แมร์เคิลกับทรัมป์สานสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติก
17 มีนาคม นางอังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเยือนสหรัฐ พบประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า 2 คนต่างกันมากทั้งบุคลิก พื้นเพและนโยบาย ก่อนหน้านี้ 2 ฝ่ายปะทะคารมผ่านสื่อหลายประเด็น เช่น การรับผู้อพยพลี้ภัย องค์การนาโต การค้าระหว่างประเทศ แนวทางบริหารประเทศ
ทรัมป์ยืนยันยึดมั่นสัมพันธ์สหรัฐ-ยุโรป
บรรณานุกรม:
ในช่วงหาเสียงทรัมป์ชี้ว่าสหรัฐเสียเงินมากมายแก่ยุโรป
“อย่าลืมว่า เป้าหมายหลักที่ยุโรปรวมตัวกันคืออะไร
เพื่อเอาชนะสหรัฐอเมริกาในการทำเงินหรือก็คือเรื่องการค้า” ปีที่ผ่านมาเยอรมันเป็นฝ่ายเกินดุลเช่นเคย ราว
57,0000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ เกิดคำถามว่าจะร่วมมือกันได้ในเรื่องใดบ้าง
ลึกซึ้งเพียงไร
ในการแถลงข่าวร่วม 2
ผู้นำ ทั้งคู่ต่างแสดงท่าทีเป็นมิตร 2 ฝั่งแอตแลนติกยังคงร่วมมือกันต่อไป
แต่ยืนยันจุดยืนหลายเรื่อง ประธานาธิบดีทรัมป์ชี้ว่ายุโรปไม่เพียงต้องเพิ่มงบกลาโหม
ยังเป็นหนี้สหรัฐที่ออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในอดีต ย้ำว่าหลายประเทศเอาเปรียบสหรัฐในการค้าระหว่างประเทศ
รวมทั้งเยอรมัน ด้านนายกฯ
แมร์เคิลกล่าวว่าจะเพิ่มงบประมาณกลาโหม แต่ประเทศอื่นๆ มีเหตุผลส่วนตัว และกล่าวอย่างหลักแหลมว่าการค้าระหว่างเยอรมัน-สหรัฐอยู่ภายใต้กรอบกติกาอียูด้วย
ความสำคัญของพันธมิตร 2 ฝั่งแอตแลนติก:
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้สหรัฐมีบทบาทในยุโรป และมีอิทธิพลต่อเนื่องอีกนานเมื่อเข้ายุคสงครามเย็น
อันเป็นภาวะที่เกิดการแข่งขันหลายด้านหลายมิติ ค่านิยมของประชาชนที่จะเลือกระหว่างแนวทางสังคมนิยม
หรือเสรีภาพ กลไลตลาดตามแบบทุนนิยมสหรัฐ
รัฐบาลหลายประเทศในยุโรปตะวันตกเลือกที่อยู่ฝ่ายสหรัฐ
กองทัพอเมริกันประจำการในหลายประเทศ
เช่น เยอรมนีตะวันตก อิตาลี อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ พัฒนากลายเป็นองค์การนาโต
ในด้านเศรษฐกิจ คุณแมรี โนแลน (Mary Nolan)
อธิบายว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังผลิตของสหรัฐเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50
เมื่อสิ้นสงครามมีคำถามว่าจะจัดการกำลังผลิตส่วนเกินมหาศาลนี้อย่างไร
หนึ่งในทางออกคือระบายสินค้าส่วนเกินไปสู่ยุโรปตะวันตก จึงเกิด Marshall
Plan สอดรับกับการดึงยุโรปตะวันตกเป็นพันธมิตร
ห้ามยุโรปตะวันตกติดต่อค้าขายกับฝ่ายสังคมนิยม ทั้งหมดนี้ภายใต้คำขวัญว่า “อเมริกาช่วยยุโรปบูรณะประเทศ”
ผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐเฟื่องฟูต่อเนื่องอีกหลายปีหลังสิ้นสงครามโลก
นอกจากนี้
สหรัฐสร้างกลุ่มเศรษฐกิจที่รวมยุโรปตะวันตกเข้ามา ผลักดันให้เศรษฐกิจประเทศเหล่านี้ใกล้ชิดกับสหรัฐ
เกิดข้อตกลง Bretton Woods อันเป็นแนวคิดเรื่องการค้าเสรี
ระบบเงินตรา และเป็นการกีดกันศักยภาพของเศรษฐกิจเยอรมันที่มีแนวโน้มเติบใหญ่
ที่สำคัญอีกด้าน
คือ ถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยม วิถีชีวิตแบบอเมริกัน หวังว่าชาวยุโรปตะวันตกจะรับแนววิถีแบบอเมริกันที่สหรัฐเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง
ผลลัพธ์สุดท้ายคือเกิดขั้วตะวันตก ภายใต้ทุนนิยมเสรีที่มีสหรัฐเป็นแกนนำ พร้อมกับที่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูมากบ้างน้อยบ้าง
ช่วยให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ รัฐบาลยุโรปตะวันตกสมัยนั้นยอมรับผลที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่
ช่วงสงครามเย็น
เยอรมันตะวันตกกับเยอรมันตะวันออกเป็นแนวหน้าของการเผชิญหน้า กองทัพจำนวนมหาศาล
อาวุธนิวเคลียร์ของ 2 ฝ่ายประจำการอยู่ จินตนาการได้เลยว่าหากรบพุ่งกันจริงเยอรมันจะหายนะอีกรอบหรือไม่
หลายปีแล้วที่นาโตมีข้อตกลงว่าชาติสมาชิกจะต้องตั้งงบประมาณกลาโหมอย่างน้อยปีละ
2 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ปัจจุบันเยอรมันตั้งงบกลาโหมเพียง 1.2 เป็นประเด็นเก่าที่เจรจามาแล้วหลายปีหลายรัฐบาล
จนแล้วจนรอดเยอรมันกับสมาชิกส่วนใหญ่ใช้งบประมาณไม่ถึงร้อยละ 2
ในภาพกว้าง
รัฐบาลยุโรปหลายประเทศประกาศท่าทีว่าพวกเขามีจุดยืนของตนเอง ไม่สามารถตามใจสหรัฐเหมือนดังอดีตอีกต่อไป
สอดคล้องกับท่าทีของพลเมืองที่มองรัฐบาลสหรัฐในแง่ลบทั้งรัฐบาลทรัมป์และก่อนหน้า พลเมืองอังกฤษกว่า
2 ล้านคนลงชื่อไม่ต้อนรับประธานาธิบดีทรัมป์เข้าประเทศ
ดังที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
เทเรซา เมย์ (Theresa May) กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ 2
ประเทศจะเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ และ “นำพร้อมกันอีกครั้ง”
เพื่อผลประโยชน์ของทั้งคู่ ปกป้องค่านิยมของเรา
และท่ามกลางคำพูดแง่ลบจากทรัมป์
นายกฯ แมร์เคิลโต้กว่า “อนาคตของพวกเราคนยุโรปอยู่ในมือของพวกเราเอง”
ในสายตาของยุโรปตะวันตก
สหรัฐในปัจจุบันไม่ใช่พระเอกดังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกต่อไป
นโยบายของสหรัฐหลายข้อไม่สอดคล้องกับค่านิยมยุโรปตะวันตก
การร่วมหัวจมท้ายทุกเรื่องเป็นผลเสียมากกว่า
ถ้ายึดแนวทางของ เซมวล
พี. ฮันติงตัน (Samuel P. Huntington) สหรัฐต้องแสดงบทบาทรับผิดชอบต่อการรักษาและพัฒนาอารยธรรมตะวันตก
และเนื่องจากพลังอำนาจสหรัฐลดน้อยถอยลง ประเทศต่างๆ
ในหมู่อารยธรรมตะวันตกโดยเฉพาะยุโรปตะวันตกจะต้องให้ความร่วมมือทุกมิติ ทั้งนี้เป็นเพราะชาติตะวันตกนับถือศาสนาคริสต์
ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน
หลักนโยบายของรัฐบาลทรัมป์มีส่วนสอดคล้องกับฮันติงตัน
จึงเป็นคำถามว่า สหรัฐจะแสดงบทบาทนำอารยธรรมตะวันตกได้อย่างไร หากฝั่งยุโรปไม่เป็นมิตรมากพอ
เป็นประเด็นที่น่าใครครวญ
ร่วมมือกันแม้แตกต่าง :
ยุโรปตะวันตกปัจจุบันมีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่คิดเดินตามใครอีก แต่ใช่ว่า
2 ฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกจะร่วมมือกันไม่ได้
หลักคิดคือถ้าใช้คำว่า
“แตกต่าง” ทุกประเทศแตกต่างกันหมด แต่ถ้าใช้คำว่า
“ร่วมมือกันได้แม้ไม่เห็นด้วยทั้งหมด” ประเทศต่างๆ ในโลกสัมพันธ์กันด้วยลักษณะหลัง
ความแตกต่างระหว่างเยอรมันกับสหรัฐจึงไม่เป็นเหตุให้ร่วมมือกันไม่ได้ การดำรงอยู่ของนาโตกว่า
6 ทศวรรษเป็นหลักฐานที่ดี ตลอดช่วงเวลาดังกล่าวมีความแตกต่างแต่ร่วมมือกันได้
การพบปะระหว่างนายกฯ
แมร์เคิลกับประธานาธิบดีทรัมป์ยืนยันสานสัมพันธ์ 2
ฝั่งแอตแลนติกต่อไป แม้ดูเหมือนจะแตกต่างกว่าเดิม
ในมุมของสหรัฐ ประธานาธิบดีทรัมป์ยอมรับว่าจีนกำลังไล่ตามหลัง
รัสเซียในยุคปูตินฟื้นตัว สหรัฐในยามนี้จำต้องผูกพันใกล้ชิดกับพันธมิตรมากขึ้นเพื่อเสริมแรงของตนที่อ่อนลง
ความจริงแล้ว
การที่รัฐบาลสหรัฐต้องการพันธมิตร ไม่ใช่เพราะอยากได้ “มิตรภาพ”
“ความร่วมมือด้วยแรงจูงใจทางบวกแบบยั่งยืน” แต่การมีพันธมิตร มีมิตรประเทศมากเป็นดัชนีชี้วัดอิทธิพลของสหรัฐในเวทีโลก
การแสดงออกของประธานาธิบดีทรัมป์เป็นหลักฐานที่ดี
ในอนาคต
หากอิทธิพลสหรัฐลดลง จำนวนพันธมิตรจะลดลง
ความร่วมมือด้วยแรงจูงใจทางบวกกับประเทศต่างๆ จะลดน้อยลงอีก และจะหมายถึงผลประโยชน์แห่งชาติหดตัว
ภัยคุกคามเพิ่มมากขึ้น ทิศทางระยะยาวดูเหมือนกำลังมุ่งไปทางนี้ นี่ต่างหากที่รัฐบาลสหรัฐกังวล
จึงมักพูดว่าต้องการพันธมิตร เพิ่มความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกับประเทศต่างๆ
การเอ่ยถึงพันธมิตร
การสร้างพันธมิตรจึงเป็น “กลวิธี” นำเสนอ การอธิบายของรัฐบาลสหรัฐ
และกลายเป็นเครื่องมือที่ประเทศอย่างเยอรมัน ยุโรปสามารถใช้เป็นเครื่องมือต่อรอง ทั้งนี้เป็นเพราะยุโรปมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่งเช่นกัน พลเมืองจำนวนไม่น้อยรู้จักวิเคราะห์แยกแยะ
และกลายเป็นเครื่องมือที่ประเทศอย่างเยอรมัน ยุโรปสามารถใช้เป็นเครื่องมือต่อรอง ทั้งนี้เป็นเพราะยุโรปมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่งเช่นกัน พลเมืองจำนวนไม่น้อยรู้จักวิเคราะห์แยกแยะ
ถ้ายึดสหรัฐที่คอยจัดระเบียบโลก
จะได้คำตอบว่ารัฐบาลทรัมป์อยู่ระหว่างออกแบบระเบียบโลกใหม่
และอาจมีอะไรแตกต่างจากรัฐบาลที่แล้ว เช่น ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับรัสเซีย
ทำสงครามการค้ากับจีน ส่งทหารเข้ารบทางภาคพื้นดินในภูมิภาคตะวันออกกลาง มุ่งกีดกันมุสลิมในวงกว้าง
คำถามตามมาคือ สหรัฐจะทำโดยลำพัง มีหุ้นส่วนไม่กี่ประเทศ หรือมีพันธมิตรหุ้นส่วนจำนวนมาก
เป็นประเด็นที่ควรติดตามต่อไป
อีกประเด็นที่เห็นผลกระทบเร็วคือนโยบายต่อภาวะโลกร้อน
ทรัมป์แสดงท่าทีจะถอนตัวจากข้อตกลง อ้างว่าโลกร้อนไม่เป็นปัญหา การแก้โลกร้อนกระทบเศรษฐกิจประเทศ
หากรัฐบาลทรัมป์ถอนหรือลดต่อต้านภาวะโลกร้อนจะกลายเป็นประเด็นว่าอียูควรตอบสนองอย่างไร
เพราะหมายถึงความสามารถการแข่งขัน ผลประโยชน์เศรษฐกิจของอียูเช่นกัน
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
ต้องชื่นชมและขอบคุณสหรัฐที่เข้าร่วมสงครามโลก
ช่วยยุติสงคราม ไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลนาซี แต่นับจากสิ้นสงครามสงครามโลกครั้งที่ 2
นานาชาติเริ่มมองรัฐบาลสหรัฐในแง่ลบ ไม่พอใจ ไม่สบายใจต่อนโยบายต่างประเทศหลายเรื่อง
พร้อมกับที่สังคมอเมริกันแสดงความถดถอยในทุกด้าน คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยเฉพาะชนชั้นกลางกับแรงงาน
แม้กระทั่งเรื่องการศึกษา ครอบครัวแตกแยก ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ สีผิว รัฐบาลทรัมป์กำลังแก้ปัญหา
แต่ถูกทางหรือไม่ สหรัฐยังเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาคมโลกหรือไม่
เป็นผู้นำอารยธรรมตะวันตกได้หรือ นี่คือมุมมองจากหลายประเทศในยุโรป
ประธานาธิบดีทรัมป์มักพูดว่าประเทศถูกเอารัดเอาเปรียบ
โดยไม่เอ่ยถึงที่เอาเปรียบผู้อื่น อีกประเด็นคือโทษรัฐบาลก่อนๆ
ว่าทำให้ประเทศเสียหาย ความจริงคือทุกรัฐบาลเจรจา
ที่ยุโรปปฏิบัติต่อสหรัฐในวันนี้คือผลจากการเจรจาทั้งสิ้น นั่นหมายความว่ารัฐบาลที่แล้วมายอมรับผล
ทรัมป์มักอ้างว่าตนมีความสามารถในการเจรจาต่อรอง
จะแก้ความเสียเปรียบหลายเรื่องด้วยการเจรจาใหม่ ความสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติกจะเป็นดัชนีชี้ว่าสำคัญอีกชุด และจะได้คำตอบไม่ช้าก็เร็ว
เมื่อถึงวันนั้นจะเป็นการตรวจสอบผลงานรัฐบาลทรัมป์ และจะเห็นสัมพันธ์ทวิภาคี
พหุภาคี ระเบียบโลกใหม่ที่ปรับเปลี่ยนชัดเจนขึ้น
19 มีนาคม 2016
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7436 วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2560)
-----------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ไม่ถึงเดือนหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
ได้คำตอบชัดแล้วว่ารัฐบาลทรัมป์ไม่ขอถอนตัวออกจากนาโตตามคำขู่ตั้งแต่ช่วงหาเสียง ประเทศสำคัญๆ
ในยุโรปแสดงท่าทีต่อต้านก่อการร้ายที่แตกต่างจากสหรัฐ Pax Americana อ่อนแอลงชัดเจน
รัสเซียกลายเป็นประเทศสำคัญที่สหรัฐจะต้องดึงมาเป็นหุ้นส่วนหากคิดจะปิดล้อมจีน
รุกคืบตะวันออกกลางอย่างจริงจัง
1. Birnbaum, Michael. (2017, January 16). European leaders
shocked as Trump slams NATO and E.U., raising fears of transatlantic split. The
Washington Post. Retrieved from https://www.washingtonpost.com/world/europe-leaders-shocked-as-trump-slams-nato-eu-raising-fears-of-transatlantic-split/2017/01/16/82047072-dbe6-11e6-b2cf-b67fe3285cbc_story.html
2. Casey, Steven. (2013, September 6). Obama’s Alliances. LSE
IDEAS. Retrieved from http://www.lse.ac.uk/IDEAS/publications/reports/pdf/SR009/casey.pdf
3. Denitch, Bogdan. (1992). After the Flood: World
Politics and Democracy in the Wake of Communism. USA: Wesleyan.
4. Hjelmgaard, Kim. (2017, March 13). Merkel and Trump, who
disagree about everything, meet Tuesday. USA Today. Retrieved from
http://www.usatoday.com/story/news/world/2017/03/13/angela-merkel-germany-and-donald-trump-washington-white-house-meeting/98942528/
5. Huntington, Samuel P. (1996/2011). The Clash of
Civilizations and the Remaking of World Order. New York: Simon &
Schuste.
6. Lander, Mark. (2016, July 25). Merkel Meets Trump, the
Defender Versus the Disrupter. The New York Times. Retrieved from
https://www.nytimes.com/2017/03/17/world/europe/angela-merkel-donald-trump.html?_r=0
7. Nolan, Mary. (2012). The Transatlantic Century: Europe
and America, 1890-2010. UK: Cambridge University Press.
8. Rohwer-Kahlmann, Malte. (2017, March 17). The ending of a
beautiful friendship? Deutsche Welle. Retrieved from
http://www.dw.com/en/the-ending-of-a-beautiful-friendship/a-37916456
9. Theresa May: UK and US cannot return to 'failed'
interventions. (2017, January 27). BBC. Retrieved from http://www.bbc.com/news/uk-politics-38747979
10. Worstall, Tim. (2016, July 25). Donald Trump's Ludicrous
Idea Of Pulling The US From The World Trade Organisation. Forbes.
Retrieved from
http://www.forbes.com/sites/timworstall/2016/07/25/donald-trumps-ludicrous-idea-of-pulling-the-us-from-the-world-trade-organisation/#3cf8bf053470
-----------------------------