ทรัมป์ยืนยันยึดมั่นสัมพันธ์สหรัฐ-ยุโรป
คำขู่ของทรัมป์ : ตั้งแต่ช่วงหาเสียง โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump)
พูดแง่ลบต่อนาโตอย่างรุนแรง เห็นว่าล้าสมัยและให้ความสำคัญต่อการต่อต้านก่อการร้ายน้อยเกินไป
ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐต้องจ่ายเงินสนับสนุนมากเกิน ไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้ ในขณะที่ชาติสมาชิกอื่นๆ
แบกรับภาระน้อยเกินไป ไม่ยุติธรรมต่อสหรัฐ
ดังนั้นหากชาติสมาชิกนาโตไม่ช่วยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
จะขอพิจารณาถอนตัวออกจากนาโต และถ้าการทำเช่นนี้เป็นเหตุให้นาโตแตกก็ให้แตกไปเลย
ประธานาธิบดีทรัมป์วิพากษ์พันธมิตรยุโรปอีกหลายเรื่อง
ด้านนักวิเคราะห์กับสื่อฝั่งยุโรปวิพากษ์กลับว่ารัฐบาลทรัมป์มีความเป็นประชาธิปไตยมากเพียงใด
กำลังกลายเป็นพวกอำนาจนิยมใช่หรือไม่ ความสัมพันธ์ 2
ฝั่งแอตแลนติกกระเทือนอย่างเห็นได้ชัด
กลางเดือนกุมภาพันธ์ Jim Mattis รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐออกแถลงการณ์ยื่นคำขาดว่า หากชาติสมาชิกนาโตไม่เพิ่มงบกลาโหมให้ถึงเป้าหมาย สหรัฐอาจปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์กับประเทศนั้น “ถ้าประเทศคุณไม่อยากให้อเมริกาลดพันธะการเป็นพันธมิตร แต่ละประเทศจะต้องแสดงออกว่าสนับสนุนความมั่นคงร่วม”
กลางเดือนกุมภาพันธ์ Jim Mattis รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐออกแถลงการณ์ยื่นคำขาดว่า หากชาติสมาชิกนาโตไม่เพิ่มงบกลาโหมให้ถึงเป้าหมาย สหรัฐอาจปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์กับประเทศนั้น “ถ้าประเทศคุณไม่อยากให้อเมริกาลดพันธะการเป็นพันธมิตร แต่ละประเทศจะต้องแสดงออกว่าสนับสนุนความมั่นคงร่วม”
ปัจจุบันมีเพียง 5 ชาติจากสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศที่ใช้จ่ายตามเป้าหมาย
และเห็นว่าการที่รัสเซียยึดไครเมียเมื่อปี 2014
เป็นหลักฐานชี้ว่ารัสเซียกำลังคุกคามตะวันตก
ยุโรปที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น :
Jean-Claude Juncker ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)
กล่าวหลังแถลงการณ์ของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐว่า ยุโรปไม่ควรเพิ่มงบกลาโหมตามแรงผลักดันจากสหรัฐ
การเมืองสมัยใหม่มีเรื่องอื่นๆ มากกว่าการป้องกันประเทศ เช่น
การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับการพัฒนาประเทศ อเมริกาพูดทำนองนี้มาหลายปีแล้ว
ผมไม่เห็นด้วยเลย ไม่ควรมองความมั่นคงในกรอบแคบๆ ว่าคือเรื่องการทหาร ประเทศจะมั่นคงหรือไม่
ไม่ขึ้นกับการมีกองทัพเท่านั้น ยังขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ อีกมาก และเห็นว่าประธานาธิบดีทรัมป์อาจต้องใช้เวลาอีก
2 ปีกว่าจะเรียนรู้รากฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ไม่นานก่อนหน้านี้ เทเรซา
เมย์ (Theresa May) นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า อังกฤษกับอเมริกาจะไม่ก่อสงครามที่ล้มเหลวอีก
“เพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ของเราในโลกนี้” แต่ทั้ง 2 ประเทศจะไม่นิ่งเฉยหากเผชิญภัยคุกคามแท้ๆ
ถึงเวลาแล้วที่ 2 ประเทศจะเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ และ “นำพร้อมกัน อีกครั้ง”
เพื่อผลประโยชน์ของทั้งคู่ ปกป้องค่านิยมของตน
นายกฯ เมย์กล่าวถึงสงครามที่ล้มเหลว
เพื่อเอ่ยถึงการทำสงครามโค่นล้มระบอบซัดดัมแห่งอิรัก
ที่มีข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิด
รายงานการไต่สวนกรณีอิรัก
(The Iraq Inquiry) เมื่อปี 2016 ได้ข้อสรุปว่าแท้จริงแล้วยังไม่จำต้องเปิดฉากทำสงครามต่ออิรัก
แม้ซัดดัม ฮุสเซนเป็นจอมเผด็จการผู้โหดเหี้ยมก็ตาม การตัดสินใจส่วนตัวของนายกฯ
โทนี แบลร์ (Tony Blair) เป็นเหตุให้อังกฤษเข้าสู่สงคราม เอกสารที่รัฐบาลแบลร์เสนอต่อสภาล่างเมื่อกันยายน
2002 ไม่มีน้ำหนักพอที่จะสรุปว่าโครงการอาวุธเคมีกับชีวภาพของอิรักกำลังเติบใหญ่
หลักฐานที่พยายามชี้ว่าอิรักมีอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(Weapons of Mass Destruction: WMD) นั้นไม่ถูกต้อง เพราะก่อนนั้นมีข้อมูลว่ารัฐบาลอิรักได้ทำลายหมดแล้ว
การทำสงครามกับอิรักจึงเป็นแผนที่มาจาก “ข่าวกรองและการประเมินผลที่บกพร่อง”
หลังพยายามค้นหา
WMD อยู่หลายปีจากหลายทีม
ในที่สุดรัฐบาลบุชยอมรับว่าแท้จริงแล้วอิรักไม่มี WMD นายพล Colin
Powell ยอมรับว่าสหรัฐไม่มีหลักฐานใดๆ
พิสูจน์ว่ารัฐบาลซัดดัมมีความเชื่อมโยงกับพวกอัลกออิดะห์
ที่ผ่านมาเป็นเพียงข้อสงสัยเท่านั้น
สงครามเป็นเหตุให้ชาวอิรักอย่างน้อย
150,000 คนเสียชีวิต (ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน) มากกว่า 1 ล้านคนต้องอพยพย้ายถิ่น เป็นต้นเหตุหลายปัญหาที่สืบเนื่องจนถึงทุกวันนี้
อิสลามศาสนาแห่งสันติ :
ในเรื่องต่อต้านก่อการร้ายที่รัฐบาลทรัมป์กำลังให้ความสำคัญ นายกฯ เมย์กล่าวว่าต้องแยกระหว่าง
“อุดมการณ์สุดโต่งและการจงเกลียดจงชัง” ของพวกมุสลิมสุดโต่ง กับ
“อิสลามศาสนาแห่งสันติ และผู้ยึดถือศาสนานี้หลายร้อยล้านคน”
เฉพาะอังกฤษมีมุสลิมหลายล้าน และตกเป็นเหยื่อของอุดมการณ์อันโหดร้าย
ในทำนองเดียวกัน นางอังเกลา
แมร์เคิล (Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
กล่าวว่าอิสลาม “ไม่ใช่ต้นเหตุก่อการร้าย”
อีกทั้งการต่อสู้กับพวกสุดโต่งจำต้องอาศัยความร่วมมือจากชาติมุสลิม
รวมทั้งประเทศอื่นๆ อย่างรัสเซียด้วย
ประเทศในยุโรปแม้แตกต่าง มีเป้าหมายผลประโยชน์คล้ายบ้างต่างบ้าง
และถึงขั้นขัดแย้งในบางเรื่อง แต่เมื่อเผชิญการท้าทายยิ่งใหญ่ พวกเขาสามารถรวมตัวกันได้
ไม่ว่ารัฐบาลสหรัฐหรือมหาอำนาจอื่นจะหยิบยื่นผลประโยชน์หรือข่มขู่อย่างไร
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับความมั่นคงในหมู่ประเทศยุโรปยังคงอยู่ต่อไป และน่าจะเป็นประโยชน์ยั่งยืนมากกว่า
ในสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวถึงนโยบายต่อต้านก่อการร้ายว่า
‘เรากระชับพันธมิตรเก่าและสร้างมิตรใหม่
จะร่วมกับโลกอารยะต่อต้านก่อการร้ายอิสลามหัวรุนแรง (radical Islamic
terrorism) จะทำลายพวกนี้ให้สูญสิ้นจากแผ่นดินโลก’
นโยบายของรัฐบาลทรัมป์มีแนวโน้ม “เหมารวม” มองแง่ลบต่อมุสลิมทุกคน แต่ฝั่งยุโรปไม่คิดเช่นนั้น
การจะ ‘กระชับพันธมิตรเก่าและสร้างมิตรใหม่’ เพื่อร่วมต่อต้านก่อการร้ายดูเหมือนไม่ง่ายอย่างที่คิด
และอาจส่งผลลบต่อสหรัฐยิ่งขึ้นหากรัฐบาลทรัมป์ตัดสินโดยขาดความยับยั้งชั่งใจ
บริบทโลกปัจจุบันเปลี่ยนจากอดีตแล้ว
สหรัฐถดถอย ยืนยันสัมพันธ์ :
18 กุมภาพันธ์ (3 วันหลังคำขู่ของรัฐมนตรีกลาโหม) รองประธานาธิบดี ไมค์ เพนซ์
(Mike Pence) เดินทางมายุโรป
กล่าวยืนยันการเป็นพันธมิตรกับยุโรป ระบุว่าหลักนโยบายต่างประเทศสหรัฐยังคงเดิม “ขอจงมั่นใจว่าสหรัฐอเมริกายังเป็นเช่นเดิมในวันนี้และจะเป็นพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมที่สุดของท่านเสมอ”
และให้มั่นใจว่าประธานาธิบดีทรัมป์กับชาวอเมริกันจะยึดมั่นเอกภาพ 2 ฝั่งแอตแลนติก
ไม่ถึงเดือนหลังทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ท่าทีของทรัมป์ต่อนาโตเริ่มเข้าร่องเข้ารอยใกล้เคียงรัฐบาลสหรัฐชุดก่อนๆ
รัฐบาลทรัมป์ไม่ทิ้งนาโตตามคำขู่
น่าทบทวนว่าการใช้วิธีข่มขู่รุนแรงแบบทรัมป์ให้ผลดีหรือเสียมากกว่า
และควรมองย้อนหลังตั้งแต่การมุ่งหาเสียงด้วยถ้อยคำรุนแรงตามแนวทางแบบทรัมป์ ว่าส่งผลลบต่อภาพลักษณ์ประเทศ
ผลประโยชน์แห่งชาติอย่างไร
ท้ายที่สุด นอกจากภาพลักษณ์เชิงลบ กระทบความสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติก
สหรัฐคงไม่ได้แม้แต่เรื่องที่ต้องการให้ชาติสมาชิกฝั่งยุโรปเพิ่มงบประมาณเป็นร้อยละ
2 ของจีดีพี
นี่คืออีกประเด็นต้นๆ ที่รัฐบาลทรัมป์สร้างความเสียหายต่อประเทศ
ต่อชาวอเมริกันใช่หรือไม่
รัสเซียคือประเทศสำคัญ :
ท่ามกลางเสียงคัดค้าน
เป็นไปได้หรือไม่ว่าการพยายามคืนดีกับรัสเซียเป็นแผนการคิดไว้แล้ว
โดยเฉพาะในยามที่ยุโรปถอยห่างจากสหรัฐ
แท้จริงแล้วการคืนดีกับรัสเซียเป็นประโยชน์ต่อยุโรป
ทำให้ขั้วอารยธรรมตะวันตกสมบูรณ์
น่าติดตามว่ารัฐบาลปูตินจะยอมจับมือกับรัฐบาลทรัมป์หรือไม่
แนบแน่นเพียงใด จะถึงกับร่วมกันปิดล้อมจีน รุกคืบในตะวันออกกลางหรือไม่
สำหรับผู้ติดตามนโยบายต่างประเทศสหรัฐมายาวนาน
คำถามแรกที่เกิดขึ้นคือ เชื่อใจสหรัฐได้แค่ไหน ถ้าคิดแบบผลประโยชน์ต่างตอบแทน
ต้องถามต่อว่ารัสเซียได้ประโยชน์สมน้ำสมเนื้อหรือไม่
ระเบียบโลกในระยะยาวจะเป็นอย่างไร
เมื่อถึงเวลานั้นรัสเซียจะสามารถอยู่อย่างมีเกียรติสมศักดิ์ศรีหรือไม่
หรือจะกลายเป็นอีกประเทศที่ตกเป็นเบี้ยล่าง
สังคมโลกจะได้คำตอบเหล่านี้ประธานาธิบดีปูตินในไม่อีกกี่เดือนข้างหน้า
และถ้าพิจารณาจากท่าทีของยุโรปต่อสหรัฐ
น่าจะเป็นข้อมูลว่ารัฐบาลปูตินควรตัดสินใจอย่างไร
จะเห็นว่า
ความเข้มแข็งของ Pax Americana ภายใต้รัฐบาลทรัมป์อ่อนแอลงชัดเจน
ยุโรปไม่ใช่ส่วนหนึ่งที่แนบแน่นกับอเมริกาภายใต้ขอารยธรรมตะวันตกอย่างที่ เซมวล พี.
ฮันติงตัน (Samuel P. Huntington) พูดถึง
อย่างน้อยไม่ใช่ในระยะนี้
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ผ่านมา รองประธานาธิบดีเพนซ์กล่าวในโอกาสเยือนกองบัญชาการนาโตที่กรุงบรัสเซลส์
หวังว่าชาติสมาชิกนาโตทั้งหลายจะเพิ่มงบประมาณกลาโหมให้ถึงเป้าภายในสิ้นปี 2017 มิฉะนั้นสหรัฐจะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งยังไม่รู้ว่าคืออะไร แต่ความอดทนของชาวอเมริกันมีจำกัดแน่นอน
ไม่ว่ารองประธานาธิบดีเพนซ์จะพูดขึงขังอย่างไร ท่านไม่ได้เอ่ยเรื่องสหรัฐจะถอนตัวจากนาโต
และเมื่อถึงวันกำหนดเส้นตายอาจเป็นอีกครั้งที่ตอกย้ำความอ่อนแอของรัฐบาลทรัมป์
นาโตไม่ได้ล้าสมัย
แต่ไม่ตามใจสหรัฐเหมือนดังสมัยสงครามเย็นอีกแล้ว นาโตไม่ใช่เครื่องมือให้สหรัฐปิดล้อมค่ายคอมมิวนิสต์
เป็นพื้นที่เสี่ยงสงครามนิวเคลียร์ เป็นแนวหน้าของสมรภูมิ
เพื่อตอบสนองสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐเรียกว่าเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชาวอเมริกัน
26 กุมภาพันธ์ 2016
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7415 วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560)
-----------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
'นาโตล้าสมัย' หรือ 'ไม่ตามใจสหรัฐ'?
คำว่านาโตล้าสมัยเป็นคำพูดที่บิดเบือน เพราะนาโตปรับปรุงเรื่อยมา แต่ที่พูดว่าล้าสมัยเป็นเพราะไม่ตรงตามความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ เป็นโจทย์ที่ฝั่งยุโรปต้องหาคำตอบว่าควรพึ่งพาสหรัฐหรือควรเป็นอิสระมากขึ้น แต่เนื่องจากสมาชิกปัจจุบันแตกต่างหลากหลาย ไม่อาจให้คำตอบง่ายๆ และไม่ตรงความต้องการสหรัฐเต็มร้อย ที่สุดแล้วนาโตน่าจะคงอยู่ต่อไป เพราะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายมากกว่า
คำว่านาโตล้าสมัยเป็นคำพูดที่บิดเบือน เพราะนาโตปรับปรุงเรื่อยมา แต่ที่พูดว่าล้าสมัยเป็นเพราะไม่ตรงตามความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ เป็นโจทย์ที่ฝั่งยุโรปต้องหาคำตอบว่าควรพึ่งพาสหรัฐหรือควรเป็นอิสระมากขึ้น แต่เนื่องจากสมาชิกปัจจุบันแตกต่างหลากหลาย ไม่อาจให้คำตอบง่ายๆ และไม่ตรงความต้องการสหรัฐเต็มร้อย ที่สุดแล้วนาโตน่าจะคงอยู่ต่อไป เพราะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายมากกว่า
บรรณานุกรม:
1. 5 revelations from Chilcot’s damning report into the Iraq
war. (2016, July 6). RT. Retrieved from https://www.rt.com/uk/349672-chilcot-findings-iraq-blair/
2. Bazian, Hatem. (2017, January 30). Trump's war on Islam
and clash of civilization wrecking crew! Daily Sabah. Retrieved
from http://www.dailysabah.com/columns/hatem-bazian/2017/01/30/trumps-war-on-islam-and-clash-of-civilization-wrecking-crew
3. Birnbaum, Michael., Parker, Ashley. (2017, February
18). Pence and Merkel embrace NATO but differ on transatlantic partnership. The
Washington Post. Retrieved from
https://www.washingtonpost.com/world/pence-and-merkel-embrace-nato-but-differ-on-transatlantic-partnership/2017/02/18/909c6a92-f55c-11e6-9fb1-2d8f3fc9c0ed_story.html
4. Committee of Privy Counsellors. (2016, July 6).
The Report of the Iraq Inquiry: the Executive Summary. Retrieved from http://www.iraqinquiry.org.uk/media/246416/the-report-of-the-iraq-inquiry_executive-summary.pdf
5. Culley, Jeremy. (2017, February 19). Angela Merkel says
Europe must take MORE refugees and Islam 'isn't source of terror'. Daily
Star. Retrieved from
http://www.dailystar.co.uk/news/latest-news/589410/Angela-Merkel-more-refugees-Syria-Iraq-German-chancellor-terrorism-ISIS
6. Engdahl, William. (2004). A Century of War:
Anglo-American Oil Politics and the New World Order, (Revised Ed.). London:
Pluto Press.
7. EU must not let US push it to increase military spending
– Juncker. (2017, February 17). RT. Retrieved from
https://www.rt.com/news/377691-juncker-us-europe-military-demands/
8. FULL TEXT: President Donald Trump's Inauguration Speech.
(2017, January 20). ABC News. Retrieved from http://abcnews.go.com/Politics/full-text-president-donald-trumps-inauguration-speech/story?id=44915821
9. Harding, Luke. (2016, July 6). Chilcot delivers crushing
verdict on Blair and the Iraq war. The Guardian. Retrieved from
https://www.theguardian.com/uk-news/2016/jul/06/chilcot-report-crushing-verdict-tony-blair-iraq-war
10. Huntington, Samuel P. (1996/2011). The Clash of
Civilizations and the Remaking of World Order. New York: Simon &
Schuste.
11. Lamothe, Dan., Birnbaum, Michael. (2017, February
15). Defense Secretary Mattis issues new ultimatum to NATO allies on defense
spending. The Washington Post. Retrieved from
https://www.washingtonpost.com/news/checkpoint/wp/2017/02/15/mattis-trumps-defense-secretary-issues-ultimatum-to-nato-allies-on-defense-spending/
12. Theresa May: UK and US cannot return to 'failed'
interventions. (2017, January 27). BBC. Retrieved from http://www.bbc.com/news/uk-politics-38747979
13. Transcript: Donald Trump Expounds on His Foreign Policy
Views. (2016, April 26). The New York Times. Retrieved from
http://www.nytimes.com/2016/03/27/us/politics/donald-trump-transcript.html
14. Trump predicts "very massive recession" in
U.S. (2016, April 3). CNBC/Reuters. Retrieved from
http://www.cnbc.com/2016/04/03/trump-predicts-very-massive-recession-in-us.html
15. US patience 'won't endure forever': Pence tells NATO to
spend more, or else. (2017, January 21). RT. Retrieved from
https://www.rt.com/usa/377972-pence-nato-russia-ukraine/
---------------------------