บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2019

มหันตภัยคุกคามจากจีนในมุมมองของ โอริตะ คูนิโอะ

รูปภาพ
โอริตะ คูนิโอะ แสดงความคิดเห็นว่าภายในปี 2025 จีนจะก่อสงครามใหญ่ เพื่อยึดครองไต้หวัน ควบคุมทะเลจีนใต้ ข้อวิพากษ์คืออย่างไรเป็นประโยชน์ต่อจีนมากกว่าระหว่างสงครามกับสันติภาพ             เป็นคำถามมานานแล้วว่าจีนที่เติบโตทางเศรษฐกิจ ขยายอิทธิพลทุกด้านเป็นประโยชน์หรือเป็นภัยต่อนานาชาติ ในขณะที่รัฐบาลจีนยืนยันเสียงเดียวว่าจีนก้าวขึ้นอย่างสันติ กลางเดือนมกราคม 2019 โอริตะ คูนิโอะ ( Orita Kunio ) อดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศญี่ปุ่น ฝ่ายสนับสนุนทางอากาศ ( Air Support Commander ) ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ว่าจีนกำลังเป็นภัยคุกคามร้ายแรง เพราะมียุทธศาสตร์แผ่ขยายอำนาจ ต้องการเป็นเจ้าในภูมิภาคเพียงผู้เดียว คาดว่าจีนจะผนวกไต้หวันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศระหว่างช่วงปี 2020-2025             จากนั้นจะเข้าควบคุมทะเลจีนใต้ให้ได้ภายในปี 2040 ถ้าจีนสามารถกัดสหรัฐออกจากทะเลจีนใต้ จีนจะควบคุมเส้นทางเดินเรือของเอเชียตะวันออกทั้งหมด ชินโซ อาเบะ นายกรัฐม...

เบร็กซิท (Brexit) ความไม่แน่นอนที่แน่นอน

รูปภาพ
การลงมติรอบนี้ลงเอยด้วยสภาไม่รับรองร่างข้อตกลงแยกตัวฉบับล่าสุด พร้อมกับมติขยายเวลาออกจากอียู แม้น่าจะได้เวลาเพิ่มแต่คำถามที่เป็นปัญหายังรอคำตอบ พร้อมกับความไม่แน่นอนหลังออกจากอียู              นับจากการทำประชามติเบร็กซิท ( Brexit) เมื่อมิถุนายน 2016 สังคมสหราชอาณาจักรยังถกเถียงว่าประเทศควรถอนตัวออกจากอียูหรือไม่ ทั้งๆ ได้ประชามติให้ถอนตัวแล้ว อีกประเด็นที่ถกเถียงกันมากคือจะถอนตัวแบบไหน แบบมีข้อตกลงหรือไร้ข้อตกลง ( no deal ) ตามกำหนดการต้องได้คำตอบภายใน 29 มีนาคมนี้             ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรประชุม 3 วัน 3 รอบเพื่อลงมติ 3 เรื่อง เรื่องแรกคือการยอมรับร่างข้อตกลงแยกตัว ( Withdrawal Agreement ) ฉบับที่อียูเห็นชอบแล้ว เรื่องที่ 2 ขอมติการถอนตัวออกโดยปราศจากข้อตกลง และเรื่องสุดท้ายคือควรขยายเวลาการถอนตัวออกไปหรือไม่ ไม่กี่วันก่อนลงมตินายกฯ เทเรซา เมย์ ( Theresa May) หารือกับอียูเพื่อได้ข้อตกลงที่ดีที่สุด และชี้แจงว่าเป็นข้อตกลงที่ดีที่สุดในขณะนี้ แต่ก่อนเริ่มลงมติมีกระ...

เบร็กซิท (Brexit) ทางตันที่ต้องการทางออก

รูปภาพ
เมื่อสังคมคิดต่างจึงตัดสินด้วยการทำประชามติ แต่กลับไม่นำผลประชามติไปใช้ กลายเป็นความขัดแย้งหลายระดับ และกำลังค้างอยู่เช่นนี้ จนกว่าได้ทางออกที่ลงตัว             ย้อนหลังการทำประชามติเบร็กซิท ( Brexit ) เมื่อมิถุนายน 2016 ปรากฏว่ายิ่งนานวันความคิดเห็นยิ่งแตกแยก เกิดกลุ่มก๊วนที่คิดแตกต่างมากมาย นายกฯ เทเรซา เมย์ ( Theresa May) ร้องขอให้ปรองดอง             โทนี ไรท์ ( Tony Wright) อดีตสมาชิกรัฐสภาจากพรรคแรงงานเห็นว่าประเทศอยู่ในภาวะสงคราม เป็นสงครามทางวัฒนธรรม อันที่จริงแล้วความแตกแยกสะสมมานานและมาระเบิดในเหตุการณ์เบร็กซิท เป็นการแตกแยกของหลายกลุ่มหลายระดับ เช่น พวกอังกฤษกับเวลส์ คนเมืองกับคนชนบท คนสูงอายุกับหนุ่มสาว คนขี้ขลาดกับคนกล้าหาญ สามัญชนกับอีกพวก ปัญหาใหญ่คือพรรคการเมือง ระบอบการเมืองปัจจุบันไม่ตอบโจทย์พวกเขา กลายเป็น 2 กลุ่มที่ต่างโจมตีอีกฝ่าย และเมื่อมีพวกหัวรุนแรงในขบวน การด่าทอจึงรุนแรงเพราะคนเหล่านี้ ยิ่งกระบวนการเบร็กซิทยืดเยื้อการแตกแยกยิ่งบาดลึก สร้างค...

ปริศนาประชุมทรัมป์กับคิมครั้งที่ 2 ข้อตกลงที่ไม่ทำพิธีลงนาม

รูปภาพ
การลุกออกจากห้องประชุมของประธานาธิบดีทรัมป์มีปริศนาว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ใครพูดจริงพูดเท็จ และการปราศจากพิธีลงนามไม่ได้หมายความว่าไม่มีข้อตกลงลับ             8 เดือนหลังการประชุมสุดยอดรอบแรก ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กับคิม จ็องอึน ( Kim Jong-un) ผู้นำเกาหลีเหนือมาประชุดสุดยอดอีกครั้งที่เวียดนาม ช่วง 1- 2 สัปดาห์ก่อนประชุมรอบนี้เป็นภาพความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประธานาธิบดีทรัมป์กับผู้นำคิม มีทีท่าว่าน่าจะได้ข้อตกลงบางอย่าง เงื่อนไขก่อนเจรจารอบ 2 :             ก่อนวันประชุมประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่าไม่ต้องรีบด่วนให้เกาหลีเหนือปลอดนิวเคลียร์ ขอเพียงไม่ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธอีกก็พอ การทำลายนิวเคลียร์จะต้องเป็นขั้นเป็นตอนอย่างมีนัยสำคัญ ( meaningful ) หากต้องการให้สหรัฐคลายมาตรการคว่ำบาตร และไม่คิดว่าจะเป็นการประชุมสุดยอดครั้งสุดท้าย             จะเห็นว่ารัฐบาลทรัมป์ไม่ได้ตั้งเป้าว่าเกาหลีเหนือต้องทำลายโครงการทั้งหมด พร้อมจะคลายมาตรการคว่ำบาตรหากตกลงกันได้ ดำเนินการแบบค่อยไปเป็นค่อ...