บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2020

นโยบายของเวียดนามต่อทะเลจีนใต้

รูปภาพ
ไม่ว่าจะอย่างไรเวียดนามต้องรักษาผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้ พร้อมกับที่ต้องพยายามหาทางอยู่ร่วมกับชาติมหาอำนาจ มีความร่วมมืออยู่คู่ความขัดแย้ง หวังเพียงไม่ขัดแย้งจนควบคุมไม่ได้               ในบรรดาชาติที่พิพาทกับจีนเรื่องสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ เวียดนามพิพาทกับจีนแรงสุด เคยปะทะด้วยกำลังทหารมาแล้ว เผชิญหน้าต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันและน่าจะตึงเครียดมากขึ้น ทั้งคู่มีข้อพิพาทหลายจุดตั้งแต่หมู่เกาะสแปรตลีย์ ( Spratly Islands) หมู่เกาะพาราเซล (Paracel) เวียดนามเรียก Hoang Sa ส่วนจีนเรียกหมู่เกาะซีซา ( Xisha Islands) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ( EEZ )             การจะเข้าใจท่าทีจุดยืนเวียดนามต้องเข้าใจเป้าหมายก่อน             เวียดนามไม่ต่างจากประเทศทั่วไปที่ประกาศต้องการสันติภาพ เสถียรภาพ เพราะสันติภาพเท่านั้นที่ส่งเสริมบรรยากาศการพัฒนาเป็นประโยชน์ทั้งต่อเวียดนาม ภูมิภาคและโลก รัฐบาลเวียดนามเห็นว่าสันติภาพกำลังถูกคุกคามและเป็นอันตรายหากทุกฝ่ายที่เกี่ยว...

วัคซีนกำลังคืบหน้าด้วยดี แต่ใครจะได้วัคซีนก่อน

รูปภาพ

อุดมการณ์พรรคกรีน (Green Party)

รูปภาพ
ความเป็นกรีนเห็นได้จากการใช้ชีวิตของพวกเขา เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนอุดมการณ์ตลอดเวลาไม่สิ้นสุด เป็นวิถีชีวิตรูปแบบหนึ่ง                รากฐานกลุ่มเคลื่อนไหวสีเขียวหรือกลุ่มกรีนให้ความสำคัญระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม ถอยห่างจากโลกวัตถุนิยม ( postmaterialist values ) เคลื่อนไหวทั้งระดับลึกกับระดับกว้างตามระบอบประชาธิปไตย ก่อตั้งพรรคกรีน ( Green Party ) ครั้งแรกในยุโรปเมื่อปลายทศวรรษ 1970 แนวคิดนี้ขยายไปทั่วโลกเกิดพรรคกรีนในหลายประเทศ ผู้สนับสนุนแนวทางนี้มักเรียกตัวเองว่า “พวกกรีน” หรือ “พวกสีเขียว” (Greens)             แนวคิดทางการเมืองของกลุ่มพัฒนาตามลำดับ จากสิ่งแวดล้อมสู่ประเด็นอื่นๆ อย่างกว้างขวาง เสาหลัก 4 เสาของพรรคกรีน :             ปลายทศวรรษ 1970 เกิดพรรคกรีนเยอรมนีที่เรียกว่า “ German Greens ” (Die Grünen) ประกาศนโยบายหลักที่เรียกว่า ‘ เสาหลัก 4 เสาของพรรคกรีน ’ ( Four Pillars of the Green Party)      ...

3 ทศวรรษยุทธศาสตร์ความเป็นเจ้าอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐ

รูปภาพ
ความเข้าใจสำคัญที่ต้องยึดให้มั่นคือสหรัฐเป็นเจ้ามานาน รัฐบาลสหรัฐต้องการเป็นเจ้าโลก ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกคือส่วนหนึ่งในความเป็นเจ้า ยุทธศาสตร์ของแต่ละรัฐบาลคือการปรับเปลี่ยนตามบริบท 3 ทศวรรษนับจากสิ้นสงครามเย็นจนถึงรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ เป้าหมายหลักของยุทธศาสตร์สหรัฐในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รวมอินเดีย) คือต้องเป็นอภิมหาอำนาจผู้เป็นเจ้า จีนเป็นมหาอำนาจที่กำลังก้าวขึ้นมา เกิดแรงเสียดทานระหว่างผลประโยชน์ของ 2 มหาอำนาจ             สหรัฐที่เป็นแชมป์ต้องรักษาความเป็นเจ้าพยายามขัดขวางการก้าวขึ้นมาของจีน ในกรอบที่กว้างขึ้นคือจัดความสัมพันธ์กับทุกประเทศที่เรียกว่าจัดระเบียบภูมิภาค ยุทธศาสตร์แต่ละฉบับปรับเปลี่ยนตามบริบทและแนวทางของรัฐบาลแต่ละชุด พยายามรักษาหรือขยายผลประโยชน์ของตนให้มากที่สุด บทความนี้นำเสนอให้เห็นภาพสรุป ดังนี้ พัฒนาการนโยบายความมั่นคงของสหรัฐในเอเชีย-แปซิฟิก :             สมัยสงครามเย็นรัฐบาลสหรัฐสร้างพันธมิตรกับประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกเพื่อต้านการแผ่ขยายของลัทธิสังค...