สหรัฐอเมริกา (new)

สหรัฐอเมริกา

บทความเรียงจากใหม่ลงไปเก่า

อ่านบทความคลิกชื่อเรื่อง ...
ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2024

ทรัมป์ชี้ว่าแฮร์ริสเป็นพวกสังคมนิยม ส่วนแฮร์ริสชี้ว่าทรัมป์เป็นเผด็จการ สหรัฐกำลังเข้าสู่การเลือก “สังคมนิยม” หรือ “ฟาสซิสต์”

หากได้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัยและปกครองแบบเผด็จการก็ต้องถือว่าเป็นเผด็จการที่มาจากความต้องการของคนอเมริกันส่วนใหญ่ มาตามระบอบประชาธิปไตยสหรัฐ

การที่ทรัมป์แสดงท่าทีเป็นมิตรต่อรัสเซีย จีน อาจไม่ปกป้องสมาชิกนาโต ชวนให้ตั้งคำถามว่าทรัมป์เป็นภัยคุกคามโลกเสรีประชาธิปไตยหรือไม่

พวกสนับสนุนทรัมป์ชี้ว่าพรรคเดโมแครทต้องการเปลี่ยนประเทศเป็นสังคมนิยม บางนโยบายของแฮร์ริสยึดแนวทางสังคมนิยม

ความคิดทรัมป์ที่จะเกิดสงครามใหญ่เป็นวาทกรรมหาเสียงเท่านั้น เป็นอีกครั้งที่โดนัลด์ ทรัมป์พูดถูกบ้างผิดบ้าง “แบบทรัมป์ๆ” คิดอย่างเดียวว่าทำอย่างจึงจะชนะเลือกตั้ง

ถ้าเลือกทรัมป์จะระงับสงครามโลกครั้งที่ 3 (1)
การหาเสียงด้วยความหวาดกลัวเป็นแนวทางที่ทรัมป์ใช้เสมอ เช่น พูดว่าจะเกิดสงครามกลางเมืองถ้าเขาไม่ชนะเลือกตั้ง หรือเกิดสงครามโลกถ้าพรรคเดโมแครทชนะเลือกตั้ง

ทรัมป์อาจถูกลอบสังหารอีก
น่าติดตามว่าหากชนะเลือกตั้ง ทรัมป์จะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐที่ถูกลอบสังหารอีกคนหรือไม่ เพราะเหตุใด ควรอธิบายอย่างไร

กระสุนนัดเดียวเปลี่ยนโลก
บรรยากาศหาเสียงตอนนี้ไม่ต้องคิดถึงเรื่องอื่นใดอีก ทรัมป์ควรชนะเลือกตั้ง กระสุนนัดเดียวชี้ขาดผลเลือกตั้ง ชี้นำโลกอนาคตควรทำตามนโยบายทรัมป์

ไบเดนชี้ว่าตนเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ส่วนทรัมป์อยู่ฝ่ายตรงข้าม ถ้าต้องการปกป้องประชาธิปไตยขอให้เลือกพรรคเดโมแครท

คำแถลงนโยบายประจำปี 2024 เหมือนการหาเสียงมากกว่าซึ่งไม่แปลกเพราะตรงกับปีเลือกตั้ง แม้ไม่เอ่ยว่าคำว่า “ทรัมป์” แต่ผูกประเด็นเข้ากับคู่แข่งการเมืองอย่างชัดเจน

ทรัมป์ยินดีให้รัสเซียทำอะไรก็ได้กับชาติสมาชิกนาโตที่ไม่ยอมตั้งงบกลาโหมตามข้อตกลง ทำให้นาโตปั่นป่วน แต่อาจเป็นแค่การหาเสียงกับคนอเมริกันเท่านั้น

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2023
สหรัฐตีความว่าคือการรวมตัวของฝ่ายต่อต้าน ความจริงคือจุดยืนของสมาชิก BRICS หลากหลาย บางประเทศเลือกที่จะอยู่ทั้ง 2 ข้าง BRICS คืออีกหนึ่งกลุ่มหนึ่งโอกาส

คนอเมริกันเกือบครึ่งอยากได้ประธานาธิบดีจากพรรคที่ 3
แทนที่จะสนใจผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันหรือพรรคเดโมแครทดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา คนอเมริกันเกือบครึ่งกลับสนใจผู้สมัครประธานาธิบดีจากพรรคที่ 3 สะท้อนความเบื่อหน่ายการเมืองแบบเดิมๆ

คนอเมริกันส่วนใหญ่มองลบต่อระบอบประชาธิปไตย
ในขณะที่นักการเมืองทุกพรรคพูดสนับสนุนประชาธิปไตย ส่งเสริมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นแต่ผลลัพธ์ออกมาตรงข้าม

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2022

ในสมัยทรัมป์โหมกระแสต่อต้านจีน ลามถึงคนเชื้อสายจีนในอเมริกา มาถึงสมัยไบเดนมองจีนเป็นปรปักษ์มากขึ้นอีก สอดคล้องข่าวโจมตีจีนจากรัฐบาลและสื่อกระแสหลัก

ผลโพล AP-NORC ตอกย้ำข้อสรุปประธานาธิบดีไบเดนสอบตก ประชาธิปไตยอเมริกามีปัญหา คนอเมริกันมองแง่ลบต่อการเมือง ทั้งยังชี้ผลเลือกตั้งกลางเทอมอีกด้วย

เขตที่แข่งขันดุเดือดมากที่สุดคืออินโด-แปซิฟิกและกำลังขยายเป็นทั้งโลก แข่งขันวางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ใน 10 ปีนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุดห้วงเวลาชี้อนาคต

ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ 2022 (1)
นับจากนี้จะไม่แบ่งนโยบายต่างประเทศกับในประเทศอีกต่อไป หากจะให้สหรัฐมั่งคั่งต้องกำกับระเบียบระหว่างประเทศให้สหรัฐได้ประโยชน์สูงสุด

ไบเดนหาเสียงชี้ทรัมป์เป็นพวกสุดโต่ง
ไบเดนชี้ว่าทรัมป์กับพวกเป็นพวกสุดโต่งสร้างความแตกแยก ไม่เป็นประชาธิปไตย สิ่งที่ไบเดนกำลังทำคือตอกย้ำแบ่งแยกคนอเมริกันเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายประชาธิปไตยกับพวกสุดโต่ง

ความภาคภูมิใจของคนอเมริกันต่อประเทศตัวเอง
สถิติความภาคภูมิใจของสหรัฐอาจไม่ดีที่สุดและแย่ลงทุกทีแต่ดีกว่าหลายประเทศ ช่วยชี้วัดความพอใจของประชาชนและชี้วัดความเข้าใจต่อการเมืองและสังคมด้วย

เงินเฟ้ออเมริกาเงินเฟ้อโลกแก้ได้ด้วยมือไบเดน
เมื่อต้นเหตุเงินเฟ้อมาจากการคว่ำบาตรน้ำมันก๊าซธรรมชาติรัสเซีย วิธีแก้คือระงับหรือชะลอคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซียออกไปก่อน ปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐกับเงินเฟ้อโลกจะลดลง เศรษฐกิจฟื้นตัวทันที

สงครามการค้าสหรัฐ-จีนสมัยไบเดนกำลังก่อตัว
คาดว่ารัฐบาลไบเดนจะยึดนโยบายขึ้นภาษีสินค้าจีน รอบนี้จะหนักกว่าเดิมหากกดดันให้นานาชาติ ลงลึกถึงบริษัทเอกชนทั่วโลกร่วมกันกดดันจีน นี่คือการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกของรัฐบาลอเมริกัน

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2021
ระหว่างปลุกเร้าแบ่งขั้วกับแก้ปัญหาภายในข้อไหนดีกว่า
รัฐบาลสหรัฐควรทำให้ตัวเองเป็นแบบอย่างประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จ จะเป็นตลกร้ายถ้าช่วยให้ประเทศอื่นเป็นประชาธิปไตยแต่ตัวเองหันเข้าสู่อำนาจนิยมมากขึ้น

ไบเดนขยับแบ่งโลกด้วยประชาธิปไตย
ไบเดนชี้ว่าฝ่ายประชาธิปไตยกำลังถูกท้าทายจากพวกเผด็จการอำนาจนิยม เรียกร้องให้ฝ่ายประชาธิปไตยทั่วโลกร่วมมือกัน ตั้งงบประมาณอุดหนุนนักสู้เพื่อประชาธิปไตยแก่ทุกประเทศทั่วโลก

ในโลกแห่งสัจนิยม (Realism) ความเป็นอภิมหาอำนาจจะต้องเหนือกว่าประเทศอื่น พลังอำนาจทางทหารหรือกองทัพเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง จำต้องมีอาวุธนิวเคลียร์ที่เหนือกว่า

เลือกตั้งอเมริกาโกงเป็นระบบ?
คนอเมริกันครึ่งหนึ่งคิดว่าเลือกตั้งไม่โปร่งใสโกงเป็นระบบ เรื่องนี้ไม่เพียงสะท้อนความไม่เชื่อมั่นต่อระบบเลือกตั้ง ยังเกี่ยวข้องกับวิธีคิดการใช้เหตุผลด้วย

ในที่ประชุมสมัชชาไบเดนย้ำว่าสหรัฐจะไม่ก่อสงครามเย็นใหม่ ในขณะที่ไม่กี่วันก่อนเลขาธิการยูเอ็นเตือนจีนกับสหรัฐให้หลีกเลี่ยงสงครามเย็นรอบใหม่ นี่คือคำพูดของผู้นำคนสำคัญๆ บนเวทีโลก

นาโตจารกรรมกันเอง สหรัฐสอดแนมพันธมิตร
ข้อมูลที่เปิดเผยจากสถานีวิทยุเดนมาร์ก (DR) ตอกย้ำว่านาโตจารกรรมกันเอง ชาติเสรีประชาธิปไตยจารกรรมพวกเดียวกัน สหรัฐสอดแนมพันธมิตร คำว่าพันธมิตรในมุมมองของสหรัฐหมายถึงอะไรกันแน่

ไบเดนตั้งใจแก้โลกร้อนหรือแค่ “สร้างภาพ” “ซื้อเวลา”
ดังที่เสียงจากเยาวชนคนรุ่นใหม่ชี้ว่าพวกคนมีอำนาจมักพูดจาฟังดูดี จะมีประโยชน์อะไรที่ผู้ใหญ่สอนเราให้เป็นคนดีมีความรับผิดชอบแต่กลับเป็นผู้ทิ้งปัญหาแก่เรา ต้องลงมือแก้ไขจริงจัง ไม่ใช่ดีแต่พูด

รีพับลิกันพรรคของพวกขวาสุดโต่งใช่หรือไม่
ประธานาธิบดีทรัมป์เป็นตัวอย่างความไม่เป็นประชาธิปไตย ส่อละเมิดสิทธิมนุษยชนบ่อยครั้งตามแนวทางขวาจัด หากรีพับลิกันเอียงไปทางขวามากขึ้นๆ เรื่องนี้กระทบต่อโลกแน่นอน]

Trumpism มรดกการเมืองที่ทรัมป์ทิ้งไว้
Trumpism บ่งบอกความไม่เป็นประชาธิปไตยของรัฐบาลทรัมป์ สนับสนุนให้เชื่อเรื่องที่ไร้เหตุผล อ้างว่าเป็นเสรีภาพทางความคิด ปลุกกระแสความเกลียดชังแบ่งแยกสังคม เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนตนทางการเมือง

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2020
เลือกตั้งอเมริกา 2020 สัญญาณเกิดเหตุรุนแรง
เลือกตั้ง 2020 พิเศษกว่าทุกปีเกิดคำถามว่าจะลงเอยด้วยเหตุรุนแรงหรือไม่ มีสัญญาณบ่งชี้ การเลือกตั้งน่าจะสงบเรียบร้อยหากทรัมป์เป็นฝ่ายชนะซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้เช่นกัน

แบน TikTok เพื่อชาติหรือปู่ทรัมป์โดนปั่นหัว
การแบน TikTok อาจตีความว่าคือการปิดล้อมจีน เป็นเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ แต่ในอีกมุมอาจเป็นเพียงแค่เด็กเล่นสนุก รวมหัวปั่นประธานาธิบดีทรัมป์ตามประสาที่พวกเขาทำได้และคิดว่าสนุกดี

บางคนเห็นด้วยกับทฤษฎีสมคบคิดว่าวัคซีนของ Novavax เป็นแผนควบคุมโลกของบิลล์ เกตส์ แต่อันตรายที่แท้จริงอาจเป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่ตระหนัก ผู้นำประเทศ นักการเมืองหลายคนไม่พยายามเอ่ยถึง

3 ทศวรรษยุทธศาสตร์ความเป็นเจ้าในอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐ
ความเข้าใจสำคัญที่ต้องยึดให้มั่นคือสหรัฐเป็นเจ้ามานาน รัฐบาลสหรัฐต้องการเป็นเจ้าโลก ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกคือส่วนหนึ่งในความเป็นเจ้า ยุทธศาสตร์ของแต่ละรัฐบาลคือการปรับเปลี่ยนตามบริบท

โลกนี้ไม่มีประเทศใดเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากบ้างน้อยบ้าง สหรัฐดีกว่าหลายประเทศแต่ยากจะเชื่อว่าเป็นผู้นำโลกด้านนี้และกำลังเสื่อมถอย

White Supremacy รากเหง้าการเหยียดผิวในอเมริกา
กว่า 240 ปีที่สหรัฐประกาศเอกราช หลักเสรีภาพ ความเสมอภาคและประชาธิปไตยยังเป็นเพียงเป้าหมายเชิงอุดมคติเท่านั้น เพราะ White Supremacy ฝังรากลึกในสังคมตั้งแต่ก่อนกำเนิดประเทศ

การปรากฏของคำว่า “OPEC+” ป้องกันไม่ให้สหรัฐเข้าระบบโควตาตามปกติ ทั้งๆ ที่รัฐบาลสหรัฐมีส่วนเจรจาต่อรองโดยตรง ผลจากโควิด-19 ทำให้ผู้ส่งน้ำมันต้องร่วมมือกัน

โควิด-19 กลายเป็นอีกสนามของการต่อสู้ระหว่างชาติมหาอำนาจ น่าคิดว่าหากร่วมมือกันจะช่วยรักษาชีวิตได้กี่คน ลดความสูญเสียมากเพียงไร แม้กระทั่งต่อพลเมือง เศรษฐกิจสังคมของตนเอง

มีข้อมูลว่า CIA กับหน่วยงานข่าวกรองเยอรมันให้คนทั้งโลกซื้อระบบเข้ารหัสข้อมูล เพื่อจารกรรมข้อมูลจากผู้ซื้อเหล่านั้น ผู้ต้องการปกปิดความลับจ่ายเงินแก่บริษัทที่หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐตั้งขึ้นมา

พูดแบบ “ทรัมป์ๆ” จริงบ้างเท็จบ้างไม่เห็นเป็นไร?
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าประธานาธิบดีทรัมป์พูดถูกๆ ผิดๆ อยู่เสมอ และเนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีใครเอาความ ทรัมป์จึงยังคงพฤติกรรมเช่นนี้ แต่การสังหารสุไลมานีเป็นประเด็นทำให้ อเมริกาตกอยู่ในอันตราย

เหตุเสียชีวิตของนายพลสุไลมานีทำให้เกิดการเผชิญหน้าและตอบโต้ด้วยอาวุธโดยตรงระหว่างผู้นำอิหร่านกับสหรัฐ ในอนาคตยังมีอีกหลายประเด็นที่อาจนำสู่การเผชิญหน้าแบบนี้อีก

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2019
บางคนคิดว่าหากทรัมป์ชนะเลือกตั้งอีกครั้งจะบั่นทอนประชาธิปไตยอเมริกาอย่างมาก เพราะต่อต้านเสรีนิยม มีแนวคิดปกครองประเทศแบบอำนาจนิยม แต่อีกฝ่ายยังนิยมทรัมป์อยู่ดี

ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกหวังสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับหุ้นส่วนเพื่อต้านจีน ถ้ามองในมุมกว้างคือแผนจัดระเบียบภูมิภาคของสหรัฐนั่นเอง


ถ้าเลือกตั้งเดือนหน้าหรือปลายปีนี้ทรัมป์มีโอกาสชนะเลือกตั้งอีกรอบ ข้อแนะนำคือรัฐบาลทรัมป์ควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เศรษฐกิจเติบโตแข็งแกร่งต่อไป

แม้ไม่เหมือนองค์กรนาโต เครือข่ายความมั่นของสหรัฐในอินโด-แปซิฟิกมีอยู่จริง อยู่ร่วมกับประเทศต่างๆ ทั้งระดับทวิภาคี พหุภาคี แต่หลายประเทศร่วมมือมหาอำนาจอื่นด้วยเป็นโครงสร้างความมั่นคงภูมิภาคที่ซับซ้อน

ทุนนิยมผูกขาดสร้างคณาธิปไตย ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่รัฐสวัสดิการเข้มข้นอาจเป็นการโยกอำนาจจากคณาธิปไตยทุนนิยมไปสู่เผด็จการอีกรูปแบบหนึ่ง 

รัฐบาลทรัมป์ให้เหตุผลหลายข้อว่าจีนทำการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐ จึงต้องขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่ทรัมป์ไม่พูดหรือไม่พยายามพูดคือคนอเมริกันเป็นผู้จ่ายภาษีนี้

การประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติของประธานาธิบดีทรัมป์กลายเป็นประเด็นร้อนแรงทางการเมือง เพราะกำลังใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ แม้พรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน

ประธานาธิบดีทรัมป์ร้องขอความร่วมมือทางการเมือง ไม่เห็นด้วยกับการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลที่มุ่งเล่นงานตน กลายเป็นคำถามว่าอย่างไรที่เรียกว่าความเป็นเอกภาพทางการเมือง

ทรัมป์ไม่ได้สร้างกำแพงกั้นพรมแดนเม็กซิโกดังหวัง แต่ได้หยั่งเสียงฐานคะแนนของตนที่ส่วนใหญ่ยังสนับสนุนอย่างแข็งขัน มีความเป็นไปได้ว่าทรัมป์จะชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต่ออีกสมัย

ทรัมป์ชี้ว่าประเทศกำลังเผชิญวิกฤติอันเนื่องจากคนต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย การไม่สามารถตัดสินนโยบายด้วยเหตุผลตามหลักวิชาการ ความไม่เชื่อถือต่อกันทางการเมืองเป็นวิกฤติเช่นกัน

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2018
สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง เกมอาวุธนิวเคลียร์
นับจากโลกมีอาวุธนิวเคลียร์ รัฐบาลสหรัฐไม่คิดที่จะปลดอาวุธนี้เพราะเห็นว่าคือเครื่องมือกอบโกยผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเด็นขีปนาวุธพิสัยกลางคืออีกภาพสะท้อน

โอบามากับฮิลลารีโจมตีทรัมป์ว่าเป็นอำนาจนิยม บ่อนทำลายประชาธิปไตย ชาวอเมริกันจำนวนมากเดือดร้อน ต้องเลือกพรรคเดโมแครทเพื่อถ่วงดุลรัฐบาล คำถามคือจริงหรือที่เลือกเดโมแครทเป็นคำตอบ

การเลือกตั้งกลางเทอมที่คนไม่ค่อยสนใจเป็นโอกาสที่จะชนะอีกฝ่ายง่ายๆ หากสามารถผลักดันให้ผู้มีสิทธิออกมาเลือกพรรครีพับลิกันแล้วประกาศว่านี่คือเสียงสวรรค์ให้ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีต่อไป

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2018
ทรัมป์เตือนว่า ใครทำธุรกิจกับอิหร่าน สหรัฐจะไม่ทำธุรกิจกับผู้นั้นเป็นการเจาะจงเล่นงานบริษัทเอกชน เป็นแนวทางของจักรวรรดินิยมปัจจุบัน

มีผู้สงสัยว่าทำไมทรัมป์แสดงท่าเป็นมิตรกับรัสเซีย หากไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลปูตินช่วยทรัมป์ให้ชนะเลือกตั้ง อีกแนวคิดหนึ่งเห็นว่าทรัมป์หวังผูกมิตรรัสเซียเพื่อยืมมือปิดล้อมจีน แต่รัสเซียจะช่วยหรือ

หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ประธานาธิบดีทรัมป์ชี้แจงว่าการเป็นมิตรกับรัสเซียย่อมดีกว่า เพราะทั้งคู่เป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ คำถามคืออยากเป็นมิตรเพื่อใคร

โดนัลด์ ทรัมป์ชูแนวคิด America First พร้อมทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ประเทศ แต่หลายนโยบายที่ยึดแนวทางนี้ส่งผลให้สหรัฐโดดเดี่ยวตัวเอง โลกกำลังก้าวสู่ความเป็นพหุภาคีมากขึ้น

ปัญหาขาดดุลเป็นเรื่องใหญ่ ทรัมป์หาเสียงแก้ไขปัญหาดังกล่าวและกำลังทำหน้าที่รัฐบาลที่ดี คำถามคือนโยบายที่ใช้มุ่งหวังแก้ปัญหาจริงหรือไม่ หรือเพียงแค่ ให้ได้ทำเท่านั้น

โดนัลด์ ทรัมป์ชนะเลือกตั้งเพราะชาวอเมริกันเบื่อหน่ายนักการเมืองหน้าเก่า แต่นับจากทรัมป์ดำรงตำแหน่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์มีไม่หยุดหย่อน ล่าสุดคือไร้ศีลธรรมเกินกว่าจะเป็นประธานาธิบดี

หากไม่ทำเพื่อประชาชนสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะกุมอำนาจคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม นั่นคือเผด็จการ หากทำเพื่อความสุขของประชาชนจริง จะกลายเป็นราชาธิปไตยหรือการปกครองโดยคณะบุคคลที่น่าส่งเสริม

โอกาสเกิดสงครามล้างโลกนิวเคลียร์เป็นไปได้น้อยมาก ที่มีความเป็นไปได้มากขึ้นคือสหรัฐจะเป็นผู้ลงมือใช้ก่อนกับประเทศเล็กๆ 

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2017
ไม่แปลกที่รัฐบาลทรัมป์ยึดหลักสัจนิยม แต่ต้องศึกษาลงในรายละเอียดว่าอะไรกันแน่ที่รัฐบาลต้องการ สันติสุขหรือความรุนแรง เป็นประโยชน์ต่อชาวอเมริกันหรือน่าจะมีทางเลือกที่ดีกว่า

ฮิลลารี คลินตันถูกครหาว่าเข้าควบคุมพรรคก่อนได้เป็นตัวแทนพรรค สะท้อนคณาธิปไตยในพรรค แต่เป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้ สำคัญว่ายึดถืออุดมการณ์หรือไม่

ข้อมูลจากสุดชี้ว่าแกนกลางพรรคช่วยฮิลลารีให้เป็นตัวแทนพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ที่ร้ายแรงคือเป็นอีกครั้งที่ทำให้ชาวอเมริกันไม่เชื่อถือพรรค เห็นว่าเป็นพรรคของพวกชนชั้นปกครองกับนายทุน

“หลักนิยมทรัมป์” (Trump’s Doctrine) คือการยึดถือผลประโยชน์ของชาติกับอธิปไตยเป็นที่ตั้ง แม้ขัดแย้งประเทศอื่นหรือศีลธรรมคุณธรรม ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสัจนิยม (Realism) 

วันนี้ (19 ก.ย.) ประธานาธิบดีทรัมป์จะกล่าวสุนทรพจน์ต่อสหประชาชาติ สหรัฐฯ จะลดการเผยแพร่ประชาธิปไตย ส่อว่าความเป็นประชาธิปไตยสหรัฐฯ จะลดลง ใครไม่ร่วมมือคือศัตรู

คนอเมริกันมีรายได้สูงขึ้น แต่เครื่องจักรกลกับระบบอัตโนมัติอาจเป็นเหตุให้ตกงาน ควรรู้จักเก็บออมและหารายได้หลายช่องทาง

งานศึกษาของ Pew Research Center ชี้ว่าประชาชนหลายประเทศทั่วโลกมองแง่ลบต่อประธานาธิบดีทรัมป์ ที่น่าตกใจคือประเทศเหล่านี้คือยุโรปตะวันตก เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ผลลัพธ์คือบั่นทอนพลังอำนาจอ่อน (soft power) ทั้งนี้เพราะทรัมป์ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีตั้งแต่ต้น เป็นจุดอ่อนของระบอบประชาธิปไตยสหรัฐที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ในที่ประชุม “Arab Islamic American Summit” ประธานาธิบดีทรัมป์แสดงท่าทีเป็นมิตรกับรัฐบาลซาอุฯ ท่ามกลางผู้นำชาติอาหรับ ผู้นำมุสลิมประเทศอื่นๆ รวม 55 ประเทศ วัตถุประสงค์หลักคือร่วมต่อต้านก่อการร้ายซึ่งหมายถึงมุสลิมสุดโต่งกับอิหร่าน เป็นอีกครั้งที่ทรัมป์พูดถึงความดีความชั่ว ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือดำเนินนโยบาย ยอมรับว่าแนวทางศาสนาของซาอุฯ เข้าได้กับนโยบายของตน

ทรัมป์ “ผู้คาดเดาไม่ได้” หรือ “ผู้พูดเท็จเป็นนิจ”
ตั้งแต่ช่วงหาเสียงทรัมป์บอกว่าจะใช้วิธีคาดเดาไม่ได้ ไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ตัว ผลลัพธ์ที่ออกมาคู่กันคือนโยบายที่เปลี่ยนกลับไปกลับมา กลายเป็นว่าไม่มีใคร (รวมทั้งพลเมืองอเมริกัน) รู้ว่ารัฐบาลทรัมป์กำลังทำอะไร ผลสุดท้ายเป็นอย่างไร แต่ทรัมป์ยังคงใช้เทคนิค “ผู้คาดเดาไม่ได้” ต่อไป ถ้าคิดให้ดีในอีกมุมคือทำให้ “สามารถพูดเท็จ” ต่อสาธารณะ ไม่มีใครคาดเดาได้ว่ากำลังพูดความจริงหรือโกหก เป็นลักษณะเด่นข้อหนึ่งของรัฐบาลประชาธิปไตยอเมริกายุคนี้

รัฐบาลทรัมป์กล่าวโทษรัฐบาลซีเรียละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่การโจมตีซีเรียคือละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ตั้งแต่โอบามาเป็นต้นมา สหรัฐไม่เคยแสดงหลักฐานว่ารัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีได้แต่บอกว่าใช้และยึดถือเช่นนั้น กลายเป็นเหตุผลอีกข้อที่จะสนับสนุนฝ่ายต่อต้าน ไม่ว่าศึกนี้จะต้องยืดเยื้ออีกกี่ปี คนต้องตายเพิ่มอีกกี่แสน ไม่ใช่เด็กๆ ไม่กี่สิบคนที่ตายด้วยก๊าซพิษอย่างที่ทรัมป์บอกว่าน่าสงสารเท่านั้น

สหรัฐคือประเทศที่มีความสามารถจารกรรมสอดแนมสูงสุดในโลก สามารถลักลอบแอบติดตามไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ที่ใดในโลก การดักฟังโทรศัพท์มือถือของนายกฯ แมร์เคิลเป็นกรณีตัวอย่างที่ดี ประธานาธิบดีทรัมป์อ้างว่าวฝ่ายตนถูกดักฟังในช่วงหาเสียง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้ทำเช่นนั้น แต่ไม่ปฏิเสธว่าไม่ได้แอบลักลอบติดตามประธานาธิบดีกับทีมงาน เป็นอีกหนึ่งปริศนาของการเมืองอเมริกากับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศปัจจุบัน

Mohammed bin Salman รองมกุฎราชกุมารซาอุดิอาระเบียหารือประธานาธิบดีทรัมป์อย่างเป็นทางการ ฝ่ายซาอุฯ ไม่เชื่อว่ามาตรการ (ห้ามคน 6 ประเทศเข้าเมือง) มุ่งเป้าชาติมุสลิมหรือศาสนาอิสลาม แท้จริงแล้วทรัมป์เคารพศาสนาอิสลามอย่างจริงจัง เป็น “มิตรแท้ของมุสลิม” 2 ฝ่ายเห็นร่วมที่จะต้องจัดการอิหร่านตัวการทำลายเสถียรภาพภูมิภาค 

นายกฯ แมร์เคิลพบประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้นำ 2 ประเทศยืนยันสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติก พร้อมกับแสดงจุดยืนแตกต่างหลายข้อดังที่ทรัมป์จุดประเด็นไว้ น่าติดตามว่าความสัมพันธ์ 2 ฝั่งแอตแลนติกจะดีขึ้นหรือเสื่อมลงกว่าเดิม สหรัฐในยุคทรัมป์จะโดดเดี่ยวตัวเองมากกว่าเดิมหรือไม่ เป็นประโยชน์หรือโทษมากกว่า และเป็นเครื่องชี้ว่าทรัมป์มีความสามารถบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ดีเพียงใด

หลังศาลระงับคำสั่งห้ามคน 7 ประเทศเข้าสหรัฐ ประธานาธิบดีทรัมป์ออกคำสั่งใหม่เหลือ 6 ประเทศ สาระสำคัญยังคงเช่นเดิม จาการวิเคราะห์คำสั่งห้ามใหม่ไม่ช่วยลดก่อการร้าย เพราะผู้ก่อการร้ายไม่จำต้องอยู่ใน 6 ประเทศนี้เท่านั้น การไม่ห้ามซาอุฯ และเหตุผลอื่นๆ ชวนให้สงสัยว่ารัฐบาลทรัมป์หวังการป้องกันก่อการร้ายมากเพียงไร มีเจตนาแอบแฝงอื่นหรือไม่

ไม่ถึงเดือนหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ได้คำตอบชัดแล้วว่ารัฐบาลทรัมป์ไม่ขอถอนตัวออกจากนาโตตามคำขู่ตั้งแต่ช่วงหาเสียง ประเทศสำคัญๆ ในยุโรปแสดงท่าทีต่อต้านก่อการร้ายที่แตกต่างจากสหรัฐ Pax Americana อ่อนแอลงชัดเจน รัสเซียกลายเป็นประเทศสำคัญที่สหรัฐจะต้องดึงมาเป็นหุ้นส่วนหากคิดจะปิดล้อมจีน รุกคืบตะวันออกกลางอย่างจริงจัง


ในช่วงหาเสียงทรัมป์อ้างเหตุผลสารพัดเพื่อชี้ว่าสหรัฐไม่ควรประจำการทหารในเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นต่อไป พร้อมให้ 2 ประเทศนี้มีอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเอง ไม่ถึงเดือนหลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ท่าทีเปลี่ยนเป็นตรงข้าม กลับมาให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรดังเดิม ตามหลักนโยบายที่ไม่ต่างจากประธานาธิบดีคนอื่นๆ ไม่ว่าจะมาจากพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครท


ตั้งแต่ช่วงหาเสียง โดนัลด์ ทรัมป์ มีปัญหากับสื่อเรื่อยมา เพราะสื่อส่วนใหญ่มักเสนอข่าวแง่ลบของทรัมป์ ประธานาธิบดีทรัมป์ถึงกับชี้ว่าสื่อมวลชนเหมือนพรรคฝ่ายค้าน ในขณะที่สื่อนำเสนอข่าวทุกแง่ทุกมุม ลงลึกรายละเอียด เกิดการโต้เถียงว่าสิ่งที่รัฐบาลทรัมป์พูดนั้น “จริงหรือเท็จ” กลายเป็นสังคมที่ยากจะหาความจริง เพราะรัฐบาลทรัมป์ยืนยันว่าไม่ได้กล่าวเท็จ เพียงแต่อาจมีความจริง 2 ชุด หรือที่เรียกว่ามี alternative fact


ประธานาธิบดีทรัมป์ห้ามคน 7 สัญชาติเข้าประเทศ ชี้แจงว่าไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา เมื่อพิจารณานโยบายหาเสียงและอื่นๆ พบว่านโยบายต่อต้านก่อการร้ายสัมพันธ์กับก่อการร้ายอิสลามหัวรุนแรง (radical Islamic terrorism) อันเป็นนโยบายหลักข้อหนึ่งของพรรครีพับลิกัน และเป็นกระแสเกลียดชังมุสลิมที่รุนแรงขึ้นนับตั้งแต่เกิดเหตุ 9/11 ไม่ว่าจะจงใจหรือไม่สิ่งที่รัฐบาลทรัมป์ทำส่งผล “โหม” กระแสต่อต้านมุสลิม แต่เป้าหมายจริงๆ อาจอยู่ที่ 1-2 ประเทศเท่านั้น


คำว่านาโตล้าสมัยเป็นคำพูดที่บิดเบือน เพราะนาโตปรับปรุงเรื่อยมา แต่ที่ล้าสมัยเป็นเพราะไม่ตรงตามความต้องการของรัฐบาลสหรัฐ เป็นโจทย์ที่นาโตฝั่งยุโรปต้องหาคำตอบว่าควรพึ่งพาสหรัฐหรือควรเป็นอิสระมากขึ้น แต่เนื่องจากสมาชิกปัจจุบันแตกต่างหลากหลาย ไม่อาจให้คำตอบง่ายๆ และไม่ตรงความต้องการสหรัฐเต็มร้อย ที่สุดแล้วนาโตน่าจะคงอยู่ต่อไป เพราะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายมากกว่า

สุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งของ โดนัลด์ ทรัมป์ ระบุชัดว่าประชาธิปไตยอเมริกายังไม่ได้มีเพื่อคนส่วนใหญ่ น่าชื่นชมที่ทรัมป์ให้ความสำคัญกับความเป็นเอกภาพของชาติ ค่านิยมส่งเสริมให้คนมีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่น ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ในขณะที่นโยบายต่างประเทศ นโยบายการค้าระหว่างประเทศจะเป็นที่ถกเถียงต่อไป และถ้ายึดมั่นศาสนาจริงจะไม่ใช้สโลแกน ‘America first’

ทรัมป์กำลังจะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีท่ามกลางเสียงโจมตี เสียงวิพากษ์วิจารณ์ ที่ถูกนำเสนออย่างไม่หยุดหย่อนตั้งแต่ช่วงหาเสียงจนปัจจุบัน หลายคนชี้ว่าเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจะเป็นต้นเหตุพาให้ทรัมป์ถูกเข้ากระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่ง กระแส Impeachment กำลังดังมากขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังไม่ได้สรุปว่าทรัมป์จะทำผิดจริงหรือไม่ ราวกับว่าทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้ว

ประธานาธิบดีโอบามามีคำสั่งลงโทษรัสเซีย หลังได้ข้อสรุปว่ารัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดี ด้วยการขโมยและเปิดเผยอีเมลของพรรคเดโมแครท ประเด็นที่ไม่พยายามเอ่ยถึงคืออีเมลเหล่านั้นชี้ว่าผู้ใหญ่ในพรรคเดโมแครทตั้งใจให้ฮิลลารี คลินตันเป็นตัวแทนพรรค คณะกรรมการพรรคจึงบ่อนทำลายคะแนนคู่แข่งคนอื่นๆ จนฮิลลารีได้เป็นตัวแทนพรรคในที่สุด ส่อว่าโอบามากำลังปกป้องระบอบคณาธิปไตย

ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในปี 2016
เพื่อรองรับการ "เลือกตั้งอเมริกา 2016" หมวดสหรัฐอเมริกา (new) จะปรับให้เข้ากับสถานการณ์ โดยจะรวมผลงานที่เกี่ยวข้องสหรัฐฯ มารวมในหมวดนี้ บทความที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งอเมริกา 2016 จะมารวมอยู่ในหมวดนี้เช่นกัน (ผลงาน 2016)
เนื่องจากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้งด้วย popular vote ต่ำกว่าฮิลลารี คลินตัน ความคิดเปลี่ยนวิธีเลือกตั้งประธานาธิบดีจึงดังขึ้นอีกรอบ แต่การแก้ไขหมายถึงการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งในเชิงกฎหมายกับการเมือง ผลดีจากการปรากฎตัวของทรัมป์คือเกิดกระแสปฏิรูปการเมือง เป็นเรื่องระยะยาวที่ต้องอาศัยคนมีส่วนร่วมจำนวนมาก การศึกษาอย่างเป็นระบบ สะท้อนสภาพสังคมการเมืองอเมริกา

หลายมุมมองกับการชุมนุมประท้วงโดนัลด์ ทรัมป์(Donald Trump)
เหตุที่ชุมนุมประท้วงเพราะคิดว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะสร้างปัญหาสร้างความเสียหาย แต่อะไรคือประเด็นที่ควรหยิบขึ้นมาประท้วงในเมื่อเป็นเพียงว่าที่ประธานาธิบดี นโยบายที่ใช้หาเสียงหลายเรื่องพูดชัดว่าเป็นเพียงข้อเสนอ หลายเรื่องอาจไม่ได้ทำจริงตามที่พูด หรือไม่รุนแรงสุดโต่งขนาดนั้น ประโยชน์ที่ยั่งยืนของการชุมนุมจะเกิดขึ้นจริงหากมีการรวมกลุ่มภาคประชาสังคม เกิดกลุ่มถาวร ร่วมกันตรวจสอบเฝ้าระวังรัฐบาลอย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามหลักวิชาการ

โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) กับอนาคต
จากนี้อีก 4 ปี ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ในวัย 70 จะต้องเผชิญเรื่องยากๆ อีกมากมาย เรื่องที่เขาไม่รู้ ไม่เคยคิดถึงมาก่อน สังคมอเมริกันที่ให้เสรีกับการวิพากษ์วิจารณ์ สังคมโลกที่จะร่วมวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน ประวัติศาสตร์กำลังบันทึกว่าทรัมป์เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความชื่นชมหรือคนที่โลกประณาม คงเป็นงานสำคัญชิ้นสุดท้ายสำหรับนักสู้ที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์

“เชื่อผู้นำ”ยุทธศาสตร์หาเสียงของทรัมป์
ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์หาสียงของทรัมป์ทั้งหมด สรุปรวบยอดว่าคือ ยุทธศาสตร์เชื่อผู้นำ ให้เชื่อว่าเขาคือคนเดียวที่รู้ดีที่สุด สามารถแก้ปัญหาทุกอย่าง การเชื่อผู้นำไม่ใช่เรื่องผิด ธรรมชาติมนุษย์อยู่ในภาวะเชื่อผู้นำเสมอๆ ปัญหาคือสหรัฐฯ อ้างว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลสำคัญที่สุด แต่ทรัมป์หาเสียงด้วยหลักเชื่อผู้นำ กีดกันการตรวจสอบนโยบายที่เขานำเสนอ สวนทางหลักประชาธิปไตย

มนุษย์ทุกคนมีความกลัวไม่มากก็น้อย ผู้สมัครหาเสียงใช้ความเป็นมนุษย์ข้อนี้ สร้างภาพให้เกิดความกลัว เพื่อผลักดันให้ประชาชนไม่เลือกคู่แข่ง หรือผลักดันให้ประชาชนเลือกเขา เช่น เพราะมนุษย์กลัวถูกทำร้ายทำลายจึงต้องเลือกผู้ปกครองคอยปกป้อง ปัญหาคือหลายครั้งผู้สมัครหาเสียงขยาย “ความกลัว” จนรุนแรงเกินจริง ซ้ำร้ายกว่านั้นคือสร้างประเด็นเพื่อให้เกิดความกลัว กลายเป็นสังคมที่เชื่อความเท็จ ตั้งอยู่บนความเท็จ ตรงข้ามกับสิ่งนี้คือชีวิตที่ตั้งอยู่บนความหวัง ทัศนคติแง่บวก ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

ทรัมป์เป็นนักธุรกิจ ไม่ใช่นักการเมือง เมื่อลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจึงมีคำถามว่าจะไปรอดหรือไม่ ผลปรากฏว่าทรัมป์สามารถชนะผู้สมัครคนดังคนอื่นๆ กลายเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันด้วยคะแนนสูงลิ่ว เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หาเสียงของทรัมป์ เป็นที่น่าศึกษา ให้ความเข้าใจทั้งวิธีหาเสียงของเขา และในประเด็นที่กว้างกว่า เช่น มุมมองของชาวอเมริกัน ระบอบประชาธิปไตยอเมริกา

เลือกคนที่แย่น้อยกว่า (the lesser ofthe two evils)
ในการเลือกตั้งบางครั้ง ไม่มีผู้สมัครคนใดที่ดีพอ คู่ควรกับตำแหน่ง แต่ด้วยระบอบกับระบบพยายามให้ประชาชนออกไปเลือกตั้ง หลายคนจึงใช้วิธีเลือกคนที่แย่น้อยกว่า เพื่อสกัดไม่ให้คนที่แย่ที่สุดได้ถืออำนาจบริหารประเทศ แต่แนวคิดเช่นนี้ไม่ช่วยให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองยั่งยืน เป็นเพียงการซื้อเวลา จึงต้องคิดหาระบบเลือกตั้ง/สรรหาให้ได้คนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยไม่ยึดกรอบว่าต้องเป็นการเลือก/สรรหาช่วงเวลาหาเสียงเท่านั้น

เป้าหมายของการหาเสียงคือชนะการเลือกตั้ง ผู้สมัครเลือกตั้งไม่ได้หาเสียงด้วยการแสดงความดีงามของตน นโยบายที่ดีกว่าเท่านั้น บางคนใช้วิธีรณรงค์เลือกตั้งทางลบ สร้างความเสื่อมเสียฝ่ายตรงข้าม หลายเรื่องที่หยิบขึ้นมาพูดไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ทำให้ประชาชนคิดว่าผู้สมัครฝ่ายตรงข้างแย่ ไม่น่าเลือก เมื่อต่างฝ่ายต่างใช้จึงเกิดการสาดโคลนกันไปมา ประชาชนบางส่วนเอือมระอาการเมืองแบบนี้ ในขณะที่อีกหลายคนเห็นว่ามีประโยชน์เช่นกัน

ความจริงที่ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรของทรัมป์(3)
ความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบียเป็นอีกกรณีที่ทรัมป์ชี้ว่าต้องทบทวนความสัมพันธ์เพราะประเทศเสียงบประมาณกลาโหมแก่ซาอุฯ มากเกินไป โดยไม่เอ่ยถึงผลประโยชน์อื่นๆ ที่สหรัฐฯ ได้จากภูมิภาค ลดทอนความสำคัญการนำเข้าน้ำมันจากซาอุฯ ทั้งๆ ที่ทุกรัฐบาลมีนโยบายลดการนำเข้าจากทุกประเทศอยู่แล้ว ฮิลลารี คลินตันใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของทรัมป์ “สร้างความกลัวแก่ชาวอเมริกัน” ด้วยการชี้ว่า “ทรัมป์” คือภัยคุกคามใกล้ตัวที่สุด ร้ายแรงที่สุด

ความจริงที่ซ่อนอยู่ในความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรของทรัมป์(2)
ทรัมป์วิพากษ์นาโตว่าเก่าแก้ล้าสมัย ไม่ช่วยต่อต้านก่อการร้ายเท่าที่ควร สหรัฐต้องแบกรับภาระงบประมาณมากแต่ประโยชน์น้อย จึงคิดพิจารณาถอนตัวออกจากนาโต ความจริงคือรัฐบาลสหรัฐทุกรัฐบาลพยายามปรับปรุงแก้ไขเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว และไม่คิดถอนตัวออกจากนาโต เพราะการสูญเสียพันธมิตรยุโรปเป็นโทษมากกว่า พูดอีกอย่างคือทุกวันนี้ได้ประโยชน์มากอยู่แล้ว

ทรัมป์ชูนโยบายทบทวนความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตร เห็นว่าการคงทหารหลายหมื่นนายในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ไม่ก่อประโยชน์ต่อสหรัฐฯ เท่าที่ควร ต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก ไม่คุ้มค่า ไม่สนใจว่าหากถอนการเป็นพันธมิตรจะส่งผลต่อระบบความมั่นคงภูมิภาคและโลกอย่างไร ความจริงที่ต้องเข้าใจคือประเทศเหล่านี้ช่วยแบ่งเบาภาระงบประมาณมานานแล้ว และยังคงเจรจาต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

เมื่อผู้นำประเทศ ผู้นำการเมืองสหรัฐฯ เอ่ยถึง “American exceptionalism” คือช่วงเวลาที่เชิดชูความพิเศษโดดเด่นของอเมริกาว่าเหนือประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ การแสดงความรักนับถือต่อประเทศตัวเองเป็นเรื่องควรส่งเสริม ในขณะเดียวกัน ฮิลลารีไม่ต่างจากผู้นำคนอื่นๆ ในอดีต (ไมว่าจะพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครท) ที่ระบุชัดว่าประเทศใดเป็นศัตรู หากฮิลลารีได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป คาดเดาได้ว่าอเมริกาจะยังอยู่ในสงครามต่อไป เป็นส่วนหนึ่งของความเป็น “American exceptionalism” ในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

อีเมลที่รั่วออกจากพรรคเป็นหลักฐานชี้ว่าเจ้าหน้าที่พรรคไม่ได้วางตัวเป็นกลาง ช่วยฮิลลารีอย่างเป็นระบบ ผู้ใหญ่ในพรรคตั้งใจให้ฮิลลารีเป็นตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ต้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอีกหลักฐานชี้ว่าพรรคอยู่ใต้อำนาจของผู้ใหญ่ นายทุนไม่กี่กลุ่ม ไม่ใช่พรรคของปวงชนอย่างแท้จริง นับวันการเมืองสหรัฐจะมีสภาพเป็นคณาธิปไตยในคราบประชาธิปไตย

หลักนโยบายของ‘ทรัมป์’ เหมือนหรือแตกต่าง
นโยบายปรับความสัมพันธ์กับรัสเซีย ให้ความสำคัญกับการจัดการผู้ก่อการร้าย IS มากกว่าล้มระบอบประธานาธิบดีอัสซาด เป็นประเด็นที่แตกต่างจากท่าทีเดิมของรีพับลิกัน นโยบายให้พันธมิตรนาโต เกาหลีใต้ช่วยแบกรับค่าใช้จ่าย นโยบายการค้ายุติธรรม (fair trade) เป็นเรื่องเก่าดำเนินมาแล้วหลายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเก่าหรือใหม่ การหาเสียงของโดนัลด์ ทรัมป์มีเป้าหมายสำคัญคือมุ่งทำลายคะแนนของฮิลลารี คลินตัน เป็นส่วนหนึ่งของหลัก “อเมริกาต้องมาก่อน” ของทรัมป์


ทุกวันนี้มีข้อสรุปที่ยอมรับแล้วว่าอิรักไม่มี WMD ซัดดัมไม่ได้สนับสนุนผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะห์ตามที่รัฐบาลแบลร์กับบุชกล่าวอ้าง การทำสงครามล้มระบอบซัดดัมไม่ช่วยเรื่องต่อต้านก่อการร้าย ซ้ำยังกระตุ้นให้เกิดผู้ก่อการร้ายสารพัดกลุ่ม เช่น IS ทิ้งให้อิรักกลายเป็นรัฐล้มเหลว ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นคือคำถามที่ว่าระบอบประชาธิปไตยอังกฤษกับสหรัฐช่วยให้ 2 ประเทศนี้ก่อสงครามที่สมควรทำหรือไม่

ทุกวันนี้พิสูจน์แล้วว่าเมื่อปี 2002 อิรัก อิหร่านและเกาหลีเหนือไม่เป็นภัยคุกคามจวนตัวอย่างที่รัฐบาลบุชกล่าวอ้าง เอกสารรายงานต่างๆ ที่ออกมาจากรัฐบาลสหรัฐกับอังกฤษมีข้อสรุปที่เป็นเท็จ พูดเกินจริง สร้างภาพให้เห็นภัยคุกคามใหญ่เกินตัว ระบอบประชาธิปไตยอังกฤษกับสหรัฐไม่อำนวยการตัดสินใจที่ถูกต้องแก่ผู้นำประเทศ ไม่สามารถยับยั้งการตัดสินใจอย่างไม่สมเหตุสมผลทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด


บทความนี้วิเคราะห์การหาเสียงของทรัมป์ในประเด็น “อิสลามหัวรุนแรง” ที่เชื่อมโยงกับแนวนโยบายของพรรครีพับลิกัน เชื่อมโยงกับแนวคิดการปะทะกันระหว่างอารยธรรมของฮันติงตันที่นับวันจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น (หรือถูกชักนำให้เข้าใจ) ในความขัดแย้งระหว่างศาสนาคริสต์กับอิสลาม ไม่ว่ารัฐบาลสหรัฐจะยอมรับหรือไม่ว่าคือส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์แม่บท

The Clash of Civilizations ของฮันติงตันระบุว่าโลกในอนาคตจะไม่แบ่งแยกด้วยอุดมการณ์การเมืองเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่จะแบ่งแยกด้วยความเชื่อศาสนา มนุษย์จะฆ่าฟันทำลายล้างกันด้วยเหตุนี้ แต่ข้อเท็จจริงคือทุกวันนี้อำนาจรัฐระวังการครอบงำจากศาสนา แนวคิดของฮันติงตันอาจถูกตีความว่าต้องการให้ศาสนามีอิทธิพลเหนืออำนาจรัฐฝ่ายโลก หรือไม่ก็หวังใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแบ่งแยกโลก แบ่งความเป็นมิตรกับศัตรูแบบเหมารวม เป็นอีกครั้งที่อำนาจรัฐแสวงหาประโยชน์จากศาสนา

ความเชื่อศาสนาคริสต์ไม่ใช่ตัวแทนของอารยธรรมตะวันตก เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ระบบการค้าอิงหลักคุณธรรมไม่ใช่ความโลภ ความมั่งคั่งมีเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม ปัจเจกมีเสรีภาพแต่เป็นเสรีภาพภายใต้หลักศาสนา ส่วนอิสลามเน้นรักสันติ ไม่สุดโต่ง มุสลิมทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นผู้รักสันติ ไม่ใช่พวกสุดโต่งหัวรุนแรง ต่อต้าน IS อัลกออิดะห์ แต่ฮันติงตันยังพยายามชักนำให้เกิดสงครามศาสนา


บางครั้งการวิเคราะห์โดยตั้งอยู่บนศาสนาสร้างความสับสนไม่น้อย ยกตัวอย่าง ชายพุทธคนหนึ่งข่มขืนแล้วฆ่าหญิงชาวพุทธ อย่างนี้เป็นประเด็นศาสนาหรือไม่ อเมริกาคือประเทศที่มีสถิติข่มขืนสูงมาก จะอธิบายว่าพวกคริสต์มักข่มขืนพวกคริสต์ด้วยกันเองหรือไม่ ควรอธิบายอย่างนี้หรือไม่ว่าถ้าชายบ้ากามคนนี้ข่มขืนหญิงศาสนาเดียวกันก็เพราะ “ความบ้ากาม” แต่ถ้าข่มขืนหญิงต่างศาสนาจะกลายเป็น “การปะทะระหว่างอารยธรรม”


ผู้ที่เข้าใจมาตรการป้องกันก่อการร้ายของสหรัฐจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าข้อเรียกร้องของโดนัลด์ ทรัมป์ที่ให้ตรวจตราติดตามมุสลิมทุกคนเปล่าประโยชน์ เพราะตามกฎหมายแล้วใครก็ตามที่เข้าข่ายต้องสงสัยจะถูกตรวจสอบติดตามทันทีไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ ข้อเสนอของทรัมป์ช่วยให้เขาได้คะแนนนิยมทิ้งห่างผู้สมัครพรรคเดียวกัน ความจริงคือไม่ว่า “อิสลามหัวรุนแรง” เป็นภัยคุกคามจริงแท้เพียงไร ชาวอเมริกันที่ชื่นชอบพรรครีพับลิกันหลายคนเชื่อเช่นนั้น มุสลิมอเมริกัน 3 ล้านคนจึงกลายเป็นแพะรับบาปเพราะทรัมป์

โดนัลด์ ทรัมป์ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐไม่พลาดโอกาสนำเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ออร์แลนโด้มาสนับสนุนนโยบายกีดกันมุสลิมบางกลุ่มเข้าประเทศ เทคนิคการหาเสียงทรัมป์สรุปสั้นๆ ได้ว่า “เล่นกับความรู้สึก” ของคน โดยขยายความประเด็นนั้นๆ ให้รุนแรงที่สุด (สร้างความรู้สึกให้แรงสุด) โจมตีผู้สมัครคนอื่นว่าผิดหมด (ทำลายแนวทางเลือกอื่นๆ) พร้อมกับเสนอวิธีแก้ไขที่ไม่อาจสมเหตุผลแต่ตอบสนองความรู้สึกของผู้ที่มองแง่ลบต่อมุสลิมอยู่แล้ว


รัฐบาลสหรัฐภายใต้ประธานาธิบดีโอบามารุกคืบเข้ามาพัวพันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นเป็นตอน “ข้อเสนอโครงสร้างเครือความมั่นคงเอเชียแปซิฟิก” เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ตั้งชื่อให้ฟังดูเป็นกลางว่า “ปรับสมดุล” เมื่อวิเคราะห์แล้วคือความต้องการเข้ามาจัดระเบียบภูมิภาคอย่างครอบคลุมทุกด้าน เป็นช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ ทั้งอาเซียน จีนและอีกหลายประเทศต้อง “ปรับสมดุล” เช่นกัน


คำว่าเดินเรือเสรี ฟังดูผิวเผินเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย แต่คำว่าเดินเรือเสรีของรัฐบาลหมายถึงเฉพาะสหรัฐเท่านั้นที่มีความเสรีเป็นพิเศษเหนือประเทศอื่นๆ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เรือจะต้อง “เสรีภายใต้กรอบระเบียบที่วางไว้” ซึ่งเสรีน้อยกว่าของสหรัฐ อีกทั้งรัฐบาลสหรัฐจะใช้ทุกวิธีเพื่อกดดันบังคับให้นานาประเทศต้องอยู่ภายใต้เสรีตามระเบียบดังกล่าว เป็นตัวอย่างความเป็นจักรวรรดินิยม

วิพากษ์รายงานภัยคุกคามต่อสหรัฐ 2016
รายงานของผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองให้ภาพว่าสหรัฐถูกคุกคามด้วยอะไรบ้าง อะไรเป็นภัยคุกคามร้ายแรง ให้ภาพว่าสหรัฐเป็น “ฝ่ายถูกกระทำ” จึงต้องป้องกัน โต้ตอบ โดยปราศจากมุมมองของฝ่ายตรงข้าม เป็นการมองโลกผ่านมุมของตัวเองเท่านั้น และไม่ตรงข้อเท็จจริงทั้งหมด รายงานเช่นนี้เป็นประโยชน์ต่อพลเมืองอเมริกันมากน้อยเพียงใด

ทรัมป์เอาใจอิสราเอล จุดอ่อนประชาธิปไตย
เป็นหลักการที่ถูกต้องถ้าผู้พูดเลือกพูดประเด็นที่ผู้ฟังสนใจ ผู้ฟังจะชอบใจถ้าได้ฟังเรื่องที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อตน แต่การหาเสียงด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นการชี้นำสังคมไปผิดทิศผิดทาง ไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ที่ประกาศตัวอาสาเป็นตัวแทนประชาชนรับใช้ประเทศ กรณีทรัมป์หาเสียงเพื่อเอาใจพวกที่นิยมชมชอบอิสราเอลเป็นกรณีตัวอย่าง เป็นจุดอ่อนประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง


บทความมีทั้งหมด 3 ตอน ตอนแรกอธิบายประวัติศาสตร์ หลักการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ, Electors
อธิบาย Electors, ระบบ ‘winner-take-all’ 
อธิบาย Electors, electoral votes, กรณีตัวอย่าง
--------------------------------------------------------------------

ผลงาน 2015
หลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” (preemption): จากบุชถึงโอบามา
หลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” ที่ประกาศในสมัยประธานาธิบดีบุชนิยามว่าเป็นส่งกองทัพเข้ารุกรานอย่างเปิดเผย เป็นนิยามที่ไม่ครอบคลุม บิดเบือน จึงต้องกำหนดนิยามใหม่ อีกประเด็นที่ไม่ควรละเลยคือความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมประชาธิปไตย การค้าเสรี คำถามที่สำคัญคือ รัฐบาลโอบามาได้ละทิ้งหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” หรือไม่ หรือเป็นเพียงปรับตัวให้เข้ากับบริบท


ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศขึ้นกับผู้นำประเทศเป็นสำคัญ รัสเซียในยุคปูตินกำลังฟื้นตัวตามลำดับ ปูตินเป็นนายกฯ สมัยแรกในปี 1999 และเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกในปี 2000 จากนั้นครองอำนาจมาโดยตลอด หากทุกอย่างราบรื่นท่านน่าจะชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2018 ได้เป็นประธานาธิบดีถึงปี 2024 รัสเซียคงจะเจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอีกมาก ภายใต้มุมมองของรัฐบาลสหรัฐย่อมเห็นว่าเป็นภัยคุกคาม 


เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง พื้นที่ที่เป็นปัญหาในขณะนี้เป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ เท่านั้น เป็นไปได้ว่ารัฐบาลโอบามาเห็นว่าจำต้องให้ความช่วยเหลือกองทัพยูเครนล้อมกรอบฝ่ายต่อต้านต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์บ่อนทำลายรัสเซีย คาดว่าจะต้องดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดัชนีราคาน้ำมันน่าจะเป็นตัวสะท้อนชี้ความขัดแย้งนี้

ผลงาน 2014

การประชุมผู้นำจีน-สหรัฐในปีนี้ จะเป็นอีกครั้งที่ผู้นำจีนประกาศจุดยืนต่อประชาคมโลก ว่าตนต้องการสันติภาพ ต้องการเป็นมิตรกับทุกประเทศ ส่วนรัฐบาลโอบามาไม่ว่าจะพูดกับจีนอย่างไร ยังคงเดินหน้าตามแผนเสริมกำลังรบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กองกำลังอีกส่วนที่กำลังปฏิบัติการโจมตีกองกำลังรัฐอิสลาม (IS/ISIL/ISIS) ก็ยังคงเดินหน้าต่อ เช่นเดียวกับงานจารกรรมประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเทศทั้งหลายต้องระวังที่จะไม่ก้าวข้ามเส้นต้องห้ามของจีน จีนยังต้องการเป็นมิตรในระยะนี้

รองประธานาธิบดีไบเดนชี้ว่าปัญหาวุ่นวายในซีเรียที่ยืดเยื้อกว่า 3 ปีครึ่ง ผู้คนล้มตายกว่า 200,000 คน มาจากพันธมิตรในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่ในอีกมุมหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลโอบามาประกาศนโยบายโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด และยังยืนยันนโยบายจนถึงบัดนี้ นอกจากนี้ยังสนับสนุนฝ่ายต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลโอบามากำลังดำเนินนโยบายเพื่อคนอเมริกันหรือเพื่อใครกันแน่

ในโลกมุสลิมมีผู้เชื่อว่าซุนนีกับชีอะห์มีความขัดแย้ง และในขณะนี้มีผู้พยายามอ้างว่าสงครามในซีเรียกับอิรักคือสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์ โดยเชื่อมโยงว่า IS คือเครื่องมือของซุนนี แต่เมื่อองค์กร ผู้นำจิตวิญญาณอิสลามประกาศชัดว่า IS ไม่ใช่อิสลาม การอ้าง IS เป็นเหตุผลสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์จึงตกไป น่าแปลกใจที่รองประธานาธิบดีไบเดนกลับพยายามดึง IS เข้าไปอยู่ในอิสลาม ยังยืนยันว่า IS อยู่ในกลุ่มซุนนี กำลังทำสงครามตัวแทนซุนนี-ชีอะห์

รองประธานาธิบดีไบเดนอ้างว่ารัฐบาลตุรกี ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ให้เงินและอาวุธกับผู้ก่อการร้าย รวมทั้งกลุ่ม IS แม้ว่าทำเนียบขาวจะชี้แจงว่าท่านไม่ได้ตั้งใจหมายความเช่นนั้นจริง แต่เป็นอีกข้อมูลอีกชิ้นที่ชี้ว่าชาติอาหรับให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย และเกิดคำถามว่าคำพูดของท่านสร้างความกระจ่างหรือสร้างความสับสนกันแน่

ก่อนหน้านี้รัฐบาลโอบามาไม่เห็นด้วยกับการให้อาวุธประสิทธิภาพสูงแก่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ไม่สนับสนุนการจัดตั้งเขตห้ามบิน ชาวอเมริกันต่อต้านการใช้กำลังทางอากาศโจมตีกองทัพอัสซาด แต่บัดนี้ นโยบายต่อซีเรียเหล่านี้กลับกลายเป็นตรงข้าม รัฐบาลโอบามาอาศัยการต่อต้านการก่อการร้าย แนบนโยบายซีเรียที่ชาวอเมริกันเคยต่อต้าน เข้าไปอยู่ในส่วนหนึ่งของแผนต่อต้าน IS 

มีความเป็นไปได้ว่าผู้ก่อการร้ายที่อาจก่อเหตุในอนาคตจะเป็นพลเมืองอเมริกัน และชาวอเมริกันต้องอยู่กับภัยคุกคามนี้อีกนาน เป็นกระแสภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายรอบที่ 2 หลังจากเหตุ 9/11 เมื่อ 13 ปีก่อน หากเกิดเหตุวินาศกรรมครั้งใหญ่ไม่แพ้กรณี 9/11 เมื่อถึงคราวนั้นสังคมอเมริกาคงต้องตัดสินใจอีกครั้ง และต้องคอยดูว่าเมื่อถึงตอนนั้นผู้เป็นประธานาธิบดีจะตื่นตระหนกตกใจรีบเร่งส่งกองทัพเข้าสู่ตะวันออกกลางหรือไม่

ประธานาธิบดีโอบามาชี้ว่าวิธีต่อต้านผู้ก่อการร้าย IS ที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้คือใช้กำลังทางอากาศ สนับสนุนพันธมิตรและหุ้นส่วน เพิ่มการสนับสนุนกองกำลังประเทศอื่นๆ ที่เข้ารบทางภาคพื้นดิน เป็นการแสดงให้โลกเห็นถึงภาวะผู้นำของอเมริกา แต่จนบัดนี้ รัฐบาลโอบามายังไม่ใช้คำว่า “ทำสงครามกับ IS” ในขณะที่ IS แถลงอย่างชัดเจนให้สมาชิกสังหารชาวตะวันตกทุกประเทศที่เข้าร่วมโจมตี IS ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นทหารหรือพลเรือน ดังนั้น โอกาสที่ IS จะก่อความรุนแรงในประเทศอื่นๆ ย่อมมีตลอดเวลา

ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศแล้วว่า ภายในสิ้นปี 2014 สหรัฐจะยุติภารกิจรบ พร้อมกับถอนกำลังส่วนใหญ่ ให้เหลือเพียง 9,800 นาย และจะถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานภายในปี 2016 ทำให้เกิดคำถามว่ารัฐบาลคาบูลในอนาคตจะมีความมั่นคงหรือไม่ สหรัฐประสบความสำเร็จในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายหรือ ในเมื่อฐานที่มั่นตอลีบันยังอยู่ พวกอัลกออิดะห์ขยายตัว กระจายตัวไปหลายประเทศ

เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแสดงสุนทรพจน์ที่เกี่ยวข้องนโยบายต่างประเทศมักจะมีการเอ่ยถึงAmerican exceptionalism หรือหลักการที่อยู่ภายในลัทธิหรือแนวคิดดังกล่าว แม้เป็นคำที่มีการพูดถึงแต่ในทางวิชาการเป็นที่ถกเถียงในความหมาย อีกทั้งพบว่าบ่อยครั้งผู้ใช้แต่ละคนจะใช้ในความหมายที่แตกต่างกันด้วยเหตุผลเฉพาะเจาะจง บทความนี้จะอธิบายความหมาย การนำไปใช้ ผลที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกด้านลบ และข้อวิพากษ์
หมายเหตุ: บทความนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน

หลายประเทศทั่วโลกกำลังอยู่ระหว่างปรึกษาหารือจัดทำร่างข้อมติสมัชชาสหประชาชาติเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของบุคคล หวังป้องกันไม่ให้ทางการสหรัฐฯ ทำการสอดแนมจนเกินความจำเป็น ในอีกด้านหนึ่งเรื่องดำเนินในทิศทางว่าด้วยแรงกดันทางการเมืองระหว่างประเทศทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ จำต้องปรับการทำงานของ NSA เพื่อให้เรื่องราวอันเนื่องจากการเปิดโปงของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนจบลงด้วยดี

ผลงาน 2012-23
ปฏิบัติการเปิดโปง NSA ของเอ็ดเวิร์ดสโนว์เดน
นับวันคนทั่วโลกจะรับทราบข้อมูลการสอดแนมของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐหรือ NSA และกลายเป็นที่วิพากษ์ว่าเหมาะสมหรือไม่ รัฐบาลหลายประเทศไม่อาจทนนิ่งเฉยต้องหากไม่ต่อต้านการสอดแนมก็คือต่อต้านการเปิดโปง เรื่องที่เกิดขึ้นมีข้อคิดหลายแง่มุม เช่น มีความจำเป็นเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนนับล้าน การกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เรื่องของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนยังไม่จบเพียงเท่านี้

จากโอบามาแคร์สู่การเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ
ปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณกลายเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อรัฐบาลโอบามากับพรรคฝ่ายค้านยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อให้ผ่านร่างงบประมาณ ส่งผลให้หน่วยงานราชการบางส่วนต้องปิดทำการชั่วคราว แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือรัฐบาลอเมริกันอาจต้องผิดนัดชำระหนี้หากไม่สามารถปรับเพิ่มเพดานหนี้ก่อนวันที่ 17 ตุลาคม แต่คาดว่าที่สุดแล้วสองฝ่ายจะบรรลุข้อตกลง

นโยบายโจมตีซีเรีย ประเด็นถกเถียงประชาธิปไตยอเมริกา
ข่าวการโจมตีซีเรียทำให้สังคมอเมริกาตื่นตัว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เกิดประเด็นถกเถียงว่ารัฐบาลโอบมาเข้าใจความต้องการของประชาชนหรือไม่ หรือว่าคนอเมริกันต่างหากที่ต้องเข้าใจความเป็นไปของโลกให้มากกว่านี้ หรือว่าแท้ที่จริงแล้วการตัดสินใจของรัฐบาลขึ้นกับหลายปัจจัย คำว่า “เพื่อประชาชน” มีความหมายซับซ้อนกว่าที่คิด

รัฐบาลโอบามาใช้หลักฐานการโจมตีด้วยอาวุธเคมีเพียงครั้งเดียวกับอ้างหลักการว่าทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อโจมตีซีเรีย โดยละทิ้งกระบวนการของสหประชาชาติ กฎเกณฑ์ ระบบความมั่นคงของโลก

จากที่ลังเลใจมาตลอดหนึ่งปี พยายามเลื่อนการตัดสินใจว่าใครเป็นผู้ใช้อาวุธเคมีในซีเรีย เหตุการณ์การใช้อาวุธเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม กลายเป็นข้ออ้าง เป็นจุดเปลี่ยนนโยบายของโอบามาต่อซีเรีย สหรัฐคิดโจมตีกองทัพรัฐบาลอัสซาดด้วยตนเอง ด้วยไม่ฟังคำทัดทานจากหลายประเทศ เหตุผลหลักประการหนึ่งคือต้องการช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

ความก้าวหน้าเทคโนโลยีทำให้ Shale gas กับ tight oil กลายเป็นแหล่งปิโตรเลียมใหม่ของโลก มีผลต่อวงการอุตสาหกรรมน้ำมัน คาดว่าตลาดน้ำมันโลกจะมีผู้ผลิตรายใหม่เกิดขึ้น สหรัฐฯ อาจกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก บทบาทของโอเปกลดลง

จารกรรม สอดแนม สายลับ’ พฤติกรรมอันดาษดื่น
การเปิดเผยเรื่องราวของนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เป็นอีกครั้งที่ทำให้สังคมโลกตระหนักว่ารัฐได้ดำเนินการจารกรรม สอดแนม สายลับอย่างต่อเนื่อง และชี้ว่าสื่อโซเชียลมีเดีย เครือข่ายสังคมออนไลน์คือช่องทางการได้ข้อมูลตามการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี พัฒนาการของสังคมโลก

ข่าวการใช้อาวุธเคมีซารินในซีเรียกลายเป็นเรื่องจริง แต่ยังสับสนว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้ ที่ผ่านมาซารินทำให้ผู้คนเสียชีวิตบาดเจ็บไม่มาก แต่กลับมีผลทางการเมืองระหว่างประเทศอย่างมากทั้งต่อซีเรียและชาติมหาอำนาจอย่างอเมริกา

แม้การเยือนอิสราเอลของประธานาธิบดีบารัก โอบามาจะไม่มีนโยบายใหม่แต่ประการใด ในอีกแง่มุมหนึ่งคือการตอกย้ำนโยบายเดิมว่ายังต้องการแก้ไขปัญหาโครงการนิวเคลียร์อิหร่านด้วยวิถีทางการทูตก่อน และจะไม่ยอมให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองเป็นอันขาด เป็นโอกาสที่สหรัฐกับอิสราเอลร่วมส่งสาสน์เตือนอิหร่านอีกครั้ง

ความร่วมมือสหรัฐกับจีนต้านภัยนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ
เวลากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนด้านความมั่นคงมักจะเป็นความขัดแย้งเสียมากกว่าแต่กรณีเกาหลีเหนือเป็นข้อยกเว้น สองมหาอำนาจสามารถร่วมมือกันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐบาลบารัก โอบามาเน้นแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางทูตไม่หวังยกระดับความขัดแย้ง


โทนเสียงที่เปลี่ยนไปของบารัก โอบามา
ตลอดคำแถลงนโยบายประธานาธิบดีโอบามากล่าวให้ความสำคัญต่อพรรคคู่แข่งคือพรรครีพับลิกันเป็นระยะๆ เรียกร้องความร่วมมือจากพรรคฝ่ายค้านหลายครั้งหลายหน

การเมืองในประเทศ ขวากหนามโอบามาขวากหนามอเมริกา
อุปสรรคสำคัญในการบริหารประเทศสมัยที่สองของประธานาธิบดีบารัก โอบามา คือปัญหาการเมืองภายในสหรัฐฯ ความแตกแยกระหว่างพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกัน

ประเด็น Fiscal Cliff จึงไม่ใช่เพียงเรื่องจะควรขึ้นภาษีคนมีฐานะดี ปรับลดงบประมาณสวัสดิการหรือขึ้นเพดานเงินกู้ แต่รวมถึงหลักนโยบายเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน การขับเคี่ยวทางการเมืองที่พรรครีพับลิกันจะไม่อ่อนข้อให้

ความสำเร็จของสหรัฐฯ ในการพัฒนา shale gas กับ shale oil จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมน้ำมันโลก ต่อวงการน้ำมันโลกอย่างแน่นอน 

มีการวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่าเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาหวังจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก คือเพื่อสกัดกั้น ปิดล้อม อิทธิพลของจีนต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและต่อโลก

บทบาทของสหรัฐอเมริกาต่อการปฏิรูปทางการเมืองอียิปต์
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการโค่นล้มระบอบของประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค มีรัฐบาลอเมริกันเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ช่วยให้ประเทศอียิปต์ได้รัฐบาลใหม่ นำโดยประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ประธานาธิบดีโอบามากล่าวกับประธานาธิบดีมอร์ซี ว่าสหรัฐสนับสนุนประชาชนอียิปต์และการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิของประชาชนอียิปต์ทุกคน

Fiscal Cliff เป็นเพียงอาการแสดงออกอย่างหนึ่งของปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนั้นเมื่อพูดถึงประเด็นนี้จึงหมายถึงการพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจ

ประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้ครองตำแหน่งต่ออีกสมัย ไม่ใช่ประธานาธิบดีมือใหม่ เป็นผู้นำประเทศที่มีฐานะเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลก แต่ใช่ว่าจะสามารถบันดาลทุกเรื่องทุกอย่างให้เป็นไปตามความประสงค์

นายรอมนีย์อาจชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนน popular votes ที่ต่ำกว่า เพราะท้ายที่สุดผู้ชนะการเลือกตั้งจะตัดสินจากคะแนน electoral votes เท่านั้น

นายรอมนีย์ก็เชื่อเช่นนั้น ครั้งหนึ่งถึงกับกล่าวว่าถ้าเขาชนะการเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤศจิกายน ความรู้สึกแง่บวกต่ออนาคตประเทศจะเกิดขึ้นทันที เงินทุนจะไหลกลับเข้ามา เศรษฐกิจจะถูกกระตุ้น ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย

เหลือเวลาอีกสัปดาห์เศษก่อนวันเลือกตั้ง ประธานาธิบดีบารัก โอบามาชูประเด็นแก้ไขปัญหาหนี้สินประเทศเป็นประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในการหาเสียง

และมาถึงวันนี้ หลังจากทำหน้าที่มาสี่ปี เดินทางมาแล้วเกือบ ล้านไมล์ เยี่ยมเยือน 112 ประเทศ ทำให้ข้าพเจ้ายิ่งมีความเชื่อมั่นต่อประเทศของเรา…”

ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาล้วนเป็นประเด็นเด่นที่อยู่ในสื่อกระแสหลักของอเมริกามาอย่างต่อเนื่อง แต่ละประเด็นมีจุดเด่นในตัว

รมต.ฮิลลารี คลินตัน กล่าวแสดงความรับผิดชอบว่า ดิฉันเป็นผู้รับผิดชอบ ดิฉันบริหารกระทรวงการต่างประเทศที่มีเจ้าหน้าที่กว่า หมื่นคนในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก 275 แห่ง

ต่างฝ่ายต่างหยิบยกจุดที่อีกฝ่ายจะเสียคะแนนขึ้นมาพูด และต่างฝ่ายได้เตรียมคำตอบแก้ไว้ก่อนแล้ว

หนึ่งในเรื่องสำคัญที่สังคมอเมริกันกำลังให้ความสนใจคือเรื่องการปรับขึ้นภาษีพร้อมกับลดรายจ่าย ที่เรียกว่า ‘Fiscal Cliff’

การอภิปรายรอบนี้เป็นรอบแรก คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นการหยั่งเชิงอีกฝ่ายว่าจะหยิบยกประเด็นใด พูดอย่างไร เพื่อแก้หรือตอบโต้ในรอบต่อไป

ต้องไม่ลืมว่า ณ ขณะนี้สหรัฐฯ กำลังทำสงครามกับอัลกออิดะห์ ประเทศอัฟกานิสถาน ชายแดนปากีสถานยังเป็นสมรภูมิรบอยู่

ประธานาธิบดีโอบามาตระหนักว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะสถิติการเลือกตั้งประธานาธิบดีชี้ว่าถ้าอัตราว่างงานเกินร้อยละ 7 ผู้ที่เป็นปธน.อยู่แล้วจะมีโอกาสแพ้การเลือกตั้งถึงร้อยละ 75 

สำหรับบางคนมีความหมายมากเป็นพิเศษ แต่ไม่น่าจะมีความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) เท่าไรนัก

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกครั้งนักวิชาการ นักวิเคราะห์ สื่อมวลชนไทยและทั่วโลกจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะนโยบายสหรัฐฯ (บางอย่าง) มีผลต่อกระทบกว้างขวางระดับโลก 

ถ้าจะออกมาตรการกระตุ้นก็ด้วยวัตถุประสงค์เพิ่มการจ้างงาน และเนื้อหาของมาตรการฯ ไม่ว่าจะเรียก QE3 หรือไม่น่าจะแตกต่างจาก QE หรือมาตรการที่ผ่านมา

โฆษกทำเนียบขาวจะออกมาให้ข่าวว่าเป็นนโยบายของประธานาธิบดีโอบามา ที่การระบายน้ำมันจากคลังสำรองยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve) เป็นหนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหาน้ำมันแพง

ภัยแล้งสหรัฐฯ ไม่ใช่ปัจจัยลบเพียงข้อเดียวที่กระทบต่อราคาอาหารโลก แต่เป็นตัวจุดชนวนให้ทั่วโลกต้องสนใจกับสถานการณ์ราคาอาหารและสินค้าที่เกี่ยวข้องว่ากำลังจะไปทิศทางใด

เป็นไปได้ไหมว่า QE3 คือสัญญาณชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะขับเคี่ยวระหว่างการฟื้นตัวกับการถดถอยรอบใหม่ หรือกำลังตอกย้ำว่าสหรัฐฯยังไม่ได้ผ่านพ้นวิกฤติ 2008

รัฐบาลโอบามาที่มีนโยบายชัดเรื่องหวนคืนเอเชีย การเสริมสร้างกำลังทหารในภูมิภาคนี้ และนโยบายถือจีนเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งที่ดำเนินมาหลายปีแล้ว

การที่สหรัฐฯสามารถผลิตน้ำมันดิบใช้เองมากขึ้นในอนาคต ไม่ได้หมายความว่าคนอเมริกันจะได้ใช้น้ำมันราคาถูกเสมอไป เหตุเพราะภายใต้กลไกการค้าเสรี ราคาน้ำมันดิบเป็นราคาที่เชื่อมโยงกันทั้งโลก
--------------

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุดมการณ์ทางการเมือง (1) นิยาม อุดมการณ์ทางการเมือง

อุดมการณ์ทางการเมือง (2) อุดมการณ์เสรีนิยม

กำเนิด “รัฐสมัยใหม่” ตัวแสดงเอกของโลก