บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2019

สถานการณ์แบ่งแยกซีเรียหลังสหรัฐยึดบ่อน้ำมัน

รูปภาพ
ถ้าสังเกตให้ดีทุกวันนี้ประเทศซีเรียถูกแบ่งแยกโดยปริยายแล้ว เพียงแต่ไม่ใช้คำว่า “ แบ่งแยก ” หรือเป็น “ เขตปกครองตัวเอง ” ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงและชัดเจนยิ่งขึ้น             ปลายเดือนตุลาคม มาร์ค เอสเปอร์ ( Mark Esper) รัฐมนตรีกลาโหมกล่าวว่าสหรัฐอาจคงทหารจำนวนหนึ่งในซีเรีย เพื่อคุ้มกันบ่อน้ำมันไม่ให้ตกอยู่ในมือไอซิส ไม่กี่วันต่อมาประธานาธิบดีทรัมป์เห็นว่าควรคงทหารจำนวนหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียเหตุเพราะต้องคุ้มกันบ่อน้ำมัน ก่อนหน้านี้ทรัมป์ให้เหตุผลว่าเป็นการสิ้นเปลืองที่จะคงทหารในซีเรียเพื่อทำสงครามที่ไม่รู้จบ ต้องพาทหารกลับบ้าน ความจริงคือทหารที่ว่ามีเพียงไม่กี่ร้อยนาย ในขณะที่กองทัพสหรัฐมีทหารนับแสนนาย ใช้งบกลาโหมกว่า 700,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี เป็นประเทศที่ใช้งบกลาโหมสูงที่สุดในโลก และสวนทางกับที่พูดหลายครั้งว่าผู้ก่อการร้ายไอซิสไม่เป็นภัยร้ายแรงอีกแล้ว             เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังกองกำลังเคิร์ดซีเรียถอนตัวออกจากพื้นที่ ตุรกีเคลื่อนทัพเข้...

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ

รูปภาพ
ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกหวังสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับหุ้นส่วนเพื่อต้านจีน ถ้ามองในมุมกว้างคือแผนจัดระเบียบภูมิภาคของสหรัฐนั่นเอง             บทความนี้นำเสนอยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เผยแพร่เมื่อต้นพฤศจิกายนที่ผ่านมา ใช้ชื่อว่า “A Free and Open Indo-Pacific:   Advancing a Shared Vision” หรือ “อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง วิสัยทัศน์ร่วมอันก้าวหน้า” มีสาระสำคัญดังนี้             ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ภายใต้วิสัยทัศน์ “ อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ” (free and open Indo-Pacific) ภูมิภาคที่ 35 ประเทศอยู่ร่วมกันโดยต่างมีอธิปไตย เป็นไท ยึดหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่             1. สหรัฐจะพัวพันกับประเทศในภูมิภาคอย่างลึกซึ้ง ( deeply engaged ) ความเป็นไปของสหรัฐสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้ทุกด้าน          ...

สถานการณ์ลุ่มน้ำโขง 2018

รูปภาพ
แม่น้ำโขงมีเรื่องท้าทายที่ต้องจัดการมากขึ้น เหตุจากประชากรตามลุ่มน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โครงการลงทุนการก่อสร้างต่างๆ สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เล็งถึงความสำเร็จของประชาคมอาเซียน รายงาน State of the Basin report (SOBR) โดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ( MRC) ฉบับล่าสุด 2018 นำเสนอภาพรวมของแม่น้ำโขงที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำตอนล่าง 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว ไทยและเวียดนาม ในหลายด้านเพื่อนำสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แบ่งบันผลประโยชน์ร่วมกัน ตามแผนพัฒนาที่จะทบทวนทุก 5 ปี มีสาระน่าสนใจดังนี้ ด้านสิ่งแวดล้อม ( Environmental dimension) :             ตามระเบียบปฏิบัติจะต้องติดตามสภาวะการไหลของสายน้ำหลักสม่ำเสมอ ดูแลให้มีน้ำไหลต่อเนื่อง ทั้งยังต้องคำนึงฤดูกาลน้ำหลาก การย้ายถิ่นของปลา 5 ปีที่ผ่านมายังดำเนินไปด้วยดีแต่ก็มีกรณีที่ไม่เป็นไปตามคาด             คุณภาพของน้ำจะให้ความสำคัญเรื่องผลต่อสุขภาพประชาชน ผลต่อสัตว์น้ำและการใช้ทางการเกษตร ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นบางจุ...