ความเป็นกรีนเห็นได้จากการใช้ชีวิตของพวกเขา เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนอุดมการณ์ตลอดเวลาไม่สิ้นสุด
เป็นวิถีชีวิตรูปแบบหนึ่ง
แนวคิดทางการเมืองของกลุ่มพัฒนาตามลำดับ จากสิ่งแวดล้อมสู่ประเด็นอื่นๆ
อย่างกว้างขวาง
เสาหลัก 4 เสาของพรรคกรีน :
ปลายทศวรรษ
1970 เกิดพรรคกรีนเยอรมนีที่เรียกว่า “German Greens” (Die
Grünen) ประกาศนโยบายหลักที่เรียกว่า ‘เสาหลัก
4 เสาของพรรคกรีน’ (Four
Pillars of the Green Party)
ประการแรก
Ecological wisdom
คำว่า “Ecological wisdom” ไม่จำกัดกรอบเรื่องสิ่งแวดล้อมกับธรรมชาติเท่านั้น
(environment and nature) เป็นคำที่กินความหมายกว้าง หมายถึงภูมิปัญญาทั้งหมดของโลกนี้
เช่น ความรู้เรื่องธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้าน การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ต่อต้านทุกอย่างที่ขัดขวางความยั่งยืน
ประการที่ 2 Social justice
ความยุติธรรมทางสังคมหมายถึงความยุติธรรมในมิติรอบด้าน ไม่แบ่งแยกชนชั้น
เพศ เชื้อชาติ วัฒนธรรม ต่อต้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การกดขี่ขูดรีดทุกรูปแบบ
ประการที่
3 Grassroots democracy
ยึดหลักประชาธิปไตยรากหญ้า
(Grassroots democracy) หรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
(participatory democracy) ต่างจากประชาธิปไตยที่สั่งการจากผู้นำระดับบน
อิทธิพลของเจ้าหน้าที่พรรค (party bureaucracy)
ประการที่
4 Nonviolence
ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
เสาหลัก
4 เสาของพรรคกรีน (Four Pillars of the Green Party) ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันด้วยความเห็นอกเห็นใจ ให้ความสำคัญแก่กันและกัน
ต้องขับเคลื่อนทั้ง 4 เสาพร้อมกันให้สำเร็จไปด้วยกัน
ไม่สามารถแยกเสาใดเสาหนึ่งออกจากกัน ยกตัวอย่างการขับเคลื่อน Ecological
wisdom จะขับเคลื่อนด้วยความรุนแรงไม่ได้
ค่านิยมหลัก 10 ประการ :
ในที่ประชุมใหญ่ Green
Party เมื่อมิถุนายน 2000 รัฐโคโลราโด สหรัฐ ประกาศค่านิยมหลัก 10
ประการ (Ten Key Values) พัฒนาขยายความจากเสาหลัก 4 เสาของพรรคกรีน ดังนี้
ประการแรก
Grassroots democracy
ความเห็นของทุกคนสำคัญ จะต้องรับฟังให้ครบถ้วนหรือมากที่สุด ประชาชนสามารถเข้าถึงตรวจสอบการบริการของรัฐทุกลำดับชั้น
มีส่วนร่วมตัดสินใจนโยบายต่างๆ
ประการที่
2 Social justice and equal opportunity
แก้ไขอุปสรรคสิ่งที่ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความยุติธรรมเท่าเทียม เช่น
การเหยียดเชื้อชาติ (racism) การเหยียดเพศ คนสูงวัย homophobia
(การเลือกปฏิบัติ) ทุกคนอยู่ใต้กฎหมาย
ประการที่
3 Ecological wisdom
คนกับธรรมชาติต้องอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายธรรมชาติ
สร้างระบบนิเวศน์สมดุล
ประการที่ 4 Nonviolence
เป็นสังคมปราศจากความรุนแรงในทุกระดับทุกด้าน ลดอาวุธโดยเฉพาะอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(weapons of mass destruction: WMD) ด้วยตระหนักว่าโลกมีความขัดแย้ง
ประเทศจำต้องป้องกันตัวเองและผู้อื่น พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจา สร้างสันติภาพในทุกระดับจนสู่สันติภาพโลก
ประการที่
5 Decentralization
เน้นการกระจายอำนาจบนความคิดว่าการรวบอำนาจและความมั่งคั่งนำสู่ความอยุติธรรม
ทำลายสิ่งแวดล้อม สงคราม จึงต้องปฏิรูปทั้งด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจเพื่อสร้างระบอบที่อำนาจไม่กระจุกตัวในคนกลุ่มเล็ก
การตัดสินใจใดๆ ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด
องค์กรสิทธิมนุษยชนต้องทำงานเพื่อดูแลทุกคน
ประการที่
6 Community-based economics and economic justice
สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำงานที่มีคุณค่า
ได้รับการค่าตอบอย่างเหมาะสม ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอนามัย
บริษัทเอกชนมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ประการที่
7 Feminism and gender equity
ความเท่าเทียมทางเพศ ทุกคนยึดหลักศีลธรรม
ประการที่
8 Respect for diversity
เคารพความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านวัฒนธรรม เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ภาษา
เชื้อชาติ
ประการที่
9 Personal and global responsibility
ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งเพื่อตนเองและความเป็นอยู่ที่ดีของส่วนรวม
สอดคล้องกับค่านิยมอื่นๆ ข้างต้น ร่วมมือกับทุกคนทุกองค์กร
ประการที่
10 Future focus and sustainability
การพัฒนา การดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงความยั่งยืน มองการณ์ไกล
คิดถึงผลประโยชน์ระยะยาวแทนประโยชน์ระยะสั้น
นอกจากนี้ยังมีกฎบัตรกรีนโลก
(Global Greens Charter) เมื่อปี 2001 จากการประชุมของสมาชิกกรีนทั่วโลก
72 ประเทศ ส่วนใหญ่มาจากพรรคกรีนสหรัฐกับยุโรป
พรรคกรีน (Green Party)
พรรคทางเลือก :
แนวคิดของพรรคกรีนเริ่มตั้งแต่ทศวรรษ
1970 ถ้าเทียบกับพรรคใหญ่ถือว่าเป็นพรรคน้องใหม่ พรรคกรีนในประเทศต่างๆ เป็นพรรคเล็ก
เป็นพรรคนอกกระแสหรือพรรคทางเลือก ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้นในยุโรปหลายประเทศ โดยเฉพาะฝรั่งเศส
ไอร์แลนด์ เยอรมนี แม้ยังไม่ถึงขั้นครองเสียงข้างมากในสภา
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
(climate change) หรือภาวะโลกร้อน โรคระบาดโควิด-19 ส่งเสริมให้เป็นที่นิยมมากขึ้น
หลายคนให้ความสำคัญกับชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ อย่างไรก็ตามผู้คนอีกจำนวนมากที่สนับสนุนพรรคกระแสหลัก
สนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมแบบปัจจุบัน พรรคกระแสหลักที่ออกนโยบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่บริโภคนิยม
ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนมองภาพรวม มองนโยบายด้านอื่นๆ ด้วย ฐานคะแนนเสียงส่วนใหญ่ยังอยู่ที่พรรคหลัก
เป็นวิถีชีวิตไม่ใช่แค่กลุ่มการเมือง:
แนวคิดใช้ชีวิตใกล้ธรรมชาติไม่ใช่ของใหม่
แต่ด้วยการยึดตำราตะวันตก การใช้คำว่า Green movement หรือ Green
Party ทำให้ชาติตะวันตกกลายเป็นแกนนำ อย่างไรก็ตามการเป็นพรรคกรีนไม่จำต้องขึ้นกับกลุ่มใดๆ
สามารถมีแนวคิดของตนอาจตรงหรือไม่ตรงกับพรรคกรีนประเทศอื่นๆ
พวกกรีนส่งเสริมความยั่งยืนสอดคล้องกับ
“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable
Development Goals) ของสหประชาชาติ แต่ผู้นิยมทุนนิยมหลายคนมองว่าเป็นความล้าหลัง
แต่บางประเด็นสามารถชักนำให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น
การรณรงค์ต่อต้านโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์
ต่อต้านประจำการขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางในยุโรป หรือโรคระบาดโควิด-19
การเป็นพวกกรีนมีความหมายมากกว่าคำว่ากลุ่มเคลื่อนไหว
มีบัตรสมาชิกพรรค ไปเลือกตั้งหรือวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล พื้นฐานของผู้ยึดอุดมการณ์นี้คือวิถีชีวิต
เช่น ใส่ใจรักษาสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตที่มุ่งรักษาความยั่งยืน จะเห็นความเป็นกรีนเห็นได้จากการใช้ชีวิตของพวกเขา
และสิ่งนี้แหละที่ขับเคลื่อนอุดมการณ์อยู่ตลอดเวลาไม่สิ้นสุด
นับจากพวกกรีนเริ่มต้นเคลื่อนไหวในทศวรรษ
1970 กลุ่มค่อยๆ เติบโต ผ่านร้อนผ่านหนาว เกิดพรรคกรีนในหลายประเทศ การเคลื่อนไหวดำเนินอย่างมียุทธศาสตร์
มีการหารือตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับโลก ไม่ได้เติบใหญ่รวดเร็วแต่ก้าวไปอย่างมั่นคง
กลายเป็นวิถีชีวิตรูปแบบหนึ่ง มีผลต่อนโยบายประเทศไม่มากก็น้อย
19
กรกฎาคม 2020
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
24 ฉบับที่ 8651 วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563)
-------------------------
บรรณานุกรม :
1. Celep, Odul. (2007). Green Party. In Encyclopedia Of
American Political Parties And Elections. (NY: Infobase Publishing.)
pp.166-167.
2. Coronavirus: Angela Merkel's
approval ratings up amid health crisis. (2020, April 3). Al Jazeera. Retrieved from https://www.dw.com/en/coronavirus-angela-merkels-approval-ratings-up-amid-health-crisis/a-53001405
3. Ecological Wisdom: What Does It
Really Mean? (2013, January 18). Green
Horizon Magazine. Retrieved from https://green-horizon.org/eco-wisdom/
4. Four Pillars of the Green Party. (2020). Fandom. Retrieved from https://greenpolitics.fandom.com/wiki/Four_Pillars_of_the_Green_Party
5. Global Greens Charter. (2020). Fandom. Retrieved from https://greenpolitics.fandom.com/wiki/Global_Greens_Charter
7. Green politics. (2020). Fandom. Retrieved
from https://greenpolitics.fandom.com/wiki/Green_politics
8. Müller-Rommel, Ferdinand. (2011). Green Parties. In
International Encyclopedia of Political Science. (pp. 1051-1054). USA: SAGE
Publications.
9. Opinion: A European Green wave may
be coming — finally. (2020, July 5). Deutsche
Welle. Retrieved from https://www.dw.com/en/opinion-a-european-green-wave-may-be-coming-finally/a-54042567
10. Ruling party's landslide election
win to give boost to President Moon's reform drive. (2020,
April 16). Yonhap. Retrieved from
https://en.yna.co.kr/view/AEN20200416001751315?section=national/politics
11. United Nations Thailand. (2015). เกี่ยวกับสหประชาชาติในไทย.
Retrieved from http://un.or.th/thai/aboutun/priorities.html
--------------------------