ประชาธิปไตยโลกในยุคโควิด-19
ทุกวันนี้ประชากรโลก 70% อยู่ในระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยกำลังถดถอย มีเพียง 9% เท่านั้นที่อยู่ในประเทศประชาธิปไตยเข้มแข็ง โควิด-19 เป็นอีกปัจจัยทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง
ปลายเดือนพฤศจิกายน 2021 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อความช่วยเหลือด้านประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง
(องค์กร IDEA หรือ International IDEA) ในสวีเดนเผยแพร่งานวิจัย “The Global State of Democracy Report 2021 - Building Resilience in a Pandemic Era” สะท้อนประชาธิปไตยโลกช่วงปี
2020-2021 ในยุคโควิด-19 มีสาระสำคัญดังนี้
ระบอบที่นับว่าเป็นประชาธิปไตย
เงื่อนไขขั้นต่ำสุดคือฝ่ายค้านต้องมีโอกาสชนะการเลือกตั้งได้จริง ลำพังมีการเลือกตั้งไม่นับว่าเป็นประชาธิปไตย
ระบอบลูกผสม
(hybrid) สังคมการเมืองเปิดกว้างมากกว่าระบอบอำนาจนิยม เช่น
ประชาสังคมทำงานได้ สื่อมวลชนมีเสรีภาพ แต่ยังเปิดกว้างไม่พอ เช่น รัสเซีย
ตามเกณฑ์องค์กร
IDEA ทุกวันนี้ประชากรโลก 70%
อยู่ในระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยกำลังถดถอย มีเพียง 9% เท่านั้นที่อยู่ในประเทศที่ประชาธิปไตยเข้มแข็ง
ความท้าทาย :
ประการแรก
อำนาจนิยมแผ่กว้างยิ่งขึ้น
นับจากปี
2016 ประชาธิปไตยโลกถดถอยเรื่อยมา สถานการณ์ล่าสุดจำนวนประเทศที่กำลังเคลื่อนเข้าหาอำนาจนิยม
(หรือเป็นอำนาจนิยม) มีมากกว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตย 3 เท่าตัว โรคระบาดโควิด-19
ส่งเสริมทิศทางนี้และคาดว่าเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องอีก 5 ปี
จีนเป็นอำนาจนิยมเพราะรัฐบาลเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของทุกคน ไม่มีอะไรปิดกั้น
รัฐใช้เอกชนเป็นเครื่องมือเข้าถึงข้อมูลบัญชีธนาคาร การใช้จ่ายของแต่ละคน
มีกล้องจับภาพหลายล้านตัวเฝ้าดูความเคลื่อนไหวแต่ละคนด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้า
ประการที่
2 พรรคการเมืองใช้เทคนิคของพวกอำนาจนิยม
แม้ในประเทศที่ประชาธิปไตยเข้มแข็งแต่การเลือกตั้งใช้แนวทางของพวกอำนาจนิยมมากขึ้น
อีกทั้งประชาชนจำนวนไม่น้อยสนับสนุน การแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างรุนแรงเป็นอีกเหตุทำให้ประชาธิปไตยถดถอย
พวกที่เรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตยหลายพรรคเลือกที่จะเอาชนะมากกว่าส่งเสริมประชาธิปไตย
ประการที่ 3 ถดถอยในประเทศที่มีประชากรมาก
ปัญหาใหญ่คือในหมู่ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยพบว่าประชาธิปไตยกำลังถดถอยอย่างรวดเร็ว
พรรครัฐบาลค่อยๆ ออกกฎระเบียบให้การเลือกตั้งเอื้อพวกตน ทยอยกีดกั้นเสรีภาพสื่อกับการแสดงออกของประชาชน
ช่วงโควิด-19 ระบาดในขณะนี้ 90
ประเทศออกกฎหมายหรือมาตรการปิดกั้นการแสดงออกหวังสกัดข่าวปลอมโรคระบาด แต่กฎหมายเหล่านี้บางส่วนถูกนำไปใช้ปิดกั้นเสรีภาพประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคระบาด
สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นทั่วไปแม้ในประเทศที่มีประชากรมาก
เช่น บราซิล อินเดีย สหรัฐ
ประการที่
4 เป็นอำนาจนิยมรุนแรงขึ้น
ประเทศที่ปกครองด้วยอำนาจนิยมกับลูกผสมมีความเป็นอำนาจนิยมมากขึ้น
ปี 2020 เห็นภาพนี้ชัดเจน สิทธิเสรีภาพประชาชนถูกปิดกั้นมากกว่าเดิม
ประการที่
5 การเลือกตั้งไม่น่าเชื่อถือ
นับวันคนสงสัยว่าการเลือกตั้งโปร่งใสหรือไม่
แม้กระทั่งเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2020
ที่อดีตประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวหาว่าไม่โปร่งใส แม้จะขาดหลักฐานแต่ทำให้คนอเมริกันจำนวนมากไม่เชื่อถือการเลือกตั้ง
ด้านกองทัพเมียนมาอ้างการเลือกตั้งไม่โปร่งใสเข้าควบคุมอำนาจรัฐบาลเมื่อกุมภาพันธ์
2021 สถานการณ์เช่นนี้เกิดในหลายประเทศ เช่น บราซิล เม็กซิโก เปรู
ประการที่
6 วัคซีนโควิด-19 กระจายไม่ทั่วถึง
รวมทั้งการต่อต้านวัคซีน
ทำให้การฉีดวัคซีนล่าช้าและโรคระบาดยืดเยื้อออกไป ซึ่งเป็นการจำกัดเสรีภาพพื้นฐานการใช้ชีวิต
โอกาส :
ประการแรก ปรับตัวยืดหยุ่นกว่าเดิม
หลายประเทศสามารถปรับปรุงเป็นประชาธิปไตยยืดหยุ่นตามสถานการณ์
ยังคงรักษาหลักการประชาธิปไตยแม้ปฏิบัติไม่เหมือนเดิม พรรคการเมืองสหรัฐจัดประชุมออนไลน์
จัด virtual party convention มีแอปพลิเคชันช่วยให้นักการเมืองกับประชาชนติดต่อใกล้ชิดกัน
ประการที่
2 ปรับกฎระเบียบเลือกตั้งที่รักษาประชาธิปไตย
โรคระบาดทำให้เกิดข้อกำจัดหลายอย่างที่ลดความเป็นประชาธิปไตย
แต่รัฐบาลหลายประเทศปรับตัวให้การเลือกตั้งดำรงความเป็นประชาธิปไตยมากสุดพร้อมกับป้องกันโรคระบาด
ดึงคนให้ออกมาใช้สิทธิ์ได้มาก เช่น เกาหลีใต้ให้คนป่วยในโรงพยาบาล ผู้กักตัวในบ้านสามารถลงคะแนนที่บ้าน
ใช้เทคโนโลยี augmented reality (AR) หลายประเทศมีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากกว่าปกติ
ประการที่ 3 นักประชาธิปไตยเคลื่อนไหวเข้มแข็ง
ตลอดปี
2020-21 นักประชาธิปไตยหลายประเทศเคลื่อนไหวเข้มแข็ง โดยเฉพาะที่เบลารุส คิวบา เอสวาตีนี
(Eswatini – อยู่ในทวีปแอฟริกา) ฮ่องกงและเมียนมา หลายประเทศเคลื่อนไหวแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
การเหยียดเชื้อชาติ
ประการที่ 4 มุ่งหน้าสู่ประชาธิปไตย
บางประเทศเช่นพรรคฝ่ายค้านแซมเบียสามารถฝ่าด่านเอาชนะเลือกตั้ง
แม้ฝ่ายรัฐบาลใช้กลวิธีหลายอย่าง
ประการที่
5 ภาคเอกชนสนับสนุนประชาธิปไตย
บริษัทเอกชนบางแห่งสนับสนุนประชาธิปไตยบางประเด็น
เช่น พฤติกรรมของรัฐบาลจีนต่อพวกอุยกูร์ เป็นกรณีที่บริษัทเอกชนอียูมีส่วนสนับสนุนนโยบายรัฐบาล
ประการที่
6 ระบอบอำนาจนิยมไม่สามารถจัดการโรคระบาดได้ดีกว่าประชาธิปไตย
แม้ข้อมูลมีน้อยและไม่น่าเชื่อถือ
1) ให้คำมั่นสัญญา (Deliver)
รัฐบาลต้องหารืออย่างใกล้ชิดภาคประชาสังคม ร่วมทำสัญญาประชาคมใหม่ เข้าถึงสิ่งที่ประชาชนต้องการกับสิ่งที่รัฐบาลทำได้จริง
สัญญาประชาคมใหม่จะเป็นแนวทางพัฒนาระยะสั้นกับระยะยาว แก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมที่ทวีขึ้นมากในยุคโควิด-19
ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน พัฒนาประเทศโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สร้างระบบนิเวศยั่งยืน
พรรคการเมืองรับฟังความคิดเห็นของคนหนุ่มสาว
2)
ฟื้นฟูใหม่ (Rebuild)
มีงานวิจัยชี้ว่าการเลือกตั้งที่โปร่งใสกับพรรคการเมืองที่ทำงานเพื่อประชาชนเป็นหัวใจทำให้สังคมมีความยุติธรรม
ได้รับสวัสดิการเต็มเม็ดเต็มหน่วยและลดความเหลื่อมล้ำ
รัฐบาลที่ตรวจสอบได้จริงต้องมีระบอบรัฐสภาที่เข้มแข็ง
ฝ่ายค้านทำงานมีประสิทธิภาพ ตุลาการเป็นอิสระและสื่อมวลชนทำงานด้วยความซื่อสัตย์
รัฐบาล
พรรคการเมือง ผู้ดูแลการเลือกตั้งและสื่อมวลชนต้องร่วมกันปฏิรูปสถาบันประชาธิปไตย ปรับปรุงความสัมพันธ์ต่อกันเพื่อร่วมเผชิญความท้าทายต่างๆ
สร้างขีดความสามารถใหม่ๆ การเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือ ปกป้องเสรีภาพและสิทธิขั้นพื้นฐาน
ตรวจสอบถ่วงดุลกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ประชาชนไว้วางใจนักการเมืองซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
3)
ป้องกัน (Prevent)
รัฐบาล ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนต้องร่วมกันต่อต้านอำนาจนิยม ป้องกันประชาธิปไตยถดถอย
ด้วยการให้การศึกษาคนทุกระดับ ตรวจสอบเสาหลักประชาธิปไตย
ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เข้าถึงข้อมูลต่างๆ และเรียนรู้แบบอย่างประชาธิปไตยที่ดีในประเทศอื่นๆ
สร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย วางแนวป้องกันประชาธิปไตย
รายงานล่าสุดขององค์กร IDEA ตอกย้ำรายงานขององค์กรดัชนีประชาธิปไตยอื่นๆ
ที่ต่างชี้ว่าประชาธิปไตยถดถอยอำนาจนิยมแผ่ขยาย สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศแม้กระทั่งประเทศที่ประชาธิปไตยเข้มแข็ง
เป็นสถานการณ์ที่ควรติดตาม
-----------------------