บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

การถดถอยของเสรีประชาธิปไตย

รูปภาพ
นักวิเคราะห์ตะวันตกบางคนยอมรับมากขึ้นแล้วว่าระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตยตะวันตก ( Western liberal democracy ) ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสมควร ลัทธิอำนาจนิยมกำลังเบ่งบาน   ทรัมป์ทำตัวเยี่ยงเผด็จการ : บทความ Liberal Democracy Is Under Attack จากสื่อ Spiegel Online ของประเทศเยอรมันวิพากษ์โจมตี ประธานาธิบดีทรัมป์ว่าแม้มาจากการเลือกตั้ง แต่เรียกร้องอำนาจเบ็ดเสร็จ ( absolute power) นึกว่าตัวเองอยู่เหนือกฎหมายและทำอะไรก็ได้ในเวทีโลก ล่าสุดรัฐบาลทรัมป์นำประเทศถอนตัวจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ให้เหตุผลว่าองค์กรนี้เต็มไปด้วยอคติทางการเมือง ประเทศที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนกลายเป็นแพะรับบาป จึงขาดความน่าเชื่อถือ เป็นพฤติกรรมล่าสุดที่รัฐบาลทรัมป์ถอนตัวออกจากความร่วมมือพหุภาคี หลังถอนตัวออกจากข้อตกลงแก้ไขปัญหาโลกร้อน Paris climate accord ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ฉีกข้อตกลง NAFTA ขึ้นภาษีสินค้าหลายตัวที่สวนทางหลักองค์การค้าโลก ด้วยเหตุผลบรรทัดสุดท้ายว่าขัดผลประโยชน์สหรัฐกับพันธมิตร ประเทศเสรีประชาธิปไตยย่อมส่งเสริมสิทธิมนุษยชน แต่รัฐบาลสหรัฐทำ...

ความกังวลต่อการริเริ่มแถบและเส้นทางของจีน

รูปภาพ
แผนพัฒนาใดๆ ของจีนสามารถตีความว่ากำลังบั่นทอนผลประโยชน์ของอีกฝ่าย แต่อาจเป็นแนวทางที่ดีกว่า เพิ่มโอกาสเพิ่มทางเลือก สำคัญว่าสุดท้ายประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้นหรือไม่ มีผู้วิพากษ์ว่าแนวคิดหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ( One Belt, One Road) หรือการริเริ่มแถบและเส้นทาง ( Belt and Road Initiative: BRI) เป็นยุทธศาสตร์ครองโลกของจีน รายงาน Harbored Ambitions: How China’s Port Investments Are Strategically Reshaping the Indo-Pacific มุ่งประเด็น “ เส้นทางสายไหมทางทะเล ” (Maritime Silk Road) หรือส่วน One Belt ที่เชื่อมต่อจากมหาสมุทรแปซิฟิกจรดแอตแลนติก เชื่อมทวีปเอเชีย ยุโรปและแอฟริกา             รายงานนำเสนอว่าจีนพร่ำเอ่ยว่าเป็นนโยบายที่ต่างได้ประโยชน์ ( win-win ) แต่ในอีกมุมอิทธิพลของจีนขยายตัวในกลุ่มประเทศที่เส้นทางสายไหมผ่าน ท่าเรือประเทศต่างๆ ที่จีนช่วยสร้างช่วยพัฒนานำมาซึ่งกองทัพเรือจีนด้วย เกิดคำถามว่าอะไรที่จีนต้องการจริงๆ             นักวิชาการบางคนเห็นว่าเป้าหมายคือต่อต้านอิ...

เจรจาสุดยอดทรัมป์กับคิม ไม่ซับซ้อนแต่ซับซ้อน (2)

รูปภาพ
ไม่ว่าผลการประชุมจะเป็นอย่างไร ต้องไม่ลืมว่าความเป็นไปของคาบสมุทรเกาหลีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ใหญ่กว่า ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ของสหรัฐ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น   ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์คาดว่าการประชุมสุดยอดกับผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จ็องอึน ( Kim Jong-un) 12 มิถุนายนนี้จะมีผลลัพธ์และน่าตื่นเต้น แต่ไม่น่าจะจบในการเจรจาเพียงรอบเดียว ยืนยันว่าเกาหลีเหนือต้องยกเลิกนิวเคลียร์ทั้งหมด รัฐบาลสหรัฐยินดีที่จะลงนามยุติสงครามเกาหลี มีความสัมพันธ์ปกติ ( normalization) หากดำเนินตามข้อตกลงทุกอย่างจนเสร็จสมบูรณ์ ชัยชนะของระบอบเกาหลีเหนือ :             ถ้ามองย้อนหลังปี 2016 เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธพิสัยกลางโรดอง ( Rodong) มูซูดาน ( Musudan ) ขีปนาวุธจากเรือดำน้ำ ( SLBM) ผ่านการทดสอบจุดระเบิดนิวเคลียร์มาแล้วหลายครั้ง รัฐบาลโอบามาไม่เห็นว่าเป็นภัยคุกคามโดยตรง             เทียบกับกรณีซัดดัม ฮุสเซนถูกกล่าวโทษว่ามีระเบิดนิวเคลียร์และอาจส่งมอบให้ผู้ก่อการร้ายไปโจมตีอเมริกา พันธม...

เจรจาสุดยอดทรัมป์กับคิม ไม่ซับซ้อนแต่ซับซ้อน (1)

รูปภาพ
หากเกาหลีเหนือยกเลิกโครงการนิวเคลียร์กับขีปนาวุธ สหรัฐพร้อมเลิกคุกคามเกาหลีเหนือ เป็นเงื่อนไขตรงไปตรงมา แต่ความเป็นไปของโลกไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างที่เห็น นับจากข่าวรัฐบาลเกาหลีใต้กับสหรัฐหารือสันติภาพระหว่างสหรัฐกับเกาหลีเหนือเมื่อวันที่ 18 เมษายน จากนั้นมีรายงานข่าวต่อเนื่องเรื่อยมา ผู้นำ 6 ประเทศอันได้แก่ เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ สหรัฐ จีน ญี่ปุ่นและรัสเซียเดินทางไปมา มีการประชุมหารือต่อเนื่อง             หลายคนคิดว่าจะเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และหวังให้เป็นเช่นนั้น ตัวแปรสำคัญตามภาพที่ปรากฏคือผู้นำเกาหลีเหนือกับรัฐบาลสหรัฐ หากเกาหลีเหนือยกเลิกโครงการนิวเคลียร์กับขีปนาวุธ รัฐบาลสหรัฐพร้อมจะเลิกคุกคามเกาหลีเหนือ เป็นเงื่อนไขตรงไปตรงมา ไม่น่าจะใช้เวลานาน แต่กว่าจะตกลงกำหนดวันประชุมได้มีอุปสรรค เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจกลับไปกลับมา ความร่วมมือ 2 เกาหลี ปรารถนาสันติภาพ : ผลการประชุมสุดยอด 2 ผู้นำเกาหลีเมื่อ 24 เมษายนที่ผ่านมาเป็นภาพแสดงให้เห็นว่า 2 เกาหลีจริงจังกับสันติภาพ ยกเลิกการแบ่งแยกและเผชิญหน้าแบบยุคสงครามเย็น เริ่มยุคส...