ยุทธศาสตร์ปรับสัมพันธ์ของโรฮานีที่ได้ผลและไม่ได้ผล
ยุทธศาสตร์ปรับสัมพันธ์ของรัฐบาลโรฮานีมุ่งปรับสัมพันธ์กับอียูเป็นหลัก เปิดทางให้ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกสามารถสานสัมพันธ์ แต่ไม่ใช่กับสหรัฐ อิสราเอลและพวกซาอุฯ ตามที่ประกาศไว้
บทความที่เกี่ยวข้อง :
บรรณานุกรม:
ความแข็งกร้าวสมัยอามาดีเนจาด :
ย้อนสมัยประธานาธิบดีมาห์มุด
อาห์มาดิเนจาด (Mahmoud Ahmadinejad) รัฐบาลอิหร่านเดินหน้าพัฒนาโครงการนิวเคลียร์
พร้อมกับพยายามชักชวนมุสลิมทั่วโลกต่อต้านตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐที่กำลังยึดครองดินแดนอิรัก
ประเด็นต่อต้านไซออนิสต์
(Zionism) การยึดครองปาเลสไตน์ และต่อต้านตะวันตกคือประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม
เมื่อรวมกับการเป็นมุสลิมเหมือนกัน
เกิดพลังร่วมระดับโลก เป็นแนวทางที่อิหร่านใช้เรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยาตุลเลาะห์
โคไมนี (Ayatollah
Khomeini)
ในระยะหลังแนวทางนี้เริ่มอ่อนกำลัง
ทั้งจากการปรากฏตัวของ ISIS/ISIL ความเป็นมิตรระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับซาอุฯ
และพวกปรากฏชัดเจนขึ้นทุกที ผู้นำจิตวิญญาณอิหร่านคนปัจจุบัน อยาตุลเลาะห์ ซัยยิด
อาลี คาเมเนอี (Ayatollah Seyyed Ali Khamenei) ถึงกับกล่าวว่าความเป็นเอกภาพ
“คือประเด็นสำคัญที่สุดของโลกมุสลิม” ชาติมหาอำนาเจ้าโลกพยายามสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิม
เป็นผู้ก่อสงครามกลางเมืองในประเทศอิสลาม สนับสนุนลัทธิสุดโต่ง (extremism)
สร้างสถานการณ์เพื่อเบี่ยงเบนให้มุสลิมสนใจเรื่องเหล่านี้แทนเรื่องปาเลสไตน์
รับชมคลิป 2 นาที :
รับชมคลิป 2 นาที :
การก้าวขึ้นมาของโรฮานีและยุทธศาสตร์ปรับสัมพันธ์
:
เมื่อสหรัฐได้ประธานาธิบดีโอบามาดำเนินนโยบายถอนทหารออกจากอิรักกับอัฟกานิสถาน
รัฐบาลอิหร่านได้ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี (Hassan Rohani) พร้อมกับนโยบายปรับสัมพันธ์รอบทิศ ทั้งกับชาติตะวันตกกับซาอุฯ
และพวกซึ่งบัดนี้พิสูจน์แล้วว่ามีทั้งส่วนที่ได้ผลกับไม่ได้ผล
ส่วนที่ไม่ได้ผล :
ประการแรก
สหรัฐยังมองว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคาม
แม้โครงการนิวเคลียร์อิหร่านไม่เป็นภัยอีกแล้ว
แต่รัฐบาลทรัมป์ไม่ปรับ “ลดระดับ” ภัยคุกคามตามความเป็นจริง คงจุดยืนว่าอิหร่านคือปรปักษ์ที่อันตรายที่สุด
ล่าสุด
ไม่กี่วันก่อน CIA ปล่อยเอกสารชุดใหม่ 470,000 ไฟล์ เอกสารบางส่วนชี้ว่าอัลกออิดะห์กับอิหร่านมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
เจ้าหน้าที่บางคนเห็นว่าเป็นหลักฐานอิหร่านสนับสนุนอัลกออิดะห์ทำสงครามกับสหรัฐ ไม่ว่าข้อมูลน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร
เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลสหรัฐพยายามชี้ว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคามร้ายแรง
เรื่องนี้สามารถนำไปขยายผลได้อีก
ประการที่
2 พวกซาอุฯ ยังมองว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคาม
ในขณะที่อิหร่านพยายามรวบรวมมุสลิมทั่วโลก
พวกซุนนี (บางกลุ่ม) พยายามรวมตัวเช่นกัน รัฐบาลซาอุฯ
กับพวกแสดงบทบาทโดดเด่นในทางนี้ จึงมี 2 ขั้ว/พวกที่ต่างพยายามช่วงชิงการนำ
พวกซาอุฯ ไม่ยอมเป็นมิตรกับชีอะห์ ชี้ว่ารัฐบาลอิหร่านกับพวกเป็นภัยคุกคามร้ายแรง
ในที่ประชุม
“Arab Islamic
American Summit” เมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมา กษัตริย์ Salman Bin
Abdul Aziz ตรัสผูกโยงอิหร่านกับกลุ่มก่อการร้ายว่า “ระบอบอิหร่านกับกลุ่มและองค์กรใกล้ชิดอย่างฮิซบอลเลาะห์
ฮามาส รวมทั้ง ISIS (Daesh) อัลกออิดะห์
และอีกหลายกลุ่มเป็นตัวอย่างชัดเจน” พวกนี้ “พยายามหาประโยชน์จากอิสลาม (exploit
Islam) เพื่อปิดบังเป้าหมายทางการเมืองที่สร้างความเกลียดชัง
ความสุดโต่ง การก่อการร้าย ความขัดแย้งทางศาสนาและนิกาย”
“ตั้งแต่ปฏิวัติโคไมนีจนถึงทุกวันนี้ ระบอบอิหร่านคือหัวหอกก่อการร้ายโลก”
อิหร่านปฏิเสธความหวังดีของเพื่อนบ้าน เป็นพวกมักใหญ่ใฝ่สูง ชอบขยายอำนาจ
(expansionist ambitions) พวกก่ออาชญากรรม
แทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆ ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
ละเมิดหลักการอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน การเคารพซึ่งกันและกัน
ทุกวันนี้ประเด็นความขัดแย้งระหว่าง 2
นิกายถูกโหมกระพือ
ใครๆ
ก็รู้ดีว่าหากชูประเด็นความขัดแย้งทางศาสนา ย่อมยากจะแก้ไข
เว้นแต่ฝ่ายที่โหมกระพือจะหยุด คำถามคือฝ่ายที่โหมกระพือจะยอมหยุดหรือ
ประการที่
3 ตัวแปรอิสราเอล
ในขณะที่ระบอบอิหร่านพยายามปลุกระดมให้มุสลิมทั่วโลกต่อต้านไซออนนิสต์
รัฐบาลอิสราเอลชี้ว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดเช่นกัน เพราะต้องการทำลายล้างอิสราเอล
เชื่อมโยงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว คำพูดของผู้นำอิหร่านที่ต้องการลบอิสราเอลออกจากแผนที่
ย้อนหลังปี
2002 เอเรียล ชารอน (Ariel
Sharon) กล่าวว่า “อิหร่านเป็นศูนย์ก่อการร้ายโลก
พยายามครอบครองอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD)
รวมทั้งขีปนาวุธ เป็นอันตรายต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง อิสราเอลและต่อยุโรป”
จะสังเกตว่าเหตุผลเรื่องอิหร่านเป็นรัฐอุปถัมภ์ก่อการร้าย
ต้องการมีระเบิดนิวเคลียร์ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ยังคงพูดกันในปัจจุบัน โดยเฉพาะจากสหรัฐ
ซาอุฯ และอิสราเอล
ส่วนที่ได้ผล อียูไม่คิดว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคาม :
ส่วนที่ได้ผล อียูไม่คิดว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคาม :
อียูเห็นต่างจากฝ่ายสหรัฐ
ไม่คิดว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคาม หวังสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ใช้ทรัพยากรน้ำมันของอิหร่าน
คิดว่าการคงอยู่ของอิหร่านจะช่วยสร้างสมดุลอำนาจได้ดีกว่า
หลักคิดของอียูคือ
ไม่ต้องการให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์
สนับสนุนให้เกิดระบบความมั่นคงร่วมในภูมิภาคตะวันออกกลาง อันหมายถึงมีอิหร่านอยู่ในกลุ่มด้วย
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
ประการแรก ความขัดแย้งทางศาสนากับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ถ้าพิจารณารากความขัดแย้ง ความขัดแย้งทางศาสนากับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คือสาเหตุหลักที่ประกาศอย่างเป็นทางการ
เป็นเรื่องร้ายแรงและแก้ยากทั้งคู่
พวกซาอุฯ อ้างความเชื่อทางศาสนา ตราบใดที่ยังเคร่งครัดในศาสนา
ตีความในทำนองไม่ต้องการอยู่ร่วมกับชีอะห์ ความขัดแย้งย่อมดำเนินต่อไป ความพยายามของอิหร่านผู้นำขั้วชีอะห์จะรวมมุสลิมทั่วโลกกลายเป็นต้นเหตุความขัดแย้งระหว่างมุสลิม
2 นิกายใหญ่แบบไร้จุดจบ ยิ่งเห็นว่าชีอะห์เข้มแข็งเท่าใด พวกซาอุฯ
จะยิ่งเพิ่มแรงต่อต้าน
ด้านอิสราเอลมองว่าคือความมั่นคงของประเทศ
การขยายดินแดน ตราบใดที่รัฐบาลอิหร่านไม่ปรับเปลี่ยนท่าทีต่ออิสราเอล
ความขัดแย้งย่อมต้องดำเนินต่อไป รัฐบาลอิสราเอลย่อมต้องหาทาง “จัดการ” อิหร่านก่อนที่ตัวเองจะถูก
“จัดการ” เป็นกรณีที่อยู่ร่วมกันไม่ได้
ประการที่ 2 เพราะมุมมองต่างกันจึงดำเนินนโยบายต่างกัน
อียูมองมุมต่างที่ก่อประโยชน์ต่อตัวเอง
ไม่ต้องการให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ เมื่ออิหร่านปลอดนิวเคลียร์ อียูก็พร้อมจะติดต่อสานสัมพันธ์ทุกด้าน
ถ้ามองจากมุมอียู
การบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์คือความสำเร็จของอียูโดยแท้
เพราะโครงการนิวเคลียร์อิหร่านอยู่ภายใต้การตรวจสอบอีกครั้ง รัฐบาลอียูกับนักธุรกิจเดินทางเยือนอิหร่าน
สานสัมพันธ์การค้าการลงทุนในยามที่อิหร่านต้องการอย่างยิ่ง ได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย
ในขณะที่สหรัฐกับพวกยังคงคว่ำบาตรต่อไป
เป็นอีกครั้งที่อียูดำเนินนโยบายแตกต่างจากสหรัฐและได้ประโยชน์จากการนี้
ประการที่ 3 รัฐบาลสหรัฐ
คือตัวแปรแห่งความเปลี่ยนแปลง
ความขัดแย้งระหว่างอิหร่าน-ซาอุฯ-อิสราเอลอาจคลายตัวลงมาก
ถ้ารัฐบาลสหรัฐไม่ดำเนินนโยบายเป็นปรปักษ์ต่ออิหร่าน หากไม่มีรัฐบาลสหรัฐที่คอยสนับสนุนอิสราเอลกับพวกซาอุฯ
เหลือเพียงอิสราเอลกับพวกซาอุฯ เท่านั้น เช่นนี้ สมดุลอำนาจภูมิภาคจะเปลี่ยน
พวกซาอุฯ อาจเลือกที่ปรับความสัมพันธ์
อยู่ร่วมโดยสันติกับชีอะห์หรือลดระดับความขัดแย้ง
เมื่อนั้นอิสราเอลจะโดดเดี่ยว
ไม่สามารถทำอะไรได้ สมดุลอำนาจจะเปลี่ยน ความขัดแย้งภูมิภาคจะคลายตัว
ท่าทีของรัฐบาลสหรัฐจึงมีผลอย่างยิ่งต่อความเป็นไปในภูมิภาคนี้
ประการที่
4 นโยบายปรับสัมพันธ์ได้ผลหรือไม่
ถ้าจะสรุปว่านโยบายปรับสัมพันธ์ได้ผลหรือไม่
ขอตอบว่าได้ผล เพราะอิหร่านไม่คิดปรับสัมพันธ์กับอิสราเอลอยู่แล้ว
จุดยืนทางศาสนาของรัฐบาลซาอุฯ ต่ออิหร่านยากจะเปลี่ยนแปลง (ตราบใดที่ผู้ปกครองซาอุฯ ให้ความสำคัญต่อความมั่นคงของระบอบตนเอง) ความขัดแย้งกับอิสราเอลและพวกซาอุฯ
เป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลสหรัฐต้องดำเนินนโยบายต่อต้านอิหร่าน ไม่รวมจุดยืนดั้งเดิมที่สหรัฐต่อต้านอิหร่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ยิ่งได้รัฐบาลอย่างทรัมป์ที่ดำเนินนโยบายเคียงบ่าเคียงไหล่กับอิสราเอล
เป็นมิตรแท้อิสลาม แนวร่วมไตรภาคีต่อต้านอิหร่าน (สหรัฐ-พวกซาอุฯ-อิสราเอล)
จึงดำเนินต่อไปอย่างที่เห็น
ดังนั้น เมื่อตัดไตรภาคีต่อต้านอิหร่านออกไป
ยุทธศาสตร์ปรับสัมพันธ์ของรัฐบาลโรฮานีจึงมุ่งความสำเร็จกับอียูเป็นหลัก
เปิดทางให้ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกสามารถปรับสัมพันธ์
จุดเริ่มต้นของสิ่งนี้คือการทำข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านนั่นเอง
นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ยอดเยี่ยมของผู้นำอิหร่าน
สมควรได้รับการชื่นชม
5 ตุลาคม 2017
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 7660 วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2560)
----------------------------
หากยึดว่าความสำเร็จจากการเจรจาโครงการนิวเคลียร์ไม่ลดความหวาดระแวง
ความไม่เป็นมิตรต่อกัน รัฐบาลสหรัฐยังคงคว่ำบาตรอิหร่านด้วยเหตุผลอื่นๆ อิสราเอลยังเชื่อว่าอิหร่านจะผลิตและสามารถผลิตระเบิดนิวเคลียร์ในอนาคต ผลประโยชน์ของการเจรจาโครงการนิวเคลียร์จึงไม่ใช่เรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน
แต่น่าจะเป็นประโยชน์จากการที่บริษัทต่างชาติเข้าไปมีส่วนโครงการฟื้นฟูอิหร่าน หลายประเทศขายอาวุธให้แก่อิหร่าน
การทดสอบขีปนาวุธพิสัยกลางของอิหร่านกลายเป็นประเด็นข่าว
เพราะไม่เพียงยิงไกลถึงอิสราเอล อาจผิดข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง
ที่สำคัญคือมีข้อความ “อิสราเอลต้องถูกลบออกจากหน้าประวัติศาสตร์”
บ่งบอกถึงทัศนคติที่อิหร่านมีต่ออิสราเอล แต่ถ้าวิเคราะห์จากหลักฐานเชิงประจักษ์
อิสราเอลในวันนี้มีศักยภาพที่จะ “ลบ” อิหร่านออกจากแผนที่โลกมากกว่า
1. Cook, Jonathan. (2008). Israel
and the Clash of Civilisations: Iraq, Iran and the Plan to Remake the Middle
East. USA: Pluto Press.
2. El Fadl, Khaled
Abou. (2005).The Great Theft: Wrestling Islam from the Extremists.
Australia: HarperCollins Publishers.
3. Ifantis, Kostas.,
Galariotis, Ioannis. (2012). The Quest for the Holy Grail: Europe’s Global
Strategy. In Tzifakis, Nikolaos (Ed.), International Politics in Times of
Change (pp.61-78). Berlin: Springer-Verlag Berlin Heidelberg.
4. ‘Iran at forefront
of global terrorism,’ says King Salman. (2017, May 21). Al Arabiya.
Retrieved from
http://english.alarabiya.net/en/News/gulf/2017/05/21/-Iran-at-forefront-of-global-terrorism-says-King-Salman.html
5. Iran policy against ‘arrogant’ U.S. won’t change. (2015, July
18). Al Arabiya News. Retrieved from
http://english.alarabiya.net/en/News/middle-east/2015/07/18/Khamenei-policy-against-arrogant-U-S-won-t-change-.html
6. King Salman: Iran
spearheading global terror. (2017, May 22). Arab News. Retrieved
from http://www.arabnews.com/node/1103121/saudi-arabia
7. Leader calls for
promotion of Islamic unity. (2014, January 19). Tehran Times. Retrieved
from
http://www.tehrantimes.com/component/content/article/94-headline/113532-leader-calls-for-promotion-of-islamic-unity-
8. Netanyahu: Deal
with Iran a ‘historic mistake,’ Israel not bound by it. (2013, November 24). JTA.
Retrieved from http://www.jta.org/2013/11/24/news-opinion/israel-middle-east/deal-with-iran-a-historic-mistake-netanyahu-says
9. Newly Released Bin
Laden Document Describes Iran, Al Qaeda Link. (2017,
November 1). NBC News. Retrieved from
https://www.nbcnews.com/news/world/newly-released-bin-laden-document-describes-iran-al-qaeda-link-n816681
10. Naji, Kasra. (2008).
Ahmadinejad: The Secret History of Iran's Radical Leader. CA: University
of California Press.
11. Roshandel,
Jalil., Lean, Nathan Chapman. (2011). Iran, Israel, and the United States:
Regime Security vs. Political Legitimacy. Califronia: ABC-CLIO, LLC.
12. Statement by the
President on Afghanistan. (2014, May 27). The White House. Retrieved
from http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2014/05/27/statement-president-afghanistan
-----------------------------