บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2017

ถอดรหัสสัมพันธ์แนบแน่นรัฐบาลสหรัฐกับซาอุฯ (1)

รูปภาพ
การเยือนซาอุดิอาระเบียเมื่อวันที่ 21-22 พฤษภาคมของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) มีการประชุมสุดยอดผู้นำที่เรียกว่า “ Arab Islamic American Summit ” ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้นำชาติอาหรับ ผู้นำมุสลิมประเทศอื่นๆ และผู้นำอเมริกา รวมทั้งหมด 55 ประเทศ วัตถุประสงค์หลักคือต่อต้านก่อการร้ายซึ่งหมายถึงพวกมุสลิมสุดโต่งกับอิหร่าน             สหรัฐให้เสรีภาพนับถือศาสนานิกายต่างๆ พลเมืองอเมริกันกว่า 3 ล้านคนนับถืออิสลาม หลังเหตุ 9/11 เกิดกระแสโรคกลัวอิสลาม  ( Islamophobia) บางคนตีความแบบเหมารวมว่าอิสลามคือพวกหัวรุนแรง อย่างไรก็ตามสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุชกล่าวชัดเจนว่าอิสลามคือศาสนาแห่งสันติ การต่อต้านก่อการร้ายไม่ใช่ต่อต้านอิสลาม สมัยรัฐบาลโอบามาก็ดำเนินทิศทางนี้ “ผมคิดว่าอิสลามเกลียดชังเรา” :             ในช่วงหาเสียงเป็นที่รับรู้ทั่วไปว่าทรัมป์แสดงท่าทีเชิงลบต่อมุสลิม ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ในสื่อโทรทัศน์ช่องหนึ่งว่า “ผมคิดว่าอิสลามเกลียดชังเรา เกลี...

ความกลัว ความเชื่อของสหรัฐต่อนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ และความจริง

รูปภาพ
ชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐหวั่นวิตกต่อการถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนหนึ่งเป็นประสบการณ์เก่าๆ ตั้งแต่สมัยสงครามเย็นที่คิดว่าหากสงครามนิวเคลียร์อุบัติ ความตายจะมาเยือน ประเทศจะพังพินาศ อารยธรรมล่มสลาย ไม่มีใครอยากทำสงครามนิวเคลียร์ พูดให้ชัดกว่านี้คือไม่อยากถูกโจมตีด้วยนิวเคลียร์             ด้วยความกลัวที่ฝังแน่น ภัยนิวเคลียร์จึงเป็นเรื่องใหญ่ ผู้นำประเทศต้องตอบสนองว่าเป็นเรื่องใหญ่ด้วยเช่นกัน ให้สมกับเป็นผู้นำกองทัพ ผู้ปกป้องชาวอเมริกันทั้งมวล ทุกครั้งเมื่อมีเรื่องเกี่ยวกับนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ รัฐบาลสหรัฐจึงต้องตอบโต้ทันที จริงหรือที่เกาหลีเหนือมีระเบิดนิวเคลียร์ :             ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า “ไม่มีใครปลอดภัย มีใครปลอดภัยหรือ นายคนนั้นมีอาวุธนิวเคลียร์” (หมายถึงผู้นำเกาหลีเหนือ)             รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศมาหลายปีแล้วว่ามีระเบิดนิวเคลียร์ พร้อมทำสงครามนิวเค...

ยุทธศาสตร์เร่งปิดล้อมเกาหลีเหนือเพื่อเร่งโดดเดี่ยวจีน

รูปภาพ
ยุทธศาสตร์ปิดล้อมหรือหลักนิยมปิดล้อม ( doctrine of containment ) เป็นที่รู้จักมานานแล้ว ชาติตะวันตกอธิบายว่าใช้เพื่อต้านการแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ หลังสิ้นสงครามเย็นนักยุทธศาสตร์สหรัฐ รู้สึกกังวล มองความเจริญก้าวหน้าของจีนเป็นภัยคุกคามร้ายแรง ต้องหาทางตัดไฟแต่ต้นลม มิฉะนั้นสหรัฐจะไม่มีความสงบสุข แม้รัฐบาลสหรัฐไม่ค่อยเอ่ยถึงการปิดล้อมโดดเดี่ยว นักวิชาการบางคนเห็นว่ายุทธศาสตร์ปรับสมดุลเอเชียแปซิฟิกหรือปักหมุดเอเชีย ( Pivot to Asia ) ทำหน้าที่ 2 อย่างพร้อมๆ กัน ข้อแรกคือนำสหรัฐเข้าพัวพันมากขึ้น ( engagement strategy ) กับเพิ่มกำลังปิดล้อมจีน ทำนองเดียวกับความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ( TPP) ถูกตีความว่าคือการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ             บทความนี้ชี้ว่ารัฐบาลทรัมป์กำลังดำเนินนโยบายเร่งปิดล้อมโดดเดี่ยวเกาหลีเหนือควบคู่กับจีน โดยพยายามยืมมือจีนกดดันเกาหลีเหนือ ผลลัพธ์สุดท้ายคือการโดดเดี่ยวจีนไปในตัว นโยบายทรัมป์ต่อเกาหลีเหนือ : ประการแรก ยกระดับภัยคุกคาม ถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธหัวรบนิวเคลียร์ กันยา...

เลือกตั้งฝรั่งเศส 2016 เส้นทางปกครองที่ยังค้นหาต่อไป

รูปภาพ
เอมมานูแอล มาครง (Emmanuel Macron) อายุ 39 ปี มีพื้นฐานทำงานด้านการธนาคาร อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ เพิ่งลงสมัครชิงตำแหน่งทางการเมืองครั้งแรก มีนโยบายสนับสนุนการค้าเสรี สิทธิมนุษยชน ชี้ว่านโยบายหันกลับมาใช้สกุลเงินฟรังก์ของ มารีน เลอเปน (Marie Le Pen) จะกระทบเศรษฐกิจ คนจะยากจนกว่าเดิม การขึ้นภาษีสินค้านำเข้าแปลว่าสินค้าอย่างทีวี โทรศัพท์จะแพงกว่าเดิม เกิดสงครามการค้า ถอยห่างจากพันธมิตรด้านความมั่นคง ปัญหายังอยู่ที่ไม่มีคำตอบทางวิชาการที่สามารถฟันธงได้ว่าใช้สกุลฟรังก์ดีกว่าหรือไม่ ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าแล้วจะเป็นอย่างไร นโยบายของมาครงช่วยได้จริงหรือ กลายเป็นเรื่องที่ต้องทำจริงจึงจะรู้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบ 2 ในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้จะเป็นเครื่องตัดสินว่าจะไปทางใด เลือกมาครงเพราะกลัวเลอเปน :             ในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อ 24 เมษายน มาครงได้อันดับหนึ่งด้วยคะแนนร้อยละ 23.7 ตามมาด้วยเลอเปน 21.7 โพลชี้ว่าเรื่องงาน (เพิ่มการจ้างงาน สวัสดิการ) เศรษฐกิจ นักการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจว่าจะเลือกใคร ให้ความสำคัญเ...

จุดแข็งกับจุดอ่อนของประชานิยม (populism) มารีน เลอเปน

รูปภาพ
มารีน เลอเปน (Marie Le Pen) กลายเป็นนักการเมืองแนวหน้าของฝรั่งเศส เป็นที่จับตาของทั่วโลกโดยเฉพาะพวกชาติตะวันตก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของพรรค Front National (FN) ภายใต้การนำของ เลอ เปน กำลังสร้างการความเปลี่ยนครั้งใหญ่ จุดแข็งของประชานิยมเลอเปน :             แนวทางการเมืองของ เลอเปน มีลักษณะประชานิยม ( populism) พยายามดึงประชาชนเข้ามาเป็นแนวร่วม เพื่อต่อต้านระบอบเก่า อาจเป็นระบอบการเมือง สังคม เศรษฐกิจ นโยบายต่างประเทศบางเรื่อง โลกาภิวัตน์ ขึ้นกับว่าอะไรคือสาเหตุแห่งความทุกข์ยาก มักเกิดขึ้นในภาวะที่ประชาชนไม่พอใจอย่างยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ โทษว่าเป็นความผิดของชนชั้นนำ             สอดคล้องกับงานวิจัยของ Harris Interactive for the French office of Transparency International เมื่อปี 2016 พบว่าชาวฝรั่งเศสร้อย 54 เห็นว่าชนชั้นปกครองฉ้อฉล เฉพาะกลุ่ม ส.ส. ส.ว.ฉ้อฉลถึง 3 ใน 4 ประธานาธิบดีกับรัฐบาลมีเหตุอื้อฉาวอยู่เสมอ         ...