โรฮีนจา ระเบิดเวลาประชาธิปไตยเมียนมาร์
ในการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ได้ข้อสรุปร่วมหลายประการ เริ่มจากการแก้ปัญหาผู้อพยพติดค้างกลางทะเล ยืนยันท่าทีของมาเลเซียกับอินโดนีเซียที่จะรับคนเหล่านี้ชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปีในระหว่างการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ประเทศที่ 3
1. “โรฮีนจา คนไร้รัฐ” (Ookbee)
บรรณานุกรม:
ที่ประชุมผลักดันขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ
ตามหลักการแบ่งเบาภาระระหว่างประเทศ (International Burden Sharing) มิให้ภาระตกอยู่กับไม่กี่ประเทศที่กำลังแบกรับอยู่ ดังที่นาจิบ ราซัค
(Najib Razak) นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวล่วงหน้าแล้วว่า “เรือมนุษย์โรฮีนจาเป็นเรื่องใหญ่
... จึงต้องรับการช่วยเหลือจากนานาชาติ”
การประชุมให้ความสำคัญกับการต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ กวดขันการบังคับใช้กฎหมาย การทำงานร่วมกัน
การประชุมให้ความสำคัญกับการต่อต้านขบวนการค้ามนุษย์ กวดขันการบังคับใช้กฎหมาย การทำงานร่วมกัน
ส่วนรากปัญหานั้น รายงานสรุประบุแนวทางแก้ไขด้วยการส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชน
เช่น สนับสนุนการค้าการลงทุนในพื้นที่เสี่ยง การฝึกอาชีพ ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
รัฐบาลไทย
มาเลย์และอินโดมุ่งนำเสนอว่าเป็นเพียงทางผ่าน ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง และไม่ใช่ผู้สร้างปัญหา
ขอให้ประชาคมโลกเข้าใจ ด้านเมียนมาร์ยืนยันท่าทีเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับชาติสมาชิกอาเซียนยืนยันไม่แทรกแซงกิจการภายใน
จะเห็นได้ว่ารัฐบาลเมียนมาร์กับประเทศเพื่อนบ้านที่เกี่ยวข้องพยายามนำสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ
คือให้เรื่องโรฮีนจาเงียบหาย จากนี้ไปจึงเหลือแต่การรอดูว่าองค์กรระหว่างประเทศ
ชาติมหาอำนาจจะตอบสนองเรื่องนี้อย่างไร เพราะพวกเขาได้วาง “เป้าหมายระยะยาว” ไว้แล้วเช่นกัน
วิเคราะห์องค์รวม :
มีประเด็นสำคัญดังนี้
ประการแรก การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ดังที่นำเสนอครั้งก่อน ถ้ามองในกรอบแคบ
ประเด็นโรฮีนจาเป็นเรื่องเป็นราวอีกครั้งในรอบนี้เกิดจากขบวนการค้ามนุษย์ เกี่ยวข้องกับหลายคนหลายประเทศ
รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ
หากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเข้มแข็งจะไม่มีรายงานจากหน่วยงานสหประชาชาติว่าเฉพาะไตรมาสแรกของปีนี้
ชาวโรฮีนจากับบังคลาเทศราว 25,000 คนพยายามลักลอบเข้าประเทศทางเรือ มากเป็น 2
เท่าของช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน
ในอนาคต
ประเด็น “เรือมนุษย์โรฮีนจา” ฟื้นคืนชีพอีกหรือไม่
จึงขึ้นกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง
ประการที่
2 โรฮีนจามาแล้วไม่กลับ
เวลาพูดถึงการช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัย
ประเด็นที่หลายประเทศกังวลคือความช่วยเหลือของตนจะยิ่งเป็นเหตุให้ผู้อพยพพากันหลั่งไหลเข้าประเทศมากขึ้น
โรฮีนจาในขณะนี้คือคนไร้สัญชาติ
ประเทศที่รับคนเหล่านี้เข้าทำงานคือรับคนงานไร้สัญชาติด้วย ปัญหาที่จะเกิดในอนาคตคือ
หากประเทศที่รับทำงานไม่ต้องการแรงงานเหล่านี้ คนเหล่านี้จะอยู่ที่ใด จะส่งคืนที่ใดในเมื่อรัฐบาลเมียนมาร์ไม่ยอมรับ
แรงงานโรฮีนจาจึงแตกต่างจากแรงงานเมียนมาร์อื่นๆ
โรฮีนจาที่อพยพออกมาไม่คิดที่จะกลับประเทศอีกแล้ว
พวกเขาหวังตั้งรกรากในประเทศใหม่ ซึ่งหมายถึงการอยู่อย่างถาวร หวังได้รับการปกป้องคุ้มครองและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ตามกฎหมาย ในขั้นสุดท้ายคือเป็นพลเมืองประเทศนั้น
คำถามคือประเทศเหล่านั้นพร้อมจะให้สิทธิพลเมืองหรือไม่
มาเลเซียเป็นตัวอย่างประเทศที่มีแรงงานโรฮีนจาลักลอบทำงานในประเทศหลายหมื่นคน
จำนวนไม่น้อยอาศัยหลายปีแล้ว คนเหล่านี้มักทำงานที่แรงงานอื่นๆ ไม่ปรารถนา เช่น
งานสกปรก เสี่ยงอันตราย แรงงานโรฮีนจาสามารถดำเนินชีวิตอย่างมั่นคงพอสมควร
จนมีลูกมีหลาน และเริ่มเรียกร้องสิทธิต่างๆ ที่สำคัญคือการขอฐานะพลเมืองแก่ตนและลูกหลาน
ที่ผ่านมารัฐบาลมาเลย์ไม่มีนโยบายให้คนเหล่านี้ได้รับสิทธิเป็นพลเมือง
แม้กระทั่งลูกหลานที่เกิดในมาเลเซีย พูดภาษามาเลย์
เป็นไปได้ว่าหากจำนวนโรฮีนจาเพิ่มขึ้น อยู่นานขึ้น
เสียงของพวกเขาจะดังขึ้น พร้อมแรงกดดันจากต่างชาติ กลายเป็นปัญหาระดับประเทศ
และถ้าโรฮีนจาได้รับสวัสดิการต่างๆ
สิทธิการเป็นพลเมือง พวกเขาจะแห่อพยพเข้ามาเลเซียมากกว่านี้ นี่คือความกังวลจากมาเลย์และประเทศทั้งหลาย
ประการที่
3 การส่งผู้อพยพสู่ประเทศที่ 3
ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องโรฮีนจามาแล้วไม่กลับ
ข้อคิดอีกประการคือ ถ้าหากผู้อพยพโรฮีนจา คนบังคลาเทศ หรือประเทศใดๆ
สามารถเดินทางออกจากประเทศตนไปสู่ประเทศอื่น
แล้วในที่สุดสามารถตั้งรกรากอยู่ประเทศที่ 3 ในอเมริกา ยุโรป หรือที่ใดๆ
ได้โดยง่าย การเคลื่อนย้ายคนเหล่านี้สู่ประเทศที่ 3 จะเป็นแรงกระตุ้น ไม่ต่างจากการที่บางประเทศรับคนเหล่านี้ไว้ทำงานอย่างถาวรหรือกึ่งถาวร
เกิดกระแสผู้อพยพโรฮีนจา บังคลาเทศ ฯลฯ
หลั่งไหลออกจากพื้นที่เพื่อมุ่งหน้าสู่ประเทศที่ 3
นั่นหมายความว่าในอนาคตบรรดาประเทศที่ 3 เหล่านี้จะต้องรับผู้อพยพอย่างต่อเนื่องอีกหลายล้านคนหรือไม่สิ้นสุด
(เพราะจะมีผู้ต้องการอพยพเพิ่มเติม)
เกิดกระแสเดินทางไปสู่ประเทศอื่นที่ดีกว่า
ปัญหาแทรกซ้อนคือ
ประเทศที่เป็นจุดรับฝากคนชั่วคราวจะต้องแบกรับภาระยาวนานหลายปีกว่าที่ผู้อพยพจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ประเทศที่
3
มีข้อมูลว่าแต่ละปีผู้อพยพทั่วโลกราว 80,000 คนจะได้รับการส่งตัวไปอยู่ประเทศที่
3 ในจำนวนนี้สหรัฐรับถึงร้อยละ 70 ของจำนวนทั้งหมด
ปัจจุบันมีผู้อพยพลี้ภัยทั่วโลกหลายล้านคน ทั้งจากตะวันออกกลาง แอฟริกาและอื่นๆ เกิดคำถามว่าประเทศที่จะเป็นจุดพักคนจะต้องทำหน้าที่กี่สิบปี
และจะต้องเป็นผู้แบกรับผู้อพยพที่ไม่มีประเทศใดต้องการใช่หรือไม่
จึงไม่แปลกใจที่ Anifah
Aman รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียกล่าวอย่างชัดเจนว่า
มาเลเซียไม่สามารถรับผู้อพยพมากกว่านี้อีกแล้ว ที่แล้วมารับคนจำนวนมากเข้าประเทศ จนบัดนี้ยังไม่มีประเทศใดแสดงเจตจำนงต้องการรับผู้อพยพเพิ่มเติม
“เราต้องดูแลผลประโยชน์ของเราเช่นกัน ต่อปัญหาสังคมและความมั่นคง เราต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้”
ต้องถามเมียนมาร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน
และต้องตอบคำถามว่า
มีประเทศอื่นใดพร้อมรับผู้อพยพนับล้านหรือไม่ หรือควรหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นๆ
ประเด็นผู้อพยพเป็นเรื่องซับซ้อน
มีปัญหาซ้อนหลายมิติ จำต้องคิดให้รอบคอบ
ประการที่
4 ขอให้โรฮีนจาเป็นพลเมือง
ประเด็นขัดแย้งที่แหลมคมมากที่สุดคือความเป็นพลเมืองของโรฮีนจา
ไม่ว่ารัฐบาลเมียนมาร์จะคิดเห็นอย่างไร นานาชาติได้ข้อสรุปเรื่องนี้แล้ว สมัชชาสหประชาชาติมีมติเมื่อ
29 ธันวาคม 2014 เรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาร์รับรองความเป็นพลเรือน
“เต็มขั้น” ของพวกโรฮีนจา
สหรัฐเป็นอีกประเทศที่แสดงจุดยืนขอความเป็นพลเมืองแก่โรฮีนจา
นาย Antony J. Blinken รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวหลังหารือกับรัฐบาลเมียนมาร์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า
สหรัฐพร้อมจะมีส่วนช่วยเหลือ เห็นด้วยกับการเอ่ยถึง
“รากปัญหาเพื่อการแก้ไขอย่างยั่งยืน”
ย้ำว่าปัจจัยทางการเมืองกับสังคมเป็นเหตุให้โรฮีนจาพยายามอพยพออกจากพื้นที่
ผู้อพยพ “จำนวนไม่น้อยคือโรฮีนจาจากรัฐยะไข่
เหตุที่อพยพเนื่องจากสภาพอันเลวร้ายที่พวกเขาเผชิญในรัฐยะไข่ เราได้หารือกับผู้นำ
(เมียนมาร์) ในเรื่องนี้” เห็นว่าโรฮีนจาต้องได้รับฐานะพลเมือง
ถ้อยคำของรัฐมนตรีช่วย Blinken
ตอกย้ำท่าทีของประธานาธิบดีโอบามาที่กล่าวในขณะเยือนเมียนมาร์เมื่อปี 2014 ว่า “ทุกรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายตั้งอยู่บนหลักนิติธรรมและปฏิบัติต่อประชาชนทุกคนอย่างเทียมภายใต้กฎหมาย
ข้าพเจ้าคิดว่าการปฏิบัติต่อโรฮีนจากับชนกลุ่มน้อยทางศาสนาอื่นๆ อย่างแบ่งแยก
ไม่ใช่ลักษณะประเทศที่พม่าต้องการจะเป็นในระยะยาว” ประชาธิปไตยไม่อาจสำเร็จได้หากมีแบ่งแยก
เกิดพลเมืองชั้น 2
ผู้ยึดมั่นสิทธิมนุษยชนสากลจะถือว่าพัฒนาการประชาธิปไตยของเมียนมาร์สัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองของโรฮีนจา
แม้รัฐบาลปัจจุบันจะมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ประเด็นโรฮีนจาพร้อมจะเป็นเหตุให้หลายประเทศลงมติ
“คว่ำบาตร”
รัฐบาลเมียนมาร์ย่อมรับรู้ความกังวลในเรื่องนี้
สรุป :
ประเด็นโรฮีนจาไม่ใช่เรื่องใหม่
เรื่องน่าคิดคือหากมองย้อนอดีต เหตุความรุนแรงในปี 2012 นำสู่การตีแผ่เรื่องราวโรฮีนจาสู่สายตาชาวโลก
ตามด้วยข้อเรียกร้องจากสมัชชาสหประชาชาติให้รัฐบาลเมียนมาร์มอบความเป็นพลเมืองเต็มขั้นแก่คนเหล่านี้
เชื่อมโยงกับการที่รัฐบาลเมียนมาร์กลับมาเป็นประชาธิปไตยอีกครั้ง
เหตุเรือมนุษย์โรฮีนจา
บังคลาเทศในปี 2015 รื้อฟื้นเรื่องราวอีกครั้ง น่าสนใจติดตามว่าจะเป็นการผลักดัน
“เป้าหมายระยะยาว” อีกรอบหรือไม่ ส่วนเรื่องการรับผู้อพยพจำนวนมากนั้นคงไม่มีประเทศใดยินดี
สุดท้ายต้องลงเอยด้วยการแสดงท่าทีกดดันรัฐบาลเมียนมาร์
ดังที่วิเคราะห์ข้างต้นว่า
นานาชาติสามารถอ้างเป็นเหตุ “คว่ำบาตร” เมียนมาร์ได้เสมอ “ถ้าต้องการ” คิดแบบแง่ร้ายสุดๆ
โรฮีนจาคือระเบิดเวลาลูกใหญ่ พัวพันถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อธิปไตยของเมียนมาร์
ในอนาคตเรื่องราวโรฮีนจาจะกลับมาฉายซ้ำอีก
จนว่าพวกเขาจะได้ฐานะพลเมือง
31 พฤษภาคม 2015
ชาญชัย คุ้มปัญญา
(ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6780 วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2558)
---------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้สามารถเริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศพม่า
ตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ในอดีตได้ถักทอร้อยเรื่องราวของโรฮีนจาที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง
เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ หลายเหตุการณ์แม้กระทั่งยุคล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่
2 จนพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศ กลับมาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง
ข้อเขียนชิ้นนี้นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ชนพื้นเมืองอาระกันยังไม่ถูกเรียกว่าโรฮีนจา
เข้าสู่ความขัดแย้งหลายระลอก จนพม่าประกาศเอกราช เกิดการปฏิวัติ
รัฐบาลทหารกำหนดว่าใครเป็นพลเมือง พร้อมกับเหตุผลข้อโต้แย้ง
ประเด็นถกเถียงและคาดการณ์อนาคต
เรือมนุษย์โรฮีนจา เรือมนุษย์บังคลาเทศไม่ใช่เรื่องใหม่
คนเหล่านี้อพยพทางเรือต่อเนื่องหลายปีแล้ว การที่ประชาชนรับรู้ในช่วงนี้เพราะสื่อหลายประเทศช่วยกันประโคมข่าว
แต่ระดับเจ้าหน้าที่ ผู้มีหน้าที่รับรู้เรื่อยมา
สิ่งที่ทำได้แน่นอนคือการเข้มงวดต่อต้านอาชญากรข้ามชาติ เป็นภาพสะท้อนความมั่นคงจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่อื่นๆ
เรื่องเหล่านี้ “ใกล้ตัว” กว่าโรฮีนจามากนัก
ประเด็นโรฮีนจา (Rohingya) เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและชาติสมาชิกอาเซียนอีกหลายประเทศโดยตรง
มีผลต่อความเป็นไปของเมียนมาและกระทบต่อทั้งภูมิภาค เป็นเรื่องเก่าหลายทศวรรษ
(หรือหลายศตวรรษ) และคงจะอยู่คู่กับอาเซียนอีกนาน จึงเป็นประเด็นที่ควรศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้
“10 คำถาม โรฮีนจา” จะตอบคำถามหรือนำเสนอ 10 ข้อ 10
ประเด็น เริ่มจากการเรียกชื่อ ควรเรียก “โรฮีนจาหรือโรฮินญา” อธิบายต้นกำเนิดโรฮีนจา
เป็นชาวเบงกาลีหรือไม่ เหตุผลเบื้องหลังรัฐบาลเมียนมาไม่ถือโรฮีนจาเป็นพลเมือง จากนั้นอธิบายเหตุปะทะเมื่อปี
2012 ซึ่งเป็นจุดเริ่มของความสนใจรอบใหม่ ความเกี่ยวข้องของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ
ปัญหาชุมชนโรฮีนจาซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่อาจมองข้าม นโยบายและท่าทีของรัฐบาลเมียนมา
โอบามาและมาเลเซีย สอดแทรกด้วยการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ช่วยตอบโจทย์อนาคตของโรฮีนจา
อนาคตประชาธิปไตยเมียนมาซึ่งมีผลกระทบต่ออาเซียนทั้งหมด
สนใจอีบุ๊ค คลิกที่รูป |
1. Adnan, Mohd Hamdan. (2012). Refugee issues
in Malaysia: the need for a proactive, human rights based solution.
Retrieved from http://www.une.edu.au/asiacentre/PDF/No12.pdf
2. Malaysia detains hundreds of migrants arriving on boats.
(2015, May 11). Al Jazeera. Retrieved from http://www.aljazeera.com/news/2015/05/150511065720103.html
3. Malaysia rejects any more migrants as crisis worsens.
(2015, May 18). Al Jazeera. Retrieved from
http://www.wsj.com/articles/myanmar-threatens-boycott-of-migration-meeting-1431849696
4. Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. (2015,
May 29). Summary Special Meeting on Irregular Migration in the Indian Ocean 29
May 2015, Bangkok, Thailand. Retrieved from
http://www.mfa.go.th/main/th/media-center/14/56880-Summary-Special-Meeting-on-Irregular-Migration-in.html
5. Ng, Eileen. (2015, May 25). Rohingya Seek Better Life in
Malaysia, but Reality Is Stark. ABC News/AP. Retrieved from
http://abcnews.go.com/International/wireStory/rohingya-seek-life-malaysia-reality-stark-31288058
6. Rajoo, D Arul. (2015, May 26). US, Japan Offer Help To
Solve Rohingya Issue, Says Najib. Bernama. Retrieved from http://www.bernama.com/bernama/v8/newsindex.php?id=1138123
7. Solomon, Feliz. (2015, May 22). US Urges Burma to Address
Root Causes of Rohingya Crisis. The Irrawaddy. Retrieved from
http://www.irrawaddy.org/burma/us-urges-burma-to-address-root-causes-of-rohingya-crisis.html
8. The White House. (2014, November 14).
Remarks by President Obama and Daw Aung San Suu Kyi of Burma in Joint Press
Conference | November 14, 2014. Retrieved from
http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2014/11/14/remarks-president-obama-and-daw-aung-san-suu-kyi-burma-joint-press-confe
9. U.N. urges Myanmar to give citizenship to Rohingya
Muslims. (2014, December 30). Al Arabiya News/AP. Retrieved from
http://english.alarabiya.net/en/News/asia/2014/12/30/U-N-urges-Myanmar-to-give-citizenship-to-Rohingya-Muslims.html
---------------------------------