สงครามการค้าสหรัฐกับจีน ความจริงกับภาพลวงตา
รัฐบาลทรัมป์ชี้ว่าต้องแก้ปัญหาขาดดุลด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจีนและกำลังไปด้วยดี
แต่นักวิชาการ องค์การระหว่างประเทศหลายแห่งให้มุมมองตรงข้าม ท่ามกลางผู้คนจำนวนไม่น้อยยังอยู่ในวังวนภาพลวงตา
สตีฟ แฮนค์ (Steve Hanke) จาก Johns Hopkins University ให้ข้อสรุปว่าที่ประเทศขาดดุลเกิดจากน้ำมือของคนอเมริกันเอง (made in America) อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลทรัมป์จะยิ่งเพิ่มการขาดดุลเพราะเพิ่มการใช้จ่ายแต่ลดภาษี
บรรณานุกรม :
Oscar Keys
ความขัดแย้งทางการค้าหรือที่บางคนเรียกว่าสงครามการค้าระหว่างประเทศมีอยู่จริง
โดยเฉพาะในกรณีสหรัฐกับจีน อย่างไรก็ตามการนำเสนอให้เป็นเรื่องใหญ่โต เบี่ยงเบนลดทอนความสำคัญของประเด็นอื่นๆ
ที่สำคัญไม่แพ้การขาดดุลการค้า
เหตุผลทำไมเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น :
ประการแรก
ไม่แก้ขาดดุลได้จริง
จุดเริ่มต้นสงครามการค้าที่พูดกันคือเมื่อรัฐบาลทรัมป์ขึ้นภาษีร้อยละ
10-25 ต่อกลุ่มสินค้าจีน 34,000 ล้านดอลลาร์
ฝ่ายจีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีในมูลค่าสินค้าเท่ากัน จากนั้นมีการขึ้นภาษีสินค้าเพิ่มเติม
รวมความแล้ว ณ ขณะนี้สหรัฐขึ้นภาษีสินค้าจีนทั้งหมดมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์
จากการวิเคราะห์พบว่าการขึ้นภาษีสินค้าจีนอาจลดการซื้อสินค้าบางรายการ
แต่ไม่น่าจะหยุดการซื้อสินค้าทั้งหมด โดยเฉพาะสินค้าที่ภาษีเพิ่มเพียงร้อยละ 10 ราคาที่สูงขึ้นผู้ขายน่าจะผลักภาระให้กับผู้บริโภค
การที่ผู้บริโภคอเมริกันต้องเป็นผู้แบกรับภาระภาษีที่เพิ่มขึ้น เป็นประเด็นที่ใครๆ ก็คิดได้แต่รัฐบาลทรัมป์ไม่เอ่ยถึง
ผู้ที่ได้แน่ๆ คือรัฐบาลได้ภาษีเพิ่มและบอกว่าได้ทำหน้าที่ลดการขาดดุลแล้ว
ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่าการขึ้นภาษีสินค้าจีนช่วยลดขาดดุล
อันจะช่วยลดภาษีประชาชน นโยบายนี้กำลังไปด้วยดี แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนไม่เห็นด้วย
ชี้ว่าเป็นความเข้าใจผิดหรือตั้งใจโกหก
เดวิด เวสเซล (David Wessel) จาก Brookings Institution เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะแก้การขาดดุลด้วยการเก็บภาษีสินค้านำเข้า เหตุที่อเมริกาขาดดุลหนักมาจากนโยบายกระตุ้นให้ประชาชนบริโภค โดยเฉพาะให้ซื้อรถซื้อบ้าน หวังกระตุ้นหรือรักษาการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ ผลตามมาคือการจับจ่ายซื้อสินค้าต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ขาดดุลสตีฟ แฮนค์ (Steve Hanke) จาก Johns Hopkins University ให้ข้อสรุปว่าที่ประเทศขาดดุลเกิดจากน้ำมือของคนอเมริกันเอง (made in America) อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลทรัมป์จะยิ่งเพิ่มการขาดดุลเพราะเพิ่มการใช้จ่ายแต่ลดภาษี
ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่าสงครามการค้ามีผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและลดการเติบโตในระยะปานกลาง
อีกทั้งสหรัฐยังจะขาดดุลและขาดดุลหนักขึ้นเพราะอุปสงค์ของสหรัฐเพิ่มขึ้น
ประการที่
2 ไม่ค้าขายกับจีนจะยิ่งสร้างความเสียหายมากกว่า
สินค้าจีน 200,000 ล้านดอลลาร์ที่รัฐบาลทรัมป์ขึ้นภาษีไปแล้ว ทำให้ต้นทุนสินค้าที่ขายและผลิตในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ชาวอเมริกันต้องจ่ายเงินเพิ่มไม่ว่าจะซื้อสินค้าจีนหรือสินค้าของบริษัทอเมริกัน หรือไม่ก็ต้องซื้อสินค้ายี่ห้ออื่นจากประเทศอื่นที่แต่เดิมไม่คิดจะซื้อ
ทุกอย่างเป็นวงจร ต้นทุนกิจการต่างๆ สูงขึ้น สินค้าอเมริกาที่แพงอยู่แล้วจะยิ่งแพงกว่าเดิม ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาจะยิ่งลดลง กำไรหด ลดการจ้างงาน ฯลฯ
ดักกลาส พาว (Douglas Paal) จาก Carnegie Endowment for International Peace กล่าวสรุปว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์อ้างว่าลดการขาดดุลจีนจะทำให้ประเทศร่ำรวยขึ้นเป็นสมมติฐานที่ผิด เป็นการวางเป้าแก้ปัญหาอย่างผิดทิศผิดทาง สมัยเรแกนเคยใช้ลัทธิปกป้องการค้า ผลคือความสามารถการแข่งขันสหรัฐถดถอย
มาร์ติน ดาอุม (Martin
Daum) ผู้บริหารระดับสูงของเดมเลอร์-เบนซ์กล่าวว่าคำตอบมีอยู่แล้ว
มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย ที่สุดแล้วประเทศที่ปิดพรมแดนจะเสียหาย และผลเสียนั้นจะตกแก่ผู้บริโภคที่จะต้องซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าเดิม
จอมสร้างภาพลวงตา :
คำว่า
“ภาพลวงตา” ในที่นี้หมายถึง การสร้างชุดเหตุการณ์เพื่อทำให้ผู้คนเข้าใจอย่างที่ผู้สร้างภาพต้องการสื่อ
ยกตัวอย่าง ต้องการสร้างภาพเป็นคนดีมีเมตตาจึงพยายามออกงานช่วยเหลือคนยากไร้ ทั้งๆ
ที่ไม่ใช่เป็นคนมีใจเมตตาจริง
การสร้างภาพไม่ใช่ของแปลกใหม่ทางการเมือง
บรรดานักการเมืองจำนวนมากใช้ชีวิตการเมืองไปกับการสร้างภาพ
หวังได้คะแนนนิยมจากประชาชน
การที่ประธานาธิบดีทรัมป์ออกมาตรการกีดกันสินค้าจีนและพูดซ้ำบ่อยๆ
คือการจุดประเด็นและสร้างภาพลวงตา สำเร็จด้วยดีเพราะสื่อทั้งแบบดั้งเดิมกับสื่อโซเชียลช่วยกันโหมกระแส
สื่อทั้งในประเทศสหรัฐกับสื่อระดับโลกต่างประโคมข่าวความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนต่อเนื่อง
เกิดบทวิเคราะห์วิจารณ์มากมาย กลายเป็นประเด็นสำคัญระดับระดับโลก
ผลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นคือกลบข่าวฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลทรัมป์และกลบข่าวสังคมเศรษฐกิจอื่นๆ
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยแสดงท่าทีและอธิบายเหตุผลตั้งแต่ที่ทรัมป์ยังหาเสียงเลือกตั้ง
แต่ทั้งหมดกลายเป็นข่าวสั้น ข่าวที่ผ่านมาแล้วผ่านไป ดังสุภาษิตไทยที่ว่า
“น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ”
ความเห็นต่างจึงถูกกลบไปโดยปริยาย
พร้อมกับบดบังพื้นที่ข่าวอื่นๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ถ่างขยายกว้างขึ้น
คนยากจนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสังคมทวีมากขึ้น คนหย่าร้าง
ปัญหาสืบเนื่องจากการหย่าร้าง ชุมชนเสื่อมโทรมขยายตัว
คนอเมริกันติดยาเสพติดหนักกว่าเดิม การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศนับวันจะรุนแรง
ไม่ใช่ว่ารัฐบาลทรัมป์ไม่จัดการปัญหาเหล่านี้
รัฐบาลทำอยู่แต่ไม่ประสบผลเท่าที่ควร
ปัญหากำลังทวีความรุนแรงและจะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ผลจากการโหมกระแสบางเรื่อง
(ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่) ทำให้สังคมถูกเบี่ยงเบนให้สนใจเฉพาะเรื่องที่อยู่ในกระแส
เช่น สงครามการค้ากับจีน ความขัดแย้งกับเกาหลีเหนือ ความวุ่นวายในตะวันออกกลาง
รัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งอเมริกา
ทรัมป์คือพระเอกหรือดารานำ :
ถ้าโพลให้ความสำคัญกับทุกประเด็นรัฐบาลทรัมป์คงสอบตก อันที่จริงคะแนนนิยมปัจจุบันก็สอบตกอยู่แล้ว
แต่อาจจะหนักกว่าเดิมจนสังคมอเมริกันทนไม่ได้ แต่ด้วยการเบี่ยงเบนประเด็น ทรัมป์กำลังเป็นพระเอก
เป็นผู้นำคนอเมริกันทั้งชาติเผชิญหน้ากับศัตรูร้ายของประเทศ
อย่างจีนกับเกาหลีเหนือ
ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่หยุดที่จะทวิชข้อความที่สร้างความฮือฮาแก่คนทั้งโลก
สื่อแทบทุกสำนักนำเสนอข้อความที่ทรัมป์ทวิชพร้อมกับบทวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ว่าจะถูกตีความว่าเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย
ทรัมป์คือดารานำเสมอ (นี่คือการสร้างกระแสและนำกระแส)
นอกจากนี้
ประธานาธิบดีทรัมป์ยังพยายามสร้างภาพให้ตนดูดี เช่น เดินทางไปพบผู้นำเกาหลีเหนือ
ลงเอยด้วยภาพอันชื่นมื่น แต่หากพิจารณาให้ดีแล้วปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือไม่คืบหน้าจริง
ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ารัฐบาลสหรัฐกำลังจะปรับสัมพันธ์เป็นปกติกับประเทศนี้
ไม่ว่าการค้ากับจีนเป็นอย่างไร
ปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือจะคืบหน้าหรือไม่
ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ยังคงยืนยันคำพูดของตนที่สมัชชาสหประชาชาติว่า “ในเวลาไม่ถึง 2 ปี
รัฐบาลของข้าพเจ้าประสบความสำเร็จมากกว่าแทบทุกรัฐบาลในประวัติศาสตร์ประเทศของข้าพเจ้า” เป็นคำพูดที่พูดในแทบทุกเวทีเพื่อให้เข้าใจว่าท่านคือพระเอกของอเมริกา
เป็นบทสรุปที่ประธานาธิบดีต้องการ
ผลเสียจากภาพลวงตา :
ประการแรก
มองข้ามปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่
องค์การ Oxford
Economics ชี้ว่าคนอเมริกันร้อยละ 60 เป็นหนี้มากขึ้น พร้อมกับอธิบายว่าคนกลุ่มนี้คือพวกรากหญ้ากับพวกกินเงินเดือนประจำ
ปัจจุบันเป็นกำลังซื้อสำคัญ ต้องรับผลกระทบซ้ำซ้อนจากนโยบายของรัฐบาลทรัมป์
โดยเฉพาะสงครามการค้า นโยบายลดภาษี สินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าราคาสูงขึ้น เกิดเงินเฟ้อ
ดอกเบี้ยขึ้น ผลลัพธ์คือหลายคนรายได้เพิ่มแต่รายจ่ายเพิ่มมากกว่า
หลายคนแก้ด้วยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น กรณีเลวร้ายคือคนที่เงินออมหมด ต้องใช้เงินกู้
ประการที่
2 มองข้ามภัยที่กำลังจะมาเยือน
โรแบร์โต อาเซเบโด (Roberto
Azevedo) เลขาธิการองค์การการค้าโลกเตือนว่าสงครามการค้าเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก
ยิ่งยืดเยื้อยิ่งก่อความเสียหาย
อาจทำให้คนนับล้านตกงาน ส่งผลเสียต่อบริษัท ชุมชน
นอกจากนี้
ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกมาก เช่น การปฏิวัติอุสาหกรรมครั้งที่ 4
คนอเมริกันจำนวนมากอาจตกงาน ปัญหาจากภาวะโลกร้อน
ครั้งหนึ่งประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวถึงการขึ้นภาษีสินค้าจีนว่า
“ผมไม่ได้ทำเพื่อการเมือง ผมทำสิ่งที่ถูกต้องแก่ประเทศของเรา”
บทความนี้พยายามพิสูจน์ว่าแท้จริงแล้วการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอาจมีผลช่วยลดการขาดดุลได้บ้างแต่ไม่แก้ปัญหาขาดดุลได้จริง
เพราะการขาดดุลเกิดจากหลายสาเหตุ หากจะแก้ต้องแก้สาเหตุอื่นๆ ด้วย แต่รัฐบาลทรัมป์พยายามชักนำให้คนอเมริกันเข้าใจว่ารัฐบาลกำลังแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างได้ผล
ซึ่งมิได้เป็นเช่นนั้นจริง ทั้งยังละทิ้งประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญไม่ด้อยกว่าการขาดดุลการค้า
นี่คือการสร้างภาพลวงตา
แน่นอนว่าการจัดระเบียบโลก
การปิดล้อมจีนยังมีอยู่และดำเนินต่อไป แต่เป็นยุทธศาสตร์ที่ค่อยเป็นค่อยไป ในอีกส่วนที่ต้องจัดการคือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ด้วยการสร้างภาพลวงตาขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของคนอเมริกันให้รับรู้และเข้าใจตามแบบที่รัฐบาลต้องการ
21 ตุลาคม
2018
ชาญชัย
คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน
คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่
23 ฉบับที่ 8016 วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2561)
-------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ปัญหาขาดดุลเป็นเรื่องใหญ่ ทรัมป์หาเสียงแก้ไขปัญหาดังกล่าวและกำลังทำหน้าที่รัฐบาลที่ดี
คำถามคือนโยบายที่ใช้มุ่งหวังแก้ปัญหาจริงหรือไม่ หรือเพียงแค่ “ให้ได้ทำ” เท่านั้น
หลายรัฐบาลมองสื่อเป็นอริเพราะมักวิพากษ์วิจารณ์รัฐ
ในอีกมุมหนึ่งสื่อถูกใช้เป็นกลไกของรัฐช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
รวมถึงการโฆษณาชวนเชื่อทั้งระดับประเทศและโลก เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
1. Chinese yuan weakens to 6.912 against USD Friday. (2018, October
12). Xinhua. Retrieved from http://www.xinhuanet.com/english/2018-10/12/c_137527308.htm
2. Consumers will pay the price of a global trade war, Daimler
executive says. (2018, September 19). CNBC. Retrieved from
https://www.cnbc.com/2018/09/19/ultimately-the-one-who-closes-the-border-suffers-says-daimler-board-member.html
3. Full text: Trump's 2018 UN speech
transcript. (2018, September 25). Politico.
Retrieved from https://www.politico.com/story/2018/09/25/trump-un-speech-2018-full-text-transcript-840043
4. IMF warns of damage from trade fight, says U.S. vulnerable.
(2018, July 17). The Asahi Shimbun. Retrieved from http://www.asahi.com/ajw/articles/AJ201807170013.html
5. IMF warns tariffs could come at ‘significant economic cost’.
(2018, September 20). Al Arabiya. Retrieved from https://english.alarabiya.net/en/views/business/economy/2018/09/20/IMF-warns-tariffs-could-come-at-significant-economic-cost-.html
6. Interview: Focusing on trade deficit a misplaced attention,
U.S. expert says. (2018, August 22). Xinhua. Retrieved from
http://www.xinhuanet.com/english/northamerica/2018-08/22/c_137408259.htm
7.
Mortgage, Groupon and card debt: how the bottom half bolsters U.S. economy.
(2018, July 24). Reuters. Retrieved from
https://www.reuters.com/article/us-usa-economy-consumers-insight/mortgage-groupon-and-card-debt-how-the-bottom-half-bolsters-u-s-economy-idUSKBN1KD0EM
8. Trade war puts millions of jobs at risk. (2018, October 18). Manila
Bulletin. Retrieved from https://business.mb.com.ph/2018/10/18/trade-war-puts-millions-of-jobs-at-risk/
9. Trump ready to hit all Chinese imports with tariffs. (2018,
July 20). AP. Retrieved from
https://www.apnews.com/59946997c37f4665b54b37ce5d2c8629/Trump-ready-to-hit-all-Chinese-imports-with-tariffs
10. Trump
will slap 10% tariffs on $200 billion in Chinese goods — and they will go to
25% at year end. (2018, September 18). CNBC. Retrieved from
https://www.cnbc.com/2018/09/17/trump-puts-new-tariffs-on-china-as-trade-war-escalates.html
11. US
firms to Trump: Don’t raise tariffs on more Chinese goods. (2018, August 20).
AP. Retrieved
from
https://www.apnews.com/36dd836b6d944777a89594db6b4ca293/US-firms-to-Trump:-Don't-raise-tariffs-on-more-Chinese-goods
12. US firms warn next China tariffs to cost Americans from
cradle to grave. (2018, August 20). Channel News Asia. Retrieved from
https://www.channelnewsasia.com/news/world/us-firms-warn-next-china-tariffs-to-cost-americans-from-cradle-to-grave-10633714
13. Why the US trade deficit is a 'made in America' problem
that won't be helped by Trump's strong-arming on trade. (2018, September 2). CNBC.
Retrieved from
https://www.cnbc.com/2018/09/01/trade-deficit-is-made-in-america-wont-be-helped-by-trump-tariffs.html
-----------------------------