กว่า 240 ปีที่สหรัฐประกาศเอกราช
หลักเสรีภาพ ความเสมอภาคและประชาธิปไตยยังเป็นเพียงเป้าหมายเชิงอุดมคติเท่านั้น เพราะ
White Supremacy ฝังรากลึกในสังคมตั้งแต่ก่อนกำเนิดประเทศ
รากฐานความคิดบิดเบือนความเชื่อศาสนา :
รากฐานหลักคิดเรื่อง
White Supremacy เชื่อมโยงกับศาสนา
ประวัติศาสตร์อเมริกาตั้งแต่ยังไม่เป็นประเทศ เมื่อพวกพิวริแตนท์ (Puritans)
โปรเตสแตนท์กลุ่มหนึ่งอพยพเข้าอเมริกา
ค.ศ. 1630 จอห์น
วินธรอป (John Winthrop) คริสเตียนพิวริแตนท์กล่าวถึงการสร้าง
“เมืองที่ตั้งอยู่บนเขา” (city upon a hill)
อันเป็นประโยคที่หยิบยกมาจากคัมภีร์ไบเบิล
ปรารถนาสร้างเมืองให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่การตั้งเมืองอื่นๆ ปัจจุบันเมืองดังกล่าวตั้งอยู่ที่นิวอิงแลนด์
(New England) รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts)
อย่างไรก็ตามหลักคิดเรื่อง
“เมืองที่ตั้งอยู่บนเขา” เป็นหลักความเชื่อของคนชุดนี้เท่านั้น
เพราะในเวลาต่อมามีคนชนชาติอื่นศาสนาอื่นอีกมากที่มาตั้งรกรากในอเมริกา
ไม่อาจเหมารวมว่าคนศาสนาอื่นหรือแม้กระทั่งนิกายอื่นเช่นคาทอลิกจะยอมรับความคิดดังกล่าว
การที่แนวคิดนี้ยังปรากฏในตำราเรียน
และมักถูกอ้างถึง เป็นเรื่องการพูดถึงช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ เป็นการอ้างความเชื่อศาสนาอย่างผิดๆ
การเมืองการปกครองปัจจุบันไม่สะท้อนเป้าหมายเช่นนั้นอีกแล้ว อเมริกาในวันนี้เป็นพหุสังคม
ส่วนหนึ่งของพวกเขายึดแนวทาง White Supremacy
นิยาม White
Supremacy :
นิยามแบบกว้างจะพูดถึง
White Supremacy ที่รวมคนผิวขาว คนยุโรป นิยามแบบแคบจะพูดเฉพาะประเทศ
ประวัติศาสตร์ของประเทศหนึ่ง
หลักคิด White
Supremacy มองว่าตนเป็นกลุ่มคนพิเศษ ได้รับสิทธิพิเศษ
อยู่เหนือคนเชื้อสายอื่นชนชาติอื่น ควรเป็นผู้ปกครอง เป็นที่มาของการดูหมิ่นคนอื่น
มองคนชนชาติอื่นว่าต้องเป็นเบี้ยล่าง เป็นทาส
ในมุมกลับกันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้หากคนผิวขาวตกเป็นเบี้ยล่าง
เสียประโยชน์
White
Supremacy ผูกโยงกับหลักคิดการยึดอาณานิคม จักรวรรดินิยมยุโรป
เห็นว่าการที่คนผิวขาวไปยึดหรือปกครองอาณานิคมที่อื่นๆ เป็นความถูกต้องชอบธรรม
คำว่า White Supremacy มักเป็นเรื่องของสังคมอเมริกา เรื่องที่คนผิวขาวบางกลุ่มเห็นว่าตนเป็นผู้ปกครองประเทศอันชอบธรรม
มีอภิสิทธิ์เหนือชนกลุ่มน้อยชนเชื้อสายอื่นๆ
เป็นความชอบธรรมที่คนผิวขาวใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ส่วนคนผิวสีต้องเป็นผู้รับใช้ คนขาวจะต้องได้รับการยกย่องจากชนเชื้อชาติอื่นๆ
เป็นเรื่องผิดปกติ ไม่ถูกต้องหากคนขาวเป็นที่ดูหมิ่น
การเหยียดผิวเหยียดเชื้อชาติเป็นโครงสร้างสังคม
:
การเหยียดผิวเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐไม่ใช่เรื่องส่วนตัวหรือทัศนคติส่วนตัวเท่านั้น
แต่เป็นพัฒนาการ เป็นประวัติศาสตร์ที่สืบเนื่องยาวนาน มีการถ่ายทอดหลักคิดวิธีการจากรุ่นสู่รุ่น
เป็นวัฒนธรรมหรือค่านิยมของกลุ่มคน คนขาวเหล่านี้ไม่คิดว่าการแบ่งแยกเช่นนี้เป็นปัญหา
เมื่อไม่เป็นปัญหาจึงต้องรักษาไว้ ไม่ต้องแก้ไข
ในสหรัฐมี White
Supremacy หลายกลุ่ม ยกตัวอย่าง
Aryan Nations (AN)
กลุ่ม
Aryan Nations (AN) ก่อตั้งเมื่อปี 1974 โดย Richard Girnt Butler เป็นส่วนหนึ่งของ Church
of Jesus Christ Christian สัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Ku Klux Klan กลุ่มนี้ร่วมมือกับกลุ่มอื่นๆ พวก neo-Nazi groups พวก
Christian survivalist factions เกิดเป็นแนวร่วม Aryan
Brotherhood
กลุ่มอ้างว่าได้รับบัญชาจากสวรรค์เพื่อดูแลคนผิวขาวและกำลังทำสงครามกับซาตาน
มีนโยบายต่อต้านยิว คนผิวสี
Ku
Klux Klan (KKK)
กลุ่ม White
Supremacy ที่ดังที่สุดน่าจะเป็น Ku Klux Klan
กลุ่มนี้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1866 มีสมาชิกและอิทธิพลมากทางตอนใต้อเมริกา มีกองกำลังของตนเอง
พยายามข่มขวัญคนที่ต่อต้าน White Supremacy ด้วยสารพัดวิธี รวมทั้งการทำร้ายร่างกาย
เผาบ้าน เผาโบสถ์ ล่าสังหาร คนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันเป็นเป้าหมายที่โดนเล่นงานเสมอ
พฤติกรรมของ
Ku Klux Klan ผิดกฎหมายจึงถูกทางการลงโทษ
ในที่สุดเมื่อสถานการณ์บานปลาย เกิดความวุ่นวายในหลายเมือง ปี 1870
เจ้าหน้าที่และทหารจากรัฐบาลกลางเข้าจัดการเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ไม่เอางาน
ส่งคนเข้าแทรกซึมกลุ่มจนสามารถควบคุมได้ในที่สุด
ในปี 1915 กลุ่มรื้อฟื้นอีกครั้ง มีบทบาทมากในทศวรรษ 1920
มีข้อมูลว่ามีสมาชิกนับล้านคน เป้าหมายของพวกเขามุ่งเล่นงานพวกยิว
คาทอลิกและคนอเมริกันผิวดำ กระทำผิดกฎหมายบ่อยครั้ง ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน
ละเมิดรัฐธรรมนูญ หวังกดดันให้ชนกลุ่มน้อย พวกผิวสียอมรับสถานะทางสังคมที่ต่ำกว่า
ส่งเสริมสังคมตามแบบ White Supremacy
จำนวนสมาชิกของ KKK ขึ้นๆ ลงๆ ทุกวันนี้กลุ่มยังคงอยู่
ในขณะเดียวกันเกิดการชุมนุมต่อต้านเป็นระยะ ยกตัวอย่าง ตุลาคม 1992
กลุ่มต่อต้านการเหยียดผิวจัดชุมนุมอย่างสันติครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Million
Man March ณ National Mall กลางกรุงวอชิงตัน
ผู้เข้าร่วมชุมนุมส่วนใหญ่คือชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน มีคนเข้าร่วมหลายแสนคน
เรียกร้องยุติการเหยียดผิว White Supremacy ตอกย้ำจุดยืนการชุมนุมเมื่อปี
1963 นำโดย Martin Luther King
ประธานาธิบดีทรัมป์ยืนยันอยู่ฝ่ายของตน :
ท่ามกลางสถานการณ์ชุมนุม
เกิดเหตุรุนแรงจากการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ (George Floyd) ประธานาธิบดีทรัมป์พูดยั่วยุหลายครั้ง ครั้งหนึ่งทวิตข้อความว่าตำรวจทหารที่คุกเข่าเพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ประท้วงคือการ
“คุกเข่าแก่พวกผู้ก่อการร้าย”
เจมส์ แมตทิส (James
Mattis) อดีตรมต.กลาโหมกล่าวว่าทรัมป์คือประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่พยายามรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว
พยายามสร้างความแตกแยก 3 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นชัดแล้ว
การที่ประธานาธิบดีทรัมป์แสดงท่าทีเป็นปรปักษ์ต่อผู้ชุมนุมอธิบายได้จาก
2 แนวทาง แนวทางแรกคือเป็นเรื่องของการเลือกตั้งปลายปีนี้ แนวทางที่ 2
เป็นกรอบที่ใหญ่กว่าคือทรัมป์สนับสนุน White Supremacy (ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่)
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าฐานคะแนนเสียงของทรัมป์หรือพรรครีพับลิกัน ส่วนใหญ่คือพวกผิวขาว
ส่วนพรรคเดโมแครทมีความหลากหลายมากกว่า ผู้สนับสนุนมีคนผิวสี ชนกลุ่มน้อยด้วย
การที่ทรัมป์ยืนยันไม่อ่อนข้อต่อผู้ชุมนุมเพราะต้องการชี้ว่าตนอยู่ฝ่ายคนผิวขาวที่เป็นฐานคะแนนเสียงของตน
คำอธิบายอีกแนวคือทรัมป์ยืนยันส่งเสริมหลักคิด White Supremacy
ที่น่าสนใจคือแม้มีการชุมนุมประท้วง
จนถึงขณะนี้คนอเมริกันอีกไม่น้อยที่สนับสนุนทรัมป์ ผลโพลล่าสุดของ Reuters/Ipsos
พบว่าคนอเมริกันร้อยละ 64 รู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกที่กำลังประท้วง
ร้อยละ 27 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 9 ไม่แน่ใจ เมื่อพูดถึงการเลือกตั้งร้อยละ 47
จะไปเลือกโจ ไบเดน ร้อยละ 37 ยืนยันเลือกทรัมป์ แม้จำนวนผู้สนับสนุนมีน้อยกว่าแต่ยังมีผู้ยืนยันอยู่ข้างทรัมป์
พวกที่สนับสนุน White Supremacy อยู่ในกลุ่มนี้และน่าจะมีไม่น้อยเลยทีเดียว
นี่คืออีกภาพฉายสภาพสังคมอเมริกาในขณะนี้
กว่า
240 ปีที่สหรัฐประกาศเอกราช หลักนิยมการปกครองอเมริกาคือ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมและประชาธิปไตย
แต่ยังเป็นเพียงเป้าหมายเชิงอุดมคติเท่านั้น เพราะคนจำนวนหนึ่งยึดหลัก
White Supremacy ฝังรากลึกอยู่ในสังคมวัฒนธรรมของประเทศตั้งแต่ก่อนกำเนิดประเทศเสียอีก
7 มิถุนายน
2020
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
24 ฉบับที่ 8609 วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2563)
----------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
เหตุอเมริกาจลาจลเพราะจอร์จฟลอยด์ มุมมองจากฝ่ายสนับสนุนทรัมป์
บทวิเคราะห์นี้นำเสนอมุมมองอีกมุม ชี้ให้เห็นความซับซ้อนของเหตุการณ์ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการจลาจล การเผารถ ปล้นสะดมร้านค้า แล้วพูดว่าอเมริกากำลังลุกเป็นไฟ กำลังจะเกิดสงครามกลางเมือง ประเทศจะล่มจม
บรรณานุกรม :1. Capitol Police kneel before protesters in DC and
demonstrators march past Chicago mayor's house as George Floyd protests
continue nationwide. (2020, June 3). Daily
Mail. Retrieved from
https://www.dailymail.co.uk/news/article-8385267/Capitol-Police-kneel-protesters-DC-George-Floyd-protests-continue-nationwide.html
2. Davidoff, Solomon. (2010). Aryan Nations. In Culture
Wars: An Encyclopedia of Issues, Voices, and Viewpoints (p. 31). USA: Myron
E. Sharpe.
3. Denitch, Bogdan. (1992). After the Flood: World
Politics and Democracy in the Wake of Communism. USA: Wesleyan.
4. Frank, Andrew K.. (2011). Ku Klux Klan. In Encyclopedia
of American History (Revised edition, pp. 223-225). New York: Infobase
Publishing.
5. Friedman , Uri. (2012, July/August). American
Exceptionalism': A Short History. Foreign Policy. Retrieved from
http://www.foreignpolicy.com/articles/2012/06/18/american_exceptionalism
6. Ginsberg, Benjamin., Lowi, Theodore J.,
Weir, Margaret., Tolbert, Caroline J., & Spitzer, Robert J.
(2015). We the People: An Introduction To American Politics. (Tenth
Essentials Edition). NY.: W. W. Norton & Company.
7. Howell, Jennifer. (2011). Ku Klux Klan. In Encyclopedia
of American History (Revised edition, pp. 179-180). New York: Infobase
Publishing.
8. Isichei, Elizabeth. (2003). Christianity. In An
International Social, Cultural, and Political Encyclopedia (pp. 115-118).
USA: Infobase Publishing.
9. James Mattis Denounces President
Trump, Describes Him as a Threat to the Constitution. (2020,
June 3). The Atlantic. Retrieved from
https://www.theatlantic.com/politics/archive/2020/06/james-mattis-denounces-trump-protests-militarization/612640/
10. Magleby, David B., Light, Paul C. (2009). Government
by the People (23rd Ed.). USA: Pearson Education.
11. Mitchell, Kelly L. (2010). Million Man March. In Culture
Wars: An Encyclopedia of Issues, Voices, and Viewpoints (pp. 362-363). USA:
Myron E. Sharpe.
12. Most Americans sympathise with
protests, oppose Trump's response: poll. (2020, June 3). The Age. Retrieved from https://www.theage.com.au/world/north-america/most-americans-sympathise-with-protests-oppose-trump-s-response-poll-20200603-p54yz1.html
13. Opinion: Systemic racism is the real 'American carnage'.
(2020, May 30). Deutsche Welle.
Retrieved from https://www.dw.com/en/opinion-systemic-racism-is-the-real-american-carnage/a-53642476
-----------------------------