บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2017

ทรัมป์สัมพันธ์ดีกับซาอุฯ ร่วมต้านอิหร่าน

รูปภาพ
กลางเดือนมีนาคม Mohammed bin Salman รองมกุฎราชกุมารซาอุดิอาระเบียหารือประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) อย่างเป็นทางการที่ทำเนียบขาว แถลงการณ์ของฝ่ายซาอุฯ ระบุว่าเดิมมีความเห็นต่างบางเรื่อง (สมัยรัฐบาลโอบามา) บัดนี้ 2 รัฐบาลคิดเห็นตรงกันแล้ว พร้อมกับสนับสนุนนโยบายของทรัมป์ว่า “ซาอุดิอาระเบียไม่เชื่อว่ามาตรการ (ห้ามคน 6 ประเทศเข้าเมือง) มุ่งเป้าชาติมุสลิมหรือศาสนาอิสลาม” มีจุดมุ่งหมายเพื่อสกัดผู้ก่อการร้ายเข้าประเทศเท่านั้น เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของสหรัฐในฐานะรัฐอธิปไตยที่จะทำเช่นนั้น รัฐบาลซาอุฯ มีข้อมูลเช่นกันว่ามีผู้วางแผนโจมตีสหรัฐ แท้จริงแล้ว “ประธานาธิบดีทรัมป์เคารพศาสนาอิสลามอย่างจริงจัง” เห็นว่าเป็นหนึ่งในศาสนาสำคัญแต่ถูกพวกหัวรุนแรงนำไปใช้ประโยชน์ ด้วยเหตุนี้ทรัมป์จึงเป็น “มิตรแท้ของมุสลิม” (true friend of Muslims) การมองทรัมป์แง่ลบต่ออิสลามเป็นเพราะสื่อบิดเบือน             เรื่องโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่าผลการเจรจาเมื่อปี 2015 เป็นข้อตกลงที่แย่ที่สุด เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพียงยับยั้งอิหร่านช่...

แมร์เคิลกับทรัมป์สานสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติก

รูปภาพ
17 มีนาคม นางอังเกลา แมร์เคิล (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเยือนสหรัฐ พบประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า 2 คนต่างกันมากทั้งบุคลิก พื้นเพและนโยบาย ก่อนหน้านี้ 2 ฝ่ายปะทะคารมผ่านสื่อหลายประเด็น เช่น การรับผู้อพยพลี้ภัย องค์การนาโต การค้าระหว่างประเทศ แนวทางบริหารประเทศ ในช่วงหาเสียงทรัมป์ชี้ว่าสหรัฐเสียเงินมากมายแก่ยุโรป “อย่าลืมว่า เป้าหมายหลักที่ยุโรปรวมตัวกันคืออะไร เพื่อเอาชนะสหรัฐอเมริกาในการทำเงินหรือก็คือเรื่องการค้า”  ปีที่ผ่านมาเยอรมันเป็นฝ่ายเกินดุลเช่นเคย ราว 57,0000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ เกิดคำถามว่าจะร่วมมือกันได้ในเรื่องใดบ้าง ลึกซึ้งเพียงไร ในการแถลงข่าวร่วม 2 ผู้นำ ทั้งคู่ต่างแสดงท่าทีเป็นมิตร 2 ฝั่งแอตแลนติกยังคงร่วมมือกันต่อไป แต่ยืนยันจุดยืนหลายเรื่อง ประธานาธิบดีทรัมป์ชี้ว่ายุโรปไม่เพียงต้องเพิ่มงบกลาโหม ยังเป็นหนี้สหรัฐที่ออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในอดีต ย้ำว่าหลายประเทศเอาเปรียบสหรัฐในการค้าระหว่างประเทศ  รวมทั้งเยอรมัน ด้านนายกฯ แมร์เคิลกล่าวว่าจะเพิ่มงบประมาณกลา...

คำสั่งห้าม 6 ประเทศของทรัมป์ ไม่ช่วยลดก่อการร้าย

รูปภาพ
6 มีนาคม โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ออกคำสั่งห้ามคนต่างชาติเข้าประเทศอีกครั้ง แทนคำสั่งเก่าหลังศาลระงับเนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมาย             เป้าหมายหลักยังคงเดิมคือป้องกันผู้ก่อการร้ายต่างชาติเข้าเมือง เพราะเสี่ยงที่จะเกิดเหตุก่อการร้าย รัฐสภา กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิ ( Homeland Security ) ได้ระบุไว้แล้วว่า 6 ประเทศอยู่ในข่าย ในฐานะประธานาธิบดีจึงออกคำสั่งห้ามคนของประเทศเหล่านี้เข้าสหรัฐ อันเป็นอำนาจที่มีตามกรอบกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศกับกระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิมีอำนาจอนุญาตให้คนประเทศเหล่านี้เข้าเมืองโดยพิจารณาเป็นรายบุคคล             เอกสารคำสั่งอธิบายเหตุผลห้าม 6 ประเทศ โดยยกรายงาน Reports on Terrorism 2015 (June 2016) มีสาระสำคัญว่าสหรัฐจัดให้อิหร่านเป็นประเทศอุปถัมภ์ก่อการร้ายตั้งแต่ปี 1984 สนับสนุนกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ( Hizballah) ฮามาส ( Hamas ) กลุ่มก่อการร้ายในอิรัก สนับสนุนอัลกออิดะห์ในซีเรียกับเอเชียใต้     ...

ข้อดี-ข้อเสียของประชานิยม (Populism)

รูปภาพ
การรณรงค์ประชานิยมแต่ละครั้งมีข้อดี-ข้อเสียขึ้นกับแง่มุมมอง บางครั้งมีข้อดีหลายข้อ บางครั้งมีข้อเสียมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับการรณรงค์แต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม สามารถประมวลให้เห็นข้อดี-ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นดังนี้ ข้อดีของประชานิยม :             ประการแรก ช่องทางของประชาชน             เมื่อคนๆ หนึ่งเกิดมาจะพบว่าตนอยู่ภายใต้ระบอบอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นพลเมืองของประเทศ ระบอบมีอิทธิพลต่อชีวิต เมื่อถึงวัยมีส่วนร่วมทางการเมืองจะอยู่ในกรอบที่กฎหมายกำหนด การจะรวมตัวรณรงค์ประชานิยมไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ                    การลุกฮือรณรงค์ประชานิยมมาจากภาวะที่ประชาชนเหล่านั้นเห็นว่าระบอบที่มีอยู่ไม่ทำหน้าที่หรือล้มเหลวต่อบทบาทหน้าที่ ไม่อาจพึ่งพากลไกที่มีอยู่ บ่งชี้ว่าระบอบการเมืองเศรษฐกิจสังคมนั้นๆ สร้างปัญหาทุกข์ยากต่อประชาชน (บางส่วน) อย่างรุนแรง ขัดแย้งต่ออุดมการณ์     ...