บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2015

มองรอบด้านกับการบรรลุร่างข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน (2)

รูปภาพ
สัปดาห์สุดท้ายก่อนบรรลุร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ มีกระแสข่าวว่าประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้คือเงื่อนไขยกเลิกข้อมติคว่ำบาตรของสหประชาชาติ เรื่องเครื่องหมุนเหวี่ยงเสริมสมรรถนะ ( centrifuge ) การคว่ำบาตรอีกรอบหากอิหร่านไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข การย้ายแร่ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะไปเก็บนอกประเทศ ถ้าถอยหลัง 2-3 เดือน ประเด็นที่อิหร่านยืนกรานยอมรับไม่ได้คือเงื่อนไขการตรวจสอบทุกที่ทุกเวลาแม้กระทั่งที่ตั้งทางทหาร ฝ่ายพรรครีพับลิกันพยายามผลักดันเงื่อนไขดังกล่าว ถ้าต่างฝ่ายต่างยืนยันจุดยืน การเจรจาไม่บรรลุผลแน่นอน ผลการเจรจาลงเอยด้วยข้อสรุปว่าสามารถตรวจสอบที่ตั้งทางทหารหากมีเหตุต้องสงสัย โดย IAEA ต้องแจ้งก่อนล่วงหน้า ให้อิหร่านมีเวลาเตรียมตัว 24 วัน เพื่อเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ความลับทางทหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์ ประเด็นนี้เป็นอันยุติ และได้ร่างข้อตกลงฯ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม  อิหร่านมีโอกาสผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้อีกหรือไม่ : หนึ่งในประเด็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดและมีผลต่อการรับรองร่างฯ จากรัฐสภาสหรัฐคือ ร่างข้อตกลงฯ ช่วยยับยั้งอิหร่านได้จริงหรือไม่ อิหร่านมีโอกาสผลิตอาวุธนิวเค...

มองรอบด้านกับการบรรลุร่างข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน (1)

รูปภาพ
14 กรกฎาคม 2015 อิหร่านกับ 6 ชาติคู่เจรจาบรรลุร่างข้อตกลงโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ข้อตกลงจะมีผลอย่างสมบูรณ์ถ้าพิสูจน์ว่าอิหร่านปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกข้อ โดยให้เวลาอิหร่านถึงวันที่ 15 ธันวาคม (5 เดือน) แลกกับการที่อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันได้ตามปกติ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางการเศรษฐกิจและเงินและได้คืนเงิน 150,000 ล้านดอลลาร์ที่ถูกอายัดและอื่นๆ สรุปเนื้อหาร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ :             ข้อมูลจากทำเนียบขาวระบุว่าร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์เป็นผลสืบเนื่องจากข้อตกลงฉบับชั่วคราวที่เรียกว่า Joint Plan of Action (JPOA) ตั้งแต่เมื่อพฤศจิกายน 2013 และจากกรอบร่างข้อตกลงฉบับสมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2015             ร่างข้อตกฯ ฉบับปัจจุบันปิดกั้นช่องทางการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ด้วยวิธีการต่างๆ สรุปโดยสังเขปดังนี้ 1. ลดทั้งปริมาณและความเข้มข้น ลดจำนวนยูเรเนียมที่เก็บไว้ในคลังให้เหลือเพียงร้อยละ 2 และมีความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 3.67 การลดทั้งปริมาณกับระดับความเข้มข้น คือวิธีก...

The Wall Street Journal ผู้พิฆาตนายกฯ นาจิบ?

รูปภาพ
ประวัติศาสตร์การเมืองมาเลเซียอาจบันทึกว่าวันที่ 3 กรกฎาคม 2015 The Wall Street Journal (WSJ) หนังสือพิมพ์ของอเมริกาเป็นผู้จุดระเบิดพลิกโฉมการเมืองมาเลเซีย             WSJ เป็นหนังสือพิมพ์คุณภาพเทียบเท่า The New York Times กับ The Washington Post รายงานข่าวทุกด้าน โดยเฉพาะการเมือง เศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศ มีบทวิเคราะห์ที่ลุ่มลึกเฉียบคมอยู่เสมอ เหมาะสำหรับผู้อ่านที่ต้องการลงลึกในรายละเอียด มีหลักวิชาการ ไม่ใช่หนังสือพิมพ์ประเภทขุดคุ้ย ปาปารัสซี นำเรื่องอื้อฉาวของบุคคลต่างๆ มาเผยแพร่ เพื่อเป็นประเด็นซุบซิบในวงสนทนา WSJ ชี้ว่ามีการโอนเงินจากกองทุนพัฒนามาเลเซียเบอร์ฮัด ( 1Malaysia Development Bhd :1MBD ) ที่เชื่อว่าเข้าบัญชีส่วนตัวของนาจิบ ราซัค (Najib Razak) นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเมื่อมีนาคม 2013 ช่วงกำลังหาเสียงเลือกตั้ง เงินดังกล่าวมาจากบริษัท Tanore Finance จดทะเบียนที่เกาะบริติช เวอร์จิน ( British Virgin ) โอนผ่านธนาคารสวิสแห่งหนึ่ง เงินที่ผ่านบริษัทนี้สูงถึง 681 ล้านดอลลาร์ เข้าบัญชีส่วนตัวของนายกฯ นาจิบของธนาคาร AmIsla...

รัฐบาลสหรัฐกับการแบ่งแยกประเทศอิรัก

รูปภาพ
ในช่วงที่ IS/ISIL/ISIS เริ่มยึดพื้นที่ในอิรักเมื่อมิถุนายน 2014 รัฐบาลโอบามามีนโยบายไม่ส่งอาวุธแก่พวกเคิร์ดอิรักโดยตรง ภายใต้กฎหมายรัฐบาลไม่สามารถส่งอาวุธแก่กองกำลังที่ไม่ใช่ของรัฐ หากเคิร์ดจะได้รับอาวุธของสหรัฐจะต้องได้ผ่านรัฐบาลแบกแดด แต่รัฐบาลแบกแดดไม่ยอมส่งอาวุธให้เคิร์ด ทั้งยังอ้างว่าที่ทำเช่นนี้เพราะเกรงว่าการส่งมอบอาวุธให้โดยตรงจะส่งเสริมการแบ่งแยกอิรัก ทำให้อิรักแตกออกเป็น 3 กลุ่ม คือพวกชีอะห์ พวกเคิร์ดและซุนนีภายใต้ IS             อนึ่ง แม้กฎหมายบางข้อไม่เอื้ออำนวย รัฐบาลโอบามาได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่เคิร์ดในฐานะหุ้นส่วนทางทหาร ( military partners ) เช่น ส่งที่ปรึกษาทางทหาร และฝึกทหารอิรัก ให้ความคุ้มครองด้วยกำลังรบทางอากาศ ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง 1,000 ชุด ยานยนต์ทำลายกับระเบิด 40 คัน Bayan Sami Abdul Rahman ตัวแทนเคิร์ดประจำสหรัฐชี้ว่ากองกำลังเคิร์ดมีแต่อาวุธเบา “สถานการณ์ตอนนี้ดีขึ้นเพราะสหรัฐกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลีและอังกฤษต่างให้ความช่วยเหลือเรื่องอาวุธ ช่วยฝึกกำลังพล ... แต่ยังไม่เพีย...