บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2016

รัสเซียทำสงครามปราบ IS ในซีเรียเพื่อใคร (1)

รูปภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลปูตินกับรัฐบาลอัสซาด :  ก่อนหน้าจะกลายเป็น IS/ISIL/ISIS รากฐานของกลุ่มเคยเป็นส่วนหนึ่งของอัลกออิดะห์มาก่อน จึงมีภาพลักษณ์ในทางลบตั้งแต่ต้น ถูกตีตราว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เมื่อความขัดแย้งในซีเรียบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมือง รัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาด (Bashar al-Assad) เอ่ยถึงการปรากฏตัวของกองกำลังต่างชาติสารพัดกลุ่ม ISIL/ISIS คือหนึ่งในชื่อที่ถูกเอ่ยถึงอยู่เสมอ เพราะความมีประสิทธิภาพของกลุ่มเหนือกลุ่มอื่นๆ สามารถยึดพื้นที่หลายส่วนอย่างรวดเร็ว มีข่าวว่ากลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มกองกำลังติดอาวุธต่างชาติหลายกลุ่มได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาลต่างชาติ ในยามสถานการณ์คับขัน ความมั่นคงของชาติวิกฤต รัฐบาลรัสเซียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนระบอบของประธานาธิบดีอัสซาด ในระยะแรกช่วยเหลือด้วยการแสดงท่าทีต่อต้านการแทรกแซงซีเรียด้วยกำลังทหารเนื่องจากบางประเทศกำลังคิดทำเช่นนั้น เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ( Sergei Lavrov) รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกล่าวว่ารัสเซียไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบ “ไม่สนับสนุนกิจกรรมเหล่านั้นแต่สนับสนุนให้พูดคุยกันต่อไประหว่าง...

จะส่งกองทัพเข้าซีเรียหรือจะหยุดยิง

รูปภาพ
สถานการณ์ในซีเรียและภูมิภาคตะวันออกอาจเข้าสู่บทใหม่อีกครั้ง หลังเมื่อรัฐบาลซาอุฯ กับหลายประเทศประกาศพร้อมส่งทหารเข้าซีเรีย แต่หลังการเจรจานัดสำคัญ จอห์น แคร์รีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐประกาศว่าที่ประชุม International Syria Support Group ข้อได้สรุปหยุดยิงทั่วประเทศซีเรีย เหลือแต่สู้กับผู้ก่อการร้ายต่อไป อย่างไรก็ตามต้องดูการปฏิบัติในพื้นที่ก่อน และจะจัดการประชุมอีกรอบเพื่อได้ข้อสรุปหยุดยิงถาวร             ย้อนหลังไม่กี่วันก่อนเจรจารัฐบาลซาอุฯ ประกาศ “พร้อมเข้าร่วมปฏิบัติการภาคพื้นดินกับพันธมิตร (เพื่อต่อต้าน ISIS) ในซีเรีย” ให้เหตุผลว่า “นับวันยิ่งเห็นชัดว่าไม่มีกองกำลังภาคพื้นดินกลุ่มใดในซีเรียที่ตั้งใจรบกับ ISIS ส่วนระบอบอัสซาด อิหร่าน รัสเซียและฮิสบอลเลาะห์มุ่งรบกับฝ่ายต่อต้านบาชาร์ อัลอัสซาด (Bashar al-Assad) ด้วยเป้าหมายเดียวคือรักษาอำนาจของบาชาร์ อัลอัสซาด ไม่สนใจว่าชาวซีเรียผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียมากเพียงใด”             เช่นเดียวกับรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเร...

เกาหลีใต้หวังแช่แข็งเกาหลีเหนือ ละการรวมชาติ

รูปภาพ
จากการทดลองจุดระเบิดไฮโดเจนเมื่อต้นปีตามการกล่าวอ้างของเกาหลีเหนือรอบนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้แสดงตัววิ่งเต้นแก้ปัญหา พยายามจัดประชุม 6 หาข้อมติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือเพิ่มเติม แต่ติดปัญหาต้องผ่านการพิจารณาจากจีนก่อน การเจรจา 6 ฝ่ายกับข้อมติกลายเป็นประเด็นหารือกันไปเรื่อยๆ ยังไม่มีข้อสรุป จีนเห็นว่ามาตรการรุนแรงเกินไป อาจกระทบต่อเสถียรภาพของคาบสมุทรเกาหลี             เป็นอีกครั้งที่เกาหลีใต้ดูจริงจัง ให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ ความกังวลและนโยบายของเกาหลีใต้ : ไม่ว่าจะโดยภูมิศาสตร์รัฐศาสตร์ การเมืองระหว่างประเทศ ประวัติศาสตร์ ความเป็นไปของเกาหลีเหนือกระทบต่อเกาหลีใต้ในทุกมิติ นโยบายพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเกี่ยวข้องกับการประกาศว่าเกาหลีเหนือเป็นหนึ่งใน “axis of evil” ร่วมกับอิรัก อิหร่าน เมื่อมกราคม 2002 โดยรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช  ( George W. Bush ) พร้อมกับหลักนิยม “ชิงลงมือก่อน” (preemption) กำจัดภัยคุกคามก่อนภัยนั้นถึงตัว ไม่อาจปล่อยให้เกิดเหตุก่อการร้าย 11 กันยา 2001 ซ้ำอีก  ...

มาเลเซียประกาศเผชิญหน้าผู้ก่อการร้ายดาอิช (IS)

รูปภาพ
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นาจิบ ราซัค (Najib Razak) นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยอมรับว่าดาอิช (IS/ISIL/ISIS) กำลังคุกคามมาเลเซีย หลังการเผยแพร่วีดีโอจากกลุ่ม IS ในภูมิภาคประกาศว่าจะโจมตีมาเลเซีย ความตอนหนึ่งของวีดีโอนำเสนอว่า “พวกเราจะทวีมากขึ้นถ้าท่านจับเรา แต่ถ้าท่านปล่อยให้เราทำ เราจะใกล้เป้าหมายนำการปกครองแบบคอลีฟะห์กลับมา” “เราจะไม่ยอมก้มหัวต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะเราดำเนินตามกฎเกณฑ์อัลเลาะห์เท่านั้น เมื่อ 24 มกราคมที่ผ่านมา ตำรวจมาเลย์จับกุมสมาชิก IS กลุ่ม Katibah Nusantara (Malay Archipelago Combat Unit) ที่กำลังวางแผนก่อการร้ายในประเทศ             ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าทางการมาเลเซียจับกุมพลเมืองผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับ IS กว่า 150 รายแล้ว หลายสิบคนผ่านการอบรมจากตะวันออกกลาง             ประชาคมโลกเอ่ยถึงการมีตัวตนของ IS/ISIL/ISIS ตั้งแต่กลุ่มเริ่มปรากฏตัว มีพัฒนาการเรื่อยมาจนกลายเป็น IS (รัฐอิสลาม) ข่าวการปรากฏตัวของ IS ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...