ผลงานได้รับการเผยแพร่ ปี 2016

ชาญชัย คุ้มปัญญา
            รวบรวมบทความ บทวิเคราะห์ทั้งหมดของปี 2016 ที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อ หน่วยงาน องค์กรต่างๆ
            คอลัมน์ “สถานการณ์โลก" ไทยโพสต์ เป็นคอลัมน์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ และจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ “สถานการณ์โลก” หลังจากตีพิมพ์แล้วอย่างน้อย 1 วัน
ผลงานของปี 2015 รวบรวมไว้ที่ http://www.chanchaivision.com/2015/01/Chanchai-Published-2015.html
ผลงานของปี 2014 รวบรวมไว้ที่ http://www.chanchaivision.com/2014/01/Chanchai-Published-2014.html
ผลงานของปี 2012-13 รวบรวมไว้ที่ http://www.chanchaivision.com/2013/08/Chanchai-Published-2013.html

รัฐบาลอาเบะกับรัฐบาลปาร์คบรรลุร่างข้อตกลงแก้ไขข้อพิพาทเรื่อง หญิงบำเรอแนวโน้มความสัมพันธ์ทวิภาคีจะดีขึ้น เกิดคำถามว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะกระทำเช่นนี้กับประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาหญิงบำเรอหรือไม่ นำสู่การวิเคราะห์ว่าอะไรคือเหตุผลเบื้องหลังของข้อตกลง เพื่อต้านจีนใช่หรือไม่ นักการเมืองญี่ปุ่นยังเป็นพวกทหารนิยมใช่หรือไม่ คำตอบเหล่านี้จะนำสู่การคาดการณ์การเผชิญหน้าระหว่างจีนกับขั้วสหรัฐในอนาคตอันใกล้นี้
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 6996 วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ.2559

ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนหรือหรือไม่ เป็นอีกครั้งที่เกาหลีเหนือใช้ “ยุทธศาสตร์การทูตนิวเคลียร์” เพื่อหวังประโยชน์ที่ต้องการ ประเด็นที่ลึกกว่านั้นคือบ่งชี้ว่าขีดความสามารถนิวเคลียร์ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับ รัฐบาลจีนต้องขบคิดว่าจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร หาไม่แล้วจะมีการทดลองครั้งหน้าแน่นอน สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลียังไม่นิ่ง มีผลต่อการเผชิญหน้าของชาติมหาอำนาจ
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7003 วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ.2559

จีนเป็นคู่ค้ารายสำคัญเพียงรายเดียวของเกาหลีเหนือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ความช่วยเหลือจากจีนเป็นเหมือนเลือดหล่อเลี้ยงระบอบเกาหลีเหนือ เป็นตัวบ่งชี้ความสำคัญของจีน หลายฝ่ายวิพากษ์ว่าจีนเป็นต้นเหตุให้เกาหลีเหนือเดินหน้าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เหตุผลข้อนี้มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ความจริงที่ลึกกว่าคือประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐ ต่างหวังให้เกาหลีเหนืออยู่ในสภาพปัจจุบัน ด้วยเหตุผลแรงจูงใจที่ต่างกัน สถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีจึงดำเนินไปด้วยผลจากทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่เฉพาะจีนเท่านั้น
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7010 วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ.2559


กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมามีข่าวดีของอิหร่าน เมื่อ IAEA ประกาศว่าอิหร่านปฏิบัติตามเงื่อนไขเบื้องต้นของ JCPOA แล้ว ยืนยันว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านใช้เพื่อสันติเท่านั้น ด้วยเหตุนี้สหรัฐ อียู และคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติจึงยกเลิกการคว่ำบาตร ข่าวดีที่สำคัญกว่ากองทัพสหรัฐไม่เป็นภัยคุกคามต่ออิหร่านดังสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซีย อย่างไรก็ตามรากความขัดแย้งกับรัฐอาหรับยังคงอยู่และดำเนินต่อไป เพียงแต่ไม่สามารถใช้ประเด็นโครงการนิวเคลียร์เป็นเครื่องมืออีกต่อไป
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7017 วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ.2559

รัฐบาลนาจิบประกาศชัดว่าประเทศกำลังเผชิญภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้าย IS หลังเผชิญการคุกคามต่อเนื่อง ประกาศหลักวะสะฏียะฮ์ ยึดความสมดุล ความพอดี ไม่สุดโต่งเป็นอุดมการณ์ต่อต้านอุดมการณ์ของผู้ก่อการร้าย อย่างไรก็ตามประเด็นหลักอิสลามเป็นเรื่องละเอียดอ่อน สำคัญที่เมื่อ IS ใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ ฝ่ายต่อต้าน IS สามารถใช้และน่าจะมีพลังมากกว่า
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7024 วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ.2559

หลังผ่านประวัติศาสตร์อันขมขื่นของการเป็นอาณานิคมทั้งทางตรงทางอ้อมนับร้อยปี สิ่งที่เกาหลีใต้ต้องการมากที่สุดคือความเป็นอิสระและความสงบ ในการนี้จะต้องให้เกาหลีเหนืออยู่ในความสงบ การทดสอบนิวเคลียร์ ขีปนาวุธพิสัยไกลของเกาหลีเหนือล้วนเป็นเหตุบั่นทอน จึงต้องพยายามให้เกาหลีเหนือนิ่งมากที่สุด ถ้า “แช่แข็ง” เกาหลีเหนือได้จะเป็นการดีที่สุด เป็นผลดีต่อเกาหลีใต้ จีน การคงอยู่ของระบอบเกาหลีเหนือ คงแต่คนเกาหลีเหนือที่ยังต้องอยู่ในสภาพทุกข์ยากต่อไป
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7031 วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

วิกฤตสงครามกลางเมืองซีเรียเข้าสู่จุดสำคัญอีกครั้ง เมื่อประเทศที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปให้หยุดยิงทั่วประเทศ (แต่ยังสู้กับผู้ก่อการร้ายต่อไป) พร้อมกับที่รัฐบาลซาอุฯ กับพวกประกาศพร้อมส่งกองทัพเข้าซีเรีย ข้อสรุปหยุดยิงเป็นผลจากการที่ทุกฝ่ายตระหนักว่าที่สุดแล้วต้องลงเอยด้วยการเจรจา การทำสงครามต่อไปมีแต่จะสูญเสียมากขึ้น บัดนี้ไม่อาจล้มรัฐบาลอัสซาดด้วยกำลังอีกต่อไป อย่างไรก็ตามต้องติดตามต่อว่าซาอุฯ ตุรกี จะส่งทหารเข้าซีเรียหรือไม่
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7038 วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจเป็นแนวคิดจากสำนักสัจนิยมที่ใช้กันแพร่หลาย ถ่วงดุลฝ่ายที่เป็นอริ ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายได้เปรียบ หวังเป็นเหตุไม่ให้คิดทำสงครามต่อกัน อาเซียนกำลังใช้ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจถ่วงดุลจีนกับฝ่ายสหรัฐ เพื่อชี้ชวนให้ทุกฝ่ายดำเนินนโยบายกับอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ แต่ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจมีจุดอ่อนเช่นกัน จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7045 วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

อาจอธิบายว่ารัสเซียทำสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้ายไม่ต่างชาติประเทศอื่นๆ ที่มีส่วนร่วม จุดต่างคือรัฐบาลปูตินสนับสนุนรัฐบาลอัสซาด ในขณะที่ชาติตะวันตกหลายประเทศกับรัฐอาหรับต่อต้านระบอบอัสซาด กลายเป็นประเด็นสร้างความขัดแย้งที่ซับซ้อนในซีเรีย เหตุการณ์ใช้อาวุธเคมีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2013 เป็นหลักฐานบ่งชี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างชัดเจน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7052 วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

เป็นเรื่องแปลกที่รัสเซียกับฝ่ายสหรัฐฯ (รวมชาติตะวันตกกับรัฐอาหรับ) ต่างมีนโยบายปราบปรามผู้ก่อการร้าย IS/ISIL/ISIS แต่ต่างฝ่ายต่างทำ ฝ่ายสหรัฐฯ กล่าวหาว่ารัสเซียไม่ได้มุ่งทำลาย IS แต่มุ่งเป้าที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอัสซาดมากกว่า ในขณะที่รัสเซียปฏิเสธ อีกทั้งมีประเด็นที่นักวิชาการหลายคนชี้ว่านโยบายปราบ IS ของฝ่ายสหรัฐฯ ไม่ได้ผล ถ้ามองในกรอบแคบความแตกต่างนี้มาจากการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนรัฐบาลอัสซาด ถ้ามองในกรอบกว้างคือการเผชิญหน้าระหว่าง 2 มหาอำนาจ
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7059 วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2559

การทดสอบขีปนาวุธพิสัยกลางของอิหร่านกลายเป็นประเด็นข่าว เพราะไม่เพียงยิงไกลถึงอิสราเอล อาจผิดข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง ที่สำคัญคือมีข้อความ “อิสราเอลต้องถูกลบออกจากหน้าประวัติศาสตร์” บ่งบอกถึงทัศนคติที่อิหร่านมีต่ออิสราเอล แต่ถ้าวิเคราะห์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ อิสราเอลในวันนี้มีศักยภาพที่จะ “ลบ” อิหร่านออกจากแผนที่โลกมากกว่า
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7066 วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2559

นับตั้งแต่ข้อพิพาททะเลจีนใต้กลายเป็นประเด็นสำคัญ รัฐบาลฟิลิปปินส์ยึดหลักสันติวิธีเรื่อยมา แม้บางช่วงจะแสดงท่าทีแข็งกร้าวบ้าง เห็นความแตกแยกในอาเซียนบ้าง ความสัมพันธ์ทวิภาคีฟิลิปปินส์-จีนมีมากกว่าเรื่องทะเลจีนใต้ ทุกฝ่ายระวังที่จะไม่ให้ความขัดแย้งบานปลาย อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งยังคงอยู่ จีนยังรุกคืบแสดงความเป็นเจ้าของอย่างต่อเนื่อง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7073 วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2559


เป็นหลักการที่ถูกต้องถ้าผู้พูดเลือกพูดประเด็นที่ผู้ฟังสนใจ ผู้ฟังจะชอบใจถ้าได้ฟังเรื่องที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อตน แต่การหาเสียงด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นการชี้นำสังคมไปผิดทิศผิดทาง ไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ที่ประกาศตัวอาสาเป็นตัวแทนประชาชนรับใช้ประเทศ กรณีทรัมป์หาเสียงเพื่อเอาใจพวกที่นิยมชมชอบอิสราเอลเป็นกรณีตัวอย่าง เป็นจุดอ่อนประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7080 วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2559

รายงานของผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองให้ภาพว่าสหรัฐถูกคุกคามด้วยอะไรบ้าง อะไรเป็นภัยคุกคามร้ายแรง ให้ภาพว่าสหรัฐเป็น “ฝ่ายถูกกระทำ” จึงต้องป้องกัน โต้ตอบ โดยปราศจากมุมมองของฝ่ายตรงข้าม เป็นการมองโลกผ่านมุมของตัวเองเท่านั้น และไม่ตรงข้อเท็จจริงทั้งหมด รายงานเช่นนี้เป็นประโยชน์ต่อพลเมืองอเมริกันมากน้อยเพียงใด 
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7087 วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ.2559

ปานามา เปเปอร์ส’ คือชื่อที่เรียกขานข้อมูลลับของลูกค้าของบริษัทมอสสัคฟอนเซคา หรือคือการสืบสวนเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของบริษัทมอสสัคฟอนเซคา ลูกค้าบริษัทผ่านข้อมูลที่รั่วไหลออกมา จากการที่บริษัทเอกชนได้ประโยชน์จากบริษัทนอกอาณาเขต มีลูกค้าชั้นดีอย่างพวกอาชญากรข้ามชาติ เป็น “ตู้เซฟ” ของชนชั้นอำนาจ เป็นเครื่องมือความมั่นคงของรัฐ จึงคาดการณ์ได้ว่าบริษัทอย่างมอสสัคฟอนเซคายังเป็นที่ต้องการของตลาด รัฐหนึ่งอาจต่อต้านแต่อีกรัฐจะปกป้อง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7094 วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ.2559

หลายคนละครแล้วมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน บางคนถึงกับ “ติด” การดูละครไม่ใช่เรื่องผิด การโฆษณามีอยู่คู่กับอุตสาหกรรมละคร ประเด็นข้อคิดคือ “เป็นไปได้ไหมที่ละครทั้งเรื่องคือโฆษณา” นั่นหมายความว่าเวลาดูละครคือดูโฆษณา ได้รับสื่อโฆษณาทั้งแบบตรงไปตรงมากับแบบแนบเนียน การที่เป็นเช่นนี้มีทั้งผลดีผลเสีย เพราะบางส่วนคือการปลูกฝังค่านิยมที่ดี ส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ในด้านลบก็มีเช่นกัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7101 วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ.2559

ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการบางคนพูดเสมอว่าราคาน้ำมันเป็นไปตามหลักตลาดเสรี ขึ้นกับอุปสงค์อุปทาน แต่การลดต่ำของราคาน้ำมันดิบในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีหลักฐานหลายชิ้นที่บ่งบอกว่าไม่ได้เป็นไปตามหลักกลไกเสรี หนึ่งในหลักฐานดังกล่าวคือแนวคิดที่ว่ารัฐบาลซาอุฯ กำลังใช้ราคาน้ำมันเป็นเครื่องมือจัดการอิหร่าน เรื่องทำนองไม่ใช่เรื่องใหม่ราคาน้ำมันเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศมานานแล้ว
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7108 วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2559

คำว่าเดินเรือเสรี ฟังดูผิวเผินเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย แต่คำว่าเดินเรือเสรีของรัฐบาลหมายถึงเฉพาะสหรัฐเท่านั้นที่มีความเสรีเป็นพิเศษเหนือประเทศอื่นๆ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เรือจะต้อง “เสรีภายใต้กรอบระเบียบที่วางไว้” ซึ่งเสรีน้อยกว่าของสหรัฐ อีกทั้งรัฐบาลสหรัฐจะใช้ทุกวิธีเพื่อกดดันบังคับให้นานาประเทศต้องอยู่ภายใต้เสรีตามระเบียบดังกล่าว เป็นตัวอย่างความเป็นจักรวรรดินิยม
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7115 วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2559

12 ปีนับจากโค่นล้มระบอบซัดดัม ฮุสเซนและรัฐบาลบุชประกาศว่าจะสร้างอิรักให้เป็นประชาธิปไตย เป็นแบบอย่างแก่ประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง จากบัดนั้นจนบัดนี้อิรักยังไม่เคยเป็นประชาธิปไตยจริงๆ อีกทั้งสถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิม สังคมแตกแยกร้าวลึก สงครามกลางเมืองทำให้ผู้คนล้มตายปีละนับพันนับหมื่น โดยยังไม่เห็นวี่แววว่าเมื่อไหร่ความสงบสุขจะกลับคืนมา
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7122 วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2559


มุกตาดา อัล-ซาดาร์ นักบวชผู้นำชีอะห์กลุ่มหนึ่ง กล่าวต่อประชาชนว่าไม่มีรัฐมนตรีคนใดที่เป็นตัวแทนของพวกเขา เป็นต้นตอซ้ำเติมการทุจริตคอร์รัปชัน การปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องของการสืบทอดอำนาจเท่านั้น 12 ปีประชาธิปไตยอิรักก่อให้เกิดเกิดคำถามว่าประเทศยังเหมาะที่จะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อไปอีกหรือไม่ เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษมากกว่ากัน ควรแสวงหาทางเลือกอื่นหรือไม่
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7129 วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2559

ภายใต้บริบทปัจจุบัน รัสเซียอยู่ในตำแหน่งที่เป็นมิตรและสามารถเป็นมิตรที่ดีของอาเซียน การประชุมสุดยอดผู้นำครั้งล่าสุดตอกย้ำทิศทางดังกล่าว เกิดความร่วมมือในทุกด้าน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้น บทบาทรัสเซียในเอเชียแปซิฟิกจะเป็นประโยชน์ร่วมกับอาเซียน ส่งเสริมสถานภาพของอาเซียนในเวทีโลก
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7136 วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2559

ในสมัยสงครามเย็น นักวิชาการ ตำราจำนวนมากสอนว่าประเทศเสรีประชาธิปไตยเข้ากับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ มองคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคามร้ายแรง แต่ปัจจุบันความแตกต่างด้านระบอบเศรษฐกิจการปกครองดูจะไม่เป็นปัญหาร้ายแรงดังเช่นอดีต ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-สหรัฐในขณะนี้คือหลักฐาน การยึดถือว่าใครประเทศใดเป็นมิตรหรือศัตรูต่างหากที่เป็นเหตุสร้างความตึงเครียด สร้างสงครามทำลายล้างกัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7143 วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2559

ความร่วมมือระหว่างประเทศสังคมนิยมเวียดนามกับทุนนิยมเสรีสหรัฐฯ เพื่อต้านจีนในปัจจุบัน หรือพูดในอีกมุมหนึ่งคือเวียดนามพยายามอยู่ร่วมกับสหรัฐฯ กับจีนโดยอาศัยการถ่วงดุลอำนาจ เป็นอีกหลักฐานบ่งชี้ว่าความแตกต่างด้านการเมืองการปกครองไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ใช้แยกความเป็นมิตรกับศัตรู สำหรับเวียดนามแล้วประเด็นสำคัญอยู่ที่ทำอย่างไรจึงสามารถสามารถดำรงอยู่ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7150 วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2559

รัฐบาลสหรัฐภายใต้ประธานาธิบดีโอบามารุกคืบเข้ามาพัวพันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นเป็นตอน “ข้อเสนอโครงสร้างเครือความมั่นคงเอเชียแปซิฟิก” เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ตั้งชื่อให้ฟังดูเป็นกลางว่า “ปรับสมดุล” เมื่อวิเคราะห์แล้วคือความต้องการเข้ามาจัดระเบียบภูมิภาคอย่างครอบคลุมทุกด้าน เป็นช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆ ทั้งอาเซียน จีนและอีกหลายประเทศต้อง “ปรับสมดุล” เช่นกัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7157 วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2559

โดนัลด์ ทรัมป์ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐไม่พลาดโอกาสนำเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ออร์แลนโด้มาสนับสนุนนโยบายกีดกันมุสลิมบางกลุ่มเข้าประเทศ เทคนิคการหาเสียงทรัมป์สรุปสั้นๆ ได้ว่า “เล่นกับความรู้สึก” ของคน โดยขยายความประเด็นนั้นๆ ให้รุนแรงที่สุด (สร้างความรู้สึกให้แรงสุด) โจมตีผู้สมัครคนอื่นว่าผิดหมด (ทำลายแนวทางเลือกอื่นๆ) พร้อมกับเสนอวิธีแก้ไขที่ไม่อาจสมเหตุผลแต่ตอบสนองความรู้สึกของผู้ที่มองแง่ลบต่อมุสลิมอยู่แล้ว
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7164 วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2559

ผู้ที่เข้าใจมาตรการป้องกันก่อการร้ายของสหรัฐจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าข้อเรียกร้องของโดนัลด์ ทรัมป์ที่ให้ตรวจตราติดตามมุสลิมทุกคนเปล่าประโยชน์ เพราะตามกฎหมายแล้วใครก็ตามที่เข้าข่ายต้องสงสัยจะถูกตรวจสอบติดตามทันทีไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ ข้อเสนอของทรัมป์ช่วยให้เขาได้คะแนนนิยมทิ้งห่างผู้สมัครพรรคเดียวกัน ความจริงคือไม่ว่า “อิสลามหัวรุนแรง” เป็นภัยคุกคามจริงแท้เพียงไร ชาวอเมริกันที่ชื่นชอบพรรครีพับลิกันหลายคนเชื่อเช่นนั้น มุสลิมอเมริกัน 3 ล้านคนจึงกลายเป็นแพะรับบาปเพราะทรัมป์
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7171 วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2559

บทความนี้วิเคราะห์การหาเสียงของทรัมป์ในประเด็น “อิสลามหัวรุนแรง” ที่เชื่อมโยงกับแนวนโยบายของพรรครีพับลิกัน เชื่อมโยงกับแนวคิดการปะทะกันระหว่างอารยธรรมของฮันติงตันที่นับวันจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น (หรือถูกชักนำให้เข้าใจ) ในความขัดแย้งระหว่างศาสนาคริสต์กับอิสลาม ไม่ว่ารัฐบาลสหรัฐจะยอมรับหรือไม่ว่าคือส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์แม่บท
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7178 วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2559

28. ประชาธิปไตยไม่อาจยับยั้งแบลร์กับบุชก่อสงครามมิชอบ(1)
ทุกวันนี้มีข้อสรุปที่ยอมรับแล้วว่าอิรักไม่มี WMD ซัดดัมไม่ได้สนับสนุนผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะห์ตามที่รัฐบาลแบลร์กับบุชกล่าวอ้าง การทำสงครามล้มระบอบซัดดัมไม่ช่วยเรื่องต่อต้านก่อการร้าย ซ้ำยังกระตุ้นให้เกิดผู้ก่อการร้ายสารพัดกลุ่ม เช่น IS ทิ้งให้อิรักกลายเป็นรัฐล้มเหลว ประเด็นที่สำคัญกว่านั้นคือคำถามที่ว่าระบอบประชาธิปไตยอังกฤษกับสหรัฐช่วยให้ 2 ประเทศนี้ก่อสงครามที่สมควรทำหรือไม่
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7185 วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2559

ทุกวันนี้พิสูจน์แล้วว่าเมื่อปี 2002 อิรัก อิหร่านและเกาหลีเหนือไม่เป็นภัยคุกคามจวนตัวอย่างที่รัฐบาลบุชกล่าวอ้าง เอกสารรายงานต่างๆ ที่ออกมาจากรัฐบาลสหรัฐกับอังกฤษมีข้อสรุปที่เป็นเท็จ พูดเกินจริง สร้างภาพให้เห็นภัยคุกคามใหญ่เกินตัว ระบอบประชาธิปไตยอังกฤษกับสหรัฐไม่อำนวยการตัดสินใจที่ถูกต้องแก่ผู้นำประเทศ ไม่สามารถยับยั้งการตัดสินใจอย่างไม่สมเหตุสมผลทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7192 วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2559

นโยบายปรับความสัมพันธ์กับรัสเซีย ให้ความสำคัญกับการจัดการผู้ก่อการร้าย IS มากกว่าล้มระบอบประธานาธิบดีอัสซาด เป็นประเด็นที่แตกต่างจากท่าทีเดิมของรีพับลิกัน นโยบายให้พันธมิตรนาโต เกาหลีใต้ช่วยแบกรับค่าใช้จ่าย นโยบายการค้ายุติธรรม (fair trade) เป็นเรื่องเก่าดำเนินมาแล้วหลายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเก่าหรือใหม่ การหาเสียงของโดนัลด์ ทรัมป์มีเป้าหมายสำคัญคือมุ่งทำลายคะแนนของฮิลลารี คลินตัน เป็นส่วนหนึ่งของหลัก “อเมริกาต้องมาก่อน” ของทรัมป์
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7199 วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2559

อีเมลที่รั่วออกจากพรรคเป็นหลักฐานชี้ว่าเจ้าหน้าที่พรรคไม่ได้วางตัวเป็นกลาง ช่วยฮิลลารีอย่างเป็นระบบ ผู้ใหญ่ในพรรคตั้งใจให้ฮิลลารีเป็นตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ต้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอีกหลักฐานชี้ว่าพรรคอยู่ใต้อำนาจของผู้ใหญ่ นายทุนไม่กี่กลุ่ม ไม่ใช่พรรคของปวงชนอย่างแท้จริง นับวันการเมืองสหรัฐจะมีสภาพเป็นคณาธิปไตยในคราบประชาธิปไตย
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7206 วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2559

The Clash of Civilizations ของฮันติงตันระบุว่าโลกในอนาคตจะไม่แบ่งแยกด้วยอุดมการณ์การเมืองเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่จะแบ่งแยกด้วยความเชื่อศาสนา มนุษย์จะฆ่าฟันทำลายล้างกันด้วยเหตุนี้ แต่ข้อเท็จจริงคือทุกวันนี้อำนาจรัฐระวังการครอบงำจากศาสนา แนวคิดของฮันติงตันอาจถูกตีความว่าต้องการให้ศาสนามีอิทธิพลเหนืออำนาจรัฐฝ่ายโลก หรือไม่ก็หวังใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแบ่งแยกโลก แบ่งความเป็นมิตรกับศัตรูแบบเหมารวม เป็นอีกครั้งที่อำนาจรัฐแสวงหาประโยชน์จากศาสนา
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7213 วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2559

ความเชื่อศาสนาคริสต์ไม่ใช่ตัวแทนของอารยธรรมตะวันตก เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ระบบการค้าอิงหลักคุณธรรมไม่ใช่ความโลภ ความมั่งคั่งมีเพื่อช่วยเหลือส่วนรวม ปัจเจกมีเสรีภาพแต่เป็นเสรีภาพภายใต้หลักศาสนา ส่วนอิสลามเน้นรักสันติ ไม่สุดโต่ง มุสลิมทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นผู้รักสันติ ไม่ใช่พวกสุดโต่งหัวรุนแรง ต่อต้าน IS อัลกออิดะห์ แต่ฮันติงตันยังพยายามชักนำให้เกิดสงครามศาสนา
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7220 วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2559


บางครั้งการวิเคราะห์โดยตั้งอยู่บนศาสนาสร้างความสับสนไม่น้อย ยกตัวอย่าง ชายพุทธคนหนึ่งข่มขืนแล้วฆ่าหญิงชาวพุทธ อย่างนี้เป็นประเด็นศาสนาหรือไม่ อเมริกาคือประเทศที่มีสถิติข่มขืนสูงมาก จะอธิบายว่าพวกคริสต์มักข่มขืนพวกคริสต์ด้วยกันเองหรือไม่ ควรอธิบายอย่างนี้หรือไม่ว่าถ้าชายบ้ากามคนนี้ข่มขืนหญิงศาสนาเดียวกันก็เพราะ “ความบ้ากาม” แต่ถ้าข่มขืนหญิงต่างศาสนาจะกลายเป็น “การปะทะระหว่างอารยธรรม
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7227 วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2559


35. กองทัพตุรกีในดินแดนซีเรีย 
รัฐบาลตุรกีส่งกองทัพเข้าซีเรีย อ้างเหตุผลเพื่อปราบปราม IS ป้องปรามภัยคุกคามจากเคิร์ดซีเรีย ความจริงที่ต้องเข้าใจคือปฏิบัติการครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากขั้วสหรัฐ ได้ความเห็นชอบจากรัฐบาลรัสเซีย ผลลัพธ์ที่ได้จึงจำกัด เป็นหลักฐานอีกชิ้นชี้ว่าอนาคตของซีเรียไม่เป็นของคนซีเรียอีกต่อไป ประเทศนี้กลายเป็นสมรภูมิ ดินแดนที่หลายประเทศเข้ากอบโกยผลประโยชน์ โดยอ้างปราบปรามผู้ก่อการร้าย สนับสนุนฝ่ายต่อต้านหรือไม่ก็สนับสนุนรัฐบาลซีเรีย นี่คือพัฒนาการล่าสุดจากความวุ่นวายภายในของประเทศนี้ 
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7234 วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2559

เมื่อผู้นำประเทศ ผู้นำการเมืองสหรัฐฯ เอ่ยถึง “American exceptionalism” คือช่วงเวลาที่เชิดชูความพิเศษโดดเด่นของอเมริกาว่าเหนือประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ การแสดงความรักนับถือต่อประเทศตัวเองเป็นเรื่องควรส่งเสริม ในขณะเดียวกัน ฮิลลารีไม่ต่างจากผู้นำคนอื่นๆ ในอดีต (ไมว่าจะพรรครีพับลิกันหรือเดโมแครท) ที่ระบุชัดว่าประเทศใดเป็นศัตรู หากฮิลลารีได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป คาดเดาได้ว่าอเมริกาจะยังอยู่ในสงครามต่อไป เป็นส่วนหนึ่งของความเป็น “American exceptionalism” ในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7241 วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2559


ในบริบททะเลจีนใต้ ไม่มีประเทศใดสามารถได้ทุกอย่างที่ต้องการ ประเทศเล็กกว่าต้องรู้จักนิยามคำว่า "ความมั่นคง" ให้เข้ากับสถานการณ์ ที่ผ่านมาอาเซียนทำได้ดี เป็นเหตุให้ประชาชนอยู่ในความสงบสุข บริบทระหว่างประเทศเอื้อต่อการพัฒนา ส่วนที่เหลือคือการจัดการภายในประเทศ วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 มีเนื้อหาเอ่ยถึงมากมาย สมาชิกอาเซียนซึ่งหมายถึงพลเมืองทุกคนและทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันทำให้วิสัยทัศน์กลายเป็นความจริง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7248 วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ.2559

ประวัติศาสตร์ของชนชาติโรมันไม่ต่างจากหลายชนชาติที่เริ่มต้นด้วยคนกลุ่มเล็กๆ ที่สามารถเอาตัวรอดจากเผ่าอื่นๆ รอบข้าง จนกลายเป็นเมือง นครรัฐ และพัฒนาเป็นสาธารณรัฐโรมัน อันหมายถึงการปกครองโดยชนชั้นอำนาจที่สังคมโรมันสมัยนั้นหมายถึงเจ้าของที่ดินรายใหญ่ รากฐานความมั่งคั่งในยุคนั้น ชนชั้นอำนาจพยายามรักษาผลประโยชน์ด้วยการยึดอำนาจปกครองไว้กับพวกตัว วางกฎสังคมห้ามแต่งงานข้ามชนชั้น เป็นสาเหตุเกื้อหนุนให้ชนชั้นปกครองนี้สามารถรักษาอำนาจยาวนานกว่า 400 ปี
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7255 วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2559


จากชุมชนสู่นครรัฐและกลายเป็นสาธารณรัฐโรมัน ชนชั้นปกครองซึ่งคืออดีตขุนนางและเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถกุมอำนาจปกครองอย่างเหนียวแน่น ทั้งด้านบริหาร การยุติธรรม เศรษฐกิจ การทหาร การทำสงครามขยายอาณาเขตหมายถึงการได้ทรัพย์สิน ที่ดินและทาส ผลประโยชน์เหล่านี้ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของชนชั้นปกครองไม่กี่ตระกูล แต่ด้วยการขยายอาณาจักรอย่างไม่สิ้นสุดส่งผลให้กองทัพใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ และควบคุมยากขึ้น ท้ายที่สุดกลายเป็นผู้ล้มล้างระบบสาธารณรัฐโรมัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7262 วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

ทรัมป์ชูนโยบายทบทวนความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตร เห็นว่าการคงทหารหลายหมื่นนายในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ไม่ก่อประโยชน์ต่อสหรัฐฯ เท่าที่ควร ต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก ไม่คุ้มค่า ไม่สนใจว่าหากถอนการเป็นพันธมิตรจะส่งผลต่อระบบความมั่นคงภูมิภาคและโลกอย่างไร ความจริงที่ต้องเข้าใจคือประเทศเหล่านี้ช่วยแบ่งเบาภาระงบประมาณมานานแล้ว และยังคงเจรจาต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7269 วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ทรัมป์วิพากษ์นาโตว่าเก่าแก้ล้าสมัย ไม่ช่วยต่อต้านก่อการร้ายเท่าที่ควร สหรัฐต้องแบกรับภาระงบประมาณมากแต่ประโยชน์น้อย จึงคิดพิจารณาถอนตัวออกจากนาโต ความจริงคือรัฐบาลสหรัฐทุกรัฐบาลพยายามปรับปรุงแก้ไขเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว และไม่คิดถอนตัวออกจากนาโต เพราะการสูญเสียพันธมิตรยุโรปเป็นโทษมากกว่า พูดอีกอย่างคือทุกวันนี้ได้ประโยชน์มากอยู่แล้ว
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7276 วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบียเป็นอีกกรณีที่ทรัมป์ชี้ว่าต้องทบทวนความสัมพันธ์เพราะประเทศเสียงบประมาณกลาโหมแก่ซาอุฯ มากเกินไป โดยไม่เอ่ยถึงผลประโยชน์อื่นๆ ที่สหรัฐฯ ได้จากภูมิภาค ลดทอนความสำคัญการนำเข้าน้ำมันจากซาอุฯ ทั้งๆ ที่ทุกรัฐบาลมีนโยบายลดการนำเข้าจากทุกประเทศอยู่แล้ว ฮิลลารี คลินตันใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของทรัมป์ “สร้างความกลัวแก่ชาวอเมริกัน” ด้วยการชี้ว่า “ทรัมป์” คือภัยคุกคามใกล้ตัวที่สุด ร้ายแรงที่สุด
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 7283 วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2559

เป้าหมายของการหาเสียงคือชนะการเลือกตั้ง ผู้สมัครเลือกตั้งไม่ได้หาเสียงด้วยการแสดงความดีงามของตน นโยบายที่ดีกว่าเท่านั้น บางคนใช้วิธีรณรงค์เลือกตั้งทางลบ สร้างความเสื่อมเสียฝ่ายตรงข้าม หลายเรื่องที่หยิบขึ้นมาพูดไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ทำให้ประชาชนคิดว่าผู้สมัครฝ่ายตรงข้างแย่ ไม่น่าเลือก เมื่อต่างฝ่ายต่างใช้จึงเกิดการสาดโคลนกันไปมา ประชาชนบางส่วนเอือมระอาการเมืองแบบนี้ ในขณะที่อีกหลายคนเห็นว่ามีประโยชน์เช่นกัน
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7290 วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2559

ในการเลือกตั้งบางครั้ง ไม่มีผู้สมัครคนใดที่ดีพอ คู่ควรกับตำแหน่ง แต่ด้วยระบอบกับระบบพยายามให้ประชาชนออกไปเลือกตั้ง หลายคนจึงใช้วิธีเลือกคนที่แย่น้อยกว่า เพื่อสกัดไม่ให้คนที่แย่ที่สุดได้ถืออำนาจบริหารประเทศ แต่แนวคิดเช่นนี้ไม่ช่วยให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองยั่งยืน เป็นเพียงการซื้อเวลา จึงต้องคิดหาระบบเลือกตั้ง/สรรหาให้ได้คนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยไม่ยึดกรอบว่าต้องเป็นการเลือก/สรรหาช่วงเวลาหาเสียงเท่านั้น
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7297 วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2559

ในยุคประธานาธิบดีอากีโนที่ 3 รัฐบาลยึดว่าพื้นที่พิพาทสการ์โบโรห์เป็นของฟิลิปปินส์ ดังนั้น ต้องปกป้องอธิปไตย มิฉะนั้นอาจเสียดินแดนมากกว่านี้ จึงดำเนินนโยบายใกล้ชิดสหรัฐ ผลคือจีนคว่ำบาตรเศรษฐกิจฟิลิปปินส์บางอย่าง เมื่อมาถึงสมัยประธานาธิบดีดูเตร์เต รัฐบาลใช้หลักคิดใหม่ เห็นว่าไม่ควรอยู่ท่ามกลางการเผชิญหน้าของ 2 มหาอำนาจ การเจรจากับจีนน่าจะให้ผลประโยชน์เศรษฐกิจที่จับต้องได้มากกว่า สัมพันธ์ทวิภาคีกับจีนจึงดีขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ต้องเผชิญหน้าด้วยเรื่องอธิปไตยที่ต่างยอมให้กันไม่ได้อีกต่อไป
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7304 วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

จากนี้อีก 4 ปี ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ในวัย 70 จะต้องเผชิญเรื่องยากๆ อีกมากมาย เรื่องที่เขาไม่รู้ ไม่เคยคิดถึงมาก่อน สังคมอเมริกันที่ให้เสรีกับการวิพากษ์วิจารณ์ สังคมโลกที่จะร่วมวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน ประวัติศาสตร์กำลังบันทึกว่าทรัมป์เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความชื่นชมหรือคนที่โลกประณาม คงเป็นงานสำคัญชิ้นสุดท้ายสำหรับนักสู้ที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7311 วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

เหตุที่ชุมนุมประท้วงเพราะคิดว่า โดนัลด์ ทรัมป์ จะสร้างปัญหาสร้างความเสียหาย แต่อะไรคือประเด็นที่ควรหยิบขึ้นมาประท้วงในเมื่อเป็นเพียงว่าที่ประธานาธิบดี นโยบายที่ใช้หาเสียงหลายเรื่องพูดชัดว่าเป็นเพียงข้อเสนอ หลายเรื่องอาจไม่ได้ทำจริงตามที่พูด หรือไม่รุนแรงสุดโต่งขนาดนั้น ประโยชน์ที่ยั่งยืนของการชุมนุมจะเกิดขึ้นจริงหากมีการรวมกลุ่มภาคประชาสังคม เกิดกลุ่มถาวร ร่วมกันตรวจสอบเฝ้าระวังรัฐบาลอย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7318 วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ความขัดแย้งซีเรียได้ดำเนินต่อเนื่องกว่า 5 ปีครึ่งแล้ว สถานการณ์ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลง เริ่มจากการชุมนุมประท้วงรัฐบาลอย่างสงบ ตามด้วยต่างชาติเข้าแทรก การปรากฏตัวของผู้ก่อการร้าย กองกำลังมุสลิมต่างชาติกว่าร้อยประเทศ การเผชิญหน้าระหว่าง 2 ขั้ว 2 มหาอำนาจชัดเจนมากขึ้น บัดนี้ความเป็นไปของสมรภูมิกับอนาคตซีเรียจึงขึ้นกับการตัดสินใจบนผลประโยชน์ของ 2 ฝ่าย 2 มหาอำนาจ เป็นความขัดแย้งที่จะยืดเยื้อยาวนาน เป็นเรื่องที่ควรตระหนัก
ตีพิมพ์ใน นิตยสารหนังสือข่าวทหารอากาศ ปีที่ 76 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2559

เนื่องจากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้งด้วย popular vote ต่ำกว่าฮิลลารี คลินตัน ความคิดเปลี่ยนวิธีเลือกตั้งประธานาธิบดีจึงดังขึ้นอีกรอบ แต่การแก้ไขหมายถึงการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งในเชิงกฎหมายกับการเมือง ผลดีจากการปรากฎตัวของทรัมป์คือเกิดกระแสปฏิรูปการเมือง เป็นเรื่องระยะยาวที่ต้องอาศัยคนมีส่วนร่วมจำนวนมาก การศึกษาอย่างเป็นระบบ สะท้อนสภาพสังคมการเมืองอเมริกา
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7325 วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

หลังจากที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันประสบภาวะขาดดุล เศรษฐกิจชะลอตัว หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเกิดการเจรจาเพื่อผลักดันให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น การเจรจารอบพฤศจิกายนคือความสำเร็จครั้งแรก แต่การจะให้ราคาน้ำมันไปสู่ระดับ 100 ดอลลาร์เป็นเรื่องห่างไกล หากเชื่อว่าต้นตอปัญหาอ่อนตัวยังคงอยู่ นอกจากนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังสะท้อนให้เห็นว่าอำนาจต่อรองของโอเปกลดน้อยลง โครงสร้างเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศกำลังเปลี่ยนแปลง
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7332 วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2559

เพื่อผลประโยชน์ต่อต้านโซเวียตรัสเซียในสมัยสงครามเย็น รัฐบาลสหรัฐจึงตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน เป็นเหตุให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่นานาชาติไม่ยอมรับว่าเป็นประเทศ ผู้นำไต้หวันทุกยุคทุกสมัยจึงพยายามดิ้นรนแสดงความเป็นตัวตน เทคนิคที่ประธานาธิบดีไช่ทำครั้งนี้คือติดต่อพูดคุยกับว่าที่ผู้นำประธานาธิบดีสหรัฐ กลายเป็นประเด็นให้วิพากษ์ ซึ่งแท้จริงแล้วมีความสำคัญต่อไต้หวันมากกว่านั้น
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7339 วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2559

ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์เสนอให้ทบทวนนโยบายจีนเดียว หวังใช้เป็นเครื่องมือเจรจาแก้ปัญหาการค้าจีน  ฝ่ายจีนแสดงท่าทีแข็งกร้าวชี้ว่าเกี่ยวข้องกับอธิปไตยไต้หวัน เป็นเรื่องที่ยอมให้ไม่ได้ ถ้าพิจารณาให้ถ่องแท้รัฐบาลจีนได้ละเมิดนโยบายจีนเดียวมานานแล้ว ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐมีความชอบธรรมที่จะละเมิดหรือยกเลิก แต่จะได้ผลดีหรือผลเสียมากกว่า เพราะต้องคำนึงปัจจัยไต้หวันและอื่นๆ
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7346 วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2559


เมื่อสิ้นยุคประธานเหมา จีนเปิดประเทศต้อนรับการลงทุน การสัมพันธ์กับต่างชาติ ค่านิยมความงามแบบตะวันตกเริ่มเข้ามา จีนกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ด้านความงามของโลก สตรีจีนใช้จ่ายเพื่อความงามมากกว่าหลายประเทศจนน่าตกใจ บ่งบอกความเป็นพวกวัตถุนิยม กำลังถอยห่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ โฉมหน้าความงามของสาวจีนสะท้อนโฉมหน้าสังคมนิยมจีนในปัจจุบันและอนาคต
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 7353 วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2559
----------------------------