ความสับสนของรัฐบาลซาอุฯ ต่อสงครามฮูตี
รัฐบาลซาอุฯ
ทำสงครามเต็มรูปแบบกับฮูตีหลายปีแล้ว
การใช้เครื่องโดรนโจมตีโรงกลั่นเป็นอีกฉากของสงครามตัวแทนระหว่างฝ่ายซาอุฯ
กับอิหร่านที่ดำเนินเรื่อยมา ไม่จำต้องชี้อีกว่าทำสงครามกันอยู่หรือไม่
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
บรรณานุกรม :
เช้าวันอาทิตย์ที่ 15
ตามเวลาท้องถิ่น กองกำลังฮูตี (Houthi Militias) ประกาศว่าได้ส่งเครื่องโดรน
(เครื่องบินไร้พลขับ) หลายลำเข้าโจมตีโรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ รมต.ต่างประเทศ ไมค์
พอมเพโอ (Mike Pompeo) ทวิตข้อความในวันเดียวกับที่เกิดเหตุว่า
“ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่าเป็นการโจมตีจากเยเมน”
การที่รัฐบาลสหรัฐมีข้อสรุปเบื้องต้นอย่างรวดเร็วน่าเชื่อได้ว่ามีหลักฐาน แต่รัฐบาลอิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหาทันทีเหมือนกัน
เมื่อพิจารณารายละเอียด บ่อน้ำมันกับโรงกลั่นที่ถูกโจมตีตั้งอยู่ที่เมือง
Khurais กับ Abqaiq ทางภาคตะวันออกของประเทศ ทั้ง
2 จุดเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ทั้งคู่ กระทบกำลังการผลิตถึง 5.7
ล้านบาร์เรลต่อวันหรือกว่ากึ่งหนึ่งของกำลังผลิตซาอุดีอาระเบีย ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งทะยานทันทีถึง
15 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับความกังวลว่าสถานการณ์จะรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่
ข้อสรุปจากฝ่ายซาอุฯ คือการโจมตีไม่ใช่ฝีมือฮูตีแต่เป็นอิหร่าน ยิงมาจากทิศเหนือ (เยเมนอยู่ทางใต้) โดยใช้เครื่องโดรน 25 ลำกับจรวดร่วน (cruise missiles) กว่า 10 ลูก มีหลักฐานเศษซากชิ้นส่วนน่าเชื่อว่าเป็นอาวุธของอิหร่าน ข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐพูดตรงกันว่าอาวุธเหล่านนี้ถูกปล่อยจากอิหร่าน รัฐบาลทรัมป์มีข้อสรุปมานานแล้วว่าอิหร่านอยู่เบื้องหลังการโจมตีซาอุฯ นับร้อยครั้ง
ข้อสรุปจากฝ่ายซาอุฯ คือการโจมตีไม่ใช่ฝีมือฮูตีแต่เป็นอิหร่าน ยิงมาจากทิศเหนือ (เยเมนอยู่ทางใต้) โดยใช้เครื่องโดรน 25 ลำกับจรวดร่วน (cruise missiles) กว่า 10 ลูก มีหลักฐานเศษซากชิ้นส่วนน่าเชื่อว่าเป็นอาวุธของอิหร่าน ข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐพูดตรงกันว่าอาวุธเหล่านนี้ถูกปล่อยจากอิหร่าน รัฐบาลทรัมป์มีข้อสรุปมานานแล้วว่าอิหร่านอยู่เบื้องหลังการโจมตีซาอุฯ นับร้อยครั้ง
เครื่องโดรนหรือเครื่องบินไร้พลขับเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
มีหลายรุ่นหลายแบบ ตั้งแต่ขนาดใหญ่ยาวสิบเมตร บินได้เป็นพันกิโลจนถึงขนาดเล็กยาวไม่ถึงเมตร
บางแบบใช้เทคโนโลยีชั้นสูง บางแบบไม่ต่างจากเครื่องบินบังคับที่เล่นเพื่อความบันเทิง
ซาอุฯ ทำสงครามกับฮูตีหลายปีแล้ว :
เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ารัฐบาลซาอุฯ กับพวกเป็นฝ่ายเริ่มเปิดฉากทำสงครามเต็มรูปแบบกับพวกฮูตี
มีนาคม 2015 แถลงการณ์ของคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC - ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
กาตาร์และบาห์เรน) ให้เหตุผลที่ต้องแทรกแซงเพราะกองกำลังฮูตียึดอำนาจรัฐบาลประเทศเยเมน
บั่นทอนเสถียรภาพของภูมิภาค
ฮูตีเป็นชื่อเรียกคนเยเมนผู้เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์
ข้อมูลจาก The World Factbook 2018 ประเทศเยเมนมีประชากรทั้งสิ้น
28.7 ล้านคน ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม แยกเป็นซุนนีร้อยละ 65 ชีอะห์ร้อยละ 35
คนซาอุฯ ส่วนใหญ่เป็นนิกายซุนนีหรือวาห์ฮะบี
(การเป็นซุนนีหรือวาห์ฮะบีขึ้นกับการตีความ)
ต้นเหตุของสงครามไม่ซับซ้อน
ตลอดหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลซาอุฯ กับพวกทำสงครามต่อต้านชีอะห์ในแถบตะวันออกกลางอย่างต่อเนื่อง
ทั้งในอิรัก ซีเรีย เลบานอน และเยเมน เป็นสงครามตัวแทน (proxy war) ระหว่างรัฐบาลซาอุฯ กับอิหร่านที่เป็นศูนย์กลางของมุสลิมนิกายชีอะห์
เป้าหมายต่อเยเมนคือต้องการให้เยเมนเป็นรัฐบริวารของซาอุฯ
เหมือนหลายรัฐในแถบนี้
รายงานจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
(UNDP) ประเมินว่าสิ้นปี 2019 จะมีผู้เสียชีวิตถึง 233,000
รายจากสงครามในเยเมน (ทั้งสงครามกลางเมืองกับสงครามระหว่างฝ่ายซาอุฯ กับฮูตี)
ที่น่าตกใจคือร้อยละ 60 ของผู้เสียชีวิตเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เด็กจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากขาดอาหาร
ยาและเวชภัณฑ์ อันเป็นผลจากสงครามที่ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2015
ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ซาอุฯ รายงานว่าที่ผ่านมากลุ่มฮูตีโจมตีซาอุฯ ด้วยขีปนาวุธ 225 ครั้ง เครื่องโดรน 155 ครั้ง การใช้เครื่องโดรนโจมตีโรงกลั่นเป็นอีกฉากหนึ่งของสงครามเท่านั้นเอง
รอบนี้
รัฐบาลซาอุฯ แสดงท่าทีขึงขังว่าจะตอบโต้ ทำไมต้องพูดว่าจะตอบโต้ในเมื่อทำสงครามเต็มรูปแบบกันอยู่แล้ว
ความขัดแย้งที่ดำเนินมาเนิ่นนาน :
ตั้งแต่ปี 1984
รัฐบาลสหรัฐตีตราว่าอิหร่านคือรัฐอุปถัมภ์ก่อการร้าย (State
Sponsors of Terrorism) จากการสนับสนุนกลุ่มฮิซบอลเลาะห์
กลุ่มก่อการร้ายในฉนวนกาซา หลายกลุ่มในซีเรียกับอิรัก
และอีกมากในภูมิภาคตะวันออกกลาง
เมื่อโดนัลด์
ทรัมป์ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี อิหร่านกลายเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งของสหรัฐ เพราะสร้างความขัดแย้งและบ่อนทำลายผลประโยชน์สหรัฐในอัฟกานิสถาน
บาห์เรน อิรัก เลบานอนและเยเมน อิหร่านระดมกองกำลังชีอะห์จากทั่วโลก ในมุมมองของรัฐบาลสหรัฐฮูตีคือกองกำลังชีอะห์อีกกลุ่มที่อิหร่านสนับสนุน
เพื่อทำสงครามตัวแทน
ทำนองเดียวกัน นับจากปฏิวัติอิหร่านเมื่อปี
1979 เป็นต้นมา รัฐบาลซาอุฯ กับพวกประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลอิหร่านเรื่อยมา
กล่าวซ้ำๆ ว่าอิหร่านเป็นภัยต่อภูมิภาค อิหร่านปฏิเสธความหวังดีของเพื่อนบ้าน
เป็นพวกคนมักใหญ่ใฝ่สูงที่ชอบขยายอำนาจ (expansionist ambitions) พวกก่ออาชญากรรม แทรกแซงกิจกการภายในของประเทศอื่นๆ
ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ละเมิดหลักการอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน
การเคารพซึ่งกันและกัน
ตั้งแต่เริ่มสงครามกับเยเมน
รัฐบาลสหรัฐกับซาอุฯ กล่าวหาอิหร่านเรื่อยมาว่าเป็นผู้หนุนหลังกองกำลังฮูตี
ให้อาวุธสนับสนุน ขอให้อิหร่านยุติการสนับสนุนการเงิน ไม่โหมไฟความขัดแย้งจากนิกายศาสนา
ไม่เป็นปรปักษ์กับประเทศอื่น ไม่บ่อนทำลายความมั่นคง คุกคามความปลอดภัยในการเดินเรือ
ดังนั้น
ไม่ว่าเครื่องโดรนที่ใช้โจมตีล่าสุดได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านหรืออาวุธเหล่านี้ปล่อยจากอิหร่านโดยตรง
ทั้งรัฐบาลสหรัฐกับซาอุฯ ขัดแย้งกับอิหร่านรุนแรงอยู่แล้ว กล่าวได้ว่าทำสงครามกับอิหร่านมานานแล้ว
นั่นคือสงครามความแตกต่างระหว่างนิกาย (อย่างน้อยในระดับความคิด)
สงครามตัวแทนด้วยกองกำลังต่างๆ
สงครามเศรษฐกิจด้วยการคว่ำบาตรอิหร่านอย่างรุนแรงที่ทรัมป์ใช้คำว่านโยบาย “กดดันสุดขีด” (maximum pressure) เป้าหมายสุดท้ายคือล้มระบอบอิหร่าน
เป็นอีกความสับสนของรัฐบาลซาอุฯ
หรือไม่
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
รัฐบาลซาอุฯ
กับพวกทำสงครามเต็มรูปแบบกับกองกำลังฮูตีมานานหลายปีแล้ว กองกำลังฮูตีใช้เครื่องโดรนโจมตีซาอุฯ
มาแล้วหลายครั้ง ครั้งล่าสุดใช้กว่า 20 เครื่องโจมตีโรงกลั่นน้ำมันซาอุฯ พร้อมๆ
กัน ฝ่ายซาอุฯ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าเพราะซื้อสะสมอาวุธของสหรัฐกับอีกหลายประเทศจำนวนมาก
ส่วนกองกำลังฮูตีไม่มีอาวุธหลัก เช่น เครื่องบินรบ รถถัง ถึงกระนั้นก็ตามแม้ผ่านมาหลายปี
ฝ่ายซาอุฯ ไม่สามารถเผด็จศึก กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ
มีความพยายามเจรจาเพื่อยุติสงครามหลายรอบแต่ไม่ยังไม่สำเร็จ
สงครามยังคงดำเนินเรื่อยมา ถ้าวิเคราะห์อย่างซับซ้อนในมุมหนึ่งอาจมองว่าซาอุฯ
ไม่ชนะศึก แต่อีกมุมเป็นวิธีเพื่อกดไม่ให้พวกฮูตีมีอำนาจควบคุมประเทศเยเมน
รัฐบาลซาอุฯ ได้ประโยชน์อีกหลายเรื่องจากสงครามนี้ แนวคิดนี้อธิบายว่าสงครามจะดำเนินต่อไปอีกนาน
รัฐบาลทรัมป์กับซาอุฯ
พยายามชี้เป้าไปที่อิหร่านว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังหรือเป็นผู้ใช้เอง
ข้อนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เป็นจุดยืนที่รัฐบาลทรัมป์กับซาอุฯ
มีต่ออิหร่านมานานแล้ว ดังนั้น ถ้าจะยึดข้อนี้เพื่อทำสงครามกับอิหร่าน รัฐบาลสหรัฐกับซาอุฯ
สามารถลงมือได้นานแล้ว ไม่ต้องรอให้โรงกลั่นถูกโจมตี ไม่ต้องรอหาหลักฐานเพิ่มเติมอีก
ในเมื่อทุกวันนี้ทำศึกกันอยู่แล้ว
ทำไมซาอุฯ ต้องหาหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อเป็นเหตุผลตอบโต้กรณีโรงกลั่นถูกโจมตีอีกเล่า
ในยามที่รัฐบาลทรัมป์ยังลังเลใจที่จะใช้กำลังทหารเล่นงานอิหร่านโดยตรง
หรือยังไม่คิดทำเช่นนั้น
ท้ายที่สุดหากรัฐบาลทรัมป์ไม่ตัดสินใจใช้กำลังต่ออิหร่าน พวกซาอุฯ
จะไม่ใช้กำลังต่ออิหร่านเช่นกัน สงครามที่เป็นอยู่ดำเนินต่อไป เหตุการณ์เครื่องโดรนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันที่เกิดขึ้นจึงไม่มีอะไรพิเศษนอกจากผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งทะยานกว่า
10 ดอลลาร์อีกพักหนึ่งเท่านั้น ในอนาคตน่าจะมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดซ้ำอีก
22
กันยายน 2019
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
23 ฉบับที่ 8351 วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ.2562)
-----------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลซาอุฯ
พยายามโดดเดี่ยวอิหร่าน ร้องขอนานาชาติช่วยกันคว่ำบาตรให้รุนแรงจริงจังกว่าเดิม
แม้จะเป็นแนวทางที่ดำเนินมาหลายทศวรรษแล้ว เชิดชูความเป็นผู้นำมุสลิมโลกของซาอุฯ
มีแนวคิดว่าแท้จริงแล้วการที่รัฐบาลสหรัฐจ้องเล่นงานอิหร่านเป็นเพราะแรงกดดันจากซาอุดีอาระเบีย
ความขัดแย้งระหว่างซาอุฯ กับอิหร่านเป็นการช่วงชิงอิทธิพลในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ยอมกันไม่ได้
1. Al-Maliki: 25 drones, cruise missiles from the north
struck oil facilities. (2019, September 18). Al Arabiya. Retrieved from https://english.alarabiya.net/en/News/gulf/2019/09/18/Al-Maliki-Arab-Coalition-press-conference.html
2. AP Analysis: Saudi oil attack part of dangerous new
pattern. (2019, September 17). AP. Retrieved from https://www.apnews.com/c92741f2c8f9414a9dbccc5f7a8e2470
3. Central
Intelligence Agency. (2018). Yemen in The
World Factbook. Retrieved from
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ym.html
4. GCC Extraordinary Summit Issues Final Communique 2
Makkah. (2019, May 31). Saudi Press Agency. Retrieved from
https://www.spa.gov.sa/viewfullstory.php?lang=en&newsid=1930057#1930057
5. Iran denies role in attacks on Saudi oil facilities;
Trump says U.S. is ‘locked and loaded’. (2019, September 15). The Washington
Post. Retrieved from https://www.washingtonpost.com/world/iran-dismisses-allegations-it-carried-out-crippling-attack-on-saudi-oil-facilities/2019/09/15/021b6822-d731-11e9-8924-1db7dac797fb_story.html?noredirect=on
6. King Salman: Iran spearheading global terror. (2017,
May 22). Arab News. Retrieved from http://www.arabnews.com/node/1103121/saudi-arabia
7. Pollack, Kenneth. (2013). Unthinkable: Iran, the Bomb,
and American Strategy. New York: Simon & Schuster.
8. U.S. State Department. (2018, September). Country Reports on Terrorism 2017.
Retrieved from https://www.state.gov/documents/organization/283100.pdf
9. Yemen war dead could hit 233,000 by 2020 in what UN calls
‘humanity’s greatest preventable disaster’. (2019, April 30). Independent.
Retrieved from https://www.independent.co.uk/news/world/middle-east/yemen-war-death-toll-un-houthi-gulf-saudi-arabia-arms-a8892926.html
-----------------------------