Russophobia ในยุครัฐบาลทรัมป์
“กระแสกลัวรัสเซีย” เป็นทัศนคติ
การรับรู้ของผู้ที่มองรัสเซียเป็นภัยซึ่งอาจเป็นจริงหรือเกินจริง
ในยุคทรัมป์กระแสกลัวรัสเซียถูกผูกเข้ากับการเมืองภายในอเมริกาเพื่อชี้ว่าทรัมป์คือหุ่นเชิดของรัสเซีย
เป็นเวลานานแล้วที่ชาติตะวันตกหรือที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายเสรีประชาธิปไตยมองรัสเซียหรืออดีตสหภาพโซเวียตในแง่ลบ ทุกวันนี้ความคิดนี้ยังคงอยู่แม้เปลี่ยนไปบ้างตามบริบทที่เปลี่ยนแปลง
ที่มา : http://eng.mil.ru/en/structure/forces/strategic_rocket.htm
เป็นเวลานานแล้วที่ชาติตะวันตกหรือที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายเสรีประชาธิปไตยมองรัสเซียหรืออดีตสหภาพโซเวียตในแง่ลบ ทุกวันนี้ความคิดนี้ยังคงอยู่แม้เปลี่ยนไปบ้างตามบริบทที่เปลี่ยนแปลง
นิยาม
Russophobia :
Russophobia หรือ “กระแสกลัวรัสเซีย” หมายถึง
ความคิด ทัศนคติว่ารัสเซียข่มขู่คุกคาม บั่นทอนทำลายผลประโยชน์แห่งชาติ
อันเป็นผลรวมจากประสบการณ์ มุมมอง การรับรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
ปัจจุบันและคาดว่าจะเกิดในอนาคต อาจเป็นความจริงหรือเท็จ หรือมีความจริงปนเท็จ
ตีความเกินจริง ตีความอย่างมีเป้าหมาย
โดยทั่วไปหมายถึงกระแสความรู้สึกของคนจำนวนมากในสังคมกับรัฐบาลที่หวาดกลัวภัยจากรัสเซียหรือรัฐบาลรัสเซียที่เกินจริง
อาจเป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อให้เกลียดชัง
ต้องทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อต่อต้านภัยจากรัสเซีย
บางครั้งใช้ในการต่อสู้ทางการเมืองภายในรัสเซียหรือประเทศอื่น
ให้ต่อต้านรัฐบาล หรือใช้ในการหาเสียง เป็นลักษณะหนึ่งของการรณรงค์เลือกตั้งทางลบ
(Negative Campaign) ให้ประชาชนเกลียดชังไม่ชอบนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
เช่น โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) โจมตีนโยบายของฮิลลารี
คลินตัน (Hillary Clinton) ว่าจะนำสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 เพราะใช้นโยบายเผชิญหน้ารัสเซีย
เป็นการยากที่จะประเมินความกลัวในเชิงคุณภาพกับปริมาณ
เป็นเรื่องของทัศนคติ การรับรู้ (perception) ของแต่ละคนที่แตกต่าง
แม้กระทั่งการรับรู้ของรัฐเพราะการรับรู้ของรัฐคือรัฐบาลซึ่งแต่ละชุดแตกต่างกัน
ขึ้นกับผู้นำประเทศ ทีมผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เป้าหมาย
วาระที่ซ่อนอยู่ เช่นเดียวกับระดับประชาชนที่แต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจต่างกัน
อาจคิดเหมือนหรือต่างจากรัฐบาล
คำกว่า “กระแสกลัวรัสเซีย”
ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย (ไม่ว่าจะใช้ศัพท์คำนี้โดยตรงหรือไม่) ทั้งจากสหรัฐ
ชาติตะวันตก แม้กระทั่งในหมู่รัฐบริวารของอดีตสหภาพโซเวียต
รากฐานกระแสกลัวรัสเซีย
:
ประการแรก นโยบายดั้งเดิม
เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ารัฐบาลสหรัฐต่อต้านอดีตสหภาพโซเวียตอย่างรุนแรง
ถึงขั้นอยู่ร่วมโลกกันไม่ได้ การแข่งขันระหว่าง 2 อภิมหาอำนาจอาจกลายเป็นหายนะล้างโลกหากใช้อาวุธนิวเคลียร์
กระแสความวิตกกังวลเรื่องเหล่านี้ฝังอยู่ในตำรา ความทรงจำของคน
Guy Mettan อธิบายว่าแท้จริงแล้วแนวคิดกระแสกลัวรัสเซียไม่ใช่ของใหม่แต่ประการใด
สามารถย้อนหลังถึงศตวรรษที่ 9 ที่สมัยนั้นรัฐฝั่งยุโรปตะวันตกจงเกลียดจงชังรัสเซีย
มี French russophobia, English russophobia, German russophobia และในที่สุดมี American russophobia โดยเนื้อแท้ เป็นความเกลียดชังระหว่าง
“ผู้ปกครองด้วยกัน” และผู้ปกครองพยายามถ่ายทอดให้พลเมืองร่วมเกลียดชังด้วย เป็นส่วนหนึ่งของสมรภูมิทางความคิดที่ดำเนินเรื่อยมาร่วมพันปีแล้ว
ประการที่ 2
ฝ่ายการเมืองที่มองเป็นศัตรู
แม้ประธานาธิบดีทรัมป์คิดเปลี่ยนท่าทีมองรัสเซียเป็น
“คู่แข่งขัน” แทนการเป็น “ปรปักษ์” (enemy)
แต่ถูกฝ่ายการเมืองต่อต้านรุนแรง ยกตัวอย่าง วุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครท มาร์ค
วอร์เนอร์ (Mark Warner) วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน มาร์โก
รูบิโอ (Marco Rubio)
ร่วมแถลงข่าวว่าประชาคมโลกต้องรับรู้ว่าชาติประชาธิปไตยไม่อาจเข้าได้กับรัฐบาลปูตินหรือระบอบอำนาจนิยมใดๆ
ต้องร่วมกันต่อต้านการรุกรานจากรัสเซีย
วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน บิน ซาซ์ (Ben
Sasse) กล่าวว่า “ชาวอเมริกันผู้รักชาติทุกคนควรเข้าใจว่าปูตินไม่ใช่เพื่อนอเมริกาและไม่ใช่คู่หูของประธานาธิบดี”
เมื่อมีนักการเมืองจาก 2
พรรคใหญ่ที่ต่อต้านการเป็นมิตรกับรัสเซีย
กระแสกลัวรัสเซียจึงถูกปลุกและโหมให้รุนแรงอยู่เสมอ
ลักษณะและเป้าหมายของ
Russophobia :
เป้าหมายของกระแสกลัวรัสเซียคือทำให้ผู้คนรู้สึกกลัวรัสเซีย
ทั้งที่อาจถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือไม่ก็ได้ อีกลักษณะคือแนวคิดว่ารัสเซียจะเติบใหญ่เป็นมหาอำนาจหรืออภิมหาอำนาจ
การแข่งขันแย่งชิงระหว่าง 2 มหาอำนาจไม่อาจยุติ
ประการแรก กระแสกลัวรัสเซียคือส่วนหนึ่งของการสร้างศัตรู
เป็นความตั้งใจที่บางกลุ่มบางฝ่ายเจตนาสร้างขึ้นมา
หรืออาจอธิบายว่าเป็นผลจากการรับรู้ของปัจเจกและส่งทอดแก่คนอื่น
ประธานาธิบดีปูตินครั้งหนึ่งกล่าวว่ารัสเซียพัฒนากองทัพเพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้น
ไม่คิดรุกรานใคร จะเห็นว่ารัสเซียแทบไม่มีฐานทัพต่างแดน งบประมาณกลาโหมต่ำกว่านาโต
10 เท่า จึงเป็นเรื่องตลกถ้าคิดว่ารัสเซียจะบุกโจมตีนาโต
บางประเทศใช้ประโยชน์จากความกลัวของประชาชนที่มีต่อรัสเซีย
และรัฐบาลบางประเทศพยายามสร้างความหวาดกลัวนี้ บางคนยังฝังใจสมัยสหภาพโซเวียต
คำแก้ต่างของปูตินจะฟังขึ้นหรือไม่ ย่อมขึ้นกับมุมมองของแต่ละคน
ฝ่ายที่คิดต่างจะยอมรับว่ารัฐบาลรัสเซียไม่ได้ดีเลิศไปเสียทุกเรื่อง
พยายามนำเสนอหลักฐานว่าสื่อมวลชน นักการเมือง
นักวิชาการตะวันตกบางคนบิดเบือนเรื่องรัสเซีย
บางครั้งเห็นชัดว่าตั้งใจก่อความเข้าใจผิด
เพราะเป็นยุทธศาสตร์ของชนชั้นปกครองอเมริกา
ทำนองคล้ายกับแนวคิดของ George Kennan ที่พยายามชี้ภัยจากคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต
นำแนะให้รัฐบาลสหรัฐใช้ยุทธศาสตร์ปิดล้อม จนกลายเป็นสงครามเย็นในยุคนั้น
ปัจจุบันแนวคิดกระแสกลัวรัสเซียพยายามชี้ภัยจากรัสเซียอีกครั้ง
แต่เนื่องจากคราวนี้ไม่อาจใช้ความแตกต่างอุดมการณ์ทางการเมืองการปกครอง
จึงพยายามอาศัยหลายวิธี เช่น รัสเซียไม่เป็นประชาธิปไตยแม้มีการเลือกตั้ง
กำลังสร้างสมกำลังทหารและจะครองโลก จนถึงเรื่องการแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ประการ 2
การสร้างกระแสกลัวรัสเซียในการเลือกตั้ง 2016
ในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 2016
ฮิลลารี คลินตันคู่แข่งทรัมป์แสดงตัวเป็นปรปักษ์ต่อรัสเซียโดยหวังผลเลือกตั้ง
เนื่องจากทรัมป์วางตัวเป็นมิตรกับรัสเซีย
ฮิลลารีพยายามสร้างภาพรัสเซียให้ดูน่ากลัว เช่น รัสเซียยังคงบ่อนทำลายสหรัฐ
ทำสงครามไซเบอร์ กำลังแทรกแซงการเลือกตั้งอเมริกา หากทรัมป์ชนะจะเป็นหุ่นเชิดของรัสเซีย
ด้านประธานาธิบดีปูตินกล่าวว่ารัสเซียไม่สนใจการเลือกตั้งอเมริกา
พร้อมมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำคนใหม่
สื่อตะวันตกเป็นผู้สร้างเรื่องว่ารัฐบาลรัสเซียสนับสนุนทรัมป์ เป็นส่วนหนึ่งของ
“สงครามการเมือง พยายามบงการความเห็นสาธารณชนเมื่อใกล้วันเลือกตั้ง”
ในเชิงหลักการ
เป็นเวลานานหลายทศวรรษแล้วที่ทั้งรัฐบาลรัสเซียกับสหรัฐต่างพยายามแทรกแซงกิจการภายในของอีกฝ่ายเรื่อยมาทั้งแบบทางตรงกับทางลับ เพื่อสร้างปัญหา บ่อนทำลายฝ่ายตรงข้าม รัฐบาลสหรัฐพยายามโค่นล้ม
มีอิทธิพลต่อรัฐบาลรัสเซีย เช่นเดียวกับที่รัสเซียพยายามแทรกแซงหรือชักนำนโยบายของสหรัฐ
จุดน่าสนใจคือคำถามที่ว่า
แล้วทำไมการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่ผ่านมาจึงกลายเป็นประเด็นเด่นดังว่ารัสเซียแทรกแซงการเมืองอเมริกา
ในเมื่อทำกันเรื่อยมาอยู่แล้ว นี่คือ “การสร้าง” กระแสกลัวรัสเซียในสมัยทรัมป์ ให้เชื่อมโยงกับการต่อสู้ทางการเมืองภายในของอเมริกาเอง
ทำไมต้องสร้างกระแสกลัวรัสเซีย
:
ประธานาธิบดีปูตินกล่าวถึงการใส่ร้ายป้ายสีของรัฐบาลกับนักการเมืองสหรัฐว่าเป็นความพยายามที่จะโทษคนอื่น
ทั้งที่เป็นปัญหาภายในการเมืองอเมริกาเอง ... พวกเขาลังเลที่จะยอมรับความผิดเรื่องนี้
เป็นเหตุผลที่โทษรัสเซีย
นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ (Sergei Lavrov) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกล่าวว่าชนชั้นปกครองอเมริกาไม่ชอบประธานาธิบดีปูติน
เมื่อปูตินค่อยๆ นำพาประเทศสู่ความมั่นคงและเป็นอิสระจากอเมริกา
เหตุผลอีกข้อคือ 7 ทศวรรษหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสหรัฐมีอิทธิพลต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจการเมืองโลก
มาบัดนี้รัสเซีย-จีนและพวกกำลังร่วมจัดระเบียบโลกอีกแบบที่บั่นทอนผลประโยชน์สหรัฐ รัสเซียในยุคปูตินฟื้นฟูความยิ่งใหญ่อีกครั้ง
แม้ยังไม่เท่าเดิมแต่สามารถขัดแข้งขัดขาอเมริกาได้หลายเรื่อง
ฝ่ายการเมืองอเมริกาจึงต้องโหมกระแสกลัวรัสเซียเพื่อให้พลเมืองอเมริกันสนับสนุนนโยบายต้านรัสเซีย
หากคิดในกรอบเลือกตั้งพวกเดโมแครทจะไม่ยอมปล่อยให้ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีต่ออีกสมัยอย่างง่ายๆ
ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งปลายปี 2020 กระแสกลัวรัสเซียจะถูกเอ่ยถึงมากขึ้น โหมให้หนักขึ้น
นี่คือการเมืองของประเทศนี้
สงครามข้อมูลข่าวสารและความคิด
:
“กระแสกลัวรัสเซีย”
พูดได้จาก 2 มุมมอง คือ ฝ่ายต่อต้านรัสเซียกับฝ่ายรัสเซีย
ฝ่ายแรกพยายามชักนำให้คนเกลียดกลัว อีกฝ่ายชี้ว่าเป็นแผนบ่อนทำลายของศัตรู
เป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่าอะไรจริงอะไรเท็จ ระดับความเข้มข้น (degree) อยู่ที่ไหน
รุนแรงร้ายแรงเพียงใด
บ่อยครั้งการริเริ่มของบางคนบางฝ่ายสร้างกระแสสังคมจากนั้นกระแสสังคมกลับมากดดันรัฐบาลว่าควรทำอย่างไร
สิ่งที่ “เป็นเท็จ” กลายเป็น “ความจริง” ตามการรับรู้ของคนทั่วไป
เป็นอีกลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แม้มีข้อมูลความรู้ท่วมโลก เข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution)
แล้ว
5 พฤษภาคม 2019
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 8211 วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2562)
------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
ประธานาธิบดีทรัมป์ชี้แจงว่าการเป็นมิตรกับรัสเซียย่อมดีกว่า
เพราะทั้งคู่เป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ คำถามคืออยากเป็นมิตรเพื่อใคร
ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศขึ้นกับผู้นำประเทศเป็นสำคัญ
รัสเซียในยุคปูตินกำลังฟื้นตัวตามลำดับ ปูตินเป็นนายกฯ สมัยแรกในปี 1999
และเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกในปี 2000 จากนั้นครองอำนาจมาโดยตลอด หากทุกอย่างราบรื่นท่านน่าจะชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี
2018 ได้เป็นประธานาธิบดีถึงปี 2024 รัสเซียคงจะเจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอีกมาก ภายใต้มุมมองของรัฐบาลสหรัฐย่อมเห็นว่าเป็นภัยคุกคาม
บรรณานุกรม :
1. As Trump says Putin 'not my
enemy', skeptics in U.S. see danger. (2018, July 13). Reuters. Retrieved
from https://www.reuters.com/article/us-usa-russia-summit-critics/as-trump-says-putin-not-my-enemy-skeptics-in-u-s-see-danger-idUSKBN1K2348
2. At third debate, Trump won’t
commit to accepting election results if he loses. (2016, October 19). The
Washington Post. Retrieved from https://www.washingtonpost.com/politics/trump-wont-commit-to-accepting-election-results-if-he-loses/2016/10/19/9c9672e6-9609-11e6-bc79-af1cd3d2984b_story.html
3. Democrats urge Trump to cancel
Putin summit following Mueller indictments. (2018, July 13). Los Angeles
Times. Retrieved from http://www.latimes.com/politics/la-na-pol-doj-indictment-russian-hacking-20180713-story.html
4.
Embassy of the Russian Federation in the USA. (2019, April 18). THE RUSSIAGATE
HYSTERIA: A CASE OF SEVERE RUSSOPHOBIA. Retrieved from https://washington.mid.ru/upload/iblock/3c3/3c3d1e3b69a4c228e99bfaeb5491ecd7.pdf
5. Guy Mettan’s book on russophobia
is a “must read” for any person interested in Russia. (2016,
July 14). The Saker. Retrieved from https://thesaker.is/guy-mettans-book-on-russophobia-is-a-must-read-for-any-person-interested-in-russia/
6. Kanet, Roger E. (ed.). (2007). Re-Emerging
Great Power. New York: PALGRAVE MACMILLAN.
7. Polsby, Nelson W.,
Wildavsky, Aaron., Schier, Steven E.,
& Hopkins, David A. (2016). Presidential Elections: strategies and
structures of American politics (14th Ed.). Maryland: Rowman &
Littlefeld.
8. Russia’s Not Playing Favorites
but Trump Does Speak for the People, Putin Says. (2016, October 27). The
Wall Street Journal. Retrieved from
http://www.wsj.com/articles/putin-says-russia-has-no-influence-over-u-s-elections-1477579171?tesla=y
9. ‘Russia would attack NATO only in
mad person’s dream’ – Putin. (2015, June 6). RT. Retrieved from
http://rt.com/news/265399-putin-nato-europe-ukraine-italy/
10. Russophobia
in the New Cold War. (2018, April 4). The
Nation. Retrieved from https://www.thenation.com/article/russophobia-in-the-new-cold-war/
11. Sakwa,
Richard. (2008). Russian Politics and Society (4th ed.).
Oxon: Routledge.
12. Thomas Graham: US-Russian relations
have entered a new era. (2016, March 2). TASS. Retrieved from http://tass.ru/en/world/860254
13. Trump says Clinton policy on
Syria would lead to World War Three. (2016, October 26). CNBC/Reuters.
Retrieved from
http://www.cnbc.com/2016/10/25/trump-says-clinton-policy-on-syria-would-lead-to-world-war-three.html
-----------------------------
ภาพ : หน่วยขีปนาวุธนิวเคลียร์รัสเซียที่มา : http://eng.mil.ru/en/structure/forces/strategic_rocket.htm