บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2017

ความแตกต่างทางการเมืองและทางออก

รูปภาพ
มนุษย์แตกต่างหลากหลาย หลายเรื่องแก้ยากหรือไม่ได้ ควรมุ่ง “จัดการ” ให้ทุกคนอยู่ได้ เป็นประโยชน์สุขต่อทุกคน เริ่มต้นด้วยการวาง “หลักยึด” เป็นข้อเสนอให้ทุกคนยืดถือร่วมกัน อัตลักษณ์และความแตกต่าง : ความแตกต่าง (difference) ไม่ว่าจะเป็นด้านอุดมการณ์ ความคิด นโยบาย เชื้อชาติ ศาสนา ประวัติศาสตร์ ฯลฯ เป็นต้นเหตุสำคัญของการแก่งแย่งช่วงชิง การต่อสู้ทางการเมือง ผ่านการรับรู้ เป็นมโนทัศน์ ว่าตนคิดเห็นอย่างไร ยึดถืออย่างไร ตีความผู้อื่นว่าเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างตรงไหน ทั้งยังต้องพูดถึง “น้ำหนัก” “ระดับความสำคัญ” เช่น ให้ความสำคัญกับความแตกต่างทางศาสนา ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน ในขณะที่นักสตรีนิยมบางเห็นว่าความเป็นสตรีสำคัญเหนือความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา             แต่ละคน แต่ละสังคมจะให้น้ำหนักต่างกัน อีกทั้งเปลี่ยนแปลงตามบริบท กาลเวลา เช่น กระแสชาวตะวันตกไม่ชอบมุสลิม ในขณะที่คนญี่ปุ่นไม่ต่อต้านมุสลิมอย่างพวกตะวันตก             มโนทัศน์ต่ออัตล...

3 ภัยคุกคามหลักของอิหร่านในสมัยทรัมป์

รูปภาพ
แม้โครงการนิวเคลียร์อิหร่านจะใช้เพื่อสันติเท่านั้น แต่รัฐบาลทรัมป์กลับไม่ลดระดับภัยคุกคาม ซ้ำยังยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์เพื่อคงการคว่ำบาตร แท้จริงแล้วการพูดถึงภัยคุกคามเป็นข้ออ้างมากกว่า กลางเดือนตุลาคม รัฐบาลทรัมป์ประกาศยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ต่ออิหร่าน ชี้ว่าอิหร่านเป็นภัยคุกคามร้ายแรง จำต้องตอบโต้ด้วยนโยบายแข็งกร้าว             ยุทธศาสตร์ฉบับใหม่เอ่ยถึงภัยหลายอย่าง โดยหลักแล้วมี 3 ประการ ดังนี้             ประการแรก โครงการนิวเคลียร์ ยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ระบุว่ารัฐบาลอิหร่านพยายามลดทอนความร่วมมือ ( severely undercut ) ตามข้อตกลง Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) ไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ไม่ยอมให้เข้าตรวจเขตพื้นที่ทหาร เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้             อันที่จริงแล้วแนวคิดล้มข้อตกลงไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลทรัมป์ พรรครีพับลิกันคิดทำมานานแล้ว ประเด็นน่าคิดคือทำไมประธานาธิบดีทรัมป์เพิ่งตัดสินใจ...

อาเซียนแทรกแซงเมียนมา หรือเมียนมาแทรกแซงอาเซียน

รูปภาพ
นับแต่ก่อตั้งอาเซียนเมื่อ 50 ปีก่อน หลักไม่แทรกแซงกิจการภายในเป็นเสาหลักของกลุ่ม ประเด็นโรฮีนจาเป็นกรณีพิเศษที่อาเซียนละเมิดหลักการ แต่เพราะเมียนมาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน             เหตุโรฮีนจาขณะนี้ ประชาคมอาเซียนและสมาชิกหลายประเทศวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเมียนมาอย่างเปิดเผย แทรกแซงกิจการภายในเมียนมา ละเมิดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในที่ยึดถือมาตลอด ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย บทความนี้นำเสนอว่าแท้จริงแล้ว ถ้ายึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ( Principle of Non-interference) อาเซียนแทรกแซงเพราะเมียนมาเป็นฝ่ายแทรกแซงก่อน ความสำคัญของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน : อาเซียนก่อตั้งด้วยเหตุผลต้านภัยสมัยสงครามเย็น ในขณะนั้นสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์) เจอทั้งศึกในศึกนอก คอมมิวนิสต์ยังคงเติบใหญ่ เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง มาเลเซียมีปัญหากับอินโดนีเซีย ชาติสมาชิกหวาดระแวงต่อกัน ทั้ง 5 ประเทศจึงตกลงที่จะระงับความขัดแย้งระหว่างกันก่อน ร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เห็นพ้องว่าเป็นภัยร้ายแรงที่สุด เป็นที่...

โรฮีนจา ปัญหาของใคร

รูปภาพ
ทุกครั้งเมื่อเหลือบไปมองโรฮีนจาจะพบแต่ความทุกข์ยาก ความขาดแคลน อยู่ในยะไข่ก็ขาดแคลน นักเรียนขาดโรงเรียน ขาดโรงพยาบาล ขาดยา ไม่มีงานทำ หลายคนถึงกับยอมเสี่ยงชีวิตไปหางานต่างแดนแม้ผิดกฎหมาย เป็นแรงงานราคาถูก ทำงานประเภทที่คนอื่นไม่อยากทำ โดนกดขี่ข่มเหงสารพัด ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างคนมีสิทธิตามกฎหมาย             ช่วงนี้มีข่าวถูกไล่ที่ พากันอพยพหนีตายอลหม่าน ระหว่างเดินทางก็ถูกทำร้าย บางคนเหยียบกับระเบิดที่ฝังไว้อีก กว่าจะไปถึงบังคลาเทศก็ทุลักทุเล             กว่า 500,000 คนที่หนีตายมาอยู่ชายแดนบังคลาเทศต้องมาอยู่ในพื้นที่แออัดกว่าเดิม ขอเพียงมีพื้นที่สักช่องให้เอนกายก็นับว่าดีมากแล้ว ขาดแคลนทุกอย่าง แม้หลายประเทศ องค์กรช่วยเหลือหลายหน่วยยื่นมือเข้าช่วยแล้วก็ตาม Antonio Guterres เลขาธิการสหประชาชาติเรียกร้องให้ทางการเมียนมาระงับปฏิบัติการทางทหาร ยุติความรุนแรง ปฏิบัติตามหลักกฎหมาย เคารพสิทธิที่ทุกคนจะกลับสู่บ้านเกิดตัวเอง ขอให้โรฮีนจาได้ฐานะความเป็นพลเมืองหรือไม่ก็ได้รับฐานะทา...

โลกแห่งการแก่งแย่งและทางออก

รูปภาพ
สิ่งหนึ่งที่โลกไม่เปลี่ยนแปลงคือ โลกแก่งแย่งแข่งขันเรื่อยมา ทางออกสำหรับประเทศไทยคือ ต้องไม่ตกเป้าทำลายของมหาอำนาจ มีสัมพันธ์รอบทิศ สร้างมิตร และสร้างชาติเหมือนสร้างครอบครัว การแก่งแย่งแข่งขันระดับโลก :             ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มนุษย์อยู่ด้วยกันโดยไม่มีกฎ ใครจะทำอะไรอย่างไรก็ได้ ความไม่มีกฎนี้นักวิชาการเรียกว่าเป็น “กฎแห่งป่า” สัตว์ที่แข็งแรงกว่า ฉลาดกว่าคือตัวที่อยู่รอด ส่วนที่อ่อนแอ ฉลาดน้อยกว่าจะกลายเป็นเหยื่อ             มนุษย์เรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อหวังช่วยเหลือกันและป้องกันภัยจากภายนอก กลายเป็นชนเผ่า เมือง อาณาจักร การต่อสู้การแย่งชิงดำเนินต่อไป เป็นสงครามระหว่างเมือง ระหว่างอาณาจักร คนจีนฮั่นโจมตีมองโกล คนมองโกลรุกรานฮั่น ไทยรบกับพม่า พม่าตีไทย ไทยตีพม่า ไม่มีกติกาว่าห้ามฆ่าคนอีกฝ่าย ห้ามยึดทอง จับเชลยไปเป็นทาส             ในสมัยล่าอาณานิคม พวกยุโรปล่าคนแอฟริกานับล้านคนเพื่...