“Turkey First” ผลประโยชน์คือความถูกต้อง
“สันติภาพ” ที่แอร์กานพูดถึงคือการทำเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
เป็นแนวคิด “Turkey First” ที่ดูคล้าย “America
First” ของรัฐบาลทรัมป์ ภายใต้แนวคิดนี้ “ผลประโยชน์คือความถูกต้อง”
จากป้องกันก่อการร้ายเคิร์ดตุรกีสู่การยึดครองซีเรีย
1. 1.9 mln people need humanitarian assistance in NE Syria: UN official. (2020, February 28). Xinhua. Retrieved from http://www.xinhuanet.com/english/2020-02/28/c_138825062.htm
Science in HD
มกราคม 2019
ประธานาธิบดีเรเจพ ทายยิพ แอร์โดกาน (Recep Tayyip Erdogan) พูดซ้ำอีกครั้งว่า
“ตุรกีจะยังคงทำในสิ่งที่ทำให้มั่นใจว่าตนเองจะปลอดภัย
อยู่ดีมีสุขในประชาคมโลกนี้” คำพูดนี้เป็นตัวแทนของหลัก “ตุรกีต้องมาก่อน” (Turkey
First) ได้เป็นอย่างดี แต่การจะเข้าใจว่าหมายถึงอะไร
ต้องดูจากพฤติกรรมที่แสดงออก บทความนี้จะใช้เหตุการณ์ซีเรียเป็นตัวแบบอธิบาย
โค่นอัสซาด ร่วมมือผู้ก่อการร้าย กินพื้นที่ซีเรีย:
ประการแรก
โค่นรัฐบาลเผด็จการคือความชอบธรรม
ในมุมมองของรัฐบาลแอร์โดกาน ความตาย หายนะจากสงครามกลางเมืองซีเรียที่ยืดเยื้อมาแล้ว
9 ปีเป็นความผิดของรัฐบาลอัสซาด สิ่งที่ตนกำลังทำคือช่วยปลดปล่อยคนซีเรียจากความทุกข์ยาก
ฝ่ายที่ต่อต้านอัสซาดจะชี้ว่าท่านเป็นจอมเผด็จการ
สมควรโดนกำจัด หากผู้พูดคือรัฐบาล ผู้นำประเทศ
เท่ากับผู้นำประเทศหนึ่งกำลังตัดสินผู้นำอีกประเทศ กำลังพูดตรงๆ (หรืออ้อมๆ)
ว่ารัฐบาลอัสซาดต้องถูกล้มล้าง
รัฐบาลแอร์โดกานคืออีกประเทศที่สนับสนุนล้มล้างระบอบอัสซาดตั้งแต่ต้น
ไม่ต่างจากรัฐบาลสหรัฐ ประเทศในกลุ่ม GCC
ที่ชี้ว่ารัฐบาลซีเรียโหดร้ายป่าเถื่อน ละเมิดสิทธิมนุษยชนรุนแรง ฆ่าล้างประชาชนตัวเอง
สมควรถูกล้มล้าง ประกาศว่าตนกำลังทำหน้าที่เป็นผู้ผดุงสันติภาพโลก
ดูแลสิทธิมนุษยชน
แต่เหตุผลที่ว่ามาไม่สอดคล้องกฎบัตรสหประชาชาติ
ละเมิดอธิปไตยซีเรีย ถึงกระนั้นก็ตามรัฐบาลแอร์โดกานยังคงยึดนโยบายนี้ซึ่งหมายความว่าจะพยายามโค่นล้มรัฐบาลอัสซาดต่อไปแม้ผ่านมา
9 ปีแล้วก็ตาม
ประการที่
2 ต่อต้านผู้ก่อการร้ายหรือปนๆ กัน
ในการทำสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้ายไอซิส
หลายประเทศมีส่วนช่วยรบในซีเรียกับอิรัก เรื่องน่าทึ่งคือตุรกีเป็นประเทศแรกๆ ที่ส่งกองทัพเต็มรูปแบบเข้ารบทางภาคพื้นดิน
(ประเทศที่เข้าร่วมเน้นการโจมตีทางอากาศ)
ในขณะเดียวกันมีข้อสงสัยว่าทำไมผู้ก่อการร้ายหลายหมื่นจากนับร้อยประเทศสามารถเข้าพื้นที่ซีเรียกับอิรักโดยผ่านตุรกี
อีกทั้งรัฐบาลรัสเซียมีหลักฐานว่าใครบางคนที่มีอำนาจในตุรกีค้าน้ำมันเถื่อนกับไอซิสด้วย
ประธานาธิบดีปูตินกล่าวเมื่อพฤศจิกายน
2015 ว่าพฤติกรรมของตุรกีคือ “การแทงข้างหลัง” และ “สนับสนุนผู้ก่อการร้าย” เป็นเวลานานแล้วที่รัสเซียมีข้อมูลว่า “ตุรกีได้รับน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันจำนวนมากจากดินแดนที่ผู้ก่อการร้ายยึดครองในเขตแดนซีเรีย” เป็นคำอธิบายว่าทำไมไอซิสจึงมีเงินมหาศาลเข้ากระเป๋า “ไอซิสมีเงินเยอะหลายร้อยล้านหรือเป็นพันล้านดอลลาร์จากการขายน้ำมัน
ซ้ำยังได้รับการปกป้องจากกองทัพทั้งประเทศ (หมายถึงกองทัพประเทศใกล้เคียง)
เป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงปฏิบัติการอย่างกล้าหาญและอึกทึกครึกโครม” ก่อการร้ายทั่วโลก
นายดมิทรี เมดเวเดฟ
(Dmitry Medvedev) นายกรัฐมนตรีรัสเซีย (ในขณะนั้น) ชี้ว่ารัฐบาลตุรกีปกป้องไอซิสเพราะ
“เจ้าหน้าที่ตุรกีบางคนมีผลประโยชน์การเงินโดยตรงจากน้ำมันโรงกลั่นที่ไอซิสควบคุม”
มองในกรอบกว้างขึ้น
การขนถ่ายน้ำมันเป็นปฏิบัติการที่ครึกโครม ทำกันเป็นประจำ แต่ผ่านการตรวจจับของหลายประเทศที่ช่วยกันตรวจตราเข้มงวด
ด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้า กองทัพอันทันสมัย เป็นเรื่องน่าคิดใช่หรือไม่
การสร้างเขตปลอดภัย
(ดังจะนำเสนอต่อไป) แอร์โดกานกล่าวว่าเป็นพื้นที่ปลอดผู้ก่อการร้าย
ในขณะที่รัฐบาลซีเรียกับรัสเซียชี้ว่าตอนนี้เป็นที่หลบภัยของผู้ก่อการร้ายด้วย
เป็นข้อกล่าวหาเดิมๆ ที่ชี้ว่ารัฐบาลตุรกีสนับสนุนผู้ก่อการร้ายหลายกลุ่ม ไม่เฉพาะฝ่ายต่อต้านสายกลางเท่านั้น
ข้อสรุปคือในขณะที่รัฐบาลตุรกีทำสงครามต่อต้านก่อการร้ายจริง
แต่ในบางกรณีร่วมมือสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายด้วย
ประการที่ 3 ขยายพื้นที่อิทธิพลของตุรกี
การเข้าปะทะกับกองทัพซีเรีย
การสร้างเขตปลอดภัย (safe zone) ในดินแดนซีเรียเป็นอีกตัวอย่าง
ประธานาธิบดีแอร์โดกานเรียกร้องให้ชาติยุโรป นาโต
สนับสนุนการสร้างเขตปลอดภัยที่จังหวัด Idlib ของซีเรีย
(และอีกหลายพื้นที่) ให้เหตุผลว่าช่วยสกัดผู้อพยพลี้ภัยไม่ให้เข้ายุโรป
เดิมทีเมื่อรัฐบาลตุรกีส่งทหารรุกล้ำอธิปไตยซีเรีย ยกเหตุผลเรื่องปราบปรามผู้ก่อการร้ายเคิร์ดซีเรียที่สัมพันธ์กับผู้ก่อการร้ายเคิร์ดตุรกี
โดยตีความว่าการทำสงครามรุกเข้าไปในซีเรียคือการป้องกันตัวเอง
กองทัพตุรกีลุกล้ำเข้าประเทศซีเรีย
อิรัก ยึดครองพื้นที่จำนวนหนึ่งโดยเฉพาะส่วนที่เป็นเขตอาศัยของชาวเคิร์ด มาบัดนี้มีหลักฐานชี้ชัดแล้วว่าเป้าหมายหนึ่งที่ต้องการคือการครองพื้นที่ซีเรียเพื่อสร้างเขตปลอดภัยนั่นเอง
ตั้งแต่แรกทำสงคราม รัฐบาลตุรกีพูดถึงการสร้างเขตปลอดภัยทางภาคเหนือซีเรียและดำเนินการเรื่อยมา
ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ปี 2019 เริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ผลคือเคิร์ดซีเรียเจ้าของเขตอิทธิพลดังกล่าวถอนตัวออกไปโดยที่รัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียเห็นชอบ
ตามแผนของแอร์โดกาน เขตปลอดภัยจะเป็นที่อาศัยของผู้อพยพลี้ภัย
มีระบบเศรษฐกิจของตนเอง ด้วยความช่วยเหลือจากนานาชาติ จุดขายคือคนเหล่านี้ไม่หนีเข้ายุโรป
ในอีกด้านหนึ่งเป็นเหมือนเขตปกครองตัวเองที่รัฐบาลตุรกีดูแล แต่แอร์โดกานยังไม่พูดชัดเรื่องนี้
เพราะมีจุดยืนต้องการซีเรียที่มีบูรณภาพแห่งดินแดน พื้นที่ไม่โดนตัดแยกออกไป
ตามความคิดของแอร์โดกานที่สุดแล้วเขตปลอดภัยที่ตุรกีจัดตั้งจะปกครองโดยคณะตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง (popularly elected councils) ภายใต้การกำกับของรัฐบาลตุรกี
ตามความคิดของแอร์โดกานที่สุดแล้วเขตปลอดภัยที่ตุรกีจัดตั้งจะปกครองโดยคณะตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง (popularly elected councils) ภายใต้การกำกับของรัฐบาลตุรกี
อันที่จริงแล้วความคิดช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยเป็นเรื่องน่าชื่นชม
ปัญหาของแอร์โดกานคือกระทำในนามของรัฐบาลตุรกี สหประชาชาติไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นที่มาของคำถามว่าที่สุดแล้วเป็นเขตปกครองตนเองของตุรกีใช่หรือไม่
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผน
“กินทีละคำ” ยึดครองพื้นที่แถบนั้นทั้งหมดในอนาคต
ประธานาธิบดีแอร์โดกานเป็นฝ่ายพูดเองว่าตุรกีสงวนสิทธิที่จะขยายพื้นที่ให้กว้างออกไปอีก
นั่นหมายความว่าเขตปลอดภัยในยามนี้เป็นเพียงจุดเริ่มเท่านั้น
ประชาชนเหยื่อความขัดแย้ง :
9
ปีสงครามกลางเมืองซีเรียตายแล้วกว่า 380,000 ราย ในจำนวนนี้
115,000 รายเป็นพลเรือน และเป็นเด็กถึง 22,000 คน ประชาชนกว่า 5
ล้านคนหนีออกจากประเทศ ไม่รู้อนาคตจะดีร้ายอย่างไร และอีกกว่า 7
ล้านคนหนีหลบภัยในประเทศ
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสหประชาชาติรายงานยอดผู้ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในซีเรียอยู่ที่
1.9 ล้านคน ขาดแคลนปัจจัย 4 คนเหล่านี้คือผู้อพยพหนีภัยที่ยังอยู่ในประเทศ
ในแง่หนึ่งน่าเห็นใจที่ตุรกีรองรับผู้อพยพลี้ภัย
3.6 ล้านคน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทุกประเทศที่ผู้อพยพลี้ภัยเคลื่อนเข้าไปต่างพูดเช่นนั้น
ไม่แปลกที่หลายประเทศในยุโรปกีดกัน พยายามสกัดไม่ให้เข้าประเทศ (ล่าสุดมีผู้อพยพจากตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือเข้ายุโรปราว
1 ล้านคน)
ในเหตุการปะทะที่แถบเมือง
Idlib ล่าสุด ดูเหมือนว่ารัฐบาลแอร์โดกานใช้ผู้อพยพลี้ภัยเป็นเครื่องมือ
ปล่อยคนเหล่านี้เข้ายุโรปอีก ทั้งๆ ที่มีข้อตกลงกันแล้ว
อียูให้เงินช่วยเหลือดูแลผู้อพยพ แต่เมื่อแอร์โดกานเข้าตาจนก็ใช้คนเหล่านี้เป็นเครื่องมือกดดันอียู
หวังให้อียูกดดันรัสเซียอีกทอด น่าคิดว่ารัฐบาลแอร์โดกานกำลังใช้ผู้อพยพตะวันออกกลาง
ผู้เป็นพี่น้องมุสลิมด้วยกันเป็นเครื่องมือ หาประโยชน์จากคนตกทุกข์ได้ยาก
รัฐบาลแอร์โดกานมองว่าตนกำลังปกป้องตนเอง
โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการอัสซาด รักษาสันติภาพตะวันออกกลาง ผดุงความยุติธรรม ดูแลสิทธิมนุษยชน
ในอีกมุมอาจมองว่า “สันติภาพ” ที่แอร์กานพูดถึงคือการทำเพื่อผลประโยชน์ตนเอง เป็นแนวคิด
“Turkey First” ที่ดูคล้าย “America First” ของรัฐบาลทรัมป์ ภายใต้แนวคิดนี้ “ผลประโยชน์คือความถูกต้อง”
แม้แอร์โดกานเป็นมุสลิม ประชากรตุรกีส่วนใหญ่เป็นมุสลิม
15 มีนาคม
2020
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก”
ไทยโพสต์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 8526 วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563)
---------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
รัฐบาลแอร์โดกานเลือกเผชิญหน้าภัยคุกคาม
มองเป็นโอกาสตักตวงผลประโยชน์ ไม่เกรงกลัวขัดแย้งชาติมหาอำนาจ ประเทศเพื่อนบ้าน
เป็นยุทธศาสตร์เปลี่ยนภัยคุกคามเป็นโอกาส
ผลจากการความขัดแย้งภายในประเทศซีเรียที่ควบคุมไม่ได้
เปิดทางให้เพื่อนบ้านเข้าแทรกแซงด้วยหลายเหตุผลที่เพื่อนบ้านหยิบยกขึ้นมาอ้าง เช่น
ต่อต้านผู้ก่อการร้าย เป็นที่รองรับผู้ลี้ภัย อธิปไตยชาติถูกบั่นทอน
บรรณานุกรม :1. 1.9 mln people need humanitarian assistance in NE Syria: UN official. (2020, February 28). Xinhua. Retrieved from http://www.xinhuanet.com/english/2020-02/28/c_138825062.htm
2. Ankara's oil business with ISIS. (2015, November 25). RT.
Retrieved from
https://www.rt.com/business/323391-isis-oil-business-turkey-russia/
3. Death toll tops 380,000 in Syrian civil war: SOHR. (2020, January 6). Daily Sabah. Retrieved
from https://www.dailysabah.com/politics/2020/01/05/death-toll-tops-380000-in-syrian-civil-war-sohr
4. EU, NATO must support Turkey to protect civilians,
establish cease-fire in Idlib, Erdoğan
says. (2020, March 10). Daily Sabah.
Retrieved from https://www.dailysabah.com/politics/eu-nato-must-support-turkey-to-protect-civilians-establish-cease-fire-in-idlib-erdogan-says/news
5. Erdogan Says Only Turkey Can Protect US Interests in
Syria Amid Troop Pullout. (2019, January 8). Sputnik News. Retrieved
from https://sputniknews.com/middleeast/201901081071290207-erdogan-syria-daesh/
6. No one
is safe under brutal rule of Syria's Assad, not even the dead. (2020, February
19). Daily Sabah. Retrieved from https://www.dailysabah.com/politics/2020/02/18/no-one-is-safe-under-brutal-rule-of-syrias-assad-not-even-the-dead
7. Putin: Turkey supports terrorism and stabs Russia in the back. (2015,
November 24). Pravda. Retrieved from
http://www.pravdareport.com/russia/kremlin/24-11-2015/132690-russia_turkey_plane_putin-0/
8. Turkey's Erdogan Announces Creation of Safe Zone in Syria
Suggested by Trump. (2019, January 15). Sputnik News. Retrieved from https://sputniknews.com/middleeast/201901151071487165-erdogan-trump-talk/
-----------------------------