หลายมุมมองกับการชุมนุมประท้วงโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump)
ทันทีที่ทราบผลการเลือกตั้ง หลายคนเปลี่ยนจากการติดตามผลเลือกตั้งเป็นการชุมนุมประท้วง เช่นที่ชิคาโก ฟิลาเดลเฟีย ซีแอตเทิล นิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก เท็กซัส ประกาศว่าทรัมป์ “ไม่ใช่ประธานาธิบดีของฉัน” รวมทั้งที่ Midtown Manhattan หน้าบ้านว่าที่ประธานาธิบดี
ผู้ประท้วงบางกลุ่มตะโกนว่า “ไม่เกลียดชัง ไม่หวาดกลัว ที่นี่ต้อนรับผู้อพยพลี้ภัย” ต่อต้านนโยบายผลักดันผู้อพยพลี้ภัยต่างชาติของทรัมป์
บรรณานุกรม:
ผู้ประท้วงบางกลุ่มตะโกนว่า “ไม่เกลียดชัง ไม่หวาดกลัว ที่นี่ต้อนรับผู้อพยพลี้ภัย” ต่อต้านนโยบายผลักดันผู้อพยพลี้ภัยต่างชาติของทรัมป์
ผู้ประท้วงหลายหมื่นร่วมชุมนุมในที่ต่างๆ
เป็นหย่อมๆ มีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพัน ส่วนใหญ่ชุมนุมโดยสงบ
ไม่กี่วันต่อมาการชุมนุมที่เริ่มต้นด้วยความผิดหวัง โกรธเคือง สับสน แปรเปลี่ยนเป็นการคิดเคลื่อนไหวต่อเนื่อง
บางกลุ่มอาศัยโซเชียลมีเดียเป็นศูนย์การสื่อสาร มีผู้เข้าร่วมเพิ่มทุกชั่วโมง
ตำราอเมริกาสอนว่าชาวอเมริกันภาคภูมิใจที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีอันหมายถึงการส่งผ่านอำนาจบริหารจากชุดหนึ่งสู่อีกชุดหนึ่งดำเนินด้วยความราบรื่นเสมอมา
ฝ่ายที่แพ้ยอมรับความพ่ายแพ้ ไม่คิดต่อต้านผลการเลือกตั้ง ถ้าจะแข่งให้แข่งในการเลือกรอบต่อไป
การส่งผ่านครั้งนี้ดำเนินไปด้วยดี
ส่วนการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นเป็นปรากฎการณ์ประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง มีประเด็นที่ควรไตร่ตรองมากกว่าการประท้วง
ดังนี้
การพิพากษาตัดสินล่วงหน้า :
ความเข้าใจสำคัญข้อแรกคือ
การประกาศผลการเลือกตั้งไม่ได้บอกว่า โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) เป็นประธานาธิบดีแล้ว ณ ขณะนี้ บารัก
โอบามายังเป็นประธานาธิบดีจนถึงวันที่ 20 มกราคม วันทำพิธีสาบานตน
ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์จึงยังไม่ได้ทำงานอะไรจริงจัง นอกจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบอำนาจ
การตอบสนองของกลุ่มต่างๆ
ตลาดเงินตลาดทุนในระยะนี้ ล้วนเป็นการคาดการณ์ “ล่วงหน้า”
ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็เป็นได้ ที่คิดว่าแย่ อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิด
และที่คิดว่าดี อาจไม่ดีจริงอย่างที่พูด
สังคมควรระวังการชี้นำ
การวิเคราะห์ที่ขาดความระมัดระวัง ระวังการตัดสินพิพากษาล่วงหน้า
ท่านยังไม่ได้ทำอะไรผิดในฐานะประธานาธิบดี
การคิดแง่ลบต่อว่าที่ประธานาธิบดีมาจากข้อมูลที่ได้ยินได้ฟังในช่วงหาเสียง
ช่วงที่ผู้สมัครหาเสียงด้วยการสาดโคลนใส่กัน บรรดานักวิชาการนักวิเคราะห์ตีแผ่เรื่องราวต่อเนื่อง
สื่อช่วยขยายผลให้รับรู้กันทั่วโลก
โลกจึงได้ข้อมูลว่าที่ประธานาธิบดีมีประวัติเกี่ยวข้องกับผู้หญิงมากหน้าหลายตา
มีพฤติกรรมทางเพศแบบไม่เลือกหน้า หญิงมีสามีก็ไม่ยกเว้น ผู้หญิงอย่างน้อย 9 คนกล่าวว่าเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ
และเรื่องเสื่อมเสียอื่นๆ
Keith Larson ตั้งคำถามว่า
ท่าที คำพูด บุคลิกภาพของ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นตัวแทนของชาวอเมริกันได้หรือไม่
คนอเมริกันส่วนใหญ่มีลักษณะอย่างทรัมป์หรือ ทรัมป์ประกาศว่าจะ
"สร้างอเมริกาให้ยิ่งใหญ่อีกครั้ง" ทรัมป์มีความสามารถเช่นนั้นหรือ
ความเป็นตัวตนของเขาสะท้อนว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่หรือไม่ หรือเป็นแบบไหน
ทรัมป์มีอะไรพิเศษแตกต่างหรือไม่ (exceptional)
มีอะไรที่ดีกว่าเพื่อให้มวลมนุษยชาติ
ข้อวิพากษ์ของ
Larson ชี้ว่าหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง เท่ากับว่าชาวอเมริกันที่เลือกทรัมป์เป็นคนอย่างทรัมป์นั่นเอง
ขยายความต่อว่าประเทศอเมริกาในขณะนี้ก็มีลักษณะแบบเดียวกับทรัมป์
เป็นตัวอย่างคนที่วิพากษ์แง่ลบ และน่าคิดไม่น้อย
ผลจากการหาเสียงแบบสาดโคลน
ช่วยให้รับรู้ข้อมูลด้านลบ ข้อเสียคือเกิดทัศนคติแง่ลบต่อว่าที่ประธานาธิบดี
เสื่อมเสียล่วงหน้าตั้งแต่ยังไม่ทำงาน
คนหน้าบาง
คนที่หมดกำลังใจง่ายๆ คงไม่เหมาะกับตำแหน่งประเภทนี้
ทรัมป์มีข้อดีเหมือนกัน
แต่จะประยุกต์ใช้อย่างไร :
ผลงานในอดีตของทรัมป์ทั้งในทางธุรกิจและในช่วงหาเสียง
ชี้ว่าไม่ใช่คนโง่เขลา ทรัมป์ถูกกล่าวหาละเมิดกฎหมายหลายข้อ
ขึ้นโรงขึ้นศาลหลายครั้ง แต่ไม่เคยผิดถึงขั้นต้องโทษถูกจำคุก
ธุรกิจอาจล้มลุกคลุกคลานแต่โดยรวมแล้วเติบใหญ่ขึ้น ทรัมป์เป็นยอดนักสู้ที่ไม่กลัวเผชิญเรื่องยากๆ
หลายครั้งที่ทรัมป์แสดงท่าทางและใช้ถ้อยคำที่ดูเหมือนคนขาดการศึกษา
แต่เขาชนะคู่แข่งหลายคนที่ช่ำชองการเมือง มีความรู้เรื่องต่างๆ เหนือกว่าเขามาก
การหาเสียงของทรัมป์ดำเนินอย่างมียุทธศาสตร์ จนเป็นผู้ชนะเลือกตั้ง
ประเด็นจึงอยู่ที่เมื่อเป็นประธานาธิบดีแล้วจะใช้หลักคิด
บุคลิกลักษณะส่วนตัวอย่างไร จะปรับให้เข้ากับประเด็นต่างๆ อย่างไร
โลกอาจเห็นผู้นำอเมริกาในบุคลิกที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ใช้ถ้อยคำที่ประธานาธิบดีคนก่อนๆ ไม่กล้าใช้ และอาจมีนโยบายใหม่ๆ ที่สร้างประโยชน์มากมายทั้งต่อสหรัฐและโลก
เป็นเรื่องที่น่าติดตาม
ทรัมป์คงไม่พูดว่าจะใช้ตำแหน่งเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ให้กับตัวเอง
หลายคนจะไม่เชื่อคำพูดนี้ ในช่วงเป็นประธานาธิบดีจึงเป็นเวลาแห่งการพิสูจน์ตัวเองว่า
โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นคนเช่นไร
การดำเนินโยบายผิดพลาดอาจไม่ผิดกฎหมาย
การส่งลูกหลานทหารอเมริกันไปตายต่างแดนอาจไม่ผิดกฎหมาย
(ดังเช่นอดีตประธานาธิบดีหลายคนทำมาแล้ว) แต่คนจะจดจำ ประวัติศาสตร์จะบันทึก
เป็นโอกาสที่ทรัมป์จะสร้างประโยชน์
สร้างชื่อเสียงอันดี
และเป็นโอกาสที่จะทำร้ายประเทศและตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ความจริงกับภาพลวงตา :
หลายคนที่ชุมนุมประท้วง
ไม่ยินดีกับว่าที่ประธานาธิบดี เพราะคิดว่าจะทำให้ประเทศเสียหาย คำถามสำคัญคือ
ควรปล่อยให้ประเทศชาติเสียหายก่อนหรือไม่ จะพิสูจน์อย่างไร
นักวิเคราะห์แบ่งออกเป็น
2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าด้วยหลักคิดกับบุคลิกภาพของทรัมป์
ประธานาธิบดีคนใหม่อาจทำสิ่งแปลกใหม่หลายอย่างที่ไม่อยู่ในกรอบการเมืองเดิม
อีกฝ่ายคิดว่าแม้เป็นประธานาธิบดีแต่ไม่อาจทำตามอำเภอใจได้ทุกอย่าง
เพราะต้องฝืนแรงต้านจากระบอบเก่า ระบบราชการ ความคิดเห็นของรัฐสภา
(แม้ตอนนี้รีพับลิกันจะเป็นเสียงข้างมากทั้ง 2 สภา อาจต้องสู้กับพรรคตัวเอง)
ทุกอย่างจึงเป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น
การคิดว่าทรัมป์จะสร้างความเสียหายอย่างไม่สมควรเป็นเรื่องการคาดเดาเช่นกัน
คนจำนวนมากมองว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์มีอัตลักษณ์แปลกแตกต่างจากแกนนำการเมืองคนอื่นๆ
ลีลา วิธีการพูดที่แตกต่าง พร้อมกับนโยบายที่หลายเรื่องสุดโต่ง
เหล่านี้ทำให้เกิดภาพว่าท่านแตกต่างจากนักการเมืองคนอื่นๆ
คำถามคือ
“ความจริงที่เห็น” เป็นการแสดงออกเพื่อให้ผู้คนคิดว่า “แตกต่าง” หรือไม่ แท้จริงแล้ว นโยบายสำคัญๆ หลายอย่างของทรัมป์ไม่ได้พิเศษแตกต่างเลย
(อ่านรายละเอียดในบทความ “ความจริงที่ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรของทรัมป์”)
หลายนโยบายที่สุดโต่ง
ท้ายที่สุดอาจเป็นการปรับนโยบายเดิมเพียง “เล็กน้อย” ความสุดโต่งจึงเป็นเพียง
“ถ้อยคำที่ใช้หาเสียงเท่านั้น”
ยกตัวอย่าง
ความสัมพันธ์การค้ากับจีน
ในช่วงหาเสียงทรัมป์บอกว่าจีนเป็น “จอมหัวขโมยรายใหญ่ที่สุดของโลก”
บิดเบือนค่าเงินหยวนเพื่อช่วยการส่งออก กระทบต่ออุตสาหกรรม การจ้างงานในสหรัฐ
หากสามารถแก้ปัญหาจีนจะเพิ่มการจ้างงานในประเทศนับล้านตำแหน่ง จึงเสนอขึ้นภาษีสินค้าจากจีนร้อยละ
45 และจะเจรจากับจีนเพื่อยุติการบิดเบือนค่าเงิน ยุติการอุดหนุนสินค้าส่งออก
มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมต่ำ
แต่นักวิชาการบางคนไม่เชื่อว่าทรัมป์จะสามารถใช้มาตรการรุนแรงต้านสินค้าจีน
เพราะมาตรการใดๆ ที่ใช้จะกระทบทั้งจีน สหรัฐ และประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบริษัทอเมริกาอย่างแน่นอน
Song Guoyou จาก
Fudan University's Center for American Studies
กล่าวว่าเป็นการง่ายที่ทรัมป์จะกล่าวหาจีนบิดเบือนค่าเงิน แต่ยากจะตอบโต้
Yorizumi Watanabe จาก
Keio University อธิบายว่า ปัจจุบันจีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่สุดของหลายประเทศ
รวมทั้งเกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น มีผู้ประเมินว่าหากสหรัฐขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนร้อยละ
15 จีดีพีจีนจะลดลงร้อยละ 1 จีดีพีเกาหลีใต้ลดลง 0.5 จีพีดีโลกลดลง 0.25
ความเป็นไปทางเศรษฐกิจไม่ว่าจากสหรัฐหรือจีนล้วนกระทบเศรษฐกิจโลก
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจึงไม่เชื่อว่าทรัมป์จะจัดการจีนตามที่พูดในช่วงหาเสียง
มีตัวอย่างทำนองนี้อีกมาก
กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าสิ่งที่ทรัมป์พูดในช่วงหาเสียงเป็นความจริงหรือภาพลวงตา
การจะประเมินว่าทรัมป์สร้างประโยชน์หรือบั่นทอนประเทศ ต้องได้ข้อสรุปก่อนว่าอะไรคือความจริง
อะไรคือภาพลวงตา
อะไรคือประเด็นสำคัญจริงๆ
ที่อยู่นอกเหนือหรือที่ซ่อนอยู่ในถ้อยคำของท่าน
ร่วมกันตรวจสอบอย่างเป็นระบบ :
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตย่อมมีโอกาสในนั้น
จึงมักพูดกันเสมอว่า “เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส” เป็นโอกาสที่อีกหลายคนมีส่วนร่วมทางการเมือง
ภาคประชาสังคมเข้มแข็งยิ่งขึ้น
ผู้ชุมนุมประท้วงมีหลายหมื่นคน
ผู้ไม่ชุมนุมบนถนนแต่สนับสนุนมีนับล้าน
เป็นโอกาสที่จะสร้างภาคประชาสังคมอย่างเป็นระบบ แบ่งแยกกันทำงาน ตรวจสอบ เฝ้าระวัง โดยแบ่งตามความสนใจ ความเชี่ยวชาญ เช่น นักบัญชีเฝ้าระวังการใช้งบประมาณ
ปัญหาขาดดุล อดีตทหารผ่านศึกตรวจนโยบายความมั่นคง นักเรียน นักศึกษา ใครสนใจนโยบายใด
ประเด็นใด ให้รวมกลุ่ม ร่วมกันเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบ
มีระบบเผยแพร่ข่าวสารทั้งผ่านสื่อที่ผลิตเอง
สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อทั่วไป
ประเทศใดที่ภาคประชาสังคมสามารถทำเช่นนี้
จะเป็นภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งมีพลัง เปลี่ยนการชุมนุมที่เป็นเรื่องชั่วคราวให้เกิดประโยชน์ที่ยั่งยืนกว่า
20 พฤศจิกายน 2016
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7318 วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2559)
--------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์หาสียงของทรัมป์ทั้งหมด
สรุปรวบยอดว่าคือ ยุทธศาสตร์เชื่อผู้นำ ให้เชื่อว่าเขาคือคนเดียวที่รู้ดีที่สุด
สามารถแก้ปัญหาทุกอย่าง การเชื่อผู้นำไม่ใช่เรื่องผิด
ธรรมชาติมนุษย์อยู่ในภาวะเชื่อผู้นำเสมอๆ ปัญหาคือสหรัฐฯ
อ้างว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลสำคัญที่สุด
แต่ทรัมป์หาเสียงด้วยหลักเชื่อผู้นำ กีดกันการตรวจสอบนโยบายที่เขานำเสนอ
สวนทางหลักประชาธิปไตย
ทรัมป์เป็นนักธุรกิจ ไม่ใช่นักการเมือง
เมื่อลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจึงมีคำถามว่าจะไปรอดหรือไม่
ผลปรากฏว่าทรัมป์สามารถชนะผู้สมัครคนดังคนอื่นๆ
กลายเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันด้วยคะแนนสูงลิ่ว เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หาเสียงของทรัมป์ เป็นที่น่าศึกษา
ให้ความเข้าใจทั้งวิธีหาเสียงของเขา และในประเด็นที่กว้างกว่า เช่น
มุมมองของชาวอเมริกัน ระบอบประชาธิปไตยอเมริกา
1. Bardes, Barbara A., Shelley, Mack C., & Schmidt, Steffen
W. (2012). American Government and Politics Today: Essentials (2011 -
2012 Ed.). USA: Wadsworth, Cengage Learning.
2. Bessette, Joseph M., Pitney, John J. Jr. (2011). American
Government and Politics: Deliberation, Democracy and Citizenship. USA:
Wadsworth.
3. Buncombe, Andrew. (2016, May 2) Donald Trump accuses China
of 'raping' the US with its trade policy. The Independent. Retrieved
from
http://www.independent.co.uk/news/world/americas/us-elections/donald-trump-accuses-china-of-raping-the-us-with-its-trade-policy-a7009946.html
4. Dearden, Lizzie. (2016, November 11). Donald Trump blames
media for 'unfair' protests against election victory as demonstrations continue
across US. The Independent. Retrieved from
http://www.independent.co.uk/news/world/americas/us-elections/donald-trump-president-protests-us-cities-second-night-blame-media-inciting-not-fair-portland-a7410782.html
5. Healy, Patrick., Peters, Jeremy W. (2016, November 9).
Donald Trump’s Victory Is Met With Shock Across a Wide Political Divide. The
New York Times. Retrieved from http://www.nytimes.com/2016/11/10/us/politics/donald-trump-election-reaction.html?_r=0
6. Johnston, David Cay. (2016). The Making of Donald
Trump. New York: Melville House Publishing.
7. Larson, Keith. (2016, January 5). Is Trump really who
Americans want to be? Charlotte Observer. Retrieved from
http://www.charlotteobserver.com/opinion/op-ed/article53171905.html
8. Levin, Sam., Stafford, Zach., Swaine, Jon.,
& Woolf, Nicky. (2016, November 11). More anti-Trump action planned after
second night of protests across US. The Guardian. Retrieved from https://www.theguardian.com/us-news/2016/nov/10/anti-trump-protests-election-president-new-york-chicago
9. Lyons, John. (2016, November 13). Donald Trump’s China
Trade Stance Could Harm Japan, South Korea'. The Wall Street Journal.
Retrieved from http://www.wsj.com/articles/donald-trumps-china-trade-stance-could-harm-japan-korea-1479076681
10. Magleby, David B., Light, Paul C. (2009). Government
by the People (23rd Ed.). USA: Pearson Education.
11. Nelles, Roland. (2016, November 9). Trump's Victory
Ushers in Dangerous Instability. Spiegel Online. Retrieved from
http://www.spiegel.de/international/world/donald-trump-election-win-means-instability-for-the-world-a-1120464.html
12. Pohl, Ines. (2016, October 10). Analysis: A debate full
of hate, without highlights. Deutsche Welle. Retrieved from
http://www.dw.com/en/analysis-a-debate-full-of-hate-without-highlights/a-36003063
13. Poll: Most US voters 'disgusted' with presidential race.
(2016, September 22). Al Jazeera. Retrieved from http://www.aljazeera.com/news/2016/09/poll-voters-digusted-presidential-race-160921124354232.html
14. Shan, Jie. (2016, November 15). Trump’s trade threats
‘almost impossible,’ economists say. Global Times. Retrieved from http://www.globaltimes.cn/content/1017931.shtml
15. Transcript: Donald Trump Expounds on His Foreign Policy
Views. (2016, April 26). The New York Times. Retrieved from
http://www.nytimes.com/2016/03/27/us/politics/donald-trump-transcript.html
-----------------------------