บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงป้องกันได้ด้วยวัคซีน

รูปภาพ
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดในฮ่องกงเสียชีวิตกว่า 200 รายแล้ว (26 ก.ค.) ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย สถานพยาบาลในฮ่องกงรับมือเต็มที่ โรงพยาบาลบางแห่งรับผู้ป่วยมากจนเต็มจำนวนเตียงผู้ป่วยทั้งหมด ผู้ป่วยบางรายต้องรอหลายชั่วโมงกว่าจะได้เตียงนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล รายที่อาการไม่หนักจะต้องรอหลายชั่วโมงกว่าจะมีแพทย์มาตรวจ ขณะนี้รัฐบาลกำลังหารือกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อช่วยรับผู้ป่วยโดยรัฐจะออกค่าใช้จ่ายบางส่วนเพื่อช่วยแบกรับค่ารักษาของผู้ป่วย สมาคมแพทย์ร้องขอให้แพทย์โรงพยาบาลเอกชนกับแพทย์ที่เกษียณแล้วสละเวลาบางส่วนมาช่วยดูแล             โดยปกติการระบาดไม่ใช่เรื่องร้ายแรงหากระบาดไม่มาก ปีนี้พิเศษกว่าปกติเพราะการระบาดมาเร็วและแรง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในช่วงกลางพฤษภาคมพบติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ร้อยละ 13.5 และเพิ่มเป็น 40.6 ในสัปดาห์ที่ 2 ของกรกฎาคม ชี้ให้เห็นการระบาดเพิ่มขึ้นมาก เฉพาะผู้ป่วยหนักนับจากพฤษภาคมมีกว่า 300 รายแล้ว เสียชีวิตกว่า 200 คน เป็นตัวเลขที่สูงกว่าปีก่อนอย่างชัดเจน เชื้อที่พบในปีนี้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 35) เป็นสายพันธุ์ A(H3N2)...

“หญิงบำเรอ” เรื่องที่จบแล้วแต่ยังไม่จบ

รูปภาพ
Kang Kyung-wha รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศเกาหลีใต้เห็นว่าจำต้องทบทวนข้อตกลงเรื่องหญิงบำเรอที่ทำไว้กับญี่ปุ่น แม้เป็นข้อตกลงที่ระบุว่า “เป็นข้อตกลงสุดท้ายและแก้ไขไม่ได้อีกแล้ว” ทางการเกาหลีใต้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อตกลงดังกล่าว ข้อตกลง “ comfort women accord ” ลงนามเมื่อเดือนธันวาคม 2015 ในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดี ปาร์ค กึน-เฮ (Park Geun-hye) รัฐมนตรี Kang กล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ปกป้องสิทธิมนุษยชนของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอย่างแท้จริง จึงเห็นว่าอาจต้องขอเจรจาทั้งนี้ขึ้นกับผลการตรวจสอบของคณะกรรมการ             ย้อนหลังตั้งแต่ช่วงหาเสียง มุน แจ-อิน  (Moon Jae-in) ประกาศว่าจะทบทวนข้อตกลงใหม่ เห็นว่ารัฐบาลญี่ปุ่นไม่พยายามมากพอ หากญี่ปุ่นตั้งใจกว่านี้สัมพันธ์ 2 ประเทศย่อมจะดีขึ้น ไม่นานหลังรับตำแหน่ง ประธานาธิบดีมุนแสดงท่าทีว่าต้องการทบทวนข้อตกลงเรื่องหญิงบำเรอ และอยากเจรจาอีก ทั้งยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมรัฐบาลชุดก่อนจึงรีบด่วนทำข้อตกลง ทำไมต้องเป็นข้อตกลงสุดท้ายและแก้ไขไม่ได้อีก อะไรคือหญิงบำเรอ : ห...

จิบูตี ฐานทัพต่างแดนแห่งแรกของจีนกับยุทธศาสตร์ OBOR

รูปภาพ
รู้จักจุดยุทธศาสตร์จิบูตี :สาธารณรัฐจิบูตี (The Republic of Djibouti) ตั้งอยู่ในแอฟริกาตะวันออก ติดอ่าวเอเดน (Gulf of Aden) เป็นประเทศเล็กมีพื้นที่ 23,200 ตร.กม. (ประเทศไทยใหญ่กว่าถึง 22 เท่า) เพิ่งได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1977 ปัจจุบัน (2016) มีประชากรราว 850,000 คน เกือบทั้งหมดเป็นมุสลิม เป็นรัฐอิสลาม เข้าร่วมกลุ่มสันนิบาตอาหรับ (Arab League) องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) สภาพการเมืองมั่นคงแต่เศรษฐกิจอ่อนแอ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายหรือกึ่งทะเลทราย อัตราว่างงานสูงถึงร้อยละ 60 (2014) ประชากรครึ่งหนึ่งมีอายุไม่ถึง 25 ปี อาหารร้อยละ 80 ต้องนำเข้า ยังต้องพัฒนาอีกมาก รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมมากขึ้น จิบูตีกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์เมื่อคลองสุเอซ ( Suez Canal ) เริ่มเปิดใช้งานเมื่อปี 1869 เชื่อมระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง เป็นเส้นทางเดินเรือเชื่อมยุโรปกับเอเชีย จิบูตีตั้งอยู่ตรงปากทางทะเลแดง ในอดีตเจ้าอาณานิคมทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ ต่างพึ่งเส้นทางเดินเรือนี้เพื่อส่งกองเรือยึดอาณานิคมเอเชียและเพื่อการค้า พื้นที่แถบนี้จึงถูกยึดเป็นอาณานิคมเพื่อสร้างเป็นจุดพัก...

มุมมองที่แตกต่างระหว่างซาอุฯ กับกาตาร์

รูปภาพ
รัฐบาลซาอุดิอาระเบียกับกาตาร์ต่างเห็นว่าสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังทำคือการคุกคามความมั่นคงแห่งชาติของตน ฝ่ายหนึ่งชี้ว่ากำลังบ่อนทำลายประเทศ อีกฝ่ายโต้ว่าถูกละเมิดอธิปไตย การตัดความสัมพันธ์กาตาร์ที่เริ่มต้นเมื่อต้นเดือนที่แล้วกำลังเข้าสู่หมวดยืดเยื้อ  มุมมองซาอุฯ : ขั้วซาอุฯ ยื่นคำขาดให้กาตาร์ปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง 13 ข้อ เช่น ลดความสัมพันธ์กับอิหร่าน ยุติความร่วมมือทางทหารกับตุรกี รวมทั้งปิดฐานทัพตุรกีในกาตาร์ ปิดสื่อ Al Jazeera เลิกสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ ชื่อที่เอ่ยถึงได้แก่ กลุ่มภราดรภาพมุสลิม ( Muslim Brotherhood) ฮิซบอลเลาะห์ ( Hezbollah) Fateh Al-Sham (Nusra Front) อัลกออิดะห์ IS/ISIL/ISIS ไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติอาหรับ ดำเนินโยบายแนวเดียวกับชาติอาหรับอื่นๆ ทั้งด้านการทหาร การเมือง สังคม เศรษฐกิจ จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียชีวิตและผู้สูญเสียทางการเงินจากนโยบายกาตาร์เมื่อหลายปีที่ผ่านมา แม้ 2 ประเทศมีความร่วมมือหลายอย่าง ในอีกด้านหนึ่งมีความขัดแย้งเช่นกัน เคยตัดสัมพันธ์เมื่อปี 2014 ด้วยเหตุผลกาตาร์สนับสนุนกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์ ครั้งนี้การสนับสนุนกลุ่มสุดโต่งยั...

ภาพลักษณ์ของทรัมป์กับสหรัฐในสายตาโลก

รูปภาพ
Pew Research Center สำรวจความคิดเห็นต่อประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จำนวน 40,447 ตัวอย่างจาก 37 ประเทศ เป็นข้อมูลจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2017 เมื่อเทียบกับประธานาธิบดี บารัก โอบามา (Barack Obama) พบว่าโอบามาได้ความนิยมถึงร้อยละ 64 (ใช้ข้อมูลปีสุดท้ายขณะดำรงตำแหน่ง) ส่วนทรัมป์ได้เพียง 22 เพราะไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีทรัมป์ มีเพียงรัสเซียกับอิสราเอลเท่านั้นที่ทรัมป์มีคะแนนนำ เมื่อเปรียบเทียบ 2 ประธานาธิบดี10 ประเทศแรกที่คะแนนความชอบพอแตกต่างกันมากที่สุด ได้แก่ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส สเปน แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น บ่งชี้ว่าผู้นำ 2 ท่านแตกต่างกันมาก มองทรัมป์ในแง่ลบ ประเทศเหล่านี้อยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่มีประชาธิปไตยเข้มแข็ง น่าคิดว่าประชาชนในกลุ่มพันธมิตรยุโรปตะวันตกกับเอเชียตะวันออกต่อต้านรัฐบาลทรัมป์ การมีระบอบปกครองเหมือนกันไม่จำต้องเห็นพ้องกับนโยบายสหรัฐที่พยายามอ้างว่าเป็นผู้นำโลกเสรี             งานศึกษาชิ้นนี้ให้ข้อมูลว่าคนทั่วไปเห็นว่าประชาธิปไ...