บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2016

กองทัพตุรกีในดินแดนซีเรีย

รูปภาพ
เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมากองทัพตุรกีพร้อมรถถังและกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย Free Syrian Army (FSA) ราว 1,500 นายเข้าทำสงครามในดินแดนซีเรีย ภายใต้ปฏิบัติการชื่อ “ Operation Euphrates Shield ” ประธานาธิบดีเรเจพ ทายยิพ แอร์โดกาน ( Recep Tayyip Erdogan ) กล่าวว่าเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายทั้ง IS / ISIL / ISIS กับเคิร์ดซีเรีย (รัฐบาลตุรกีถือว่าเคิร์ดซีเรีย YPG เป็นผู้ก่อการร้าย)             รัฐบาลโอบามาเห็นชอบด้วย ให้ความคุ้มครองทางอากาศ มีส่วนในการโจมตี IS             รัฐบาลซีเรียประณามตุรกีละเมิดอธิปไตย ย้ำว่าปฏิบัติการทางทหารในดินแดนซีเรียต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลซีเรียก่อน             เพียง 2 วันกองกำลังตุรกีสามารถยึดเมือง Jarablus (อยู่ใกล้พรมแดนและติดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยูเฟรติส) และพื้นที่โดยรอบ ไม่มีข่าวปะทะรุนแรงไม่ว่ากับ IS หรือเคิร์ด ผลประโยชน์และเหตุผลของตุรกี : รัฐบาลตุรกีประก...

จุดอ่อนของฮันติงตันใน The Clash of Civilizations (3)

รูปภาพ
The Clash of Civilizations ระบุว่าโลกในอนาคตจะไม่แบ่งแยกด้วยอุดมการณ์การเมืองเศรษฐกิจ แต่จะแบ่งแยกด้วยวัฒนธรรม (culture) ซึ่งมุ่งให้ความสำคัญความเชื่อศาสนา (วัฒนธรรมประกอบด้วยหลายอย่างแต่ศาสนาเท่านั้นที่มีอิทธิพลสูงสุด ศาสนาเป็นตัวแบ่งแยกอารยธรรม) ความความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้             อย่างไรก็ตาม ประเทศที่นับถือศาสนาเดียวกันกับประเทศต่างศาสนาแต่มีผลประโยชน์ร่วมจะจับขั้วต่อต้านขั้วตรงข้าม ตัวอย่างที่พูดถึงคือขั้วจีน-อิสลาม (Sino-Islamic) กับขั้วยิว-คริสเตียนตะวันตก ( Judeo-Christian West)             ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับศาสนามีอยู่จริง บางคนอาจสรุปว่าชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่สัมพันธ์กับนิกายคาทอลิก ชาวอเมริกันสัมพันธ์กับโปรเตสแตนท์ อาหรับเป็นซุนนี อิหร่านเป็นชีอะห์ แม้กระทั่งมุสลิมยุโรปจำนวนมากยังมองว่าตัวเองเป็นมุสลิมมากกว่าพลเมืองสัญชาติยุโรป ความผิดพลาดร้ายแรงที่สุดของฮันติงตันคือความคิดที่ว่าความแตกต่างทางความเชื่อศาสนา/อารยธรร...

จุดอ่อนของฮันติงตันใน The Clash of Civilizations (2)

รูปภาพ
แม้เนื้อหาใน The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order มีจุดที่ถูกวิพากษ์มากมาย นักวิชาการจำนวนไม่น้อยยังเห็นว่าสถานการณ์โลกปัจจุบัน โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างมุสลิมกับตะวันตกเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับงานเขียนของฮันติงตัน             ข่าวก่อการร้าย ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางค่อนไปทางสอดคล้องแนวคิดการปะทะทางอารยธรรมของฮันติงตันไม่มากก็น้อย ข้อโต้แย้งคือ “อารยธรรมตะวันตกเป็นตัวแทนของความเชื่อศาสนาคริสต์หรือ” ย้อนหลังตั้งแต่แรกก่อตั้งประเทศ ผู้ก่อตั้งต้องการให้ประเทศเป็นอย่างไร จากนั้นได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร ถ้ายกตัวอย่างสหรัฐ ชาวอเมริกันในศตวรรษที่ 18 บอกว่าตัวเองนับถือคริสต์ แต่นิยมระบอบประชาธิปไตย ลัทธิเสรีนิยม เหล่านี้ขัดแย้งกับหลักศาสนาอย่างสิ้นเชิง ที่ถูกต้องคือ รากฐานของสหรัฐตั้งแต่แรกเริ่มประกอบด้วยหลากหลายแนวคิด ตั้งแต่อารยธรรมกรีกโบราณ ประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ และอื่นๆ ตามที่ปรากฏในตำรา ศาสนาคริสต์มีส่วนด้วย แต่ได้ประยุกต์ดัดแปลงจนหลายอย่างผิดเพี้ยนจากหลักศาสนาแล้ว เพียงเท่านี้ก็...

จุดอ่อนของฮันติงตันใน The Clash of Civilizations (1)

รูปภาพ
ในแวดวงวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ น้อยคนที่ไม่รู้จักหนังสือ “การปะทะกันระหว่างอารยธรรมและการจัดระเบียบโลกใหม่” ( The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order ) ของเซมวล พี. ฮันติงตัน (Samuel P. Huntington)             ในช่วงนั้นมีคำถามสำคัญว่าระเบียบโลกหลังสิ้นสุดสงครามเย็นจะเป็นอย่างไร สหรัฐควรอย่างตัวอย่างไร ฮันติงตันชี้ว่าโลกในอนาคตจะขัดแย้งรุนแรงด้วยเหตุผลความแตกต่างทางอารยธรรม เสนอว่ารัฐบาลสหรัฐควรมีบทความสำคัญต่อระเบียบโลกใหม่ ฮันติงตันเริ่มปะติดปะต่อร่างแนวคิดและนำเสนอครั้งแรกในการสอน Bradley Lecture ที่ American Enterprise Institute เมื่อตุลาคม 1992 ต่อมาตีพิมพ์เป็นบทความใน Foreign Affairs ฉบับ Summer 1993 ปรากฏว่ากลายเป็นประเด็นวิพากษ์อย่างกว้างขวางมากที่สุดของวารสาร Foreign Affairs นับตั้งแต่วารสารเริ่มตีพิมพ์เมื่อทศวรรษ 1940 หลังการเผยแพร่ดังกล่าว ฮันติงตันต้องรับมือกับการวิพากษ์ทั้งสนับสนุนและไม่เห็นด้วย จึงใช้เวลาอีกราว 3 ปีเพื่อแต่งเป็นหนังสือ ประกอบด้วยข้อมูลที่ค้นคว้าเพิ่มเติม ข้อมูลจากก...

พรรคเดโมแครทในอุ้งมือของชนชั้นอำนาจ

รูปภาพ
ในงานประชุมใหญ่พรรคเดโมแครท กลุ่มผู้สนับสนุนฮิลลารี คลันตัน กับเบอร์นีย์ แซนเดอร์ส ต่างส่งเสียงโห่ฮาอีกฝ่าย เนื่องด้วย อีเมลที่รั่วออกจากพรรคเป็นหลักฐานชี้ว่าเจ้าหน้าที่พรรคแทนที่จะวางตัวเป็นกลาง กลับช่วยฮิลลารีอย่างเป็นระบบ ชี้ว่าผู้ใหญ่ในพรรคตั้งใจให้ฮิลลารีเป็นตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ต้น จึงบ่อนทำลายคะแนนนิยมของแซนเดอร์สจนพ่ายแพ้ฮิลลารีในที่สุด ข้อมูลจากอีเมลชี้ว่า Debbie Wasserman Schultz ประธานคณะกรรมการเข้าข้างฮิลลารี เจ้าตัวประกาศลาออก คณะกรรมการใหญ่พรรค ( Democratic National Committee) ออกแถลงการณ์ขอโทษแซนเดอร์สและผู้สนับสนุน แต่ย้ำว่าคณะกรรมการเป็นกลางไม่ได้เข้าข้างผู้สมัครคนใด ทรัมป์ฉวยโอกาสนี้ส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า “พวกเดโมแครทกำลังพัง อีเมล (เป็นหลักฐาน) ชี้ว่าระบบขี้ฉ้อยังคงอยู่” ทีมงานฮิลลารีกับเจ้าหน้าที่พรรคเห็นว่าน่าจะเป็นฝีมือแฮกเกอร์รัสเซีย จงใจปล่อยอีเมลในช่วงที่ส่งผลต่อฮิลลารีมากที่สุด พยายามเบี่ยงประเด็นว่าต่างชาติเข้าแทรกหวังบ่อนทำลายประเทศ แซนเดอร์สพยายามแก้สถานการณ์ชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มผู้สนับสนุนตน ประกาศขอให้สนับสนุนฮิลลาร...