บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2019

ฮ่องกงโมเดล 1 ประเทศ 2 ระบบที่ผันผวน

รูปภาพ
ถ้าอยากเข้าใจนโยบายจีนต่อฮ่องกงจะต้องมองกรอบกว้างด้วย รัฐบาลจีนปกครองพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล มีประชากรอีกราว 1,400 ล้านคนที่ต้องดูแล หวังให้ฮ่องกงเป็น 1 ประเทศ 2 ระบบที่เป็นแบบอย่างที่ดี ชาวฮ่องกงนับแสนชุมนุมประท้วงต่อต้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างฮ่องกงกับจีน เพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับคุ้มครองที่ดีพอหากถูกส่งตัวไปจีน ผู้เข้าร่วมชุมนุมประกอบด้วยทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ บางคนใช้สัญลักษณ์ร่มสีเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการชุมนุมในอดีต             การชุมนุมที่เต็มด้วยพลังเปลี่ยนจากต่อต้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นข้อเรียกร้องอื่นๆ บางคนเรียกร้อง “ปลดปล่อยฮ่องกงจากการเป็นอาณานิคมจีน” รวมความแล้วต้องการขยายความเป็นประชาธิปไตยและการปกครองตนเอง เป็นอิสระจากรัฐบาลปักกิ่งมากขึ้น บนความเชื่อว่าเช่นนี้แล้วคนฮ่องกงจะได้สิ่งดีที่สุด ชีวิตที่ปกติสุขหรือประชาธิปไตย :             ประเด็นที่ถกกันมากคือบางคนให้ความสำคัญกับรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย บริหารประเทศอย่างเป็นประชาธิปไตย กับก...

วิพากษ์ความคิดรัฐบาลสหรัฐผู้ล้างสัญญานิวเคลียร์ INF

รูปภาพ
การล้มสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง ( INF) เปิดโอกาสให้รัฐบาลสหรัฐสามารถยกเครื่องกองกำลังนิวเคลียร์ของตนใหม่ทั้งหมด คงความเป็นเจ้าโลกด้านอาวุธนิวเคลียร์ต่อไปอีกนาน             บทความนี้วิพากษ์ความคิดรัฐบาลสหรัฐผู้ล้างสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง ( INF) ผ่านมุมมองของรัฐบาลรัสเซียกับจีน ดังนี้ ตุลาคม 2018 ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่าสหรัฐไม่อาจปล่อยให้รัสเซียละเมิดสนธิสัญญาฝ่ายเดียวและผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ด้วยเหตุนี้สหรัฐจะขอยกเลิกสนธิสัญญา ด้านรัสเซียยืนยันไม่ได้ละเมิดแต่อย่างไร ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งสหรัฐกับรัสเซียถอนตัวออกจาก INF อย่างเป็นทางการ นับจากนี้เป็นต้นไป 2 ประเทศสามารถสร้างอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางกับใกล้ที่ติดตั้งบนภาคพื้นดินได้อีกครั้ง คำกล่าวหาและข้อโต้แย้งกรณีรัสเซีย : ข้ออ้างเบื้องต้นของรัฐบาลสหรัฐคือรัสเซียไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาเป็นเหตุให้สหรัฐต้องถอนตัว สมมุติว่าข้อกล่าวหาเป็นจริง นิวเคลียร์พิสัยกลางที่รัสเซียสร้างมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีผลต่อดุลอำนาจนิวเคลียร์เท่าไรนัก ในทางกลับกันต้...

มหาอำนาจล้างสัญญานิวเคลียร์ INF ภัยลามถึงอาเซียน

รูปภาพ
รัฐบาลสหรัฐกลับมาให้ความสนใจเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ คราวนี้มองมาที่จีนด้วยตามกรอบอินโด-แปซิฟิก อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง พัวพันกับการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ของมหาอำนาจในย่านนี้อีกครั้ง   อะไรคือ Intermediate-Range Nuclear Forces Treaty : สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางหรือ Intermediate-Range Nuclear Forces (INF) Treaty ( 1987) เป็นสนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียต (ในขณะนั้น) เมื่อ 8 ธันวาคม 1987 ทั้ง 2 ประเทศตกลงที่จะกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภท ทั้งขีปนาวุธ จรวดร่อนที่ติดตั้งกับยานพาหนะทางบก ( mobile ground-launched cruise missiles: GLCM) มีพิสัยระหว่าง 500 – 5,500 กิโลเมตร (300-3,000 ไมล์) (มาตรา 1) รวมทั้งระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบปล่อยอาวุธ ระบบสนับสนุนต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพบรรจุตัวขีปนาวุธหรือไม่             ขีปนาวุธพิสัยใกล้ ( Short-range ballistic missile: SRBM ) มีพิสัย 500 - 1,000 กม. (620 ไมล์ ) ระดับที่เหนือจากพิสัยใกล้เรียกว่าพิสัยกลาง เช่น Medium-range ballistic missile (MRBM) อยู่ใ...

นโยบายป้องกันประเทศจีนยุคใหม่ 2019

รูปภาพ
บทบาทของกองทัพกับความเป็นไปของประเทศเป็นของคู่กันแยกออกจากกันไม่ได้ เป็นเครื่องทดสอบและให้คำตอบในตัวเองว่ากองทัพสนับสนุนการก้าวขึ้นมาของจีนอย่างสันติหรือไม่ อย่างไร             กรกฎาคม 2019 รัฐบาลจีนนำเสนอนโยบายป้องกันประเทศฉบับใหม่ชื่อ “ China’s National Defense in the New Era ” มีสาระสำคัญดังนี้ ว่าด้วยบริบท :             เป็นหลักพื้นฐานว่าประชาคมโลกใฝ่หาสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนา แต่ระบบความมั่นคงระหว่างเทศถูกบั่นทอนด้วยลัทธิความเป็นเจ้า การเมืองแห่งอำนาจ ( power politics ) เอกภาคีนิยม ( unilateralism) ความขัดแย้งภูมิภาคและสงคราม สหรัฐยั่วยุและทำให้การแข่งขันระหว่างประเทศเข้มข้นขึ้นด้วยการเพิ่มงบประมาณกลาโหม ดำเนินนโยบายบั่นทอนความมั่นคงโลก นาโตยังคงขยายตัว ส่งกองทัพเข้าไปในยุโรปกลางกับยุโรปตะวันออก ลัทธิสุดโต่งกับลัทธิก่อการร้ายยังคงแพร่กระจาย ความมั่นคงรูปแบบใหม่ ( non- traditional security) ทวีความสำคัญ             โดยรวมแล้วภูม...