตยแก่ทุกประเทศทั่วโลก
ฝ่ายประชาธิปไตยมีศัตรูร่วม :
สถานการณ์ดังกล่าวทวีความรุนแรง
แรงบีบจากพวกเผด็จการต่างชาติที่พยายามแผ่อำนาจอิทธิพลทั่วโลก ตีความว่านโยบายกดขี่ของตนเป็นแนวทางที่ดีกว่า
ต้องการให้สังคมแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเกิดขั้วการเมือง
ประชาธิปไตยไม่ได้เหมือนกันหมด
ไม่เห็นตรงกันทุกเรื่อง แต่มากำหนดอนาคตร่วมกัน พวกที่อยู่ในประชาคมเพื่อประชาธิปไตยต้องยืนหยัดคุณค่าที่ยึดถือร่วมกัน
ยึดมั่นความยุติธรรม หลักนิติธรรม เสรีภาพในการแสดงออก การรวมตัวกัน เสรีภาพสื่อ
การนับถือศาสนา สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยไม่ใช่รัฐแต่เป็นพฤติกรรม
การรวมตัวของรัฐบาลกว่าร้อยประเทศ
รวมทั้งนักเคลื่อนไหว ตัวแทนสหภาพ ประชาสังคม ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ
ในการประชุมนี้เพื่อร่วมสร้างประชาธิปไตยที่ดีกว่า ต้านลัทธิอำนาจนิยม
สู้กับคอร์รัปชัน สนับสนุนสิทธิมนุษยชนของคนทุกแห่งหน
การประชุมสุดยอดนี้เป็นจุดเริ่มการทำงาน
1 ปีของทุกประเทศ วางกรอบทำงานร่วม
ตามข้อสรุปที่ได้จากการประชุมและจะกลับมารายงานในปีหน้า สหรัฐจะนำด้วยการทำเป็นตัวอย่าง
พัฒนาประชาธิปไตยตัวเองพร้อมกับสนับสนุนประเทศหุ้นส่วนทั่วโลก
นโยบายของรัฐบาลไบเดน :
ประการแรก
มอบทุนช่วยเหลือ
เริ่มนโยบาย Presidential Initiative for Democratic Renewal คือมาตรการทางการทูต โครงการช่วยเหลือต่างชาติฟื้นฟูประชาธิปไตย ต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก
ปีหน้าจะตั้งงบประมาณ 424 ล้านดอลลาร์สนับสนุนนโยบายรัฐบาลโปร่งใสตรวจสอบได้ สนับสนุนสื่อเสรี
ต่อต้านคอร์รัปชันทั่วโลก สนับสนุนนักปฏิรูปประชาธิปไตย
ส่งเสริมเทคโนโลยีพัฒนาประชาธิปไตย กำหนดนิยามว่าเลือกตั้งยุติธรรมเป็นอย่างไร
ในเรื่องสื่อเสรี
สาธารณชนจะต้องสามารถนำเสนอว่ารัฐบาลทำอะไร รัฐบาลสหรัฐมีกองทุน International
Fund for Public Interest Media สนับสนุนสื่อเสรีแก่ประเทศต่างๆ
มีกองทุน Defamation Defense Fund for Journalists สำหรับนักข่าวโดยเฉพาะ
เน้นการนำเสนอข่าวเจาะลึก ปกป้องนักข่าวจากการเล่นงานทางกฎหมาย
ก่อตั้งกองทุนฟื้นฟูประชาธิปไตย
(Fund for Democratic Renewal) และโครงการหุ้นส่วนประชาธิปไตย
(Partnership for Democracy) กระทรวงการต่างประเทศกับ USAID
(องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา) จะมอบทุนสนับสนุนแก่ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั่วโลก
ประการที่ 2 ต่อต้านคอร์รัปชัน
จะออกนโยบายใหม่ๆ
เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน เช่น สนับสนุนภาคประชาสังคม สื่อ นักวิชาการ กรรมกร
ผู้แจ้งเบาะแส รวมถึงเรื่องการฟอกเงิน สถานรับฝากเงินนอกกฎหมาย
เหล่านี้คือนโยบายสนับสนุนเสรีภาพประชาชนที่จะพูดแสดงออกต่างๆ
ประการที่ 3 สนับสนุนสตรี LGBTQI
สนับสนุนให้สตรี
เด็กหญิง LGBTQI มีบทบาทในประชาสังคมการเมืองมากขึ้นให้เข้าร่วมสถาบันประชาธิปไตย
ปฏิรูปกฎหมายกรรมกร จะร่วมมือกับหุ้นส่วนต่อต้านการล่วงละเมิดออนไลน์ ต่อต้านประเทศที่ใช้เทคโนโลยีในทางที่มิชอบรวมถึงการสอดแนม
กดทับสิทธิประชาชนในการแสดงความคิดเห็น
ประการแรก จีนเป็นฝ่ายตรงข้ามประชาธิปไตย
แม้สุนทรพจน์ในที่ประชุมสุดยอดประชาธิปไตยไบเดนไม่เอ่ยชื่อจีน
แต่เมื่อปลายเมษายน 2021 ไบเดนแถลงต่อรัฐสภาว่า “เรากำลังแข่งกับจีนและประเทศอื่นๆ
...ในการแข่งขันนี้ฝ่ายประชาธิปไตยต้องชนะ ... ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ารูปแบบการปกครองของเราไม่ใช่ของที่ระลึกประวัติศาสตร์
แต่เป็นรูปแบบเดียวที่ดีที่สุด”
ในมุมมองของรัฐบาลไบเดน นี่คือการแข่งขันสำคัญระหว่างสหรัฐกับจีน ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับเผด็จการอำนาจนิยม
ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นรูปแบบเดียวที่ดีที่สุด (ไม่สามารถเลือกตามบริบทวัฒนธรรมประเทศ)
สมควรที่ทุกประเทศต้องเป็นประชาธิปไตย
ประการที่
2 ไบเดนขอให้แบ่งขั้ว
มุมมองให้ทุกประเทศเป็นประชาธิปไตยเช่นนี้อาจสุดโต่งเกินไป
ถ้าตีความในกรอบแคบรัฐบาลไบเดนกำลังชี้ว่าระบอบจีนไม่ใช่ประชาธิปไตย
(ตามที่รัฐบาลจีนกล่าวอ้าง) ไม่ใช่การปกครองที่ดีและเป็นศัตรูประชาธิปไตย ดังนั้น ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายต้องร่วมกันต้านจีน
กลับสู่แนวคิดแบ่งขั้วด้วยอุดมการณ์การเมือง ตีความได้ว่าพยายามปลุกเร้าเข้ายุคสงครามเย็นใหม่
เพียงแต่รัฐบาลสหรัฐไม่พูดชัด ไม่ใช้คำว่าสงครามเย็นเท่านั้น
รัฐบาลไบเดนไม่ต่างจากรัฐบาลในอดีตที่พยายามแบ่งโลกเป็นขั้วเป็นฝ่าย
ยกตัวเองเป็นผู้นำขั้วหนึ่งที่เรียกว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย”
จะต่อต้านอีกขั้วที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม แทรกแซงกิจการภายในประเทศต่างๆ อย่างโจ่งแจ้งด้วยเหตุ
“เพื่อประชาธิปไตย”
นับจากนี้เป็นต้นไปรัฐบาลสหรัฐจะให้เงินอุดหนุนนักประชาธิปไตยทั่วโลก
(ไม่ว่าจะเป็นบุคคล องค์กร สื่อ) หากทำเช่นนี้จริงและทำอย่างเข้มข้นต้องสรุปว่าโลกเข้าสู่สงครามเย็นใหม่แล้ว
ที่น่าคิดคือนโยบายนี้อาจไม่ส่งผลต่อการเมืองการปกครองจีน แต่ส่งผลต่อการเมืองการปกครองบางประเทศ
อาจเห็นรัฐบาลบางประเทศถูกล้มด้วยเงิน USD
ผลลัพธ์ข้อนี้จะจริงหรือไม่ อนาคตจะเป็นผู้ให้คำตอบ
อาจตีความเป็น “อีกเครื่องมือ” ที่รัฐบาลสหรัฐใช้กดดันนานาประเทศ ให้เลือกว่าต้องการให้บ้านเมืองสงบหรือวุ่นวายเพราะฝ่ายประชาธิปไตย
สื่อ Xinhua วิพากษ์ว่าคือการยุยงให้แบ่งขั้วและเผชิญหน้า
ก่อความเสียหายไม่จบสิ้น ที่สุดแล้วประวัติศาสตร์จะบันทึกเรื่องนี้ว่าเป็นอีกครั้งที่รัฐบาลสหรัฐบิดเบือนและบ่อนทำลายประชาธิปไตย
พร้อมกับตั้งคำถามว่ารัฐบาลไบเดนอ้างประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ตนเอง เพื่อทำลายปรปักษ์ใช่หรือไม่
รัฐบาลสหรัฐอุปโลกน์ตัวเองเป็นผู้นำขั้วประชาธิปไตย
ทั้งๆ ที่หลายประเทศ
นักวิชาการบางคนวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนี้
ประธานาธิบดีไบเดนและอีกหลายท่านในอดีตล้วนยอมรับว่าประชาธิปไตยอเมริกามีปัญหาต้องฟื้นฟู รัฐบาลสหรัฐมีความชอบธรรมเพียงไรที่จะเป็นผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยโลก
ประการที่ 3 ยกระดับแทรกแซงอย่างเปิดเผย
รัฐบาลบางสมัยอย่างบารัก โอบามาแม้เชิดชูประชาธิปไตย ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
แต่ไม่ถึงกับประกาศย้ำให้เงินอุดหนุนฝ่ายประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ รัฐบาลไบเดนจึงเป็นชุดที่ยกระดับถึงขั้นประกาศชัดเจน
แทรกแซงกิจการภายในอย่างเปิดเผยไม่ปกปิด ให้ทุกประเทศเป็นประชาธิปไตยและต้องเป็นในรูปแบบที่ตนเห็นชอบเท่านั้น
อาจพูดอีกอย่างคือให้ได้รัฐบาลที่รัฐบาลสหรัฐเห็นชอบ
ในระยะยาวต้องติดตามว่ารัฐบาลสหรัฐชุดต่อไปจะคงนโยบายนี้หรือไม่
เพราะสมัยทรัมป์ไม่เน้นเรื่องประชาธิปไตยจึงเอาแน่เอานอนกับรัฐบาลอเมริกันไม่ได้
------------------------------
1. Biden needs to add development to his democracy summit's
agenda. (2021, December 9). The Hill. Retrieved from
https://thehill.com/opinion/international/584676-biden-needs-to-add-development-to-his-democracy-summits-agenda?rl=1
2. The White House. (2021, December 9). Remarks By President
Biden At The Summit For Democracy Opening Session. Retrieved from
https://www.whitehouse.gov/briefing-room/speeches-remarks/2021/12/09/remarks-by-president-biden-at-the-summit-for-democracy-opening-session/
3. Xinhua Commentary: Debacle of Washington's sham democracy
show. (2021, December 12). Xinhua. Retrieved from http://www.news.cn/english/2021-12/12/c_1310367915.htm