บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2018

สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง เกมอาวุธนิวเคลียร์

รูปภาพ
นับจากโลกมีอาวุธนิวเคลียร์ รัฐบาลสหรัฐไม่คิดที่จะปลดอาวุธนี้เพราะเห็นว่าคือเครื่องมือกอบโกยผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเด็นขีปนาวุธพิสัยกลางคืออีกภาพสะท้อน             เรื่องอาวุธนิวเคลียร์เป็นประเด็นร้อนอีกครั้งเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่ารัสเซียละเมิดสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง สหรัฐไม่อาจปล่อยให้รัสเซียมีอาวุธชนิดนี้ในขณะที่สหรัฐไม่อาจจะมี ดังนั้นจึงขอถอนตัวจากสนธิสัญญา พร้อมกับพูดเป็นนัยว่าจีนต้องเข้าร่วมเจรจาด้วย มิเช่นนั้นสหรัฐจะสร้างอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลางอีกครั้ง คำกล่าวหาละเมิดสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง : สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range Nuclear Forces Treaty: INF) เป็นสนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตเมื่อธันวาคม 1987 ทั้ง 2 ประเทศตกลงที่จะกำจัดขีปนาวุธพิสัยระหว่าง 500 – 5,500 กิโลเมตรที่ติดตั้งบนฐานยิงภาคพื้นดิน ให้หมดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 1991 รวมทั้งระบบปล่อยอาวุธดังกล่าว ไม่ว่าจะติดหัวรบนิวเคลียร์หรืออื่นใด       ...

สงครามการค้าสหรัฐกับจีน ความจริงกับภาพลวงตา

รูปภาพ
รัฐบาลทรัมป์ชี้ว่าต้องแก้ปัญหาขาดดุลด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจีนและกำลังไปด้วยดี แต่นักวิชาการ องค์การระหว่างประเทศหลายแห่งให้มุมมองตรงข้าม ท่ามกลางผู้คนจำนวนไม่น้อยยังอยู่ในวังวนภาพลวงตา             ความขัดแย้งทางการค้าหรือที่บางคนเรียกว่าสงครามการค้าระหว่างประเทศมีอยู่จริง โดยเฉพาะในกรณีสหรัฐกับจีน อย่างไรก็ตาม การนำเสนอให้เป็นเรื่องใหญ่โต เบี่ยงเบนลดทอนความสำคัญของประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญไม่แพ้การขาดดุลการค้า เหตุผลทำไมเป็นการเบี่ยงเบนประเด็น :           ประการแรก ไม่แก้ขาดดุลได้จริง             จุดเริ่มต้นสงครามการค้าที่พูดกันคือเมื่อรัฐบาลทรัมป์ขึ้นภาษีร้อยละ 10-25 ต่อกลุ่มสินค้าจีน 34,000 ล้านดอลลาร์ ฝ่ายจีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีในมูลค่าสินค้าเท่ากัน จากนั้นมีการขึ้นภาษีสินค้าเพิ่มเติม รวมความแล้ว ณ ขณะนี้สหรัฐขึ้นภาษีสินค้าจีนทั้งหมดมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์          ...

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและทางออก

รูปภาพ
แทบทุกรัฐบาลประกาศว่าจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำแต่ยิ่งทำยิ่งเหลื่อมล้ำ องค์การอ็อกแฟมเสนอให้แก้ 3 เรื่องหลักคือ การใช้จ่ายภาคสังคม ภาษีและสิทธิแรงงาน ที่เหลืออยู่ที่ความตั้งใจของรัฐบาล องค์การอ็อกแฟม ( Oxfam International) เป็นองค์กรร่วมที่ประกอบด้วยองค์การอื่นๆ อีกเกือบ 20 แห่งที่ทำงานร่วมกัน กลุ่มเชื่อว่า ' โลกที่ปราศจากความยากจน เป็นจริงได้ ' หนึ่งในผลงานของอ็อกแฟมคือทำ ‘ ดัชนีพันธกรณีลดความเหลื่อมล้ำ ’ (The Commitment to Reducing Inequality Index - CRI) ฉบับล่าสุดเผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นรายงานสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลของ 193 ประเทศประกาศว่าจะลดความเหลื่อมล้ำตามเป้าหมาย 10 ประการของ “เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ” ( Goal 10 of the Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ รายงานฉบับปี 2018 ครอบคลุม 157 ประเทศ มุ่งวัดผลงานของรัฐบาลในเรื่องการใช้จ่ายภาคสังคม ภาษี และสิทธิแรงงาน ทั้ง 3 ประเด็นช่วยลดความเหลื่อมล้ำมากที่สุด เป็นดัชนีชี้วัดว่ารัฐบาลประเทศใดที่จริงจังลดความเหลื่อมล้ำ สถานการณ์ดีขึ้นหรือเลวร้ายลง รายงานชี้ว่าสถานการณ์บางประเทศดีขึ้นมาก ...

เมื่องานสวนสนามกลายเป็นสนามรบ อิหร่านจึงต้องโต้กลับ

รูปภาพ
กลุ่มก่อการร้ายโจมตีงานสวนสนามของกองทัพ อิหร่านจึงโต้กลับด้วยขีปนาวุธ เป็นอีกฉากของความบาดหมางระหว่างอิหร่านกับปรปักษ์ที่รุนแรงเรื่อยมาหลายทศวรรษแล้วและจะยังดำเนินต่อไป 22 กันยายน กองทัพอิหร่านจัดงานสวนสนามที่เมือง ( Ahvaz – ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้) เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอย่างน้อย 4 คนโจมตีผู้ร่วมงานด้วยอาวุธสงคราม มีผู้เสียชีวิต 26 คน บาดเจ็บเกือบ 70 ราย ผู้ก่อการร้ายทั้ง 4 เสียชีวิตหรือถูกจับกุม ทางการอิหร่านกล่าวโทษรัฐบาลสหรัฐ ซาอุฯ กับสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์มีส่วนเกี่ยวข้อง อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ( Ayatollah Ali Khamenei) ชี้ว่าศัตรูหวังสร้างความปั่นป่วน   สัปดาห์ต่อมาอิหร่านตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธใส่กลุ่มก่อการร้ายทางภาคตะวันออกของซีเรีย 6 ลูก เป้าหมายดังกล่าวอยู่ห่างจากฐานปล่อยขีปนาวุธ 570 กิโลเมตร เป็นขีปนาวุธรุ่น Zolfaqar กับ Qiam มีพิสัย 750 กับ 800 กิโลเมตร             ขีปนาวุธอย่างน้อย 1 ลูก มีข้อความว่า 'Death to America', 'Death to Israel', 'Death to Al Saud' และประโยคที่ให้ความหมายตามบทบัญญัติศาสนา...

2018 อียูกับระเบียบโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

รูปภาพ
ระเบียบโลกเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ประเด็นอยู่ที่ทำอย่างไรจะเรียนรู้เท่าทันและได้ประโยชน์ อียูกำลังใช้โอกาสช่วงนี้ถอยห่างจากรัฐบาลสหรัฐ กำหนดวาระของตนเอง เป็นตัวแปรสำคัญของโลกอนาคต             เมื่อพูดถึงระเบียบโลก ( world order ) มักชวนให้นึกถึงบทบาทชาติมหาอำนาจ เป็นความจริงที่ประเทศดังกล่าวมีบทบาทต่อการจัดระเบียบโลกมาก และเป็นความจริงที่ว่าทั้งประเทศเล็กกับใหญ่ต่างพยายามส่งผ่านอิทธิพล มีส่วนกำหนดระเบียบโลกที่ประสงค์ การจัดระเบียบโลกเกิดขึ้นในทุกมิติ ทั้งด้านการเมืองระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ดำเนินตลอดเวลา บางเรื่องเห็นชัด บางเรื่องปิดบังอำพราง บางครั้งคือความร่วมมือ และบางกรณีคือสงคราม บั่นทอนบ่อนทำลายศัตรู             นับตั้งแต่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี สัมพันธภาพระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับอียูนับวันจะเสื่อมถอย เห็นความบาดหมางชัดเจน บ่งบอกว่าอียูไม่อาจทนอยู่นิ่งเฉยต่อไป เยอรมันที่ถือว่าเป็นแกนนำสำคัญมีการหารือถกเถียงว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่อียูต้องเป็นตัวของตัวเอง...