จะเป็นอย่างไรถ้าปีหน้าทรัมป์ชนะเลือกตั้งอีก
บางคนคิดว่าหากทรัมป์ชนะเลือกตั้งอีกครั้งจะบั่นทอนประชาธิปไตยอเมริกาอย่างมาก
เพราะต่อต้านเสรีนิยม มีแนวคิดปกครองประเทศแบบอำนาจนิยม แต่อีกฝ่ายยังนิยมทรัมป์อยู่ดี
ภาวะฉุกเฉินแห่งชาติกับการขยายอำนาจเบ็ดเสร็จของประธานาธิบดี
1. 61% say Trump doesn't respect democratic norms, 56% say 'honesty' doesn't describe him: AP-NORC poll. (2019, November 1). The Japan Times. Retrieved from https://www.japantimes.co.jp/news/2019/11/01/world/politics-diplomacy-world/61-say-trump-doesnt-respect-democratic-norms-56-say-honesty-doesnt-describe-ap-norc-poll/#.Xbt2m5IzbZ4
Camila Cordeiro
หลังกระแสวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์
ทรัมป์ (Donald Trump) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำงาน
ในที่สุดพรรคเดโมแครทประกาศ 2 ข้อกล่าวหาถอดถอนประธานาธิบดีคือใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์แก่ตนกับขัดขวางกระบวนการของรัฐสภา
กษัตริย์ทรัมป์ :
กษัตริย์ทรัมป์ :
ความตอนหนึ่ง แนนซี
เพโลซี (Nancy Pelosi) แกนนำพรรคเดโมแครทกล่าวว่าถ้าเรายอมให้มีประธานาธิบดีแบบนี้เท่ากับปล่อยให้ระบบสาธารณรัฐล่มสลาย
ยอมรับประธานาธิบดีที่เหมือนกษัตริย์ (president king) ผู้นำประเทศที่อยู่เหนือกฎหมาย
ทำได้ก็ได้ตามใจชอบ
คำพูดมุมมองของทรัมป์หลายต่อหลายครั้งแสดงความเป็นอำนาจนิยม ดำเนินนโยบายหลายเรื่องที่ขัดแย้งสิทธิมนุษยชน
ต่อต้านการค้าเสรีโดยให้เหตุผลว่าเพื่อความมั่นคงของชาติ
แดรอน อเซโมกลู (Daron
Acemoglu) นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันแสดงความคิดเห็นว่าที่สหรัฐถดถอยไม่ใช่เพราะจีน
แต่เพราะความอ่อนแอของประเทศ หากจะแก้จึงต้องแก้ปัญหาภายในก่อน ตัวเลขเศรษฐกิจแม้ยังดูดี
แต่ความเหลื่อมล้ำขยายความรุนแรงมากขึ้นทุกที เป็นปัญหาที่รัฐบาลแก้ไม่ตก
ทุกวันนี้คนจบมหาวิทยาลัยมีรายได้ไม่ถึง 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับสมัยพ่อแม่
วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้คนอเมริกันไม่ไว้ใจสถาบันทางการเมืองเศรษฐกิจ
ปัญหาที่สะสมหมักหมมมานานทำให้คนอเมริกันจำนวนมากไม่เชื่อถือนักการเมืองเดิมๆ
เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์ได้รับเลือก
รัฐบาลทรัมป์พยายามเอาใจคนอเมริกันกลุ่มนี้ด้วยการออกนโยบายต่อต้านคนผิวสี ต่อต้านคนต่างด้าวอพยพเข้าเมือง
ใช้กลยุทธ์สร้างความแตกแยกในประเทศเพื่อชักนำคนฝ่ายหนึ่งมาสนับสนุนตนอย่างแข็งขัน
อเซโมกลูกล่าวว่าหากทรัมป์ชนะเลือกตั้งอีกครั้งจะบั่นทอนประชาธิปไตยอเมริกาอย่างมากเพราะมีแนวคิดต่อต้านเสรีนิยม
ไม่สนใจเรื่องต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน มีแนวคิดปกครองประเทศแบบอำนาจนิยม
พยายามนำคนในครอบครัวมาบริหารประเทศ
เห็นด้วยกับระบอบกษัตริย์ :
เป็นความจริงที่ว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ยังสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย
แต่แนวทางนี้กำลังเปลี่ยนไป ปัจจุบันนักศึกษาอเมริกันกับชาติตะวันตกเกือบหมื่นเห็นด้วยกับการปกครองระบอบกษัตริย์
แบบยุโรปสมัยกลาง ขอเพียงได้กษัตริย์ที่ดูแลเอาใจใส่ประชาชนจะดีกว่ารัฐบาลเผด็จการในคราบประชาธิปไตย
หรือประชาธิปไตยที่เต็มด้วยความวุ่นวายไม่รู้จบ เกิดพวกสุดโต่งหัวรุนแรง บริหารประเทศไม่ได้หรือไร้ประสิทธิภาพ
ระบอบกษัตริย์ไม่ใช่ของล้าสมัย ปัจจุบันราว 40 ประเทศที่ใช้ระบอบนี้ ตามประวัติศาสตร์มีกษัตริย์ที่ดีหลายองค์
เป็นผู้รักษาประเทศ ความสงบสุข ประเพณีวัฒนธรรม
ประเด็นไม่อยู่ที่เป็นกษัตริย์หรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
สำคัญที่ผู้นำประเทศปกครองด้วยรักเอาใจใส่พลเมืองหรือไม่
ประชาชนอยู่ดีมีสุขหรือไม่
แนวคิดของกลุ่มคือสหรัฐที่ปกครองด้วยกษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้ง
ผู้ปกครองจากอีก 50 รัฐสามารถคัดค้านหรือถอดถอนกษัตริย์ คิดว่าด้วยระบอบนี้จะได้แนวนโยบายที่มีเอกภาพต่อเนื่อง
ไม่เปลี่ยนไปมา งานวิจัยจาก Wharton School เมื่อปี 2018
ชี้ว่าการบริหารภายใต้ระบอบกษัตริย์มีประสิทธิภาพเหนือกว่าการปกครองอื่นๆ
เป็นเรื่องน่าคิดว่าสังคมถูกชักนำให้เข้าใจผิดหรือไม่ว่าระบอบประชาธิปไตยคือการปกครองที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขมากที่สุด หรือเป็นเพียงการต่อสู้ทางการเมือง ฝ่ายอ้างประชาธิปไตยพยายามทำให้สังคมเข้าใจว่าประชาธิปไตยดีที่สุด ถ้าพูดให้แคบเข้าเป็นเพราะชนชั้นปกครองอเมริกันอยากแยกตัวจากผู้ปกครองอังกฤษ
(เหตุการณ์อเมริกาประกาศเอกราช) จึงโจมตีว่าระบอบกษัตริย์ไม่ดีต้องเป็นเสรีประชาธิปไตยจึงจะดีที่สุด
ซึ่งโดยเนื้อแท้คือต้องการแยกตัวจากกษัตริย์อังกฤษเท่านั้นเอง
เศรษฐกิจยังไปได้ดีหรือไม่ :
ความเป็นไปทางเศรษฐกิจคือเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุด
ปลายเดือนพฤศจิกายนเฟดสาขานิวยอร์กกับแอตแลนตาคาดจีดีพีไตรมาส 4 อาจเหลือใกล้ศูนย์
เหลือราวร้อยละ 0.3 กับ 0.4 จากที่ควรโตร้อยละ 1.9 การเติบโตที่ผ่านมาเป็นผลจากทรัมป์ลดภาษี
คลายกฎการเงินการธนาคาร ภาคธุรกิจไม่ได้เพิ่มการลงทุน ประเมินว่าจีดีพีทั้งปีคงอยู่แถว
2 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3
นับจากจีดีพีลดต่ำกว่า
2 ภาคเอกชนหยุดการลงทุนใหม่ๆ เพราะไม่มั่นใจว่าจะไปรอด สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนเป็นอีกปัจจัยทำให้ภาคธุรกิจระวังตัวอย่างมาก
ผลคือการบริโภคภาคประชาชนเริ่มอ่อนแรง กลายเป็นวงจรสู่เศรษฐกิจถดถอย
หลายคนยังกังวลสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่มีการเจรจาเรื่อยมา
บ่อยครั้งเหมือนจะตกลงกันได้ แต่ความหวังกลับมลายหายสิ้นในพริบตา
เป็นเช่นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ล่าสุดทรัมป์พูดอีกแล้วว่าบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นกับจีน
โดยรวมแล้วเศรษฐกิจสหรัฐชะลอความร้อนแรงลง
แม้ไม่เป็นไปตามที่ประธานาธิบดีต้องการ แต่ยังไม่ถดถอย เพียงแต่มีข้อวิตกกังวลในอนาคต
ถ้ามองเฉพาะตลาดเงินตลาดทุน
โฮเวิร์ด มาร์คส์ (Howard Marks) จาก Oaktree Capital
Management คิดว่าตลาดหุ้นจะคลายความวิตกกังวลหากประธานาธิบดีทรัมป์ชนะเลือกตั้งอีกครั้ง
เนื่องจากทรัมป์อยู่ฝ่ายตลาดหุ้นกับธุรกิจ เป็นความจริงที่ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐสูงทำลายสถิติ
นักลงทุนรายใหญ่รายเล็กต่างรับทรัพย์กันถ้วนหน้า
เมื่อไม่กี่วันก่อนดัชนีดาวโจนส์กับ
S&P 500 บวกทำลายสถิติอีกครั้ง
หลังประธานาธิบดีทรัมป์เผยว่าใกล้บรรลุข้อตกลงการค้ากับจีนแล้ว
ตลอดปีที่ผ่านมานักวิเคราะห์หลายคนมองอนาคตตลาดในแง่ลบ
แต่โฮเวิร์ด มาร์คส์ ไม่คิดว่าตลาดดาวโจนส์เป็นฟองสบู่
ทุกวันนี้นักลงทุนระวังตัวมาก ทุกคนได้กำไรจากหุ้น
ถอนเงินบางส่วนออกไปเพื่อกระจายความเสี่ยง ดังนั้น หากหุ้นปรับฐานไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
ต้องการรัฐบาลที่บริหารได้ดีมากกว่าเป็นประชาธิปไตย
:
การมองความเคลื่อนไหวทางการเมืองกับเศรษฐกิจเป็นการพิจารณาปรากฏการณ์แต่การตีความขึ้นอยู่กับมุมมองทัศนคติของประชาชน
ผลโพลล่าสุดเมื่อต้นเดือนธันวาคมของ
Monmouth University ชี้ว่าร้อยละ 50
เห็นว่าไม่ควรถอดถอนทรัมป์ ร้อยละ 45 เห็นสมควรถอดถอน ส่วนตัวเลขจาก Quinnipiac
University คือ 51 ต่อ 45
ผลโพลจาก Quinnipiac
University ชี้ว่าคนอเมริกันร้อยละ 41 ให้ประธานาธิบดีทรัมป์สอบผ่าน
ร้อยละ 55 ให้สอบตก (เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ 40 ต่อ 54) ผลโพลล่าสุดนี้ไม่ต่างจากเหมือนผลโพลตลอด
2 ปีกว่าที่ผ่านมา ผู้ให้ทรัมป์สอบผ่านยังอยู่ที่ระดับ 40 ต้นๆ
เหมือนเดิม
อีกโพลที่นำเสนอต้นเดือนพฤศจิกายนของ
AP-NORC ระบุว่าคนอเมริกันร้อยละ 61 คิดว่าทรัมป์ไม่เคารพหลักประชาธิปไตย
ในจำนวนนี้ร้อยละ 26 เป็นพวกรีพับลิกัน หมายความว่าพวกรีพับลิกันส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการบริหารประเทศแบบอำนาจนิยมของรัฐบาล
แต่ให้ความสำคัญกับด้านอื่นๆ มากกว่า เช่น เศรษฐกิจดี มีงานทำ มีเงินใช้
เหล่านี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลทรัมป์
ผลโพลเดียวกันนี้ยังระบุอีกว่าร้อยละ
85 ของพวกรีพับลิกันสนับสนุนให้ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีต่ออีกสมัย แม้ว่าหลายคนยอมรับว่าทรัมป์มีปัญหาเรื่องความซื่อสัตย์
มักพูดเรื่องที่ผิดจากข้อเท็จจริง
ฐานคะแนนของทรัมป์แข็งแกร่ง
เป็นเช่นนี้นับตั้งแต่เริ่มบริหารประเทศ ถ้าไม่ถูกถอดถอนคนเหล่านี้จะออกไปใช้สิทธิเลือกทรัมป์แน่นอน
ถ้าอธิบายว่าเรื่องเหล่านี้คือการแบ่งแยกทางการเมือง
ต้องดูผลที่จะเกิดขึ้นตามมาต่อไป ประเด็นที่คนอเมริกันให้ความสนใจมากกว่าคือเรื่องปากท้อง
ดูว่า 1 ปีนับจากวันนี้จนถึงวันเลือกตั้งรัฐบาลยังสามารถบริหารเศรษฐกิจอย่างเป็นที่น่าพอใจหรือไม่
ในระยะยาวเป็นการถกเถียงว่าระบอบประชาธิปไตยยังเป็นระบอบดีที่สุดหรือไม่ ควรปรับปรุงอย่างไร
ไม่ได้ปฏิเสธหลักประชาธิปไตยทั้งหมดแต่ยอมละทิ้งหลักการบางข้อเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจในระยะยาว
บทความนี้นำเสนอความคิดเห็นล่าสุดต่อประธานาธิบดีทรัมป์ทั้งแง่บวกกับลบ
สะท้อนมุมมองของคนอเมริกันที่มีทั้งชอบกับไม่ชอบ นี่คือระบอบประชาธิปไตยสหรัฐอเมริกาในขณะนี้
15 ธันวาคม
2019
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
24 ฉบับที่ 8435 วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562)
-----------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ถ้าเดือนหน้าเลือกตั้งประธานาธิบดีทรัมป์น่าจะชนะ
ถ้าเลือกตั้งเดือนหน้าหรือปลายปีนี้ทรัมป์มีโอกาสชนะเลือกตั้งอีกรอบ
ข้อแนะนำคือรัฐบาลทรัมป์ควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ให้เศรษฐกิจเติบโตแข็งแกร่งต่อไป
การประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติของประธานาธิบดีทรัมป์กลายเป็นประเด็นร้อนแรงทางการเมือง
เพราะกำลังใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ แม้พรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย
พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน
บรรณานุกรม :1. 61% say Trump doesn't respect democratic norms, 56% say 'honesty' doesn't describe him: AP-NORC poll. (2019, November 1). The Japan Times. Retrieved from https://www.japantimes.co.jp/news/2019/11/01/world/politics-diplomacy-world/61-say-trump-doesnt-respect-democratic-norms-56-say-honesty-doesnt-describe-ap-norc-poll/#.Xbt2m5IzbZ4
2. Democrats
announce two impeachment charges against Trump. (2019,
December 10). AFP. Retrieved from
https://www.afp.com/en/news/3954/democrats-announce-two-impeachment-charges-against-trump-doc-1my53n3
3. Impeachment needle not moving as majority of voters
oppose removing Trump: polls. (2019, December 11). Fox News. Retrieved from
https://www.foxnews.com/politics/impeachment-needle-not-moving-as-majority-still-oppose-removing-trump-polls
4. ‘Our political system is irrevocably poisoned’: the rise
of monarchism. (2019, October 1). The
Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/global/2019/oct/01/the-rise-of-monarchism
5. Stocks jump to a record on Trump tweet saying US is ‘very
close’ to China trade deal. (2019, December 12). CNBC. Retrieved from https://www.cnbc.com/2019/12/12/stock-market-us-china-trade-war-and-fed-in-focus-on-wall-street.html
6. The stock market will ‘breathe a sigh of relief’ if President Trump is re-elected in 2020, says billionaire Howard Marks. (2019, December 8). Market Watch. Retrieved from https://www.marketwatch.com/story/the-stock-market-will-breathe-a-sigh-of-relief-if-president-trump-is-re-elected-in-2020-says-billionaire-howard-marks-2019-12-10?mod=home-page
7. 'Trump Poses a Great Risk to U.S. Democracy'. (2019, December 10). Spiegel Online.
Retrieved from
https://www.spiegel.de/international/business/economist-acemoglu-trump-poses-risk-to-u-s-democracy-a-1300376.html
8. Weak consumption, economy could sink Trump re-election
bid. (2019, November 22). Asia Times. Retrieved from https://www.asiatimes.com/2019/11/article/weak-consumer-economic-slump-could-sink-trump-re-election-bid/
9. Why the Fed may need to slash rates to zero before the
end of 2020. (2019, December 12). CNN.
Retrieved from https://edition.cnn.com/2019/12/12/business/fed-rate-cuts-recession/index.html
-----------------------------