บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017

ผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานทั่วโลก 2016

รูปภาพ
Global Trends: Forced displacement in 2016 เป็นรายงานผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานทั่วโลกของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Refugees: UNHCR) ฉบับล่าสุดยึดข้อมูลจน ถึงสิ้นปี 2016 มีผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานทั้งสิ้น 65.6 ล้านคน ผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานประกอบด้วยหลายประเภท เช่น ผู้ลี้ภัย ( refugee) คนพลัดถิ่นภายในประเทศ (Internally Displaced People: IDPs) ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ( asylum seekers) คนไร้รัฐ             ปี 2016 ซีเรียยังครองแชมป์ประเทศที่มีผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นฐานมากที่สุดถึง 12 ล้านคน (เป็นสถิติที่นับรวมตั้งแต่ซีเรียมีผู้พลัดถิ่น) แยกเป็นผู้ลี้ภัย 5.5 ล้านคน IDPs 6.3 ล้านคน และผู้แสวงหาที่ลี้ภัย 185,000 คน รองมาคือโคลัมเบีย มีผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่นทั้งสิ้น 7.7 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็น IDPs อัฟกานิสถานตามมาเป็นลำดับ 3 มีผู้ถูกบังคับทั้งสิ้น 4.7 ล้านคน             ถ้าคิดเป็นสัดส่วนต่อประชากรทั้งหมด ซีเรียยังอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่...

การฉวยประโยชน์กับการบ่อนทำลายประชานิยมของทรัมป์

รูปภาพ
แนวทางหนึ่งที่โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) หาเสียงจนชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเมื่อปลายปี 2016 คือ ประชานิยม ตัวอย่างที่เด่นชัด เช่น ชูประเด็นแรงงานต่างด้าว ชี้ว่าแย่งงานคนอเมริกัน ทำให้ค่าจ้างลด เป็นตัวก่ออาชญากรรม สร้างปัญหายาเสพติด เสนอนโยบายกีดกันแรงงานต่างด้าวที่รุนแรง ทำให้ชาวอเมริกันจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานด้อยฝีมือฝากความหวังกับทรัมป์เหตุหนึ่งที่ทรัมป์ชนะเลือกตั้งจึงมาจากการหาเสียงโดยแนวทางประชานิยม ดูเหมือนว่าแนวทางนี้เฟื่องฟูขึ้น เมื่อชนะเลือกตั้ง ประธานาธิบดีทรัมป์ดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงไว้ ประกาศสร้างกำแพงกั้นพรมแดนสหรัฐ-เม็กซิโก จะให้เม็กซิโกเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายสร้างกำแพง ขับไล่แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายออกจากประเทศ แต่เมื่อบริหารประเทศซักพักหนึ่ง รัฐบาลทรัมป์เริ่มลดทอนนโยบาย เช่น ประกาศจะขับไล่แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเฉพาะพวกที่ก่ออาชญากรรมเท่านั้น มีเพียงไม่กี่คน ในขณะที่ออกกฎหมายให้แรงงานต่างด้าวเหล่านี้กลายเป็นคนเข้ามาผิดกฎหมายที่ทางการยินยอม ส่วนนโยบายสร้างกำแพงกั้นตลอดแนวพรมแดนนั้น ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแสดงความเห็นว่าเป็นนโยบายที่เปล่าประโยชน์ ไม่คุ้มค่า แ...

ทิศทางสถานการณ์ซาอุ ตัดสัมพันธ์กาตาร์

รูปภาพ
การตัดสัมพันธ์ทางการทูตกาตาร์เป็นเรื่องเก่าที่เคยขึ้นเมื่อปี 2014 ด้วยสาเหตุกาตาร์สนับสนุนกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ในอียิปต์ การตัดสัมพันธ์รอบนี้ยังอยู่กับเรื่องสนับสนุนก่อการร้าย พ่วงด้วยเหตุอื่นๆ เช่น พูดสนับสนุนอิหร่าน แต่บริบทต่างจากเดิมดูเหมือนกาตาร์มีความพร้อมมากกว่าอดีต มูลเหตุตัดสัมพันธ์กาตาร์ "อย่างเป็นทางการ” :             วันที่ 5 มิถุนายน รัฐบาลซาอุฯ ชี้ว่ากาตาร์เป็นแหล่งซ่องสุม “ผู้ก่อการร้าย กองกำลังศาสนาหลายกลุ่มที่มุ่งบ่อนทำลายเสถียรภาพภูมิภาค เช่น ภราดรภาพมุสลิม ISIS และอัลกออิดะห์” “ทั้งยังมีข้อกล่าวหาว่าสนับสนุนปฏิบัติการของกองกำลังชีอะห์ทางตะวันออกของซาอุดิอาระเบียและบาห์เรน”              ในวันเดียวกัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ออกแถลงการณ์ความว่า ณ ขณะนี้กาตาร์กำลังบ่อนทำลายความมั่นคงและเสถียรภาพภูมิภาค ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงพันธะผูกพันต่างๆ จึงพร้อมที่จะใช้มาตรการต่างๆ เท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ GCC ในการนี้ UAE สนับสนุนแถลงการณ์ของบาห์เ...

ถอดรหัสสัมพันธ์แนบแน่นรัฐบาลสหรัฐกับซาอุฯ (2)

รูปภาพ
ในที่ประชุม “Arab Islamic American Summit” ประธานาธิบดีทรัมป์เอ่ยชื่อ IS/ISIL/ISIS อัลกออิดะห์ (Al Qaeda) ฮิซบอลเลาะห์ (Hezbollah) ฮามาส (Hamas) และกลุ่มอื่นๆ ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย สหประชาชาติมีการสรุปว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นผู้ก่อการร้าย มีหลายกลุ่มที่เห็นต่างกัน บางประเทศบอกว่าเป็นผู้ก่อการ้ายแต่สหประชาชาติกับประเทศอื่นๆ เห็นว่าไม่เป็น ในระยะหลังหลายประเทศลดความสำคัญของสหประชาชาติ ตีตราด้วยตนเองว่าใครเป็นผู้ก่อการร้าย และปฏิบัติต่อกลุ่มเหล่านี้ตามที่ตนเห็นชอบ เรื่องนี้สะท้อนความจริงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถึงความจำกัดของสหประชาชาติ การคงอยู่ของทฤษฎีสัจนิยม ( Realism) โลกอยู่ภายใต้กฎแห่งป่า ( law of the jingle ) แต่ละรัฐจะต้องปกป้องผลประโยชน์สำคัญยิ่ง ( vital interest ) ด้วยตัวเอง เช่น ปกป้องอิสรภาพทางการเมืองและอธิปไตยแห่งดินแดนด้วยทุกวิธีที่จำเป็น ไม่มีองค์การระหว่างประเทศใดที่ควบคุมรัฐทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงอิหร่านกับก่อการร้าย : กษัตริย์ Salman Bin Abdul Aziz ตรัสว่า “การประชุมแสดงให้เห็นชัดว่าชาติอาหรับกับอิสลามผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด 55 ประเทศ อันประ...