บทความ
กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020
Nuclear sharing ความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างสหรัฐกับเยอรมนี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
สังคมเยอรมันถกแถลงเรื่องอาวุธนิวเคลียร์เรื่อยมา แต่จนทุกวันนี้อาวุธนิวเคลียร์สหรัฐยังประจำการที่นี่และอาจอยู่อีกนาน เพราะเป็นความสัมพันธ์อันซับซ้อน ผลประโยชน์มหาศาล ปลายเดือนเมษายน กองทัพเยอรมันประกาศซื้อเครื่องบินรบ F-18s จำนวน 45 ลำ เพื่อติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมกันนี้มีกระแสข่าวว่าสหรัฐกำลังปรับเปลี่ยนระเบิดนิวเคลียร์ B-61 20 ลูกที่ประจำการในเยอรมนีให้เป็นรุ่นใหม่ทันสมัยขึ้น เรื่องนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการซื้อเครื่องบิน F-18s โดยตรง เป็นระบบอาวุธที่สอดประสานและสอดคล้องกับข้อตกลง Nuclear sharing อะไรคือ Nuclear sharing : Nuclear sharing คือข้อตกลงความร่วมมือด้านอาวุธนิวเคลียร์ของนาโต โดยประจำการอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐในประเทศพันธมิตร รากฐานมาจากความเป็นพันธมิตรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อเนื่องเมื่อเข้ายุคสงครามเย็น รัฐบาลสหรัฐไม่อาจต่อสู้เพียงลำพังต้องอาศัยความร่วมมือจากชาติพันธมิตร หนึ่งในนั้นคือความร่วมมือทางทหาร รวมถึงอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะยุคต้นสงครามเย็นที่จำต้องติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศที่พรมแดนติดหรือใกล้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ อีกทั้ง รัฐบาลสหรัฐต้องการเป็นอภิมหา...
การดึงราคาน้ำมันจากวิกฤตโควิด-19
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
การปรากฏของคำว่า “ OPEC+ ” ป้องกันไม่ให้สหรัฐเข้าระบบโควตาตามปกติ ทั้งๆ ที่รัฐบาลสหรัฐมีส่วนเจรจาต่อรองโดยตรง ผลจากโควิด-19 ทำให้ผู้ส่งน้ำมันต้องร่วมมือกัน ราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) เมื่อปลายเมษายนลดฮวบมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ประการแรก ความขัดแย้งระหว่างผู้ผลิตน้ำมัน เมื่อกลุ่มโอเปกกับนอกโอเปก ( non-OPEC) ที่มีรัสเซียเป็นแกนนำไม่สามารถทำข้อตกลงฉบับใหม่ กลายเป็นว่านับจากนี้ใครจะผลิตเท่าไหร่ก็ได้ เข้าสู่ภาวะไร้โควตา ต่างโทษอีกฝ่ายว่าเป็นต้นเหตุทำให้ระบบโควตาล่ม รัฐบาลซาอุฯ ถือว่าเป็นสงครามราคาครั้งใหม่ ร่วมกับพรรคพวกของตนเร่งผลิตน้ำมันส่งออกให้มากที่สุด มีข้อมูลว่าเดือนเมษากลุ่มโอเปกผลิตน้ำมัน 30.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 1.61 ล้านบาร์เรลเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น ซาอุฯ ผลิตมากที่สุดถึง 11.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประการที่ 2 โควิด-19 ...