บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2015

ผลข้อมติ 2249 (2015) ต่อวิกฤตสงครามกลางเมืองซีเรีย

รูปภาพ
20 พฤศจิกายน คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติผ่านร่างมติ 2249 (2015) ให้รัฐสมาชิก “ใช้มาตรการทุกอย่างตามกฎหมายระหว่างประเทศ” ต่อต้าน ISIS ทำลายฐานที่มั่นในซีเรียกับอิรัก รวมทั้งกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ หลังเหตุโจมตีกรุงปารีสและอีกหลายแห่ง ในข้อมติพรรณนาว่าผู้ก่อการร้ายมีอุดมการณ์รุนแรงสุดโต่ง (violent extremist ideology) โจมตีทำร้ายพลเรือนอย่างเป็นระบบ ละเมิดสิทธิมนุษยชน กฎหมายระหว่างประเทศ ยึดครองพื้นที่บางส่วนของประเทศอิรักกับซีเรีย เป็นภัยคุกคามต่อรัฐสมาชิกในทุกภูมิภาค ISIL เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและสันติภาพของโลก เช่นเดียวกับ Al-Nusrah Front ผู้ก่อการร้ายทุกกลุ่มทุกคนที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับอัลกออิดะห์             ข้อมติเปิดทางสะดวกแก่ปฏิบัติการทางทหารในซีเรียกับอิรักโดยไม่ต้องกังวลเรื่องละเมิดอธิปไตย 2 ประเทศดังกล่าว ส่งทหารเข้าทำการรบทางภาคพื้นดินได้โดยสะดวกใจ และเท่ากับสามารถยึดครองพื้นที่อย่างน้อยในช่วงเวลาหนึ่งด้วย โดยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อปราบปรามกวาดล้าง IS กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายอื่นๆ เท่านั้น     ...

มองอีกมุม IS ก่อการร้ายกรุงปารีส

รูปภาพ
IS/ISIL/ISIS กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง เมื่อผู้ก่อการร้ายจำนวนหนึ่งก่อเหตุพร้อมกันหลายจุดในกรุงปารีส หนึ่งในนั้นคือนอกสนามกีฬาแห่งชาติ ( Stade de France ) ทีมฟุตบอลฝรั่งเศสกำลังแตะนัดกระชับมิตรกับทีมเยอรมนี ประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ( Francois Hollande) แห่งฝรั่งเศสกำลังนั่งชมอยู่ในสนามด้วย             ข้อมูลหลายชิ้นที่ปรากฏบ่งชี้ว่าผู้ก่อการสังกัด IS แถลงว่า “พี่น้อง 8 คนคาดด้วยระเบิดและถือปืนไรเฟิล” ทำสงครามครูเสดโจมตีฝรั่งเศส โทษฐานที่ “โจมตีมุสลิมในกาหลิบ (หมายถึง IS) ด้วยเครื่องบิน”             แนวทางที่ใช้ยังคงเป็นการสร้างความสะเทือนขวัญให้มากที่สุด ผู้อยู่ในเหตุการณ์คอนเสิร์ตคนหนึ่งเล่าว่า “มีเลือดเต็มไปหมด มีศพอยู่ทุกที่ ได้ยินเสียงกรีดร้อง ทุกคนพยายามหนี”             ผู้ก่อเหตุทั้งหมดมาในสภาพพร้อมที่จะ “จบ” ชีวิตตัวเอง คงไม่มีใครตั้งเป้าว่าจะมีชีวิตอีก หลายคนจบชีวิตด้วยการจุดระเบิดตัวเองหลังก่อเหตุ...

Group of Twenty (G20)

รูปภาพ
Group of Twenty (G20) คือการประชุมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้ากับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging economies) สมาชิกประกอบด้วยสมาชิกของกลุ่ม G7 อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ แคนาดา และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ ตุรกี และสหภาพยุโรป รวม 20 ประเทศ (สหภาพยุโรปถือว่าเป็น 1 ประเทศ) G20 ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นคนละกลุ่มกับ G20 อีกกลุ่มที่สมาชิกประกอบด้วยประเทศกำลังพัฒนาล้วนๆ ตั้งขึ้นสมัยการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบที่ 9 หรือรอบโดฮา (Doha Round) เริ่มต้นเมื่อปี 2001 สมาชิกของกลุ่มหลังนี้ไม่แน่นอน เข้าๆ ออกๆ มีข้อมูลว่ามีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล จีน ชิลี คิวบา อียิปต์ กัวเตมาลา อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ปารากวัย ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย เวเนซูเอลา อุรุกวัย ซิมบับเว และไทย เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ผลักดันการเจรจาสินค้าเกษตรนำโดยบราซิลกับอินเดีย เรียกร้องให้สหรัฐกับย...

การพบปะของ 2 ประธานาธิบดีจีนกับไต้หวัน

รูปภาพ
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้พบปะประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว (Ma Ying-jeou) แห่งไต้หวันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา 2 ผู้นำได้จับมือทักทายด้วยรอยยิ้ม พูดคุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อตุลาคม 1949 (ราว 66 ปี) หรือนับตั้งแต่ฝ่ายพรรคชาตินิยม (ก๊กมินตั๋ง) พ่ายแพ้กองทัพแดงของเหมา เจ๋อตงถอยมาปักหลักที่ไต้หวัน             เนื่องจากเป็นการพบปะครั้งแรก จึงเน้นสร้างความประทับที่ดีต่อกัน ประกาศล่วงหน้าว่าไม่มีการลงนามข้อตกลงใดๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องตกลงเจรจารวมประเทศ ในขณะที่มีคำถามจากพรรคฝ่ายค้าน Democratic Progressive Party’s (DPP) ว่าประธานาธิบดีหม่าจะไป “ขายไต้หวัน” หรือไม่ การพบปะในอดีต การปูทาง :             การพบปะของ 2 ประธานาธิบดีถือว่าผลงานของรัฐบาลหม่าที่ปูทางหลายปีเพื่อให้เกิดวาระนี้             ดังที่เคยนำเสนอแล้วว่า ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลปักกิ่งไม่ยอมเจรจากับรั...

‘ล้มซัดดัม’ วาทะอันแหลมคมของโทนี แบลร์

รูปภาพ
นายโทนี แบลร์ (Tony Blair) อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษให้สัมภาษณ์ว่า “ข้าพเจ้าสามารถเอ่ยคำขอโทษต่อความผิดพลาดเรื่องข้อมูลข่าวกรองที่ได้รับ” เพราะอิรักไม่มีโครงการพัฒนาอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction: WMD) ดังที่เราคิด แม้ว่ารัฐบาลซัดดัมจะใช้อาวุธเคมีกับประชาชนตนเองและคนอื่น             ขอโทษต่อ “ความผิดพลาดบางอย่างอันเนื่องจากการวางแผน ... ความเข้าใจต่อผลที่จะตามมาหลังล้มระบอบ” ยอมรับว่าการโค่นล้มรัฐบาลซัดดัมในปี 2003 ทำให้อิรักปั่นป่วนโกลาหล เกิดความขัดแย้งระหว่างนิกายศาสนาหลายปี และทำให้เกิดอัลกออิดะห์ในอิรัก ต้นกำเนิด ISIS ชาวอิรักหลายหมื่น ทหารอเมริกันกว่า 4,000 นายและทหารอังกฤษ 179 นายเสียชีวิตจากการบุกอิรักครั้งนั้น             อย่างไรก็ตาม อดีตนายกฯ แบลร์เห็นว่าการตัดสินใจโค่นรัฐบาลซัดดัมนั้นถูกต้องแล้ว “ข้าพเจ้าไม่ขอโทษเรื่องการโค่นล้มซัดดัม แม้จนวันนี้คือปี 2015 ข้าพเจ้าคิดว่าดีที่เขาไม่อยู่อีกแล้ว” เพราะกดขี่ประชาชนตนเองอย่างหนัก เปิดฉากทำส...