บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2016

‘อิสลามหัวรุนแรง’ ของทรัมป์: “It's not personal, ...”

รูปภาพ
โดนัลด์ ทรัมป์ไม่ได้ “เหมารวม” ว่ามุสลิมทุกคนคือผู้ก่อการร้าย ศาสนาอิสลามสนับสนุนการก่อการร้าย แต่ ท่าทีและนโยบายของทรัมป์ “ส่อเหมารวมว่ามุสลิมทุกคนคือผู้ต้องสงสัย” เช่น เสนอนโยบายตรวจสอบติดตามมุสลิมทุกคน ตรวจตรามัสยิดทุกแห่ง ทั้งๆ ที่มุสลิมมัสยิดส่วนใหญ่ต่อต้านผู้ก่อการร้าย IS/ISIL/ISIS ผู้ที่สนับสนุน IS เป็นคนส่วนน้อยเท่านั้น           ถ้าทรัมป์เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างผู้ก่อการร้าย IS กับมุสลิมทั่วไป ทรัมป์จะไม่เสนอนโยบายตรวจตรามัสยิดทุกแห่ง จุดอ่อนสำคัญที่สุดคือใครก็เป็นผู้ก่อการร้ายได้ไม่จำต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น ความขัดแย้งระหว่างอิสลามกับคริสต์ :             ไม่ว่าประวัติศาสตร์ข้ อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ปัจจุบันมุสลิมกับผู้นับถือคริสต์จำนวนไม่น้อยเชื่อว่ามีความขัดแย้งระหว่าง 2 ศาสนามานานหลายร้อยปีแล้ว           เรื่องที่หลายคนจะหยิบยกขึ้นมาพูดคือสงครามครูเสดที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 900 ปีก่อน เรื่องดังกล่าวยังถูกนำมาเอ่ยถ...

การสังหารหมู่ที่ออร์แลนโด้กับเทคนิคหาเสียงของทรัมป์

รูปภาพ
เมื่อวันอาทิตย์ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา เกิดเหตุมือปืนกราดยิงประชาชน เป็นเหตุให้ 49 คนเสียชีวิต บาดเจ็บจำนวนมาก ผู้ลงมือคือนายโอมาร์ มาทีน (Omar Mateen) อายุ 29 ปี เป็นพลเมืองอเมริกัน พ่อแม่เป็นผู้อพยพจากอัฟกานิสถาน นายมาร์ทีนเป็นมุสลิม ทำงานเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยกว่า 10 ปีแล้ว ครอบครองปืนอย่างถูกกฎหมาย นายมาทีนประกาศตนจงรักภักดีต่อนายอบู บาการ์ อัล-บักดาดี (Abu Bakr al-Baghdadi) ผู้นำกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ท่าทีของทรัมป์ :             ไม่นานหลังเกิดเหตุโดนัลด์ ทรัมป์ใช้เหตุการณ์นี้กล่าวสนับสนุนนโยบายไม่รับมุสลิมอพยพเข้าประเทศ ชี้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือเรื่องที่เขาเตือนล่วงหน้าแล้ว แม้นายมาทีนเป็นพลเมืองอเมริกันโดยกำเนิด “แต่พ่อแม่เขาไม่ใช่และแนวคิดของเขาก็ไม่ได้เกิดที่นี่”             ในระยะหลังทรัมป์จำกัดกรอบไม่รับมุสลิมอพยพกับมุสลิมจากบางประเทศเข้าเมือง โดยเฉพาะประเทศที่มีประวัติก่อการร้ายต่อสหรัฐ ชี้ว่าคนเหล่านี้คือต้นเหตุของการก่อการร้ายในประเทศ ถึงกับเชื่อว่...

ข้อเสนอโครงสร้างเครือความมั่นคงเอเชียแปซิฟิกของสหรัฐ

รูปภาพ
ในการประชุมแชงกรี-ลา (Shangri-La Dialogue) ปีล่าสุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายน แอช คาร์เตอร์ (Ash Carter) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความมั่นคงของเอเชียแปซิฟิกหลายเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ บางเรื่องที่นำเสนอเป็นเรื่องใหม่ บางเรื่องเป็นของเดิม พอสรุปสาระสำคัญทั้งจากข้อมูลในอดีตและล่าสุด ดังนี้ ยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย :             แอช คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐกล่าวว่านโยบายปรับสมดุลในช่วงต่อไปไม่ได้หมายถึงเฉพาะเรื่องความมั่นคงเท่านั้น สหรัฐจะพัวพันด้านเศรษฐกิจ การทูตให้มากขึ้น TPP จะเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างเข้มข้น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐจะเดินทางมาประเทศในภูมิภาคถี่กว่าเดิม อันที่จริงแล้ว ยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย (Pivot to Asia) หรือยุทธศาสตร์ปรับสมดุลเอเชียแปซิฟิก ( rebalanced   strategy   in   Asia-Pacific ) คือการที่รัฐบาลสหรัฐปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ กำลังทหารตามบริบทที่เปลี่ยนไป ให้ความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น ยุทธศาสต...

ความสัมพันธ์เวียดนาม-สหรัฐกับนโยบายต้านจีน

รูปภาพ
การยึดถือว่าระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคามร้ายแรง ทำให้รัฐบาลสหรัฐต่อต้านคอมมิวนิสต์ และชักนำให้หลายประเทศทั่วโลกเข้าสู่ความขัดแย้งดังกล่าว รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องเลือกข้าง หน่วยลับของสหรัฐมีส่วนโค่นล้มรัฐบาลหลายประเทศที่เป็นมิตรกับสหภาพโซเวียต แล้วตั้งรัฐบาลใหม่ที่เป็นมิตรกับสหรัฐแทน แม้ว่ารัฐบาลใหม่จะเป็นอำนาจนิยมเผด็จการหรือไม่ก็ตาม ความเป็นปรปักษ์ดังกล่าวครอบงำความสัมพันธ์ทางการเมืองเศรษฐกิจโลก กระทบต่อสังคมโลกอย่างกว้างขวางซึมลึกต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตหลายพันล้านคน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็นในครั้งนั้นอย่างเข้มข้น เป็นที่มาของการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเมื่อ 1967 รัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ โน้มเอียงเข้าข้างทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ ทุกวันนี้หลายคนพยายามนำคำว่าสงครามเย็น ( Cold War) กลับมาใช้อย่างผิดๆ ชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐกำลังเปิดฉากทำสงครามเย็นกับขั้วจีนอีกครั้ง เหตุที่ไม่ควรใช้คำว่าสงครามเย็นเพราะความขัดแย้งระ...