บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

เส้นต้องห้าม (red line) ต่อเกาหลีเหนือ

รูปภาพ
ช่วงกรกฎาคมถึงก่อนกลางสิงหาคม 2017 เป็นเวลาแห่งความตึงเครียดระหว่างฝ่ายสหรัฐกับเกาหลีเหนืออีกรอบ เริ่มจากเกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป “ฮวาซอง-14” (Hwasong-14) ถึง 2 ลูกใน 1 เดือน คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติออกข้อมติ 2371 คว่ำบาตรเกาหลีเหนือ ตามมาด้วยเกาหลีเหนือประกาศเตรียมแผนยิงขีปนาวุธ “ฮวาซอง-12” (Hwasong-12) จำนวน 4 ลูกให้ตกรอบเกาะกวม อ้างว่าเป็นการจำลองยับยั้งกองทัพศัตรูจากฐานทัพเกาะกวม ปฏิบัติการจำลองนี้ตัวขีปนาวุธจะบินข้ามน่านฟ้าญี่ปุ่น ข้ามผ่านพื้นที่ Shimane, Hiroshima และ Koichi             ด้านประธานาธิบดีทรัมป์เตือนเกาหลีเหนือว่าอาจถูกตอบโต้รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เหตุการณ์ตึงเครียดรอบนี้สะท้อนเส้นต้องห้าม ( red line) ของประเทศต่างๆ ดังนี้ เส้นต้องห้ามของจีน :             ท่ามกลางความตึงเครียด ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยับยั้งชั่งใจ พยายามแก้ปัญหาด้วยการหารือเจรจาต่อไป ย้ำว่า “จีนกับสหรัฐต่างมีผลประโยชน์ร่วมจากคาบสมุทรเกาหลีที่ปลอดนิวเคลียร์ สงบสุ...

อนาคตของการเจรจา “แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้” (COC)

รูปภาพ
หลังจากใช้ “ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้” (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) ถึง 14 ปี ชาติสมาชิกประชาคมอาเซียนกับจีนกำลังประชุมเพื่อให้เกิด “แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้” (Code of Conduct on South China Sea: COC) ตามกรอบการเจรจา เพื่อให้ได้ข้อตกลงระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนทั้งหมดกับจีนในเรื่องเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ที่มีผลผูกมัด มีผลทางกฎหมาย ตามความต้องการของอาเซียนแต่ดั้งเดิม COC จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ : การเจรจาเพื่อให้ได้ COC ดำเนินมานานแล้วหรือตั้งแต่ได้ DOC เมื่อ 14 ปีก่อน แต่การเจรจาล่าช้าบ้าง เห็นไม่ตรงกันบ้าง ที่สุดแล้วจึงเกิดแนวคิดสร้างกรอบจนได้กรอบการเจรจา COC ( framework for the Code of Conduct ) ที่ตกลงกับจีนเมื่อ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญที่สนใจกันคือ กรอบเจรจาไม่ได้ระบุว่า COC จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่ คือไม่ได้ระบุว่าต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สมาชิกอาเซียนบางประเทศหวังให้กรอบเจรจากำหนดเช่นนั้นแต่ไม่สมดังหวัง เกิดคำถามว่า COC ที่ตั้งใจไว้แต่แรกว่าจะต้องมีผลทางกฎหมาย จะได้ตามนั้นหรือไม่ และถ้าไม่เป็นเช่นนั้น COC จ...

ภัยคุกคามในสายตาของประชาชนแต่ละประเทศ

รูปภาพ
ต้นสิงหาคม 2017 Pew Research Center เสนอผลสำรวจภัยคุกคามต่างๆ ตามความคิดเห็นของประชาชน พบว่าผู้ก่อการร้าย IS/ISIL/ISIS กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ( global climate change) คือ 2 ประเด็นที่คนทั่วโลกเห็นว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุด             งานสำรวจอาศัยความเห็นประชาชน 41,953 คน จาก 38 ประเทศ กระจายทุกทวีป ตั้งภัยคุกคาม 8 ตัวให้ผู้ตอบให้คะแนนเป็นคุกคามรุนแรง ภัยคุกคามทั้ง 8 ได้แก่ ผู้ก่อการร้าย IS การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก การโจมตีทางไซเบอร์จากต่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจโลก ผู้อพยพลี้ภัยต่างชาติเข้าประเทศ และอีก 3 ข้อคือ อำนาจกับอิทธิพลของสหรัฐ รัสเซียและจีน ผลสรุปของกลุ่มอาเซียน :             ในกลุ่มอาเซียนทำการสำรวจ 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ทั้งอินโดนีเซียกับฟิลิปปินส์เห็นว่า IS คือภัยคุกคามร้ายแรงสุด ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 74 กับ 70 คิดเช่นนั้น             ภัยคุกคามรองลงมาของอินโ...