บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2016

ความสัมพันธ์เวียดนาม-สหรัฐ ในบริบทโลกยุคโลกาภิวัตน์

รูปภาพ
ตลอดกว่า 20 ปีนับจากปรับความสัมพันธ์เมื่อกรกฎาคม 1995 ความสัมพันธ์ทวิภาคีดีขึ้นตามลำดับ ประธานาธิบดีสหรัฐเดินทางมาเยือนเวียดนามแล้ว 3 คน ท่านแรกคือบิล คลินตันเมื่อปี 2000 ท่านที่ 2 คือ จอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุชเมื่อปี 2006 และประธานาธิบดีบารัก โอบามาเป็นคนที่ 3 วิสัยทัศน์ร่วมสหรัฐ-เวียดนาม 2015 :             ย้อนหลังเมื่อกรกฎาคมปีที่แล้ว (2015) รัฐบาลสหรัฐกับเวียดนามประกาศวิสัยทัศน์ร่วม (United States–Vietnam Joint Vision Statement) สรุปสาระสำคัญว่านับจากสหรัฐกับเวียดนามยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนรอบด้าน ( United States–Vietnam Comprehensive Partnership) ความสัมพันธ์ทวิภาคีดีขึ้นทุกด้าน รวมถึงการที่สหรัฐคลายมาตรการคว่ำบาตรซื้อขายอาวุธ และได้ร่วมลงนามใน Joint Vision Statement on Defense Relations             รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศต้องการลงลึกในความสัมพันธ์รอบด้านโดยยึดกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศและระบอบการเมือง เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระต่อกัน เคารพอธิปไตย...

ความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซียกับการประชุมสุดยอดครั้งที่ 3

รูปภาพ
การเจรจาอาเซียน-รัสเซีย ( Dialogue ASEAN–Russia) เริ่มต้นจากเมื่อกรกฎาคม 1991 รัฐบาลมาเลเซียเชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ( ASEAN Ministerial Meeting: AMM) ในฐานะแขกรับเชิญ และ เริ่มนับรัสเซียเป็นคู่เจรจาเต็มตัวเมื่อรัสเซียเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ( ASEAN Ministerial Meeting: AMM ) เมื่อกรกฎาคม 1996 ที่อินโดนีเซีย 2004 กลายเป็นปีสำคัญเพราะรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia) เป็นการแสดงออกถึงความต้องการเป็นมิตรกับอาเซียน             ในด้านเศรษฐกิจ มีข้อตกลงให้สิทธิพิเศษเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-รัสเซีย :             การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งแรกจัดที่มาเลเซียเมื่อธันวาคม 2005 ในครั้งนั้นประธานาธิบดีปูตินได้เข้าร่วมประชุม หารือหลายด้าน รวมทั้งประเด็นร้อนอย่างโครงการนิวเคลียร์เกาหลีเห...

12 ปีประชาธิปไตยอิรัก รัฐบาลของใคร เพื่อใคร

รูปภาพ
นับจากเดือนเมษายนเป็นต้น การชุมนุมในกรุงแบกแดดกลายเป็นข่าวต่อเนื่อง การชุมนุมรอบนี้เริ่มต้นจากการประชุมสภาเพื่อรับรองการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของนายกฯ อาบาดี ผู้ชุมนุมต้องการยกเลิกระบบโควตาที่ใช้มาตั้งแต่อิรักได้อธิปไตยคืนจากสหรัฐ ที่ใช้สัดส่วนเชื้อชาติและนิกายศาสนา มุกตาดา อัล-ซาดาร์ (Moqtada al-Sadr) นักบวชผู้นำชีอะห์กลุ่มหนึ่ง ผู้มีบทบาทสำคัญในการชุมนุมไม่เห็นด้วยกับรายชื่อครม.ชุดใหม่ (บทความนี้เป็นตอนที่ 2 ของ “12 ปีบนเส้นทางทดลองประชาธิปไตยในอิรัก”)             ซาดาร์กล่าวต่อประชาชนว่าไม่มีรัฐมนตรีคนใดที่เป็นตัวแทนของพวกเขา และจะไม่ยอมรับระบบโควตาอันเป็นตัวถ่วงทำให้การปฏิรูปไม่คืบหน้า ซ้ำเติมการทุจริตคอร์รัปชัน การปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องของการสืบทอดอำนาจเท่านั้น ไม่ช่วยแก้ปัญหาใดๆ การทุจริตคอร์รัปชันในหมู่นักการเมืองยังดำเนินต่อไป จะไม่เลิกชุมนุมประท้วงจนกว่าจะได้คณะรัฐมนตรีที่จริงจังกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ยุติระบบอุปถัมภ์             ปัญหาคอร์รัปชัน สาธาร...

12 ปีอิรัก ความแตกแยกและสงครามกลางเมือง

รูปภาพ
หลังประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู.บุชประกาศชัยชนะต่อสงครามโค่นล้มระบอบซัดดัม ฮุสเซน ได้ประกาศเป้าหมายต่ออิรัก 3 ประการ ได้แก่ ทำลายผู้ก่อการร้าย แสวงหาการสนับสนุนจากนานาประเทศเพื่อสร้างอิรักที่มีเสรีภาพและถ่ายโอนอำนาจปกครองแก่ชาวอิรักโดยเร็วที่สุด 28 มิถุนายน 2004 รัฐบาลสหรัฐส่งมอบอำนาจการบริหารประเทศแก่ตัวแทนฝ่ายอิรัก เกิดสภาปกครองอิรัก (Iraqi Governing Council) ทำหน้าที่บริหารประเทศชั่วคราวและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่             เป็นเวลา 12 ปีนับจากถ่ายโอนอธิปไตยคืนแก่อิรัก พบว่าอิรักในวันนี้ยังห่างไกลจากเป้าหมายสร้างอิรักของรัฐบาลบุช ทั้งยังถดถอยกว่าเดิมในหลายด้าน (บทความนี้เป็นตอนแรกของ “12 ปีบนเส้นทางทดลองประชาธิปไตยในอิรัก”) เคิร์ดแยกตัว :             ความคิดที่ชาวเคิร์ดจะแยกตัวออกจากประเทศเป็นเรื่องเก่าตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ตลอดเวลาร่วมร้อยปีเกิดสงครามน้อยใหญ่หลายครั้งระหว่างพวกเคิร์ดกับรัฐบาลแบกแดด         ...

นโยบายเดินเรือเสรี นโยบายจักรวรรดินิยมสหรัฐ

รูปภาพ
เอกสารกระทรวงกลาโหมบรรยายว่านับจากสถาปนาประเทศ สหรัฐอเมริกาตอกย้ำความสำคัญของการเดินเรือเสรีว่าเป็นผลประโยชน์สำคัญยิ่งยวด ( vital national interest) และใช้อำนาจทางทหารเพื่อปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติดังกล่าว             ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ( Woodrow Wilson) กล่าวว่า เหตุผลหนึ่งที่เข้าทำสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เพื่อรักษา “การเดินเรือเสรีในทะเลต่างๆ อย่างสมบูรณ์” เช่นเดียวกับประธานาธิบดีแฟรงคลิน รูสเวลท์ ( Franklin Roosevelt) ประกาศหลังเข้าสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่า กองทัพเรือและกองทัพอากาศมีหน้าที่ต้องรักษานโยบายการเดินเรือเสรีของอเมริกา” ตลอดประวัติศาสตร์พิสูจน์ว่าผลประโยชน์แห่งชาติสหรัฐขึ้นกับนโยบายดังกล่าว             นโยบาย “ U.S. Oceans Policy ” ที่เริ่มใช้เมื่อ 1983 สหรัฐจะใช้สิทธิ์และอ้างสิทธิเสรีภาพ ใช้ประโยชน์จากทะเลทั่วโลกบนหลักดุลแห่งผลประโยชน์ ( balance of interests) ในขณะที่เห็นว่าประเทศอื่นๆ ควรยึดสิทธิ์การเดินเรือภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค...