บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2016

เลือกคนที่แย่น้อยกว่า (the lesser of the two evils)

รูปภาพ
‘The lesser of the two evils’ หรือ “คนที่แย่น้อยกว่า” เกี่ยวข้องกับการรณรงค์เลือกตั้งทางลบ (Negative Campaign) งานศึกษาบางชิ้นระบุว่า คนถูกผลักดันให้ออกไปใช้สิทธิ์ ไม่ใช่เพื่อเลือกคนที่ใช่ นโยบายที่ชอบ แต่ไปเลือกคนที่แย่น้อยกว่า หวังสกัดไม่ให้คนที่แย่ที่สุดชนะเลือกตั้ง             ข้อสรุปเรื่องการหาเสียงแบบสาดโคลน โจมตีฝ่ายตรงข้าม เป็นเหตุกระตุ้นให้ออกไปใช้สิทธิ์หรือไม่ยังถกเถียงกันอยู่ เป็นไปได้ว่าการเลือกตั้งบางครั้ง ผู้มีสิทธิ์หลายคนออกไปใช้สิทธิ์ด้วยเหตุผลนี้ ผลสำรวจจาก Pew Research Center  เมื่อกันยายนที่ผ่านมา ชี้ว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งร้อยละ 55 รู้สึกสับสน ( frustrated) ต่อทรัมป์ ร้อยละ 53 ต่อฮิลลารี ร้อยละ 53 รังเกียจ (disgusted) ทรัมป์ และร้อยละ 48 รังเกียจฮิลลารี             ชี้ว่า ร้อยละ 33 คิดเลือกทรัมป์ด้วยเหตุผลหลักที่ “เขาไม่ใช่คลินตัน” ร้อยละ 32 คิดเลือกฮิลลารีเพราะ “เธอไม่ใช่ทรัมป์” รวมแล้วผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งคิดไปเลือกตั้งไม่ใช่เพราะฮิลลารีหรือ...

การรณรงค์เลือกตั้งทางลบ (Negative Campaign)

รูปภาพ
คนจำนวนไม่น้อยยอมรับว่าสหรัฐอเมริกาคือผู้นำฝ่ายโลกเสรี ผู้นำประชาธิปไตย แต่ในระยะหลังความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐลดน้อยถอยลง หลักฐานชิ้นสำคัญคือพลเมืองอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ไว้ใจนักการเมือง รัฐสภาของตนเอง ผู้คนออกไปใช้สิทธิ์น้อยลงทุกที นักวิชาการบางคนชี้ว่าส่วนหนึ่งมาจากการรณรงค์เลือกตั้งทางลบ ในการเลือกตั้งหาเสียง นอกจากผู้สมัครจะพยายามสร้างภาพให้ตัวเองดูดี ยังพยายามทำให้ฝ่ายตรงข้ามดูแย่ วิธีการหลังเรียกว่าการรณรงค์เลือกตั้งทางลบ ( Negative Campaign)   หรือหาเสียงแบบสาดโคลน เหตุผลที่ใช้เพราะชาวบ้านจดจำภาพลบได้ดีกว่าภาพบวก การเลือกวุฒิสมาชิกรัฐ นอร์ทแคโรไล นา (North Carolina) เมื่อปี 2014 แข่งขันอย่างดุเดือด เฉพาะรัฐนี้เพียงรัฐเดียวผู้สมัครใช้เงินถึง 115 ล้านดอลลาร์ (4,025 ล้านบาท) เงินทั้งหมดส่วนใหญ่หมดไปกับค่าโฆษณาผ่านวิทยุโทรทัศน์ เป็นโฆษณาเชิงลบ โจมตีฝ่ายตรงข้าม นับจากปี 1964 การนำเสนอเชิงนโยบายลดน้อยลง โฆษณาแง่ลบ โจมตีฝ่ายตรงข้ามเพิ่มขึ้น ใช้งบประมาณเพื่อการนี้มากขึ้น เป็นแรงกดดันให้ผู้สมัครต้องหาเงินสนับสนุนการหาเสียงอย่างเพียงพอ ลักษณะการรณรงค์เลือกตั้งทางลบ : ปร...

ความจริงที่ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรของทรัมป์ (3)

รูปภาพ
ประเด็นทบทวนซาอุฯ :   ความคิดของทรัมป์ต่อซาอุดิอาระเบียใกล้เคียงกับที่คิดต่อญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นั่นคือ รัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากเพื่อป้องกันประเทศเหล่านี้ แต่สหรัฐได้ผลประโยชน์น้อย เดิมซาอุฯ ตะวันออกกลางมีความสำคัญที่เป็นแหล่งน้ำมัน แต่ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแล้ว เมื่อสามารถผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน ( shale oil/tight oil) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลซาอุฯ กับสหรัฐ :             รัฐบาลซาอุดิอาระเบียเริ่มสัมพันธ์ดีกับสหรัฐตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ( Franklin D. Roosevelt) กุมภาพันธ์ 1945 ไม่กี่เดือนก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กษัตริย์ Abdel-Aziz พบประธานาธิบดีรูสเวลท์ สองฝ่ายตกลงว่าสหรัฐจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์น้ำมันซาอุฯ แลกกับสหรัฐจะปกป้องราชวงศ์จากภัยคุกคาม             ตลอดช่วงสงครามเย็น ซาอุฯ อยู่ฝ่ายอเมริกา ต่อเนื่องจนสิ้นสงครามเย็น สหรัฐยังคงให้ซาอุฯ เป็นหนึ่งในแกนนำดูแลภูมิภาคตะวันออกกลาง 1990 เมื่ออิรักบุกยึดคูเวต ซาอุฯ ...

ความจริงที่ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรของทรัมป์ (2)

รูปภาพ
ประเด็นทบทวนนาโต :   ทรัมป์วิพากษ์นาโตหลายเรื่อง สรุปใจความว่ามีปัญหา 3 ข้อ ข้อแรกคือล้าสมัยเพราะก่อตั้งสมัยสงครามเย็น บริบทปัจจุบันแตกต่างไปมาก ข้อ 2 สมาชิกนาโตให้ความสำคัญกับก่อการร้ายน้อยเกินไป มีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่เข้าร่วมทำสงครามกับ IS/ISIL/ISIS             ข้อ 3 ชาติสมาชิกแบกรับภาระน้อยเกินไป ดูจากงบประมาณกลาโหมต่ำกว่าร้อยละ 2 ของจีดีพี ผิดจากข้อตกลงตามกำหนด กองทัพจึงอ่อนแอกว่าที่ตั้งเป้า ตีความว่าสหรัฐต้องเป็นผู้แบกภาระส่วนที่ขาด ต้องจ่ายเงินสนับสนุนมากแต่ประโยชน์น้อย ไม่ยุติธรรมต่อสหรัฐ อีกทั้งขณะนี้ไม่ได้ร่ำรวยเหมือนแต่ก่อน ดังนั้นหากชาติสมาชิกนาโตไม่ช่วยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จะขอพิจารณาถอนตัวออกจากนาโต และถ้าการทำเช่นนี้เป็นเหตุให้นาโตแตกก็ให้แตกไปเลย             เป็นอีกประเด็นที่ทรัมป์ใช้ถ้อยคำรุนแรง คราวนี้คือขู่ถอนตัวจากนาโต ปล่อยให้นาโตแตกหรือล่มสลาย ก่อให้เกิดการวิเคราะห์ต่างๆ นานาทั้งต่อตัวทรัมป์และอนาคตนาโต เป็นที่รับรู้ทั่วไปว่า...

ความจริงที่ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรของทรัมป์ (1)

รูปภาพ
สำหรับชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา นโยบายต่างประเทศเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญของการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เส้นแบ่งระหว่างเรื่องต่างประเทศกับเรื่องในประเทศนับว่าจะจางหายไป เป็นโลกไร้พรมแดน โลกเชื่อมโยงมากขึ้นทุกวัน             ในบางปี ประเด็นต่างประเทศมีความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น สมัยสงครามเวียดนาม การเลือกตั้งปี 2008 เมื่อทหารอเมริกันจำนวนมากอยู่ในอิรักกับอัฟกานิสถาน บารัก โอบามาตัวแทนจากเดโมแครทชูนโยบายถอนทหารกลับประเทศ การเลือกตั้งรอบนี้มีความสำคัญเช่นกัน ส่วนหนึ่งเกิดจากแนวนโยบายของผู้สมัครโดยตรง โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) เสนอเจรจาทบทวนความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรเก่าแก่อย่าง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น นาโต ซาอุดิอาระเบีย หลักคิดรวบยอดของทรัมป์คือ เห็นว่าสหรัฐเสียงบประมาณแก่พันธมิตรเหล่านี้มากเกินไป ผลประโยชน์ที่ได้ในปัจจุบันน้อยเกินไป ทางออกคือชาติพันธมิตรต้องแบกรับภาระเพิ่มเติม อันจะช่วยลดปัญหาขาดดุลของสหรัฐ มิฉะนั้นจะพิจารณาถอนตัวจากความเป็นพันธมิตร             ทรัมป์...