บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2018

สหายที่อยู่ไกลหรือมิตรที่อยู่ใกล้ ทาง 2 แพร่งของออสเตรเลีย

รูปภาพ
ความสงบสันติเท่านั้นจึงจะนำมาซึ่งการพัฒนา ชีวิตที่สงบสุข ผู้คนอยู่ดีกินดี คนทั่วโลกอยากเข้ามาท่องเที่ยว แต่จะได้มาเพราะเลือกสหายที่อยู่ไกลหรือมิตรที่อยู่ใกล้ เป็นคำถามที่ต้องตอบให้ชัด สมุดปกขาวกับปฏิญญาซิดนีย์ : นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียแมลคัม เทิร์นบุลล์ ( Malcolm Turnbull) กล่าวในสมุดปกขาวนโยบายต่างประเทศ 2017 (2017 Foreign Policy White Paper) ว่า ออสเตรเลียเป็นประเทศประชาธิปไตยเก่าแก่ที่สุดประเทศหนึ่งในโลก และเป็นพหุสังคมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก กำลังเผชิญภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนับจากสิ้นสงครามเย็นเป็นต้นมา ทำอย่างไรประเทศจึงจะได้ผลประโยชน์มากสุด ผลประโยชน์ดังกล่าวคือประเทศที่ปลอดภัย มั่นคงและมีเสรี             นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรเลียอยู่ฝ่ายสหรัฐและได้ประโยชน์จากระเบียบโลกใหม่ที่มีสหรัฐเป็นแกนนำ             คำถามสำคัญคือ ในบริบทที่กำลังเปลี่ยนไปออสเตรเลียควรวางตัวอย่างไร การเป็นสมาชิกอาเซียนหรือไม่เป็นการตัดสินใจครั้งสำค...

พักยกวิกฤตยูเครน ไครเมีย ชาติมหาอำนาจขอ “แช่แข็ง” ไว้ก่อน

รูปภาพ
เมื่อปลายเดือนมีนาคม นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกับนายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ  รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้ร่วมเจรจาอย่างเป็นทางการและจริงจังที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤติยูเครน รัสเซียผนวกไครเมีย 2 ฝ่ายแถลงข่าวหลังการเจรจาที่ไม่บรรลุข้อตกลงใดๆ สหรัฐยืนกรานว่ารัสเซียผนวกไครเมียนั้นผิดกฎหมายและไม่ชอบธรรม             ในการเจรจามีนัยว่ารัสเซียจะคืนไครเมียกลับไปอยู่กับประเทศยูเครน ภายใต้รูปแบบสหพันธรัฐ ( federal state) อันหมายถึงประเทศยูเครนจะมีเขตปกครองตนเองเพิ่มอีกหลายเขต ที่สามารถเลือกแนวทางเศรษฐกิจการเงิน สังคม ภาษา ศาสนาของตนเอง โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านรัฐบาลแต่ละชุดล้วนไม่ประสบผลสำเร็จในการบริหารประเทศ เนื่องจากคนในประเทศมีความแตกต่างหลากหลายมาก การปกครองแบบรัฐเดี่ยวจึงไม่ได้ผลดี   อ้างว่าประเทศในรูปแบบสหพันธรัฐ “ไม่ใช่การพยายามแบ่งแยกยูเครน” แต่ตอบสนองผลประโยชน์ของคนในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาลในอนาคตดำเนินนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย ดำเนินนโยบายเป็นกลาง ด้านสหรัฐไม่เห...

ขอเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิกอาเซียน

รูปภาพ
อาเซียนก้าวหน้าอีกขั้นด้วยการเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิก เป็นการคิดนอกกรอบอีกครั้ง และน่าจะด้วยเหตุผลเดิม นั่นคือ ผลจากบริบทความมั่นคงระหว่างประเทศ เทียบเชิญจากอาเซียน : ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โจโก วีโดโด ( Joko Widodo) เชื้อเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิกอาเซียนเต็มตัว เปิดโอกาสให้ออสเตรเลียมีบทบาทในภูมิภาคมากขึ้น ทั้งด้านการป้องกันประเทศ การค้าการลงทุน และประเด็นความมั่นคงอื่นๆ คิดว่าจะเพิ่มความมั่นคงแก่ทุกประเทศในภูมิภาค ทุกอย่างจะดีขึ้น นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลีเซียนลุง ( Lee Hsien Loong) กล่าวทำนองนี้เช่นกัน             ด้านในออสเตรเลียมีการพูดถึงแนวคิดเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเหมือนกัน             ผู้นำอาเซียนมีวาระประชุมกับผู้นำออสเตรเลียในวันสุดสัปดาห์นี้ที่เรียกว่า “การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ” ( ASEAN-Australia Special Summit ) เรื่องการเชิญออสเตรเลียเป็นสมาชิกอาเซียนคงเป็นหนึ่งในวาระสำคัญแน่นอน          ...

240 ปีแนวร่วมต่อต้านสงครามในสหรัฐ

รูปภาพ
ตลอด 240 ปีนับจากก่อตั้งประเทศได้พิสูจน์ชัดว่าชาวอเมริกันผู้รักสันติแทบไม่มีผลต่อนโยบายทำสงคราม เป็นเหตุให้สหรัฐเข้าทำสงครามน้อยใหญ่อยู่เสมอ สงครามมีเพื่อใครกันแน่ Mitchell K. Hall ในหนังสือ Opposition to War: an encyclopedia of U.S. peace and antiwar movements บรรยายว่าตลอดประวัติศาสตร์ 240 ปีนับแต่ก่อตั้งประเทศ สหรัฐทำสงครามครั้งใหญ่ 12 ครั้ง (เฉลี่ย 20 ปีต่อครั้ง-แก้ไข) ไ ม่นับสงครามเล็กๆ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกอีกจำนวนมาก ขัดแย้งกับแนวคิดที่ว่าเป็นชาติรักสันติ             ในหมู่ชาวอเมริกันมีผู้รักสันติแท้ๆ ด้วยแรงขับหลากหลาย จุดมุ่งหมายปลีกย่อยหลายแบบ และใช้ยุทธศาสตร์แตกต่างกัน             นักต่อต้านสงครามรุ่นแรกๆ ได้แรงผลักดันจากศาสนา พวกพิวริตัน ( Puritan- นิกายหนึ่งของผู้นับถือคริสต์ ) ยึดหลัก “สงครามที่เป็นธรรม” ( just war ) ในขณะที่ผู้นับถือคริสต์ส่วนใหญ่จะยึดหลักการจากเทศนาบนภูเขาของพระคริสต์ ( Christ’s Sermon on the Mount) แต่ผู้ประกาศตัวว่านับถือคริสต์มีหล...

ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power) ในบริบทอาเซียน

รูปภาพ
ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ : ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power) เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากสำนักสัจนิยม (Realist School) นักวิชาการบางคนเห็นว่าตามประวัติศาสตร์ยุโรปแนวคิดนี้ถูกใช้ตั้งแต่ปีค.ศ.1648 จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นช่วงเวลาที่ยุโรปสงบสุขถึง 266 ปี เหตุที่ใช้ได้ผลเพราะประเทศในยุโรปสมัยนั้นไม่มีประเทศใดเพียงประเทศเดียวที่เป็นมหาอำนาจ             ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจจึงเป็นหลักการหรือกลไกจัดระเบียบยุโรปในสมัยนั้น เป็นแนวทางการรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศที่สำคัญ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน             A. E. Campbell กับ Richard Dean Burns อธิบายว่าเริ่มต้นของดุลแห่งอำนาจเป็นเพียงหลักการง่ายๆ ว่าหากประเทศในกลุ่มมี ‘ ความสมดุลจริง ’ (just equilibrium) ก็จะทำให้แต่ละประเทศมีความเข้มแข็งเพียงพอที่แสดงความต้องการที่แท้จริงของตน             แนวทางของสมดุลแห่งอำนาจ คือ การพยายามรักษาให้กลุ่มหรือฝ่ายที่เป็นอริกันนั้นมีอำนาจเท่าเทียมกัน หากมีฝ่ายใด...

เผด็จการ 3 รูปแบบ? สีจิ้นผิง ปูติน และระบบ 2 พรรคอเมริกา

รูปภาพ
หากไม่ทำเพื่อประชาชนสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะกุมอำนาจคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม นั่นคือเผด็จการ หากทำเพื่อความสุขของประชาชนจริง จะกลายเป็นราชาธิปไตยหรือการปกครองโดยคณะบุคคลที่น่าส่งเสริม เผด็จการแบบสีจิ้นผิง ? : จีนถือว่าปัจจุบันประเทศปกครองแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ( socialist democracy) ตามลักษณะของจีน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีเสรีภาพในการเลือกเรียน เลือกงานทำ เลือกคู่ครอง เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ประกอบธุรกิจส่วนตัว แต่อำนาจการปกครองอยู่ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาลมีอำนาจทุกด้าน กำกับควบคุมชี้นำเศรษฐกิจสังคม ฯลฯ การที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเตรียมแก้รัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ( Xi Jinping ) อยู่ในตำแหน่งไม่จำกัดวาระ ทำให้หลายคนกังวลว่าสภาพเช่นนี้จะเป็นเหตุให้ “ บริหารผิดพลาด ” เพราะอาจขาดการถ่วงดุลท้วงติง ประธานาธิบดีเปรียบเหมือนจักรพรรดิ อาจกลายเป็นทรราช ชมคลิป 7 นาที ในทางวิชาการ ทรราชหมายถึงคนเดียวมีอำนาจสูงสุดเหนือบุคคลทั้งหลายอย่างเด็ดขาด หากผู้ปกครองมีคุณธรรมเรียกว่า “ ราชาธิปไตย ” (Monarchy) แต่หากกดขี่ข่มเหงราษฎร จะเรียกว่า “ ทุชนาธิปไตย ” หรือ “ ...